วันเลือกตั้งทั่วไปในการเลือกตั้ง 2566 ถูกเคาะแล้วเป็นวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 ขณะที่วันเลือกตั้งล่วงหน้า คือวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 บรรยากาศการเข้าคูหาไปกาเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จะมีอำนาจเลือกผู้นำประเทศกลับมาอีกครั้ง หลังจากประเทศไทยตกอยู่ใต้ “ความผิดปกติ” จากการเมืองไทยที่เคยเป็นมา เริ่มจากระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ร่างโดยคนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระบบที่แปลกใหม่ สร้างความสับสนให้กับผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องตัดสินใจ “กาบัตรใบเดียว” เลือกทั้งคนทั้งพรรค ตามมาด้วยเหตุการณ์ที่พรรคได้ที่นั่งในสภาเป็นอันดับสองอย่างพรรคพลังประชารัฐ กลายเป็นแกนนำรวบรวม ส.ส. จากพรรคน้อยใหญ่ถึง 19 พรรค จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการแต่งตั้งจากคสช. ต่างก็เสียงไม่แตก โหวตเลือกพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชารัฐ และอดีตหัวหน้าคสช.
แม้หลังการเลือกตั้ง 2566 ที่จะมาถึง ส.ว. ชุดพิเศษ จะมีอำนาจเลือกนายกฯ เช่นเดิม แต่ผลพวงจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้ง ที่ผ่านด้านส.ส. และส.ว. มาได้เป็นเรื่องเดียวขณะที่อีก 25 ข้อเสนอถูกปัดตก ก็ส่งผลให้กติกาการเลือกตั้งนี้เปลี่ยนแปลงไปจากตอนเลือกตั้ง 2562 ที่ผ่านมา ไอลอว์ติดตามรวบรวมข้อมูลทางกฎหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าใจกติกาการเลือกตั้ง ข้อมูลทั่วไปสำหรับเตรียมตัวก่อนเข้าคูหา รวมถึงจุดยืนของบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีคุณภาพในการเดินเข้าคูหากำหนดอนาคตประเทศ
เตรียมพร้อมเลือกตั้ง ข้อมูลที่ประชาชนควรรู้ก่อนเข้าคูหา
ในการเลือกตั้ง ปี 2566 ใช้ระบบเลือกตั้ง “บัตรสองใบ” บัตรใบแรก เลือกส.ส. แบบแบ่งเขต เลือกคนที่รักให้เป็นตัวแทนเขตของเรา บัตรใบที่สอง เลือกส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เลือกพรรคที่ชอบให้เข้าสภา จำง่ายๆ ว่า “เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ” นอกจากนี้ จำนวนส.ส. ก็เปลี่ยนแปลงไปจากตอนเลือกตั้ง 2562 โดยรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมปี 2564 เปลี่ยนแปลงจำนวนส.ส. แต่ละประเภท ในการเลือกตั้ง 2566 จะมีส.ส. แบบแบ่งเขต 400 คน และส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
ข้อสำคัญที่ต้องระวัง หมายเลขผู้สมัครส.ส. แบบแบ่งเขต “ไม่เหมือนกัน” ต่อให้เป็นส.ส. เขตคนละเขต แม้มาจากพรรคเดียวกัน ก็ถูกกำหนดเบอร์ในบัตรเลือกตั้งคนละเบอร์ และส.ส.เขตแต่ละเขตก็อาจจะได้เบอร์ต่างจากพรรค (ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ) ก็ได้
โดยข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ก่อนเข้าคูหา สามารถตามอ่านต่อได้ ดังนี้
- ติดภารกิจ ไม่ได้ไปเลือกตั้ง อย่าลืมแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ
- ข้อมูลสรุปเตรียมพร้อมเข้าคูหา คู่มือเลือกตั้ง 66 “เรียนรู้จากอดีต กาเพื่ออนาคต”
- เช็คให้ชัวร์ เตรียมพร้อมไปเลือกตั้งทั่วไป 14 พ.ค.
