จับตากฎหมายจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
กฏหมายที่กำลังมีการเตรียมเสนอ ต่อ สนช.
หมายเหตุ ร่าง พ.ร.บ.ที่มีเครื่องหมาย * อยู่ข้างหลังสามารถคลิกเพื่อเข้าไปหน้าสรุปหรือบทวิเคราะห์กฏหมายนั้นได้
ลำดับ | กฎหมาย | เสนอโดย | สถานะ | สาระสำคัญ |
1 | ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย* | กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | ป้องกันและปราบปรามสื่อรูปแบบต่างๆ ที่จะกระตุ้น ส่งเสริม หรือยั่วยุให้เกิดพฤติกรรมอันตราย โดยกำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สามารถเข้าตรวจค้น ยึด หรืออายัดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง | |
3 | ร่าง พ.ร.บ.มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา | กระทรวงยุติธรรม | ครม.เห็นชอบ | กำหนดเกี่ยวกับผลของการไกล่เกลี่ยคดีอาญา เช่น ผู้เสียหายจะฟ้องคดีมิได้จนกว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป การไกล่เกลี่ยไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวนต่อไป |
4 | ร่าง พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นการสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | กำหนดให้เมื่อมีการไกล่เกลี่ยคดีอาญา ผู้เสียหายจะฟ้องคดีไม่ได้จนกว่าพนักงานสอบสวนจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป ถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีอยู่ก่อนแล้วให้ศาลรอการพิจารณาคดีนั้นไว้ | |
5 | ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา* | สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ | ครม.อนุมัติหลักการ | ตั้งคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และตั้งกองทุนเพื่อนำไปสนับสนุนกิจกรรมของคณะกรรมการ พร้อมกำหนดบทลงโทษ หากมีการกระทำที่ส่งผลให้พุทธศาสนาเสียหาย |
6 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา) | สำนักงานศาลยุติธรรม | กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดและคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาอาจอนุญาติให้ฎีกาได้เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ | |
7 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา | สำนักงานศาลยุติธรรม | กำหนดให้ศาลอาจรอกำหนดโทษหรือรอการลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดซึ่งจะถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือกักขังหรือปรับและเพิ่มเติมเงื่อนไขในการคุมความประพฤติ | |
8 | ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ | สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ | กำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ระบบไต่สวน | |
10 | ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ด้วยการจัดทำแผนระดับชาติว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล |
11 | ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ |
12 | ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์* | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ |
13 | ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล* | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ครม.อนุมัติหลักการ | เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้หรือเปิดเผย และข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ สิทธิของเจ้าของข้อมูล หลักเกณฑ์การร้องเรียน และการให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล |
14 | ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ครม.เห็นชอบ | เป็นการกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ และการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ |
15 | ร่าง พ.ร.บ. กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ครม.อนุมัติหลักการ | เป็นการจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้มีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
16 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การบังคับคดี) | กระทรวงยุติธรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | คุ้มครองให้ผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่ายส่วนกลางก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพราะความรับผิดดังกล่าวเป็นของเจ้าของห้องชุดคนเดิม และเพื่อวางแนวทางให้นิติบุคคลอาคารชุดต้องดำเนินการเพื่อขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิเหนือห้องชุดดังกล่าวจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด |
17 | ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา) | สำนักงานศาลยุติธรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้าและให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในคดียาเสพติดมีผลเป็นที่สุด ฯลฯ |
18 | ร่าง พ.ร.บ. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมการจัดสรรเงินที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่ง แต่ส่วนสำคัญคือเงินรางวัลจะไม่น้อยลงไปกว่าเดิม คือจะอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 60 รายได้ของรัฐจะถูกปรับลดลงจาก 28% เหลือ 20% ส่วนต่างที่เหลือนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดซื้อสลากเลขไม่สวยและสลากที่ขายไม่หมดกลับคืน เพื่ออุดช่องโหว่ในการจำหน่ายเกินราคา |
19 | ร่าง พ.ร.บ.อาหาร | กระทรวงสาธารณสุข | ครม.เห็นชอบ | กำหนดให้การผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องจัดให้มีระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และสถานที่ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด รวมถึงการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การขอขึ้นทะเบียนอาหารควบคุมพิเศษ และการขอจดแจ้งรายการอาหารควบคุม |
20 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร [มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing)] | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ |
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดราคาซื้อขายสินค้าแบบสมยอมกัน ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลี่ยงภาษีได้ โดยได้เพิ่มบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้ และรายจ่าย รวมทั้งกำหนดอายุความในการขอคืน และกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันยื่นเอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันต่อเจ้าพนักงานประเมิน
|
22 | ร่าง พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น | กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ครม.อนุมัติหลักการ | ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งมีสารที่เป็นอันตรายเป็นส่วนประกอบ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เป็นต้น โดยให้ผู้ผลิตรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัดซาก และผลักดันให้ผู้ผลิตเพื่อปรับปรุงออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ |
23 | ร่าง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | นำกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องสรรพสามิตทั้ง 7 ฉบับมารวมเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี พร้อมทั้งให้กำหนดการประเมินภาษีจากนี้ ณ ราคาขายปลีก เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นธรรมมากขึ้น และปรับปรุงอายุความในการประเมินภาษีจาก 2 ปี เป็น 3 ปี |
24 | ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | เป็นการนำกฎหมายทั้ง 7 ฉบับมารวมกันในฉบับเดียว ประกอบด้วย กฎหมายสรรพสามิต กฎหมายภาษีสรรพสามิตเรื่องของไพ่ สุรา ยาสูบ พิกัดสรรพาสามิต การจัดสรรพเงินจากภาษีสรรพสามิต และการจัดสรรเงินจากภาษีสุรา โดยร่างฯ ฉบับนี้จะยกเลิก พ.ร.บ.เดิมในอดีตทั้งหมด 46 ฉบับ |
25 | ร่าง พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | เพิ่มบทบัญญัติเพื่อให้อำนาจแก่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องเป็นสมาชิกขององค์กรผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับสมาคมกำกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งหมด และกำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับการจดทะเบียนจัดตั้ง “องค์กรผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กำกับดูแลสมาชิก” แทน |
26 | ร่าง พ.ร.บ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ | กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | ครม.อนุมัติหลักการ | ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551, กำหนดให้จัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการ กำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ โดยมีคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ 11 คน |
27 | ร่าง พ.ร.บ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดหมายเลขกลางเพียงหมายเลขเดียวเพื่อใช้ขอความช่วยเหลือคือ 911 โดยไม่คิดค่าบริการและหากโทรก่อกวนจะมีความผิด ทั้งนี้หมายเลข 191 ยังคงใช้ได้แต่จะดึงข้อมูลมาที่หมายเลข 911 |
28 | ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | ครม.เห็นชอบ | ||
29 | ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติการเปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาค) | ศาลปกครอง | ครม.อนุมัติหลักการ | ศาลปกครองในภูมิภาคจะเปิดทำการเมื่อใดให้ประธานศาลปกครองสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ศป. ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดวันเปิดทำการ, ประธานศาลปกครองสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ศป. มีอำนาจออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลปกครองชั้นต้น, กำหนดให้บรรดาเงินต่าง ๆ ในคดีที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลปกครองหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งสิทธิให้ตกเป็นของแผ่นดิน |
31 | ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509 | คณะรัฐมนตรี | ครม.เห็นชอบ | ยกเลิก พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, กำหนดให้สมาคมการค้าที่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ. 2509 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และเมื่อได้แจ้งแล้วให้ถือว่าสมาคมดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ |
32 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรวมกันเป็นสมาคมของบุคคล) | คณะรัฐมนตรี | ครม.เห็นชอบ | กำหนดให้การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันย่อมกระทำได้ แต่ต้องมิใช่การหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน การก่อตั้งสมาคมให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, สมาคมต้องใช้ชื่อที่มีคำว่า “สมาคม” และคำว่า “จดทะเบียน” ประกอบกับชื่อของสมาคม |
33 | ร่าง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ | คณะรัฐมนตรี | ครม.เห็นชอบ | ผู้ใดใช้คำว่า “สมาคม” และคำว่า “จดทะเบียน” ประกอบกับชื่อในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นสมาคมที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้, ผู้ใดใช้คำว่าสมาคมในการดำเนินกิจการเพื่อหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ไม่ว่าจะเป็นสมาคมที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
34 | ร่าง พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ | กระทรวงสาธารณสุข | ครม.อนุมัติหลักการ |
ปรับปรุงนิยาม “เครื่องมือแพทย์” และเพิ่มนิยาม “อุปกรณ์เสริม” และ “ผู้จดแจ้ง” เพื่อสอดคล้องกับความตกลงอาเซียน, เพิ่มอำนาจรัฐมนตรีในการออกประกาศกำหนดการจัดระดับความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์, แก้ไขเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ได้แก่ ยกเลิกมาตรการตรวจสอบผ่านด่านกรณีส่งออกเครื่องมือ-แก้ไขระยะเวลายื่นคำขอตามความเหมาะสม
แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551
|
35 | ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ | กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | ครม.เห็นชอบ | กำหนดให้ผู้ประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมต้องรับผิดชดใช้ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เป็นผลจากการดัดแปลงพันธุกรรมที่ไม่อยู่ในบัญชีปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ยกเว้นพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้น เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เสียหายเอง |
36 | ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพบุคลากรการกีฬา | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ครม.อนุมัติหลักการ | จัดตั้งสภาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน องค์กรทางการกีฬา เช่น สมาคม สโมสร ชมรม ฯลฯ โดยสภาวิชาชีมีหน้าที่รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ, กำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพ, รับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ฯลฯ |
38 | ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ |
ให้อำนาจผู้มีหน้าที่รายงานส่งข้อมูลทางภาษีให้กับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจและให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจมีอำนาจในการส่งข้อมูลดังกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามความตกลงได้,
เป็นกฎหมายกลางที่ทำให้ไทยสามารถปฏิบัติตามความตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีกับรัฐบาลประเทศต่างๆ อาทิ ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย-สหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือในการปรับปรุง การปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม FATCA
|
39 | ร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ | สำนักงบประมาณ | ครม.อนุมัติหลักการ | |
40 | ร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | |
41 | ร่าง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด | กระทรวงยุติธรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | เป็นการรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยาเสพติด การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และวิธีพิจารณาคดียาเสพติด รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง มารวมไว้ในฉบับเดียวกัน พร้อมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน |
42 | ร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | ปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนกระบวนการจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงิน กระบวนการดำเนินงานของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และขยายวงเงินความคุ้มครองเงินฝากเป็นการชั่วคราวและลดลงอย่างเป็นลำดับขั้น |
43 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | กระทรวงพาณิชย์ | ครม.อนุมัติหลักการ |
เป็นการปรับปรุงกฎหมายในส่วนเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท การควบรวมบริษัท การจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อลดอุปสรรคและเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
|
44 | ร่าง พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 โดยแก้ไขขอบเขตของ “หนี้สาธารณะ” ให้ครอบคลุมเฉพาะหนี้ที่กระทรวงการคลังมีอำนาจบริหารจัดการและรับผิดชอบโดยไม่รวมหนี้ของหน่วยงานในภาคการเงิน และหนี้เงินกู้ของหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลความเสี่ยงทางการคลัง ปรับปรุงองค์ประกอบและเพิ่มเติมอำนาจของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ |
45 | ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย | กระทรวงการต่างประเทศ | ครม.อนุมัติหลักการ |
กำหนดให้การให้ความคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศหรือการประชุม
ระหว่างประเทศต้องทำความตกลงเป็นหนังสือ รวมทั้งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้และให้เท่าที่จำเป็น
|
46 | ร่าง พ.ร.บ.การบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด | กระทรวงยุติธรรม | กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด โดยมีรมว.ยุติธรรม เป็นประธาน เจ้าหน้าที่พนักงานกรมพินิจห้ามใช้เครื่องพันธนาการใดๆ กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสถานควบคุม เว้นแต่มีความจำเป็น | |
47 | ร่าง พ.ร.บ.โรงงาน | กระทรวงอุตสาหกรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมให้โรงงานจัดทำการประกันภัย หรือกองทุนสำหรับเยียวยาความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินบุคคลภายนอก กำหนดเกี่ยวกับการขอนุญาต เพิ่มบทลงโทษ |
