เลือกตั้ง66: ติดภารกิจ ไม่ได้ไปเลือกตั้ง อย่าลืมแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ

สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าไปเมื่อ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 หลายคนอาจได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้วสดๆ ร้อนๆ ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ในเวลา 08.00 – 17.00 น. แต่หลายคนอาจจะไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าด้วยเหตุที่แทรกแซงขึ้นมา เช่น ติดโควิด 19 มีปัญหาสุขภาพ หรือต้องย้ายถิ่นที่อยู่ไปไกลจากที่ลงทะเบียนเลือกต้ังล่วงหน้า

คนที่ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตไปแล้ว แต่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ วันที่ 7 พฤษภาคม จะไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งวันจริง 14 พฤษภาคม 2566 ได้แล้ว เท่ากับว่าจะไม่ได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 เลย

ผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เลือกตั้งล่วงหน้า หรือเลือกตั้งวันจริง 14 พ.ค. จะต้องแจ้งเหตุไปไม่ใช้สิทธิด้วย ไม่เช่นนั้นจะเสียสิทธิบางประการ ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เป็นเวลาสองปีนับแต่วันเลือกตั้งที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิ ได้แก่

  • ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. 
  • สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
  • ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  • ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น

การจำกัดสิทธิ มีกำหนดเวลาครั้งละสองปีนับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปผู้นั้นยังไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก การเวลาการจำกัดสิทธิครั้งหลังนี้โดยนับจากวันที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่

สามารถแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ทาง https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/abscausess/ ตั้งแต่วันที่ 7-13 พฤษภาคม 2566 หรือวันที่ 15-21 พฤษภาคม 2566 วันไหนก็ได้ (7 วันก่อนวันเลือกตั้งจริง หรือ 7 วันหลังวันเลือกตั้งจริง)

You May Also Like
อ่าน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้อง ปมรัฐสภาถามเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ทำประชามติกี่ครั้ง ทำตอนไหน

17 เมษายน 2567 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเไม่รับคำร้องที่รัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาว่า รัฐสภาจะมีอำนาจในการพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญได้เลยหรือต้องทำประชามติก่อน
อ่าน

เศรษฐาแถลง ประชามติ 3 ครั้งสู่รัฐธรรมนูญใหม่ “ห้ามแตะหมวดทั่วไป-หมวดพระมหากษัตริย์” ย้ำพร้อมแก้ พ.ร.บ.ประชามติ

23 เมษายน 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุว่ารัฐบาลมีความเห็นสอดคล้องกับข้อสรุปของคณะกรรมการประชามติ ที่เห็นว่าควรมีการทำประชามติสู่รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งสิ้นสามครั้ง ไม่แตะหมวดทั่วไปและหมวดพระมหากษัตริย์ และเน้นย้ำว่าควรมีการแก้ไข พ.ร.บ. ประชามติ ควบคู่กันไปด้วย