- ผู้พิการ-ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ ไม่ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ไปใช้สิทธิ 14 พ.ค. ได้
- เช็คข้อห้ามตามกฎหมายเลือกตั้ง อะไรบ้างที่ทำไม่ได้
- กาบัตรเลือกตั้งใช้ปากกาสีใดก็ได้ ไม่เป็นบัตรเสีย
- อย่าลืม! ต้องย้ายทะเบียนบ้านก่อนเลือกตั้ง 90 วัน
- รีบเช็คด่วน! มีชื่อใน “ทะเบียนบ้านกลาง” เลือกตั้งไม่ได้ ต้องรีบย้ายเข้าทะเบียนบ้านปกติ
- รีวิว 5 ขั้นตอนง่ายๆ ย้ายทะเบียนบ้านกลางเข้าทะเบียนบ้านปกติ รักษาสิทธิเลือกตั้ง
- ขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้ง หรือกรณีนายจ้างที่ขัดขวางไม่ให้ลูกจ้างไปเลือกตั้ง โทษหนักถึงจำคุก
- เตือนภัย ระวัง ‘ชื่อผี’ โผล่ในทะเบียนบ้าน รีบแจ้งถอนออกก่อน 3 พ.ค. 66
- รู้จักความหมายตัวเลขสำคัญในการเลือกตั้ง 2566
- ย้อนดูผลเลือกตั้งเขตสูสีปี 62 สะท้อนทุกเสียงมีความหมาย
- ส่องเขตสูสีเลือกตั้ง 62 ใช้เพียงไม่กี่คะแนนเปลี่ยนสมการจัดตั้งรัฐบาลได้
- ย้อนดูจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งนี้ต้องไปให้ถึง 80%
- วันเลือกตั้งมายังไง? ถ้ายุบสภา กับรอให้สภาหมดอายุ วันเลือกตั้งต่างกันไหม?
- ปฏิทิน เลือกตั้ง 2566 เช็คเลยวันไหนต้องทำอะไรบ้าง?
ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งล่วงหน้า
- เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตมีขั้นตอนอะไรบ้าง? นับคะแนนยังไง? เช็คเลย
- จับได้ใบแดง แต่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าไว้ ต้องเลือกตั้งตามที่ลงทะเบียน
- ถามมา ตอบไป รวมฮิต 10 ข้อสงสัย “เลือกตั้งล่วงหน้า-นอกราชอาณาจักร
- เริ่มแล้ว! ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า-นอกราชอาณาจักร หมดเขต 9 เม.ย. 66
ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
- ไปเที่ยว-อยู่ต่างประเทศ รีบเช็คด่วน! เลือกตั้งนอกราชอาณาจักรต้องทำอะไรบ้าง?
- เช็ควัน/ช่องทางเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
- ช่องทางและวิธีการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า และเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
- ข้อควรระวังก่อนไปเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
- เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ต้องส่งบัตรเลือกตั้งถึงสถานทูตตามวันที่กำหนด
ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง ปี 2566
- ระบบเลือกตั้ง บัตร 2 ใบ เข้าคูหาเลือกคนที่รักเลือกพรรคที่ชอบ ระวังสับสนเบอร์คนเบอร์พรรคอาจไม่เหมือนกัน
- ความเหมือน-ต่าง ระบบเลือกตั้ง 40 vs 64
- คิดให้ดูทีละขั้น!! เปิดสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปัดเศษยังมีลุ้นได้ที่นั่ง
ข้อมูลเกี่ยวกับแคนดิเดตนายกฯ – โปรไฟล์พรรคการเมือง
- ส่องโปรไฟล์พรรคการเมือง พรรคไหนเคยหนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ
- แคนดิเดตนายกฯ ใครเป็น ส.ส. บ้าง?