48 | ร่าง พ.ร.บ.การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับตามคำสั่งศาลในคดีอาญา | สำนักงานศาลยุติธรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้ศาลอาจมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย |
49 | ร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย | กระทรวงอุตสาหกรรม | ครม.อนุมัติหลักการ |
ยกระดับคณะกรรมการวัตถุอันตราย ขึ้นเป็นคณะกรรมการวัตถุอันตรายแห่งชาติ, กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับการควบคุมวัตถุอันตราย, แก้ไขเพิ่มเติมอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนจากเดิมไม่เกิน 6 ปี เป็น ไม่เกิน 10 ปี, เพิ่มบทลงโทษ,
รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบมีอำนาจออกประกาศยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ สำหรับวัตถุอันตรายที่ใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และการพัฒนา
|
50 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ฯ) | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | ปรับปรุง 4 เรื่อง 1. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. การหักภาษีและนำส่งภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ 3. การจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และ 4. การนำส่งข้อมูลธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ |
51 | ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน | กระทรวงแรงงาน | ครม.อนุมัติหลักการ | ปรับปรุงแก้ไขขอบเขตการใช้บังคับให้ครอบคลุมถึงลูกจ้างของส่วนราชการ, เพิ่มเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง, ลดการจ่ายเงินเพิ่มกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบหรือจ่ายไม่ครบจำนวน และแก้ไขบทกำหนดโทษ |
52 | ร่าง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ | กระทรวงพาณิชย์ | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขนิยาม คำว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย” ให้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้เสียในการไต่สวนการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน และกำหนดให้มีบทบัญญัติในเรื่องมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน เป็นหมวดใหม่ |
53 | ร่าง พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ผู้ว่าฯ กทม.และประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเข้าไปด้วย, เพิ่มผู้นำเครือข่ายชุมชน นักวิชาการ ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าเป็นคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวระดับพื้นที่ |
55 | ร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ | กระทรวงอุตสาหกรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้ตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา ตราด หนองคาย นราธิวาส เชีนงราย นครพนม กาญจนบุรี เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามร่าง พ.ร.บ.นี้, อนุญาตให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ การยกเว้นหรือการลดหย่อนภาษี การนำคนต่างด้าวเข้ามา, |
56 | ร่าง พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | กระทรวงอุตสาหกรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขให้ กนอ. มีอำนาจอนุมัติตามกฎหมาย จากเดิมที่มีอยู่ 3 ฉบับ เป็น 9 ฉบับ เพื่อให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จภายในเขตนิคมอุตสาหกรรมสอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ |
57 | ร่าง พ.ร.บ.กักพืช | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขนิยามคำว่า “พืช” โดยตัดถ้อยคำว่า ผึ้ง รังผึ้ง ออก, แก้ไขส่วนของคณะกรรมการ เช่น เพิ่มอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้แทน และเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติหรือผู้แทน |
58 | ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้ดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ, จัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 5 ปี, จัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจและพัฒนารัฐวิสาหกิจในฐานะผู้ถือหุ้นเชิงรุก |
59 | ร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ครม.อนุมัติหลักการ |
แก้ไขเพิ่มเติม.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร
พ.ศ.2551 อาทิ บัญญัติให้ พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่ “สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีมาตรฐานบังคับไว้ภายใต้กฎหมายอื่นแล้ว”, แก้ไขให้สินค้าเกษตร หรือขนาดหรือลักษณะของกิจการของการผลิต ส่งออก หรือนำเข้าสินค้าเกษตร อยู่ภายใต้มาตรฐานบังคับทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ เป็นต้น
|
61 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (การไต่สวนมูลฟ้อง หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียม) | สำนักงานศาลยุติธรรม | ครม.อนุมัติหลักการ |
กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งทนายความให้แก่จำเลยและให้สิทธิจำเลยแถลงให้ศาลทราบถึงพยานหลักฐานที่ควรเรียกมาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง, เพิ่มบทบัญญัติการกำหนดกรณีที่ศาลอาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้
|
62 | ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ครม.อนุมัติหลักการ | เป็นการอนุวัติตามข้อตกลง ASEAN MRA on TP, ให้มีคณะกรรมการรับรองสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว มีอำนาจประเมินสมรรถนะของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เช่น บุคลากรแผนกแม่บ้าน แผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกประกอบอาหาร เป็นต้น และออกหนังสือรับรองสมรรถนะ |
63 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล | สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา | ครม.เห็นชอบ | ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่มีหลักการในลักษณะเดียวกันกับบทบัญญัติดังกล่าวมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ |
65 | ร่าง พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล | สภาความมั่นคงแห่งชาติ | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเรียกโดยย่อว่า “นปท.” โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกฯ เป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล |
66 | ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ | กระทรวงกลาโหม | ครม.อนุมัติหลักการ | พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่อาวุธที่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. 2550, กำหนดให้อาวุธซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 21 ต.ค. 2519 มีไว้ในครอบครองโดยได้รับอนุญาตตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 37 ให้ถือว่าเป็นอาวุธซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.นี้ |
67 | ร่าง พ.ร.บ.การค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง | กระทรวงพาณิชย์ | ครม.อนุมัติหลักการ | กำกับการส่งออก ผ่านแดน ถ่ายลำ และการเป็นคนกลางซึ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง |
68 | ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม | สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม | ครม.อนุมัติหลักการ |
แก้ไขนิยามคำว่า “วิสาหกิจ” และ “องค์การเอกชน” ให้ครอบคุลมถึงภาคการเกษตร, ให้ใช้เกณฑ์จำนวนรายได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้วย
|
69 | ร่าง พ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก | กระทรวงอุตสาหกรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารจัดการ การพัฒนาพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกรวม 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา |
71 | ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ครม.อนุมัติหลักการ |
ให้เจ้าของที่ดินสามารถโอนที่ดินให้ทายาทโดยธรรม, เพิ่มให้ ส.ป.ก. มีอำนาจในการจัดซื้อที่ดินนอกเขตปฏิรูปที่ดินได้ โดยไม่ต้องประกาศเขตปฏิรูป
ที่ดิน, ยกเลิกการห้ามจำหน่ายหรือก่อให้เกิดภาระติดพันใดๆ ในที่ดิน
|
72 | ร่าง พ.ร.บ.สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย | กระทรวงยุติธรรม | ครม.อนุมัติหลักการ | ให้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 เป็นสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้ |
73 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (การกำหนดฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | ในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน ให้เจ้าพนักงานผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใช้ราคาขายที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินแสดงหรือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้นั้น |
74 | ร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต | กระทรวงสาธารณสุข | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 กำหนดให้คณะกรรมการสถานบำบัดมีอำนาจให้ความยินยอมในการบำบัดรักษาทางกายแทนบุคคล (ผู้ป่วย) รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติจัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพจิต การป้องกันและควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต แบบมีส่วนร่วม โดยเชื่อมโยงกันทั้งระดับชาติ จังหวัด และท้องถิ่น |
75 | ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | ตั้งคณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาและกำกับดูแลระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศให้มีความครอบคลุมและมีเอกภาพ |
76 | ร่าง พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | จัดตั้ง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ” กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกรายที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบขั้นบันได |
77 | ร่าง พ.ร.บ.กองทุนเพื่อการสนับสนุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | จัดตั้งกองทุนรวมฯ เพื่อจัดหาแหล่งทุนใหม่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ และสนับสนุนให้โครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐได้รับการพัฒนามากขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะ |
78 | ร่าง พ.ร.บ.นโยบายการกีฬาแห่งชาติ | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ครม.อนุมัติหลักการ | ให้มีคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ, กำหนดให้แผนการพัฒนากีฬาแห่งชาติมีระยะเวลา 5 ปี |
79 | ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้ผู้ประกอบการใช้สกุลเงินต่างประเทศในการคำนวณรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได้, ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
80 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | เพื่อให้บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถใช้สกุลเงินต่างประเทศในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการกำหนดให้ใช้สกุลเงินอื่น ที่ไม่ใช่สกุลเงินไทยในการคำนวณรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม |
83 | ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ครม.อนุมัติหลักการ | ยกเลิก พ.ร.บ.สถาบันพลศึกษา พ.ศ. 2548 และให้สถาบันการพลศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, ให้แบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 ภาค ได้แก่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยแต่ละภาคประกอบด้วยวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา |
86 | ร่าง พ.ร.บ.การยาสูบแห่งประเทศไทย | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้โรงงานยาสูบมีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยเปลี่ยนชื่อเป็น การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) กำหนดให้มีคณะกรรมการยาสูบแห่งประเทศไทย กำหนดให้มีผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย |
87 | ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ | สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) | ครม.อนุมัติหลักการ | ปรับเปลี่ยนสถานภาพของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม |
88 | ร่าง พ.ร.บ.โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม | กระทรวงสาธารณสุข | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดกลไก หลักเกณฑ์ และมาตรฐานเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกันและการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม |
91 | ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง | กระทรวงคมนาคม | ครม.อนุมัติหลักการ | ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดนโยบาย เสนอความเห็นและให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรี, อธิบดีอาจเพิกถอนอนุญาตได้ เมื่อผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิธีการประกอบกิจการที่ดีจนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน |
92 | ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย | ครม.เห็นชอบ | ขยายหลักการในเรื่องผู้เสียหายกรณีบุคคล ผู้ถูกกระทำให้สูญหาย เพื่อให้สามี ภริยา ผู้บุพการี และผู้สืบสันดานของผู้ได้รับความเสียหายสามารถเข้ามาต่อสู้คดี, กำหนดให้คดีความผิดตามร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ, แก้ไขเพิ่มเติมให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ | |
94 | ร่าง พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร | กระทรวงสาธารณสุข | ครม.อนุมัติหลักการ | ควบคุม กำกับ ดูแลเป็นการเฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่เป็นยาแผนไทย ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร |
95 | ร่าง พ.ร.บ.กีฬามวย | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ. 2542 ยกเลิกกองทุนกีฬามวย และโอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระผูกพัน สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างของกองทุนกีฬามวยตาม พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ. 2542 ให้ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 |
96 | ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ | กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 63/2559, ยกเลิกหมวด 5 กองทุน (กองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพ) และให้โอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน ภารผูกพัน สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างของกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 |
97 |
ร่าง พ.ร.บ.สหกรณ์
|
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากภาคเอกชนเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ, นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งใดๆ และดำเนินคดีต่อบุคคลที่ทำให้สหกรณ์เสียหาย |
98 | ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ | คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ | ครม.อนุมัติหลักการ | กำหนดให้มี คทช. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน, การดำเนินนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน |
99 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน | คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของ คจช. และแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ คจช. ให้มีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับอำนาจของ คทช. |
100 |
ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว
|
ครม.อนุมัติหลักการ | ยกเลิกฉบับ 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ กำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว การให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การบำบัดฟื้นฟู และวิธีปฏิบัติต่อบุคคลในครอบครัว | |
101 | ร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียว | กระทรวงพาณิชย์ | ครม.เห็นชอบ | เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าสู่ระบบด้วยการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย |
102 | ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย | กระทรวงการคลัง | ครม.อนุมัติหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจในการกระทำกิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ |
* คสช./ครม.อนุมัติหลักการ หมายถึง ฝ่ายบริหารรับร่างกฎหมายแล้วส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อ
** คสช./ครม.เห็นชอบ หมายถึง คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จส่งให้ฝ่ายบริหารเห็นชอบก่อนส่งให้ สนช.
กฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.
ลำดับ | กฎหมาย | เสนอโดย | สถานะ | สาระสำคัญ | |
1 | ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล* | ครม. | ผู้เสนอขอถอน | กำหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยห้ามผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือความดูแลของตน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคล | |
6 | ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว | รับหลักการ | แก้ไขนิยามเกี่ยวกับเด็กจากเดิมที่ว่า บุคคลอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ เป็น บุคคลที่มีอายุ 10 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์, . แก้ไขกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุเด็กและปรากฏภายหลังว่าเด็กนั้นมีอายุไม่เกิน 10 ปี ในขณะกระทำความผิดและเด็กอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจหรือองค์การอื่นใด ให้สถานพินิจหรือองค์การดังกล่าวรายงานให้ศาลทราบ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวเด็กและให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก | ||
8 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (มาตรการปรับปรุงการยกเว้นเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน) | กระทรวงการคลัง | รับหลักการ | เพื่อให้สอดรับกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อบุตรหนึ่งคนตลอดปีภาษี โดยให้คิดเฉพาะเงินได้ที่ได้รับมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป | |
10 | ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต | กระทรวงการคลัง | รับหลักการ | เป็นการนำกฎหมายทั้ง 7 ฉบับมารวมกันในฉบับเดียว ประกอบด้วย กฎหมายสรรพสามิต กฎหมายภาษีสรรพสามิตเรื่องของไพ่ สุรา ยาสูบ พิกัดสรรพาสามิต การจัดสรรพเงินจากภาษีสรรพสามิต และการจัดสรรเงินจากภาษีสุรา โดยร่างฯ ฉบับนี้จะยกเลิก พ.ร.บ.เดิมในอดีตทั้งหมด 46 ฉบับ | |
11 | ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน | กระทรวงแรงงาน | รับหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษความผิดที่กระทำต่อแรงงานเด็ก | |
14 | แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (แก้ไขอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด) | สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา | รับหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ, ปรับปรุงโทษ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัส, ปรับปรุงอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด โดยเพิ่มอัตราโทษปรับในสัดส่วนอัตราโทษจำคุกหนึ่งปีต่ออัตราโทษปรับสองหมื่นบาท | |
15 | ร่าง พ.ร.บ.สถาบันภูมิราชธรรม | ครม. | ผ่่านวาระ 1 | ให้มีการจัดตั้ง “สถาบันภูมิราชธรรม” เป็นสถาบันอุดมศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ และอยู่ในอุปถัมภ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ | |
16 | ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ | ครม. | ผ่านวาระ 1 | ||
19 | ร่าง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน | กระทรวงมหาดไทย | รับหลักการ | แก้ไขผู้ออกใบอนุญาตและผู้ขอใบอนุญาต, กำหนดมาตรการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนชนิดร้ายแรง, กำหนดมาตรการควบคุมดอกไม้เพลิงชนิดร้ายแรง เช่น บั้งไฟ ตะไล | |
20 | ร่าง พ.ร.บ.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม | รับหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 โดยขยายขอบเขตของหลักทรัพย์และสถาบันการเงินเพื่อให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้กว้างขึ้น และเพิ่มอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ของบรรษัทฯ | ||
21 | ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารออมสิน | กระทรวงการคลัง | รับหลักการ | แก้ไขให้คณะกรรมการธนาคารออมสินเป็นผู้กำหนดวงเงินค่าใช้จ่าย ประกาศงบดุล และประกาศฐานะการเงินโดยย่อของธนาคารออมสินประจำไตรมาสภายในหกเดือนต้นของปีถัดไป ประกาศรายงานประจำปีว่าด้วยธุรกิจซึ่งธนาคารออมสินได้จัดทำในระหว่างปี และให้ธนาคารออมสินสามารถได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือจากแหล่งอื่นได้ | |
22 | ร่าง พ.ร.บ.ระบบการชำระเงิน | กระทรวงการคลัง | รับหลักการ | สถาบันใดก็ตาม เมื่อโอนเงินเสร็จสิ้นตามกระบวนการแล้ว ต่อมาภายหลังมีคำสั่งของศาลมาว่าล้มละลาย จะเพิกถอนสิ่งที่โอนไปแล้วกลับมาไม่ได้ เพราะถือว่าได้ดำเนินการจนสิ้นสุดไปแล้ว | |
23 | ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ | รับหลักการ | |||
24 | ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (เกี่ยวกับการพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการ) | สำนักงานศาลยุติธรรม | รับหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการผู้นั้นมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ | |
25 | ร่าง พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (เกี่ยวกับการกำหนดให้ข้าราชการตุลาการไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบห้าปี) | สำนักงานศาลยุติธรรม | รับหลักการ | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส พ.ศ. 2542 เพิ่มเติมให้ข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่และให้ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส จนกว่าจะพ้นจากราชการตามกฎหมาย | |
26 | ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ | สำนักงานอัยการสูงสุด | รับหลักการ | กำหนดให้อัยการอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) | |
27 | ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | รับหลักการ | ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินและกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบจัดเก็บภาษีดังกล่าวแทน | ||
28 | ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน | กระทรวงแรงงาน | รับหลักการ | เพิ่มมาตรา 118/1 ให้กรณีการเกษียณอายุเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง ในกรณีที่มิได้ตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุลูกจ้างไว้ให้ลูกจ้างเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย และกำหนดโทษสำหรับนายจ้างที่ฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ | |
29 | ร่าง พ.ร.บ.มาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล | รับหลักการ | กำวหนดมาตรการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและผู้ที่หลบหนี รวมทั้งการนำเงินค่าปรับตามคำพิพากษาในคดีอาญามาเป็นค่าใช้จ่ายในมาตรการนี้ด้วย | ||
30 | ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน | รับหลักการ | |||
31 | ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 | รับหลักการ | |||
32 | ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง | รับหลักการ |
กฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของ สนช.