- หากประยุทธ์ได้ไปต่อ เป็นนายกได้อีกกี่ปี
ประชาชนทำอะไรได้บ้าง? นอกจากไปเลือกตั้ง
การมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยไม่ได้จบลงเพียงแค่หย่อนบัตรลงในคูหา แต่เราสามารถร่วมกันรักษาความโปร่งใสของกระบวนการนับคะแนนและประชาธิปไตยไทยได้ไม่ยาก เพียงอยู่เฝ้าดูการนับคะแนนตามหน่วยเลือกตั้งที่สะดวก
นอกจากสังเกตการณ์การนับคะแนนเลือกตั้ง ประชาชนที่พบเห็นการทุจริตเลือกตั้ง ยังสามารถช่วยชี้เบาะแสทุกจริตได้ด้วย สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ดังนี้
- ประชาธิปไตยต้องการคุณ! 5 ขั้นตอนเป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งหลังปิดหีบ
- นับหนึ่งจับตาเลือกตั้ง 2566 ขอประชาชนช่วยสังเกตการณ์และกกต.ต้องโปร่งใส
- How to วิธีการรายงานผลคะแนนเลือกตั้งกับ Vote62
- ถามมาตอบไป รวมข้อสงสัยยอดฮิตจากอาสาสมัคร Vote62
- #เลือกตั้งล่วงหน้า ปัญหาจุกๆ ขอแรงประชาชน เฝ้าหน่วยนับคะแนนบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า 14 พ.ค.66
- ช่วยกกต.จับโกง ลุ้นสินบนนำจับโกงสูงสุด 1 ล้านบาท
- เปิดระเบียบกกต. คุ้มครองผู้ชี้เบาะแสทุจริต หาเซฟเฮ้าส์ให้อยู่ได้
3 ข้อเสนอ ก้าวแรกพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยหลังเลือกตั้ง
การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 ยังไม่ใช่การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุด เนื่องจากระบบการเมืองไทยยังตกอยู่ภายใต้กลไกรัฐประหาร การสืบทอดอำนาจถูกกระทำผ่านสถาบันการเมืองต่าง ๆ ที่ คสช. และเครือข่ายวางอำนาจไว้อย่างเหนียวแน่น ผ่านองค์กรอิสระ วุฒิสภาแต่งตั้ง ทหาร ตำรวจ หน่วยงานความมั่นคง องค์กรยุติธรรม และพรรคการเมือง โดยมีรัฐธรรมนูญ 2560 ค้ำจุนให้ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไรเครือข่าย คสช. ก็ยังคงรักษาอำนาจไว้ได้
แม้เวลาสี่ปีที่ผ่านมา ภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล บรรยากาศทางการเมืองภายใต้ระบบกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตยได้บ่มเพาะสำนึกทางการเมืองในหมู่นักศึกษาและประชาชนจนระเบิดออกมาเป็นขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย แต่หนทางข้างหน้าก็ยังไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะกลไกของ คสช. ยังอยู่ครบ โดยเฉพาะสมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง ทั้ง 250 คน ที่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง
แม้ปัจจุบันกติกาทางการเมืองจะยังไม่ปกติ แต่เราก็สามารถสร้างการเมืองที่ชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของประชาชนได้ โดยเริ่มจากการมีรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีที่มีที่มาและคุณสมบัติตามครรลองประชาธิปไตย เพื่อก้าวแรกในการพาประเทศไทยกลับสู่ “ประชาธิปไตยเต็มใบ” ผ่านสามข้อเสนอ ได้แก่ 1. นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. 2. พรรคที่ได้ ส.ส. มากที่สุดควรได้รับสิทธิจัดตั้งรัฐบาลก่อน และ 3. ส.ว. ต้องเคารพเจตจำนงเสียงข้างมาก
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสามข้อเสนอ ก้าวแรกพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตย
- 3 ข้อเสนอ ก้าวแรกพาประเทศไทยกลับสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ
- ส.ว. “งดออกเสียง” ไม่ช่วยอะไร แต่อาจเปิดทาง “นายกฯ นอกบัญชี”
- ทำไมพรรคการเมืองจึงควรส่งแคนดิเดตนายกฯ ลงสมัคร ส.ส.
- เช็คจุดยืน 9 พรรคการเมือง คิดยังไงกับ 3 ข้อเสนอ ก้าวแรกพาประเทศไทยสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ
- ส่องระบบรัฐสภา อังกฤษ อินเดีย ญี่ปุ่น ให้นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. ไหม?
- สำรวจจุดยืน ส.ว. เลือกนายกฯ โหวตตามเสียงข้างมากหรือตามใจตัวเอง
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นอกจากรัฐธรรมนูญ และกฎหมายการเลือกตั้ง ที่กำหนดระบบเลือกตั้งแล้ว กติกาที่เกี่ยวกับรายละเอียดการเลือกตั้ง จะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดย กกต. ที่จัดการเลือกตั้ง 2566 ยังคงเป็นกกต. หน้าเก่าเจ้าเดิม ที่เข้าสู่ตำแหน่งโดยผ่านความเห็นชอบโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่แต่งตั้งโดยคสช. การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เมื่อ 20 ธันวาคม 2563 การเลือกตั้งเทศบาล เมื่อ 28 มีนาคม 2564 การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564 รวม การเลือกตั้งกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา เมื่อ 22 พฤษภาคม 2565 และการเลือกตั้งทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566 อยู่ภายใต้การทำงานของ กกต. ชุดนี้ทั้งสิ้น
โดยกติกาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในเชิงรายละเอียด มีดังนี้
- ข้อห้ามของผู้สมัคร ส.ส. หาเสียงเลือกตั้ง อะไรทำได้-ไม่ได้
- สมัคร ส.ส.ต้องเป็นสมาชิก 90 วัน ถ้า ส.ส.ย้ายพรรคสิ้นสภาพทันที
- ‘มีใบไหม’ เช็กลิสต์ใบประกาศหน้าคูหา’ ที่ จนท. ต้องติด!