ลำดับ | กฎหมาย | เสนอโดย | สถานะ | สาระสำคัญ |
1 | พ.ร.บ.ศุลกากร * | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
แก้ไขพ.ร.บ.ศุลกากร เดิม กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อพิจารณากำหนดราคาของนำเข้ากำหนด ถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้า กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากร
|
2 | พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2557 |
คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
แก้ไขข้อความของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ เดิม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (กศป.) ให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีความกังวลว่าการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 จะทำให้กศป.ต้องสิ้นสุดลงหรือไม่
|
3 | พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2557 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้กฎหมายปี 2549 จากการ “รักษาความปลอดภัย” เป็น “ถวายความปลอดภัย” ทหารและตำรวจมีหน้าท่ีในการถวายความปลอดภัยตามที่สมุหราชองครักษ์กําหนด |
4 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20* | คสช. | คุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก้ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ค้ำประกันรู้ก่อนภายใน 60 วันนับแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ | |
5 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63)* | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
กำหนดให้การขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ให้ยื่นคำร้องขอคืนได้ภายในสามปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี
|
6 | พ.ร.บ.การ กลับไปใช้ในสิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2557 |
คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
ขยายสิทธิให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนำญข้าราชการ และผู้รับบำนาญอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติ หมวด 3 ใช้บังคับ สามารถกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนำญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ได้
|
7 | พ.ร.บ.แก้ไข เพิ่มเติม พรก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2557 |
คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกกร ให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง มีอำนาจกำหนดอัตราศุลกากรตามราคาหรือตามสภาพได้ ให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจกำหนด ถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ และตีความพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อจำแนกประเภทของของล่วงหน้ำก่อนการนำของเข้ามาในราชอาณาจักร |
8 | พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน (ฉบับที่ 3) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขมาตรา 25 พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน ให้ทายาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนซึ่งเสียชีวิตภายหลังจากที่ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุพิการทุพพลภาพมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด |
9 | พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2557 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขปรับเกณฑ์น้ำหนักรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลให้เพิ่มขึ้นจาก 1,600 กก. มาเป็น 2,200 กก. ให้อำนาจนายทะเบียนในการเข้าตรวจสถานที่และยึดแผ่นป้ายทะเบียนรถที่ค้างชำระภาษี และปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมและบทกำหนดโทษ |
10 | พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2557 (ปรับปรุงหน่วยงานที่ได้รับยกเว้นภาษี) | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงน้ำหนักของรถยนตร์ส่วนบุคคลจาก 1,600 กก. เป็น 2,200 กก. เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถในปัจจุบันที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการการตรวจสภาพรถให้ได้รับความเป็นธรรม และปรับปรุงบทกำหนดโทษ |
พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2557 | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนการรูปแบบของหน่วยงานรัฐใหม่ จึงต้องแก้ไขกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้รับการยกเว้นการขออนุญาตการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีประจำปี | ||
11 | พ.ร.บ.การรับขนคนโดยสารทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2557 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้มีกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดในเรื่องการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะตามที่ได้มีการทำความตกลงระหว่างประเทศ |
12 | พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขพ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด กำหนดให้มีคณะกรรมการชั่งตวงวัด กำหนดการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจชั่งตวงวัด และการควบคุมเครื่องชั่งตวงวัด กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษทางอาญา และปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม |
13 | พ.ร.บ.การคุ้มครอง คนไร้ที่พึ่ง* |
คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางดำเนินการให้ความคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และให้จัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เพื่อให้ความช่วยเหลือบุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ |
14 | พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2557 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษสายบางพลี – สุขสวัสดิ์ ในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (ที่ดินจำนวน 26 แปลง) |
พ.ร.บ.ศุลกากร ( ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2557 |
คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดหลักเกณฑ์การนำสินค้าผ่านเข้าออกประเทศ กำหนดถิ่นของที่นำเข้า รวมทั้งกำหนดพิกัดนำเข้าสินค้า | |
15 | พ.ร.บ.ศุลกากร ( ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2557 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.ศุลกากร เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินพิธีการศุลกากรที่ใช้กับพื้นที่ควบคุมร่วมกัน |
16 | พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดหลักเกณฑ์ป้องกันการทำรุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์เพื่อให้สัตว์ได้รับการคุ้มครองตามธรรมชาติของสัตว์อย่างเหมาะสมตามประเภทและชนิดของสัตว์ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้ ในงานหรือใช้ในการแสดง |
17 | พ.ร.บ.ส่งเสริมการ พัฒนาฝืมือแรงงาน พ.ศ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 |
คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานฯ เพื่อกำหนดสาขาอาชีพ หรือลักษณะงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะหรือต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ ซึ่งต้องดำเนินการโดยผู้ผ่านการรับรองความรู้ความสามารถ กำหนดให้ค่าธรรมเนียมหรือค่าทดสอบตกเป็นเงินของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการซึ่งจ้างงาน ฯลฯ |
18 | พ.ร.บ.สถาน พยาบาลสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.สถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ.2533 ในบทนิยาม แก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาต กำหนดให้ผู้รับอนุญาตแสดงรายการอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ แก้ไขอัตราค่าธรรมเนียม ฯลฯ |
19 | ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ปรับปรุงหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นภาษีประจำปี) | กระทรวงคมนาคม | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีรถประจำปีให้มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ วัด มัสยิด มูลนิธิ สภากาชาดไทย |
20 | พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558* | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | จัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำร้อง และศูนย์รับคำขออนุญาตตามกฎหมายต่างๆ ให้ยื่นได้ ณ จุดเดียว กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตของหน่วยราชการให้ชัดเจน |
21 | พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 | คสช. | แก้ไขพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับบทบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาตที่กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกฯ โดยแก้ไขหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอและกำหนดระยะเวลาในการทำคำสั่ง ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายอื่นกำหนดระยะเวลาในเรื่องนั้นไว้ | |
22 | พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันเพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่เกิดกับสัตว์ การทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น |
23 | พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
แก้ไขพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
(1) หลักเกณฑ์การนำเข้า ส่งออก สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยให้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า
(2) แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 55)
(3) แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียม
|
24 | พ.ร.บ.งาช้าง พ.ศ. 2558 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดมาตรการควบคุมการค้าหรือการครอบครองงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปงาช้าง เพื่อมิให้มีการนำงาช้าง ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาปะปน กับงาช้างตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาCITES ที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามในฐานะประเทศสมาชิก |
25 | พ.ร.บ.การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติระหว่างประเทศ |
26 | พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558* | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 ให้ผู้ควบคุมอากาศยานไทยและเจ้าหน้าที่มีอำนาจรับแจ้งและรับตัวบุคคลผู้กระทำความผิดในอากาศยานในระหว่างการบิน เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดที่กำหนดในอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี กำหนดความผิดที่ผู้โดยสารได้กระทำในอากาศยานในระหว่างการบินต่อผู้ควบคุมอากาศยาน เจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ผู้โดยสารและต่อทรัพย์สิน |
27 | พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2557 (ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์)* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่พบการกระทำความผิด สามารถส่งใบสั่งไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ (แก้ไขมาตรา 140 วรรคหนึ่ง) |
28 | พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 (กำหนดสัญญาณจราจรเพิ่มเติมกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรได้)* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก โดยกำหนดอุปกรณ์เพื่อช่วยในการแสดงสัญญาณจราจร (เพิ่มมาตรา 24 วรรคสาม) และกำหนดข้อสันนิษฐานในกรณีผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบโดยไม่มีเหตุอันควร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142) |
29 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 (มาตรการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้ห้างหุ้นส่วนสามัญและนิติบุคคล)* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
1) เพิ่มนิยามคำว่า “คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล” หมายความว่าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกันอันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
2) กำหนดให้เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ไม่ได้รับการยกเว้นจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้
|
30 | พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 * | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากโรงภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และเพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าว (เพิ่มมาตรา 28/1 และมาตรา 69/1) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของคนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางสติปัญญา (เพิ่มมาตรา 32 วรรคสอง (9)) |
31 | พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 * | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพิ่มบทนิยามคำว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” “มาตรการทางเทคโนโลยี” และ “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ กรณีการทำซ้ำที่จำเป็นในระบบคอมพิวเตอร์ เพิ่มอำนาจศาลให้สั่งริบสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ |
32 | พ.ร.บ. ความลับทางการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไข พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ในประเด็นองค์ประกอบ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และวิธีการประชุมของคณะกรรมการ และยกเลิกลักษณะต้องห้ามของกรรมการ และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ |
33 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 26)* พ.ศ.2558 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพื่อกำหนดกระบวนกำหนดเพิ่มการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายจำนวนมากในการดำเนินคดีครั้งเดียว |
34 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2558 (กำหนดความผิดเกี่ยวกับเพศ)* | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขความผิดเกี่ยวกับเพศและความผิดต่อเสรีภาพที่มีอายุเด็กเป็นองค์ประกอบความผิด โดยกำหนดไม่ให้ผู้กระทำความผิดอ้างความไม่รู้ของอายุของเด็กเพื่อให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้ |
35 | พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดข้อยกเว้นในการให้สินเชื่อแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้มีตำแหน่งเทียบเท่า หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวได้ โดยเฉพาะกรณีก่อนรับตำแหน่ง |
36 | ร่าง พรบ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์) | กระทรวงพาณิชย์ | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | จัดตั้งสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าเป็นส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงพาณิชย์ |
37 | ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (จัดตั้งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ) |
กระทรวงการต่างประเทศ | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกฐานะสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ขึ้นเป็นกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยให้เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ |
38 | พ.ร.บ. ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภา และกำหนดให้รายได้ ที่ได้รับจากการให้บริการทางด้านวิชาการและการจัดการศึกษาอบรมสามารถนำไปใช้จ่ายในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน |
39 | พ.ร.บ. กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ขยายหลักสูตรการสอนของสถาบันการศึกษาวิชาการทหารจากระดับปริญญาโทเป็นระดับปริญญาเอก และให้สภาการศึกษาวิชาการทหารมีอำนาจให้ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงและประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่นักเรียนวิชาการทหาร |
40 | พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ลดขั้นตอนการจัดรูปที่ดินให้สามารถดำเนินการได้เร็ว และส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รวมทั้งนำหลักการของกฎหมายว่าด้วยคันและคูน้ำมากำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้และยกเลิกกฎหมายดังกล่าว |
41 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22)พ.ศ. 2558 (กำหนดนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน”)* | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” ให้รวมถึงบุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะประจำหรือชั่วคราว เพื่อให้มีความชัดแจ้งและลดข้อโต้แย้ง พร้อมทั้งเพิ่มลักษณะความผิดเกี่ยวกับศพ ความผิดเกี่ยวกับการคุกคาม และปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิดลหุโทษ |
42 | พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การขู่เข็ญ การใช้กำลังประทุษร้าย |
43 | พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมโครงสร้างบริษัทผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทประกันภัยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น |
44 | พ.ร.บ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมโครงสร้างบริษัทผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทประกันภัยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยจากกองทุนประกันชีวิตเพื่อให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น |
45 | พ.ร.บ.สัตว์เพื่องาน ทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดการกำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคุ้มครองชีวิตและสวัสดิภาพของสัตว์ ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมนักวิจัยให้มีผลงานอันเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศต่อไป |
46 | พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมการออกใบรับรองระบบการประกันคุณภาพอาหารสัตว์ และใบรับรองอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์ การเลิกกิจการและการโอนกิจการ รวมทั้งเรื่องการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบรับรอง และการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์เพื่อประโยชน์ด้านคุณภาพอาหารสัตว์และคุ้มครองผู้บริโภค |
47 | พ.ร.บ. ยกเลิก พรบ.การชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2558 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกเลิกพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พุทธศักราช 2482 |
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2558 (จัดตั้งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพื่อให้การดำเนินงานความร่วมมือเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศสามารถปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและความคล่องตัว จึงสมควรยกระดับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ขึ้นเป็นกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ | |
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2558 (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทย และเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน | |
48 | พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฯ เพื่อแบ่งส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
49 | พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งประเทศไทย และหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสมาคมกีฬา |
50 | พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้ประชาชนหรือชุมชนประมงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการส่งเสริมให้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำได้คุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัยเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค |
51 | พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | จัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการผลิต การพัฒนา และการเผยแพร่สื่อ ที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ดีของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาสื่อ |
52 | พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ |
53 | พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บเงินจากสถาบันเงินของรัฐเข้ากองทุน เพื่อนำไปช่วยเหลือและสนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ |
54 | พ.ร.บ.การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เนื่องจาก คสช. มีประกาศเรื่องการแต่งตั้งบุคคลในหน่วยงานต่างๆ อาทิ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แต่การแต่งตั้งดังกล่าวได้มีการยกเลิกคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการดังกล่าว เป็นเหตุให้คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด มีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกัน ก่อให้เกิดความสับสน จึงต้องตรากฎหมายฉบับนี้ให้มีความชัดเจน ว่าใครปฎิบัติหน้าที่อย่างไร |
55 | พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้มี คกก.นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบายและแผนการบริหารจัดการ ให้มีการสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชนชายฝั่งและ อปท.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และกำหนดกลไกและมาตรการในการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
56 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ.2540 พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมให้การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องโอนทรัพย์สินอย่างเด็ดขาดไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจ แต่สามารถใช้วิธีให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากนิติบุคคลเฉพาะกิจแทนได้ |
57 | พ.ร.บ. สถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558 |
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | จัดตั้งสถาบันวิทยาลัยชุมชน โดยกำหนดให้มีหน้าที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่ำปริญญา และฝึกอบรมด้านวิชาการหรือวิชาชีพ ซึ่งรูปแบบการจัดการศึกษาให้คำนึงถึงการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง |
58 | พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงอำนาจหน้าที่คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการออกข้อบังคับสภาในเรื่องใบอนุญาต รวมทั้งกำหนดเรื่องอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต เพื่อให้การประกอบวิชาชีพมีคุณภาพและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค |
59 | พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. (ฉบับที่2) 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมและจูงใจมีการปลูกสร้างสวนป่าควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กรอบความร่วมมือด้านป่าไม้ของอาเซียน |
60 | พ.ร.บ.หอพัก พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้หอพักมี 2 ประเภท คือ หอพักชายและหอพักหญิง และหอพักเอกชนกำหนดให้รับผู้พักได้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากผู้พักดังกล่าวสามารถดูแลตนเองได้พอสมควร |
61 | พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เรียกอีกอย่างว่า กฎหมายอุ้มบุญ มุ่งสนับสนุนผู้ต้องการมีบุตรด้วยการอุ้มบุญอย่างถูกกฎหมาย ทั้งคู่สามีภรรยา คนโสด และกลุ่มเพศที่สาม โดยที่พ.ร.บ.จะคุ้มครองทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้รับตั้งครรภ์ และเด็กที่เกิดมา ให้ได้รับสิทธิต่างๆ จากพ่อแม่ทางพันธุกรรม |
62 | พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 8)* พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ศาลจังหวัดทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร และกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทหารมีอำนาจสั่งควบคุมผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารได้ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็น |
63 | พ.ร.บ.ประกันสังคม* (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ขยายขอบเขตการบังคับใช้ให้ครอบคลุมลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ กำหนดการคำนวณค่าจ้างรายวันในการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ รวมทั้งเพิ่มหลักเกณฑ์และอัตราเงินสมทบที่รัฐจะออกให้แก่ผู้ประกันตน |
64 | พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป |
65 | พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป |
66 | พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป |
67 | พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป |
68 | พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินเดือนประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป |
69 | พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพิ่มอำนาจทางปกครองให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายในการเข้าไปตรวจตรา และหากพบการกระทำความผิดค้ามนุษย์ ให้ปิดสถานประกอบกิจการ โรงงาน อาคาร หรือสั่งห้ามใช้เรือและยานพาหนะ เป็นการชั่วคราว |
70 | พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น จำนวน 11 ฉบับ |
71 | พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ผู้ชุมนุม แจ้งวัน เวลา และสถานที่ชุมนุมต่อหัวหน้าสถานีตำรวจในท้องที่ ห้ามชุมนุมในสถานที่ราชการ ห้ามชุมนุมในพื้นที่ระยะรัศมี 150 เมตร จากสถานที่ประทับของพระบรมวงศ์นุวงศ์ ฯลฯ และห้ามการจัดปราศรัย เดินขบวน หรือการเคลื่อนย้าย ในช่วงเวลา 22.00น.- 06.00น. |
72 | พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3)* พ.ศ. 2558 | ประธานกรราการ ป.ป.ช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ป.ป.ช.มีอำนาจในการจับกุม ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดเผยทรัพย์สินด้วย ให้ความผิดฐานคอร์รัปชั่นมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และไม่มีอายุความ |
73 | พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ |
74 | พ.ร.บ.การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เปิดโอกาสให้เจ้าของเรือสามารถจัดหาเรือใหม่เพิ่มเติมและพัฒนากองเรือของตนเองได้โดยใช้ทรัพย์สินที่เป็นเรือที่อยู่ระหว่างการต่อหรือสร้างมาเป็นหลักประกันแก่ผู้ให้สินเชื่อ และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการต่อเรือและธุรกิจพาณิชยนาวีของประเทศ |
75 | พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น |
76 | พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น |
77 | พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น |
78 | พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น |
79 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (สื่อลามกอนาจารเด็ก)* | จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กับคณะ | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดความผิดเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกเป็นความผิดเฉพาะการมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า เพื่อการแจกจ่าย หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน |
80 | พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4 )พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงขึ้นได้โดยที่นายจ้างไม่จำต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้น |
81 | พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้จัดตั้งองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบ บริหารจัดการกองทุนพัฒนายางพารา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา |
82 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 (แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับค้ำประกันและจำนอง)* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลสามารถผูกพันตนเพื่อรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมได้ รวมทั้งสามารถทำข้อตกลงล่วงหน้ายินยอมให้มีการผ่อนเวลาได้ หากเป็นสถาบันการเงินหรือประกอบอาชีพค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติ |
83 | พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก ผู้ได้รับมรดกเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน |
84 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้จากการรับให้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาษีมรดก |
85 | พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ผู้รับใบอนุญาต เจ้าของหรือผู้ครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่กำหนด และกำหนดอายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว รวมทั้งการให้ผู้ต้องรับผิดและชดใช้ค่าเสียหายแล้ว มีสิทธิในการไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่มีส่วนในการทำให้เกิดความเสียหายด้วย |
86 | พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ลดขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ เพื่อให้การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้มีความรวดเร็วขึ้น |
87 | พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้อำนาจของเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกี่ยวกับการอนุญาต การออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การมีคำสั่งไม่อนุญาต และการสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีมีอำนาจในการยกเว้นค่าธรรมเนียม |
88 | พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภค และกำหนดให้การโฆษณาเครื่องสำอางจะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค |
89 | พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกเลิกการกำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาพฤติการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือการดำเนินการแทนของบุคคล หรือตามคำสั่ง หรือภายใต้การควบคุมของบุคคลที่ถูกกำหนด ที่ต้องมีพฤติการณ์ดังกล่าวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด |
90 | พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | พัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ |
91 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา)* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดและคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาอาจอนุญาติให้ฎีกาได้เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ |
92 | พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้เจ้าของอาคารบางประเภทต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเสียหาย |
93 | พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน |
94 | พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา18 ของพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 โดยให้แก้มาตรา 18(1) ให้ประธานศาลอุทธรณ์ทำหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการศาล ยุติธรรม(ก.ศ.) จากเดิมที่เป็นรองประธานศาลฎีกาอาวุโสสูงสุด และมาตรา18(3) แก้ไขถ้อยคำตามระบบข้าราชการจากที่เคยใช้การจัดระดับมาตรฐานกลาง (ซี11ระดับ) เป็นการจัดระดับประเภทตำแหน่ง (4ประเภท) และให้มีการแก้ไขบทเฉพาะกาลให้ผู้ที่เป็นก.ศ.เดิม ยังทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าครบวาระ |
95 | พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ ให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน |
96 | ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | คณะรัฐมนตรี | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 เพื่อให้พนักงานอัยการผู้มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายมีอำนาจอนุญาตให้ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง ซึ่งไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด |
97 | พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เพื่อให้พนักงานอัยการผู้มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย มีอำนาจอนุญาตให้ฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหา ซึ่งไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด |
98 | พ.ร.บ.การผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 | คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี กับคณะ สนช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ. ผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งเดิมมีการกำหนดระยะเวลาการกำหนดผังเมืองรวม 5 ปี ซึ่งเป็นจุดอ่อนให้มีผู้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ จึงแก้ไขร่างดังกล่าวให้ไม่มีกำหนดระยะเวลาโดยไม่กำหนดการหมดอายุ |
99 | พ.ร.บ.เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ฉบับ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ให้ครอบคลุมถึงผู้ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลของบุคคลดังกล่าว |