- เปิดระเบียบใหม่ กกต. เร่งกระบวน “ยุบพรรค” ให้ทุกคดีจบได้ภายใน 67 วัน
- “ป้ายหาเสียง” พรรคมีอิสระในการสร้างสรรค์ แต่ไม่เป็นอิสระจากกกต.
- กฎหมายเลือกตั้งคลุมเครือ “คนนอกครอบงำ” เสี่ยงพรรคถูกยุบ
- “นโยบายก็ดีนะ แต่มีตังเท่าไหร่?” ชวนรู้จัก พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ม.57 เจ้าปัญหา
- เปิดขั้นตอนนับคะแนน “บัตรเขย่ง” ไม่นับใหม่ได้หากไม่ได้ทุจริต-ไม่เปลี่ยนผลผู้ชนะ
องค์กร-บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
ในการจัดการเลือกตั้ง องค์กรที่มีบทบาทสำคัญที่สุด คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งบริหารจัดการ ควบคุม และตรวจสอบการทุจริต สถาบันตุลาการอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลยุติธรรม ก็มีบทบาทในหลายกรณีที่ต้องชี้ขาดว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่
- รู้จักที่มา ขั้นตอนการคัดเลือก และประวัติของ กกต. ชุดปัจจุบัน
- ทำความเข้าใจบทบาทของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลอื่นๆ ในการกำกับการเลือกตั้ง
- รู้จัก “ผู้ตรวจการเลือกตั้ง” ช่วย กกต. ตรวจสอบการเลือกตั้งให้สุจริตและเป็นธรรม
- รู้จัก กปน. เขาคือใครในหน่วยเลือกตั้ง
- กปน.ระวัง! หากจงใจทำให้ผลการเลือกตั้งผิดพลาด เสี่ยงรับโทษตามกฎหมาย
- #กกตต้องติดคุก ไม่ง่าย! มีกฎหมายคุ้มครองอยู่อีก
- สำรวจงาน กกต. สากล จัดเลือกตั้งแบบใดให้ผลไม่ออกช้า?
สารพัดปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้ง
แก้ไขกฎหมายเลือกตั้ง ได้กติกาเลือกตั้ง 66 จาก “สภาล่ม”
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2565 รัฐสภาร่วมกันระหว่าง ส.ส. และ ส.ว. ต้องอภิปรายลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด ห้ายก รวมทั้งหมด 26 ข้อเสนอ แต่มีเพียงข้อเสนอเดียวที่สามารถผ่านด่านรัฐสภา จนสามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้สำเร็จ ก็คือข้อเสนอแก้ไขเรื่องระบบเลือกตั้ง ซึ่งเสนอโดย ส.ส. ฝั่งพรรคร่วมรัฐบาล หัวใจของการแก้ไขคือ การแก้ไขให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบ และให้มี ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน (ดูผลการลงมติ)
หลังการแก้รัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างก็เสนอแก้ไขกฎหมายเลือกตั้ง (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) โดยรัฐสภาต่างก็รับหลักการทุกข้อเสนอทั้งจากรัฐบาลและฝ่ายค้าน อย่างไรก็ดี การพิจารณาแก้ไขกฎหมายเลือกตั้ง กลับยืดเยื้อกินเวลานาน เมื่อเกิดเหตุการณ์โหวต “พลิกล็อค” สูตรคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (Party-List) แบบ “หาร 100” ไปเป็นแบบ “หาร 500”
แต่ท้ายที่สุดก็ยังเจอเทคนิคที่ ส.ส. จากทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคพลังประชารัฐ ไม่แสดงตนเข้าร่วมการประชุมทำให้องค์ประชุมไม่ครบ และ “สภาล่ม” ครั้งแล้วครั้งเล่า จนมาถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่จะครบ 180 วันของกำหนดเวลาการพิจารณากฎหมายเลือกตั้ง เมื่อครบกำหนดเวลาแล้วพิจารณาให้แล้วเสร็จไม่ได้ กฎหมายเลือกตั้งจึง “พลิกล็อก” อีกครั้งกลับไปใช้ “สูตรหาร 100” อีกครั้ง ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 (1) เป็นไปตามร่างกฎหมายเลือกตั้ง ฉบับที่ครม.เสนอในวาระหนึ่ง
แม้ว่าร่างกฎหมายเลือกตั้ง จะผ่านรัฐสภามาได้แล้วแบบงงๆ แต่ก็ยังถูกดึงเวลา ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายเลือกตั้งฉบับนี้ ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมี ระวี มาศฉมาดล ส.ส. พรรคพลังธรรมใหม่ ผู้เสนอสูตร “หาร 500” เป็นตัวนำในการส่งเรื่อง อย่างไรก็ดี ศาลรัฐธรรมนูญก็เคาะว่ากฎหมายเลือกตั้งไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งในเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการตรา จนสามารถประกาศใช้รองรับการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2566 ได้ในที่สุด
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณากฎหมายเลือกตั้ง ได้ดังนี้
- จับตาวาระหนึ่งการแก้ไขร่างพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส. และ ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ปี 2565
- เช็คชื่อ! ส.ส. ส.ว. ใครโหวตพลิกล็อคสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ หาร 100 vs. หาร 500
- กติกาเลือกตั้งใหม่ ใช้สูตร “หาร 500” ได้ระบบเลือกตั้ง MMA ฉบับดัดแปลง
- ย้อนดูที่มาเบอร์-บัตรเลือกตั้งสับสน สูตรแบบทหารสร้างภาระให้ประชาชน
- จับตาแก้ระบบเลือกตั้ง ไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของ ส.ส. บัญชีรายชื่อส่อเกิด “เบี้ยหัวแตก”
- จับตาโค้งสุดท้ายกฎหมายลูกเลือกตั้ง หากรัฐสภาพิจารณาไม่ทัน พลิกกลับเป็นสูตร “หาร 100”
- เลือกตั้งยังไม่ได้! กฎหมายลูกยังไม่มา ดึงเกมช้าให้ซับซ้อน
- ศาลรัฐธรรมนูญเคาะ ร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เตรียมทูลเกล้าฯ ประกาศใช้
การแบ่งเขตเลือกตั้งชวนสับสน
หลังกฎหมายเลือกตั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถูกประกาศใช้ กกต. ก็ออกประกาศสองฉบับ เป็นเรื่องจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขต และเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง และเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อการแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่การแบ่งเขตเลือกตั้งก็ไม่ได้ราบรื่น เมื่อ กกต. เอาราษฎรที่ไม่มีสัญชาติเข้ามาคำนวณเพื่อหาจำนวนที่นั่ง ส.ส. ของแต่ละจังหวัดด้วย ส่งผลให้เรื่องต้องถูกส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ให้ กกต.แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ โดยใช้จำนวนราษฎรที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น หลัง กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่แล้ว กกต. แต่ละจังหวัดก็เปิดรับฟังความเห็นประชาชนต่อโมเดลการแบ่งเขตเลือกตั้งอีกรอบ
หลังจากเคาะการแบ่งเขตเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว เรื่องก็ยังไม่จบง่ายๆ เมื่อมีผู้โต้แย้งว่า การแบ่งเขตของ กกต. สร้างความสับสนให้กับประชาชน มีการรวมเฉพาะแขวง ไม่มีเขต (อำเภอ) หลัก มาเป็นเขตเลือกตั้งใหม่ จนเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครองกลาง แต่ศาลปกครองก็ยกฟ้อง
การแบ่งเขตเลือกตั้ง ส่งผลต่อประชาชนในแง่ความเข้าใจว่าพื้นที่ที่ตนเองอยู่ จะต้องไปกาเบอร์ ส.ส. พรรคไหน การแบ่งเขตที่ซับซ้อน อาจทำให้ประชาชนสับสนได้ นอกจากนี้ บางกรณี การแบ่งเขตเลือกตั้งแบบมีเป้าหมายเพื่อสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้งได้ หรือที่เรียกว่า Gerrymandering
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้ง 2566 ได้ดังนี้
- รู้จัก Gerrymandering แค่แบ่งเขตก็กำหนดผลแพ้ชนะเลือกตั้งได้
- กกต. ดีดเขตเลือกตั้งพิสดาร รวมคนไม่มีสัญชาติไทยเข้ามาด้วย! ทำ 6 จังหวัดมี ส.ส. เพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าที่ควรเป็น
- ‘บ้านใครบ้านมัน’ ช่วยกันดูและบอกกกต. ว่าจังหวัดของฉัน แบ่งเขตเลือกตั้งแบบไหนดี?
- เปิดรับฟังความเห็นแบ่งเขตอีกรอบ ช่วยกันดูและส่งเสียงบอก กกต. ภายใน 13 มีนา
- กกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง กทม. ใครได้ใครเสีย?
- ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง! ปมกกต. ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง ชี้ชอบด้วยกฎหมาย
ส.ส. ย้ายพรรคอลหม่าน ผลพวงการแก้ระบบเลือกตั้ง
ในปี 2564 รัฐสภาโหวตผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนระบบเลือกตั้งให้กลับไปใช้บัตรสองใบและใช้ระบบการคำนวณบัญชีรายชื่อแบบคู่ขนาน แม้ว่าเกือบจะมีการพลิกล็อกในสภาเพื่อมีการพิจารณากฎหมายลูก แต่ในที่สุดระบบ MMM ที่คล้ายคลึงกับที่เคยใช้ในรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ผ่านสภารวมถึงศาลรัฐธรรมนูญไปได้
ในระบบแบบคู่ขนานหรือที่เรียกกันว่า “หารร้อย” ตามการคำนวณที่ใช้เลขจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนเป็นตัวหาร จะไม่มีการคำนวณ ส.ส.ที่พึงมีแล้ว แต่จะคำนวณที่นั่งบัญชีรายชื่อให้กับพรรคการเมืองจากสัดส่วนคะแนนในบัตรใบที่สองหรือใบที่เลือกพรรค เช่น หากได้คะแนนร้อยละ 10 พรรคนั้นก็จะได้รับที่นั่งบัญชีรายชื่อ 10 ที่นั่ง โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้ ส.ส. เขตเท่าไร ระบบ MMM นี้ให้ผลตรงกันข้ามกับระบบ MMA คือพรรคใหญ่ที่ได้คะแนนเสียงในเขตมาก ก็จะกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในขณะที่พรรคขนาดเล็กและกลางซึ่งมักจะหวังที่นั่งบัญชีรายชื่อก็จะมีจำนวน ส.ส. น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด นี่จึงเป็นเหตุให้หลายพรรคต้องเร่งปรับทัพเพื่อหนีตายระบบเลือกตั้งแบบใหม่
- กฎหมายเปิดช่อง ส.ส. ย้ายพรรคได้หากถูกขับออกจากพรรค หรือยุบ-เลิกพรรค
- ส.ส.พาเหรดย้ายพรรคอลหม่าน ผลพวงรัฐธรรมนูญ 2560
- สำรวจสามเบี้ยบนกระดานเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทย
- สำรวจสนามเลือกตั้ง ส.ส.เก่าย้ายพรรคไปไหนบ้าง?
- พรรคเล็ก/ใหม่ เร่งควบเร่งย้ายพรรค หนีตายระบบเลือกตั้งใหม่
- ส่องรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์พรรคหลัก ใครย้ายใครอยู่?
รวมปรากฏการณ์-ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
- รวมความผิดปกติก่อนถึงวันจริง และความพยายามชี้แจงจาก กกต.
- รวมแปดปัญหาการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
- เว็บล่มวันสุดท้าย! รวม 5 ปัญหา ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า
- รวมปัญหาเลือกตั้งล่วงหน้า
- กปน.เขียนเขต/รหัสหน้าซองบัตรเลือกตั้งผิด บางหน่วยเพิ่งรู้ว่าผิดตอนบ่ายสาม
- นับบัตรนอกเขต – นอกราชเต็มไปด้วยปัญหาเทคนิค
- รวมเสียงวิจารณ์การจัดการเลือกตั้งของ กกต.
- “ขอลงคะแนนใหม่” เกิดอะไรขึ้นในจังหวัดชลบุรี เขต 10 หลังการเลือกตั้ง 66
- “จากนับช้าสู่การขอนับใหม่” ปัญหาที่ยังต้องสนใจในเลือกตั้ง 66’ จังหวัดสงขลา เขต 2
ปรากฏการณ์-ไทม์ไลน์หลังการเลือกตั้ง
ผลการเลือกตั้งทั่วไป 2566 ปรากฏว่าอดีตพรรคฝ่ายค้านเอาชนะอดีตพรรคฝ่ายรัฐบาลไปอย่างถล่มทลาย ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากผลคะแนนเมื่อ 2562 แม้โฉมหน้าของเสียงข้างมากในสภา รวมไปถึงผู้ที่จะเป็นรัฐบาล จะเปลี่ยนไปจากการเลือกตั้ง 2562 แต่คนไทยก็ยังไม่ได้พบรัฐบาลและสภาชุดใหม่ในทันที แต่อาจจะกินเวลาประมาณ 65 วัน
- อดีตฝ่ายค้านแลนด์สไลด์ พรรคทหารทรุด เสียงส่วนใหญ่ไม่เอาอดีตพรรคร่วม
- คิดถึงพวกเขาไหม?? ผลเลือกตั้ง’66 ทำคนหน้าคุ้นคนไหนหายไปจากสภาบ้าง
- เปิดไทม์ไลน์หลังเลือกตั้ง 2566! อีกกี่วันคนไทยถึงได้รัฐบาลใหม่
- รวมผลเลือกตั้ง66 พลิกโผ ปิดตำนานบ้านใหญ่-ตระกูลการเมือง
- กกต. ประกาศผลแล้ว นัดประชุมรัฐสภาครั้งแรก ภายใน 15 วัน
หลังการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก ต่อมาที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็นัดประชุมเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร 4 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือกวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาด้วย และมีดิพัทธ์ สันติภาดา จากพรรคก้าวไกล นั่งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง และพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน จากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
13 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุมรัฐสภา มีนัดหมายลงมติเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 โดยเป้าหมายต้องการ 376 เสียง แม้ว่า 8 พรรคร่วมจะจับมือเหนียวแน่นเสนอพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แต่สุดท้าย ส.ว. ก็มาโหวตให้แค่ 13 คน และพรรคอื่นไม่มาเลย ทำให้ยังเลือกนายกฯ ไม่สำเร็จ
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 พรรคก้าวไกลยืนยันเสนอพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นครั้งที่สอง แต่อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส. รวมไทยสร้างชาติ และ เสรี สุวรรณภานนท์ สว. อ้างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 เสนอญัตติต่อรัฐสภาว่าการเสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นญัตติต้องห้ามตามข้อบังคับ ข้อ 41 ท้ายที่สุดที่ประชุมรัฐสภา ลงมติด้วยเสียง 395 ต่อ 317 เสียง ตีความว่าการเสนอชื่อพิธาอีกครั้ง ต้องห้ามตามข้อบังคับ ข้อ 41
ต่อมา 22 สิงหาคม 2566 ที่ประชุมรัฐสภามีมติเลือก เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 482 เสียง ไม่เห็นชอบ 165 เสียง งดออกเสียง 81 เสียง ขาดประชุม 19 คน
- เคาะแล้ว! วันนอร์นั่งประธานสภาไร้คู่แข่ง ก้าวไกล-เพื่อไทย นั่งเก้าอี้รองประธานสภา
- #โหวตนายกฯ พิธาเสียงไม่พอ “ยัง” ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
- ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง กกต. สั่งพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะวินิจฉัย
- รัฐสภามีมติ เสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ ที่โหวตไม่ผ่านซ้ำอีกรอบไม่ได้
- เพราะทำ “ผิดซ้ำผิดซ้อน” จึงเลือกนายกฯ ไม่ได้สักที
- ตรวจการบ้าน 1 เดือนประธานสภา ส่องผลงานเด็ด ทำอะไรไปบ้าง?
- ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมสภาห้ามเสนอชื่อโหวต “พิธา” ซ้ำ เหตุผู้ร้องไม่ใช่ผู้ถูกละเมิดสิทธิตรง
- เศรษฐาคว้าเก้าอี้นายกฯ คนที่ 30 ด้วยมติรัฐสภา 482 เสียง