100 | พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดมาตรการในการกำกับดูแลสินค้าที่นำผ่านให้มีความรัดกุมมากขึ้น ป้องกันการใช้วิธีนำผ่านเป็นช่องทางลักลอบส่งออกหรือนำเข้าสินค้าและเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ |
101 | พ.ร.บ.การให้สิทธิแก่ผู้สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติบางกรณีและการโอนเงินจากกองทุนประกันสังคมในกรณีชราภาพไปยังกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงระบบการออมเพื่อการดำรงชีพยามชราภาพ โดยให้อยู่ในการกำกับดูแลของหน่วยงานเดียวกัน, เปิดโอกาสให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติที่มีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันที่สมัครเป็นสมาชิก มีสิทธิเป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปีนับแต่วันดังกล่าว, กำหนดให้โอนเงินของผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมที่แสดงความจำนงโอนมาเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติ มาเป็นเงินสะสมในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกรายนั้น แต่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน |
102 | พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้การจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน |
103 | พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงการให้อำนาจกระทรวงการคลังรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน โดยพิจารณาองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนด้วย |
104 | พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | รองรับการนำทรัพย์สินทีมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชำระหนี้ในลักษณะที่ไม่ต้องส่งมอบการครองครองแก่เจ้าหนี้ และสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม |
105 | พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย* พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์จะประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจะต้องขอรับใบอนุญาต และจะต้องจัดตั้งในรูปบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด |
106 | พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดจดทะเบียนรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินเพื่อการสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ โดยห้ามโอนที่ดินสาธารณูปโภคนั้นให้กับผู้อื่น เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม |
107 | พ.ร.บ.คลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงการจัดเก็บสินค้า การให้เช่าเก็บสินค้าให้มีระบบ มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นต่อประชาชน และป้องกันความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจ |
108 | พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้เครื่องจักรที่จะจด ทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรต้องผ่านการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ จากผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนซึ่งได้รับใบอนุญาต และให้การอนุญาตหรือการไม่อนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด |
109 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การโอนคดีจากศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่ง การส่งคำคู่ความโดยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ และการส่งคำคู่ความไปยังต่างประเทศ) | สำนักงานศาลยุติธรรม | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์มีอำนาจโอนคดีที่อาจกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นที่สำคัญจากศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่ง และให้ศาลแพ่งซึ่งรับคดีไว้พิจารณาพิพากษามีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณานอกเขตศาลได้ |
110 | พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยุบเลิกสำนักงาน ก.ส.ล. และตลาด ให้รมว.พาณิชย์ออกเป็นประกาศ โดยให้มีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.บ. การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ. การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ในวันถัดจากวันที่ประกาศรัฐมนตรี กำหนดให้ยุบเลิกสำนักงานและตลาด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
111 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้หลักประกันทางธุรกิจเหนือสิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอนเมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นไปเช่นเดียวกับกรณีของสิทธิจำนอง จำนำ หรือค้ำประกัน |
112 | พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
โอนงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นบางรายการ ไปตั้งจ่ายเป็นงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น
|
113 | พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน +3 พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพื่อจัดตั้งสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน +3 โดยเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเฝ้าระวังและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินแบบพหุภาคีตามกรอบอาเซียน +3 พร้อมกำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานฯ ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในการดำเนินงานและการปฏิบัติงานของสำนักงานฯ ในประเทศไทย |
พ.ร.บ. รายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 | คสช. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพื่อให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ มีงบประมาณใช้จ่ายประจำปี | |
114 | พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขนิยามคำว่า “ความผิดมูลฐาน” “ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด” และ “สถาบันการเงิน”, เพิ่มลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดฐานฟอกเงิน, แก้ไขเพิ่มเติมการรายงาน การแสดงตน การตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการสั่งให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย |
115 | พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพื่อกำหนดให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นหน่วยงานที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี |
116 | พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้มี “กองทุนยุติธรรม” เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม การประกันตัวบุคคล การช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการให้ความรู้ทาง กฎหมายแก่ประชาชน |
117 | พ.ร.บ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 วรรคสี่ของพ.ร.บ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2551 ผู้บัญชาการโรงเรียนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี โดยระหว่างนี้ห้ามมิให้โยกย้ายผู้บัญชาการโรงเรียน เว้นแต่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น |
118 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร) ฉบับที่ 29 พ.ศ.2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ก่อนขายทอดตลาดห้องชุดใน อาคารชุด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้ นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเพื่อการออกหนังสือ รับรองการปลอดหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว และเมื่อขายทอดตลาดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอด ตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลอาคารชุด ก่อนเจ้าหนี้จำนองและให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ ซื้อ โดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้ |
119 |
พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติ
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
|
ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้อาเซียน สถานที่ ทรัพย์สินและสินทรัพย์ของอาเซียน การสื่อสารในทุกรูปแบบและบรรณสารของอาเซียน พนักงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ผู้แทนถาวรของรัฐสมาชิกอาเซียน เจ้าหน้าที่ที่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของอาเซียนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ สมาชิกซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้ รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในกฎ บัตรอาเซียน และความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ |
120 | พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. 2558 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้จัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษขึ้น และให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลคดีภาษีอากร ศาลแรงงาน ศาลล้มละลาย และศาลเยาวชนและครอบครัว ฯลฯ |
121 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจออกประกาศเปิดทำการสาขาของศาลชั้นต้นในท้องที่อื่น รวมทั้งมีอำนาจกำหนดสถานที่ตั้งของศาล แผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นของศาล รวมทั้งสาขาของศาลชั้นต้นได้ ฯลฯ |
122 | พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 * | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพื่อให้อำนาจประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมในการกำหนดค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยานที่ศาลเรียกมาให้ความเห็น |
123 | พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558(แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย กรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด ฯลฯ |
124 | พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา)* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด ฯลฯ |
125 | พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 | สำนักงานศาลยุติธรรม | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย กรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลล้มละลายหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด ฯลฯ |
126 | พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย กรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด ฯลฯ |
127 | ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา)* | สำนักงานศาลยุติธรรม | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเยาวชนและครอบครัวอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ นอกจากนี้ให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ฯลฯ |
128 | พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558* (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง |
129 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558 (ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตาม ตัวผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์การบังคับคดีผู้ประกัน และการอุทธรณ์ คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว)* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ศาลหรือเจ้าพนักงานที่สั่งปล่อยชั่วคราวมีอำนาจสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ในกรณีที่ผู้นั้นยินยอม |
130 | พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง พ.ศ. 2558* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้กำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหารในการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ ฝึกวิชาทหาร ปฏิบัติราชการ หากหลีกเลี่ยงขัดขืนต้องระวางโทษอาญา กำหนดสิทธิค่าตอบแทน สวัสดิการ ให้กับกำลังพลสำรอง ทั้งนี้ หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองในวันลาเพื่อรับราชการทหารตามพ.ร.บ.นี้จะมีโทษ |
131 | พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องกักขังที่อาจจะทำอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือกรณีที่ถูกควบคุมตัวไปนอกสถานที่กักขัง / ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบจดหมาย เอกสารและสกัดกั้นการสื่อสาร / กำหนดการปฏิบัติต่อผู้ต้องกักขังหญิงมีครรภ์ ให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล / เพิ่มอัตราโทษสำหรับผู้ต้องกักขังที่ถูกปล่อยตัวไปกรณีมีเหตุฉุกเฉินแล้วไม่กลับมารายงานตัว ฯลฯ |
132 | พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
จัดตั้งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการ และจัดการศึกษาชั้นสูงทาง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข
|
133 | พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ โดยที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ |
134 | พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้ยอมรับนับถือว่าทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศเป็นนิติบุคคล และให้ถือว่ามีภูมิลำเนาในประเทศไทย, กำหนดให้ทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ สถานที่ ทรัพย์สิน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเพียงเท่าที่รัฐบาลได้รับและใช้บทแห่งความตกลงนั้นหรือความตกลงที่รัฐบาลจะได้ทำต่อไปกับทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ |
135 | พ.ร.บ.องค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขนิยามคำว่า “กรรมการ”, ให้อำนาจ ครม. กำหนดหลักเกณฑ์ว่ากิจการบริการสาธารณะใดควรตั้งเป็นองค์การมหาชน และเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดระเบียบแบบแผนกรณีที่มีปัญหาการซ้ำซ้อน หรือขัดแย้งในการดำเนินกิจการขององค์การมหาชนกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ฯลฯ |
136 | พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ และเมื่อดำรงตำแหน่งครบ 3 ปี ให้ได้รับการประเมินผลงาน ความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ และประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อดำรงตำแหน่งต่อไป |
137 | ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว | ผ่านวาระที่สาม | แก้นิยามคำว่า “เด็ก” ให้หมายถึง บุคคลอายุเกินกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์, เมื่อพนักงานสอบสวนรับตัวเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับมาแจ้งข้อกล่าวหาและถามปาก คำให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง, คดีที่ไม่มีผู้เสียหาย ให้สามารถใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาได้, เพิ่มข้อยกเว้นในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเด็กหรือเยาวชนให้สามารถดำเนินการ ตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาได้,กรณีจำเป็นให้ผอ.สถานพินิจ พนักงานคุมประพฤติ หรือนักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติหน้าที่นอกเขตอำนาจได้ | |
138 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2559 (แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับความผิดทางอาญา) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมกรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 69 โดยการฝ่าฝืนหน้าที่ในการแนบเอกสารพร้อมการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ต้องระวางโทษปรับ, แก้ไขให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามมาตรา 37 ครอบคลุมถึงการขอคืนภาษีอากรอันเป็นเท็จ, แก้ไขบทกำหนดโทษเกี่่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครอบคลุมถึงการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นเท็จ |
139 | พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขชื่อจากร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็น พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาระสำคัญคือ กำหนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริมและรักษา กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพฯและประจำจังหวัด |
140 | พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 42) พ.ศ. 2559 (มาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการถาวร) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นการถาวร ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป |
141 | พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการ ธปท.คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงินสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง หากมีกรรมการพ้นจากตำแหน่งนอกเหนือจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท. |
142 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 26 เกี่ยวกับการโอนคดี) | สำนักงานศาลยุติธรรม | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขมาตรา 26 กล่าวคือ ถ้าคดีนั้นอาจมีการขัดขวางการไต่สวนมูลฟ้องหรือกระทบต่อประโยชน์ของรัฐ จากเดิมโจทย์หรือจำเลยสามารถร้องขอให้โอนคดีไปศาลอื่นผ่านทางอธิบดีศาลฎีกา เปลี่ยนเป็นให้โจทย์หรือจำเลยร้องขอต่อประธานศาลฎีกาแทน |
143 | พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดนิยามคำว่า “วัยรุ่น” หมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 10 -19 ปีบริบูรณ์, วัยรุ่นมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง และสถานศึกษาต้องจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน, ให้มีคณะกรรมการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีหน้าที่เสนอนโยบายต่อ ครม. และกำหนดโทษผู้ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการ |
144 | พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาต, ให้ใบอนุญาตมีอายุ 10 ปี และกำหนดบทลงโทษหากฝ่าฝืน พ.ร.บ.นี้ |
145 | พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุงบทบัญญัติบางประการในกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญายังไม่สอดคล้องกับการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในปัจจุบัน เช่น ผู้ประสานงานกลางไม่สามารถส่งคำร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศไปให้เจ้าพนักงาน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำร้องขอได้ ไม่มีอำนาจส่งข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือทรัพย์สินใดไปให้ต่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน การฟ้องคดี หรือการพิจารณาคดีในศาลหากประเทศนั้นยังไม่ได้ร้องขอ |
146 | พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น |
147 | พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 (การเข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) และการขยายขอบเขตความคุ้มครอง การปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และระยะเวลาการจดทะเบียน การปรับปรุงค่าธรรมเนียม) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” เพื่อกำหนดให้หมายความถึงเสียงด้วย, แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณารับจดทะเบียนและเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว, ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายชุด, กำหนดให้แยกโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าทั้งหมดหรือบางอย่างได้ |
148 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดวิธีการยึดทรัพย์ หรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ การปรับปรุงอัตราเงินในการกักขังแทนค่าปรับ | |
149 | พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559 (การบังคับคดีปกครอง) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพิ่มอำนาจให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดออกระเบียบบังคับคดีปกครอง และระเบียบกำหนดให้ปฏิบัติตามคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น แม้จะมีการอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว รวมถึงกำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจออกคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องชำระค่าปรับ ในกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครอง |
150 | พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ โดยให้ผู้ว่าการ รฟม. เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และให้มีการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ |
151 | พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | |
152 | พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกเลิก พ.ร.บ. ขอทาน พ.ศ. 2484 และตั้งคณะกรรมการควบคุมการขอทาน โดยกำหนดลักษณะการขอทานว่า การกระทำที่ให้ผู้อื่นมอบทรัพย์สินให้โดยไม่ได้มีการทำงานตอบแทนหรือด้วยทรัพย์สินใด ส่วนการแสดงดนตรีในที่สาธารณะโดยขอรับทรัพย์สินตามผู้ฟังสมัครใจ ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน นอกจากนี้ได้กำหนดโทษสำหรับผู้ใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน ยุยง ส่งเสริม กระทำด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นขอทาน |
153 | พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกระดับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นองค์อิสระในระดับใกล้เคียงกับป.ป.ช. และปรับปรุงสถานะของสำนักงาน ป.ป.ท.ให้ส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี, กำหนดให้ ป.ป.ท.มีระยะเวลาพิจารณาเรื่องที่ได้รับร้องเรียนให้เสร็จภายใน 3 เดือนหลังจากรับการกล่าวหา และมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง |
154 | พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และกำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ท. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสำนักงานและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี |
155 | พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ขึ้นในศาล อุทธรณ์, วิธีพิจารณาคดีการค้ามนุษย์ให้ใช้ระบบไต่สวนเพื่อความรวดเร็ว, ไม่นับอายุความหากมีการหลบหนีคดี, เปิดช่องให้สืบพยานผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากต่างประเทศได้ หากศาลอุทธรณ์พิพากษาประหารชีวิตหรือคำพิพากษาของคดีส่งผลกระทบต่อสาธารณะ สามารถส่งให้ศาลฎีกาพิจารณาได้ |
156 | พ.ร.บ.ให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | |
157 | พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติเป็นคณะกรรมการประจำจังหวัดสำหรับจังหวัดที่มีป่าสงวนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรการในการควบคุม ดูแล การส่งเสริมการปลูกป่า และการฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด ฯลฯ |
158 | พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขให้มีกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยลูกหนี้จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้เฉพาะหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการ ซึ่งเป็นหนี้กับเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ส่วนกรณีลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัดจะต้องมีจำนวนหนี้ไม่ถึง 10 ล้านบาท โดยลูกหนี้จะต้องทำรายละเอียดแผนฟื้นฟูกิจการ สินทรัพย์ หนี้สิน และวิธีการฟื้นฟูกิจการ |
159 | พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้อายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภา โดยให้มีอายุไม่เกิน 5 ปี, กำหนดให้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาทันตกรรม และใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรมที่ยังมีผลอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีอายุต่อไปอีก 5 ปี นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ |
160 | พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | |
161 | พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น |
162 | พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
|
163 | พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขจากฉบับพ.ศ.2547 เปลี่ยนคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และ “ลดขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “ลดเงินเดือน” เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงระบบการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญจากระบบขั้นเป็นร้อยละของฐานในการคำนวณตามช่วงเงินเดือน นอกจากนี้ แก้ไขเพิ่มเติมให้มีคณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทน ก.พ.อ. ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ |
164 | พ.ร.บ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขโดยเพิ่มการจัดการศึกษาด้านทัศนศิลป์, กำหนดให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบ ศ.) สามารถจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นสูง หรือสถาบันอื่นในประเทศหรือต่างประเทศ หรือขององค์การระหว่างประเทศได้, เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ สบศ. ให้มีอำนาจอนุมัติการเปิดสอน และให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สบศ. รวมถึงแก้ไขการจัดโครงสร้างการบริหารในสำนักงานอธิการบดีและสำนักงาน วิทยาเขต |
165 | พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้องค์การทรัพย์สินและบรรณสารขององค์การ ผู้แทนของภาคีองค์การ และเจ้าหน้าที่ขององค์การได้รับเอกสิทธิ์ สิทธิยกเว้น และความคุ้มกันในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยหรือเข้ามาในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติหน้าที่หรือในการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับองค์การ |
166 | พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกเลิก พ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 และพ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2508 เพื่อใช้บังคับแก่การดำเนินการเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสีในทางสันติ และไม่ใช้บังคับแก่ยานพาหนะทางทหารของต่างประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร |
167 | พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้มีการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น รายการที่ไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด ไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์พืช วงเงินรวม 22,106,555,000 บาท |
168 | พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 (เพื่อจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
169 | ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม | กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้สำนักเลขานุการแอปเทอร์มีวัตถุประสงค์ในการสำรองข้าวไว้ในยามฉุก เฉินเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนอาหารเพื่อมนุษยธรรม ในกรณีเกิดภัยพิบัติ รวมถึงความยากจนในประเทศสมาชิกแอปเทอร์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และขจัดความยากจน และดำเนินกิจกรรมอื่นที่สอดคล้องกับความตกลงแอปเทอร์ |
170 | พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับ 11) พ.ศ. 2559 (เพิ่มช่องทางชำระค่าปรับ) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้เจ้าของรถไม่ชำระค่าปรับ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งหนังสือไปยังนายทะเบียนให้ผู้มาติดต่อขอชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้น ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนและให้นายทะเบียนงดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าได้มีการชำระค่าปรับแล้ว, เพิ่มวิธีการและสถานที่ชำระค่าปรับตามใบสั่งกรณีไม่มีการเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ โดยวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิตหรือวิธีการอื่นโดยผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการรับชำระเงิน |
171 | พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | เพิ่มความเป็นวรรคสามในมาตรา 4 ของพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 ดังนี้ หากในปีใดเงินงบประมาณรายได้ประจำปีที่ กทม.หักสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่เพียงพอ ให้ กทม.จัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในปีนั้นได้เท่าที่ เกิดขึ้นจริง |
172 | พ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดีอาญา รวมถึงให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การอำนวยความยุติธรรม และเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด |
173 | พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกฐานะแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาและจัดตั้งขึ้นเป็นศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางและจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาคขึ้นโดยกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม |
17 | พ.ร.บ.พัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมให้สถาบันสามารถของบประมาณประจำปีจากสำนักงบประมาณได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความคล่องตัว, แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของสถาบัน ให้ครอบคลุมถึงมาตรวิทยาทางด้านเคมีและชีวภาพ และให้ทำหน้าที่ดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ |
175 | พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | กระทรวงยุติธรรม | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 เพื่อให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งผู้เสียหายหรือทายาทผู้รับความเสียหายให้ทราบถึงสิทธิการขอรับค่าตอบแทน |
176 | พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา |
แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์โดยเพิ่มให้มีผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการ, แก้ไขหลักเกณฑ์และลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
|
177 | พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ปรับปรุง พ.ร.บ.ว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 กำหนดเกี่ยวกับการขออนุญาตสำหรับผู้ประสงค์จะประกอบกิจการฆ่าสัตว์, ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์มีอำนาจตรวจโรคสัตว์ทั้งก่อนและหลังการฆ่าสัตว์ แล้วยังมีอำนาจในการสั่งงดการฆ่าสัตว์และแยกสัตว์ไว้เพื่อตรวจพิสูจน์ได้ |
178 | พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559* | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกเลิก พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 และ พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2507 กำหนดบทนิยามคำว่า “ความมั่นคงแห่งชาติ”, กำหนดให้มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภา, กำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก่ พิจารณา เสนอแนะ และให้ความเห็นในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในมิติด้านความมั่นคง พิจารณาและกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา |
179 | พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 | กระทรวงยุติธรรม | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ยกเลิก พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 พนักงานคุมประพฤติมีหน้าที่สืบเสาะและพินิจผู้ถูกสืบเสาะและพินิจในเรื่องอายุ ประวัติ ความประพฤติ ฯลฯ พิจารณาใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ใดในการติดตามผู้กระทำผิด กำหนดให้มีการดำเนินการเพื่อสร้าง |
180 | พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ. 2559 | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ||
181 | พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 | กระทรวงการคลัง | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้กับผู้กระทำความผิดควบคู่กับมาตรการลงโทษทางอาญา และปรับปรุงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดฐานความผิดในส่วนของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อรองรับการเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนโลก |
182 | พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2559 | ผ่านวาระที่สาม | แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ ให้รมว.มหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยและเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ซึ่งเดิมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม), ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน และกองทุนสำหรับผู้เดินทางไปประกอบกิจการฮัจย์ ของกองส่งเสริมกิจการฮัจย์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ไปเป็นกองส่งเสริมกิจการฮัจย์ที่จะได้จัดตั้งขึ้นในกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย | |
183 | พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | กระทรวงการคลัง | ผ่านวาระที่สาม | ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยน พ.ศ.2485 เพิ่มหลักเกณฑ์ควบคุมเงินตราที่เป็นเงินบาทขาเข้าประเทศ และกำหนดมาตรการควบคุมตราสารทางการเงินผ่านแดน รวมทั้งมีบทกำหนดโทษการฝ่าฝืนร่างพ.ร.บ.นี้ ให้ความผิดตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจในการตรวจค้น ยึด หรืออายัดของได้ |
184 | พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๓๑) พ.ศ. ๒๕๕๙ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๖ เกี่ยวกับการโอนคดี) | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | |
185 | พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ห้ามการโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์, กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานในการตรวจสอบสถานที่ทำการของผู้รับอนุญาต ตรวจค้น ยึด นำวัตถุออกฤทธิ์เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบ, กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ การเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ การควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ |
186 | พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2559 | กระทรวงสาธารณสุข | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขนิยามคำว่า “ผู้อนุญาต” ให้หมายถึง อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย, แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจรัฐมนตรีในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับลักษณะของสถานพยาบาลและมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยรัฐ, แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสถานพยาบาล |
187 | พ.ร.บ.สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย พ.ศ. 2559 | กระทรวงศึกษาธิการ | ผ่านวาระที่สาม | กำหนดให้สถาบันการพยาบาล สภากาชาดไทย เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิชาชีพการพยาบาล และมีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของสภากาชาดไทย |
190 | ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน | กระทรวงแรงงาน | ผ่านวาระที่สาม | แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษความผิดที่กระทำต่อแรงงานเด็ก |
191 | ร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา | กระทรวงการคลัง | ผ่านวาระที่สาม | ปรับปรุงจากฉบับปี 2541 โดยให้ตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน เพื่อติดตาม ตรวจสอบและกำกับดูแลให้การชำระเงินคืนกองทุน และให้นายจ้างผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักเงินได้จากพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนฯ |
192 | พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | |
193 | พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไของค์การการค้าโลก (WTO) เช่น ยกเลิกกิจการผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ การบังคับใช้วัตถุดิบในประเทศ, เพิ่มระยะเวลาการยกเว้นภาษีสูงสุดจากเดิม 8 เป็น 13-15 ปี ขึ้นกับประเภทกิจการ |
194 | ร่าง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง | กระทรวงมหาดไทย | ผ่านวาระที่สาม | ปรับแก้ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 โดยกำหนดให้รัฐหรือเอกชนเป็นผู้เก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายใต้การควบคุมของราชการปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม และห้ามมิให้มีผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน กำจัด หรือหาประโยชน์จากการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น |
195 | ร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ | พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ กับคณะ | ผ่านวาระที่สาม | |
196 | ร่าง พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา | กระทรวงยุติธรรม | ผ่านวาระที่สาม | กำหนดลักษณะความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา กำหนดมิให้ใช้บังคับแก่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต กำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้นกรณีผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา |
198 | ร่าง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ | กระทรวงยุติธรรม | ผ่านวาระที่สาม | กำหนดให้ทุกเรือนจำใช้คำขึ้นต้นว่า “เรือนจำ” อันเป็นการยกเลิกทัณฑสถาน และทัณฑนิคมเพื่อกำหนดประเภทของเรือนจำชัดเจนยิ่งขึ้น, กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น, พัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังอย่างเป็นระบบ, กำหนดให้มีกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย |
199 | ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | ผ่านวาระที่สาม | นำร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ 3 ฉบับ มารวมไว้อยู่ในฉบับเดียวกัน เช่น นำ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาไว้เป็นหมวดที่ 1 นำร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาไว้เป็นหมวดที่ 4 และนำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มาไว้เป็นหมวดที่ 5 และได้ปรับปรุงการจัดการกองทุนต่างๆ ตามร่างกฎหมายเดิมให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น | |
200 | พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560* | ครม. | ผ่านวาระที่สาม | แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะการทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมันคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานกลาง ตลอดจนการให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และกระทรวงการคลัง (กค.) สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ |
201 | ร่าง พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก | กระทรวงกลาโหม | ผ่านวาระที่สาม | แก้ไข พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของสภาทหารผ่านศึก |
202 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) | ผ่านวาระที่สาม | ปรับปรุงหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อน การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสำหรับบุคคลธรรมดาและอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น | |
203 | ร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ | กระทรวงการคลัง | ผ่านวาระที่สาม | มีผลบังคับทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ (ที่ไม่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง) และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และกำหนดตั้งคณะกรรมการ 5 คณะมาตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส โดยมีบทลงโทษชัดเจน |
204 | แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (แก้ไขอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด) | สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา | ผ่านวาระที่สาม | แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ, ปรับปรุงโทษ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัส, ปรับปรุงอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด โดยเพิ่มอัตราโทษปรับในสัดส่วนอัตราโทษจำคุกหนึ่งปีต่ออัตราโทษปรับสองหมื่นบาท |
206 | ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม | ครม. | ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการใน กห. ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา |
207 | ร่างพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ในท้องที่ อ.บางพลี อ.เมืองสมุทรปราการ และอ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ | กระทรวงคมนาคม | ผ่านวาระที่สาม | เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่อ.บางพลี อ.เมืองสมุทรปราการ และอ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายท้ายพ.ร.บ.นี้ ให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ โดยให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน |
208 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีและฉ้อโกงภาษีตามข้อเสนอ FATF) | กระทรวงการคลัง | ผ่านวาระที่สาม | กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจออกคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าบุคคลใดกระทำความผิดฐานหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอคืนภาษีอากรอันเป็นเท็จ |
209 | ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | กระทรวงศึกษาธิการ | ผ่านวาระที่สาม | เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น |
210 | ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ | กระทรวงสาธารณสุข | ผ่านวาระที่สาม | ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบ จากเดิม 18 ปี เป็น 20 ปี, ห้ามแบ่งขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ แยกเป็นมวน, ห้ามขายผ่านรูปแบบของพริตตี้ ห้ามขายในวัด สถานบริการ สาธารณสุข สถานศึกษา สวนสาธารณะ, ห้ามโฆษณาในรูปแบบเป็นผู้สนับสนุนการประกวด และการแข่งขัน, กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบ เช่น มอระกู่ มอระกู่ไฟฟ้า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ |
211 | ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร | กระทรวงการคลัง | ผ่านวาระที่สาม | |
212 | ร่าง พ.ร.บ. ขายตรงและตลาดแบบตรง | สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) | ผ่านวาระที่สาม | ให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงฯ ต้องจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้มีการวางหลักประกันรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเพื่อชดเชยความเสียหายแก่ผู้บริโภค กำหนดบทลงโทษกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงฯ โฆษณาเกินจริง |
213 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง) | กระทรวงยุติธรรม | ผ่านวาระที่สาม | กำหนดให้อำนาจการบังคับคดีและความรับผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและดุลพินิจโดยศาลยุติธรรมเท่านั้น ไม่อาจถูกฟ้องให้ต้องรับผิดต่อศาลปกครองได้ และลดขั้นตอนให้ระยะเวลาในการบังคับคดีมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อน ฯลฯ |
214 | ร่าง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า | การะทรวงพาณิชย์ | ผ่านวาระที่สาม | ตั้งคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า วาระ 6 ปี, ให้มีการทบทวนเกณฑ์ผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 5 ปี และให้รัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้การบังคับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐ, กำหนดให้การรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ ต้องแจ้งคณะกรรมการก่อนการรวมธุรกิจและส่งงบการเงินให้ตรวจสอบต่อเนื่อง 3 ปี |
215 | ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา | ผ่านวาระที่สาม | ||
217 | ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ | ผ่านวาระที่สาม | ||
218 | ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม | กระทรวงพลังงาน | ผ่านวาระที่สาม | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเพิ่มระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC และระบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิตเข้าไป นอกเหนือจากเดิมที่ใช้เพียงระบบสัมปทาน และให้การกำกับดูแลยังคงอยู่ภายใต้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อให้สิทธิ์สำรวจปิโตรเลียมในอนาคตมีความหลากหลายมากขึ้น |
219 | ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม | กระทรวงพลังงาน | ผ่านวาระที่สาม | แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อกำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น และกำหนดอัตราและหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในระบบการทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม |
220 | ร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม* | กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ผ่านวาระที่สาม | เป็นการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ |
221 | ร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน | ครม. | ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้เจ้าของเรือต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน และต้องมีการเอาประกันภัยหรือจัดหาหลักประกันความเสียหาย |
222 | ร่าง พ.ร.บ.การเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ | ครม. | ประกาศในราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้กองทุนระหว่างประเทศฯ เป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษหากบุคคลนั้นไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนและเพียงพอ ตามที่กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งได้กำหนดไว้ |
223 | ร่าง พ.ร.บ.การสาธารณสุข | กระทรวงสาธารณสุข | ผ่านวาระที่สาม | ปรับปรุงกฎหมายการสาธารณสุข โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ปรับปรุงอำนาจผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานระดับพื้นที่ในการระงับเหตุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพิ่มเติมอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เพิ่มเติมอำนาจของรัฐมนตรีในการกำหนดประเภทหรือขนาดของกิจการที่ต้องศึกษาหรือประเมินผลประกอบการอนุญาต และกำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี |
224 | ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง | กระทรวงสาธารณสุข | ผ่านวาระที่สาม | ห้ามโฆษณาอาหารสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก และตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแล |
226 | ร่าง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ผ่านวาระที่สาม | เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายท้ายพระราชบัญญัติ เพื่อให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของ กทพ. โดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ | |
227 | พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2559 | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2560 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นบางรายการ ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | |
228 | ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง | ผ่านวาระที่สาม | ||
229 | ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง | ผ่านวาระที่สาม | ||
230 | ร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ | ผ่านวาระที่สาม | จัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องบูรณาการกัน | |
231 | ร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ | ผ่านวาระที่สาม | กำหนดวิธีการจัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ การมีส่วนร่วมของประชาชน การวัดผล และระยะเวลาดำเนินการ | |
232 | ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวีธีพิจารณาคดีปกครอง (วาระการดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด และวินัยตุลาการปกครอง) | ผ่านวาระที่สาม | กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด, กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงของตุลาการศาลปกครอง อาจมีมติให้งดเลื่อนตำแหน่ง งดเลื่อนเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ | |
233 | ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540 | กระทรวงการคลัง | ผ่านวาระที่สาม | ปรับปรุงนิยามคำว่า “ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย” แก้ไขโครงสร้างและขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย |
พ.ร.บ. แร่ 2560 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ||
พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2559 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | ||
พ.ร.บ. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 | ครม. | ประกาศราชกิจจานุเบกษา | กำหนดให้มีกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย, เพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนกรณีได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล |