iLaw คือใคร?
iLaw เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งทำงานสื่อสารรณรงค์มีเป้าหมายเพื่อไปให้ถึงหลักการประชาธิปไตย, เสรีภาพในการแสดงออก และระบบยุติธรรมที่เป็นธรรมและตรวจสอบได้กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การทำงานของ iLaw เน้นไปที่การสร้างศึกษาข้อเท็จจริง สร้างองค์ความรู้และฐานข้อมูลบนโลกออนไลน์เป็นความรู้สำหรับสาธารณะ และใช้สื่อออนไลน์ โซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลและเชิญชวนให้เกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชนวงกว้าง กิจกรรมที่เราทำจะพยายามออกแบบให้คนจำนวนมากมีส่วนร่วมได้ในมุมของตัวเองและให้ผลลัพธ์เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วม
อดีตของ iLaw ก่อนการรัฐประหาร 2557
iLaw หรือ ไอลอว์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2552 ด้วยชื่อเต็มว่า โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เมื่อครั้งก่อตั้งมีสถานะเป็นโครงการภายใต้มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ในช่วงเริ่มต้น กิจกรรมของ iLaw คือ การจัดทำเว็บไซต์ (http://ilaw.or.th) เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการออกกฎหมายของประชาชน มุ่งมั่นที่จะผลักดันการใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยใช้สื่อออนไลน์เป็นจุดเชื่อมร้อยคนที่มีความคิดเห็นคล้ายกันเข้าด้วยกัน ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550 กฎหมายประชาชนแต่ละฉบับต้องการแรงสนับสนุนอย่างน้อย 10,000 รายชื่อเพื่อยื่นให้รัฐสภาพิจารณา และต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทุกคน ผลตอบรับจากสังคมและการมีส่วนร่วมบนเว็บไซต์เกิดขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนหนึ่งเพราะกระแสการเติบโตของโซเชียลมีเดีย ทุกคนสามารถสร้างพื้นที่การสื่อสารได้เองโดยไม่ต้องมีพื้นที่กลาง ไอลอว์จึงทำงานโดยเน้นการรณรงค์ในประเด็นเฉพาะ เช่น การรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง 3 ฉบับ (พ.ร.บ.กฎอัยการศึก, พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ) การรณรงค์ต่อต้านการเซ็นเซอร์และแบนภาพยนตร์ หรือการรณรงค์คัดค้านการออกพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ
ในเวลาต่อมา iLaw ทำงานศึกษาเชิงลึกเป็น งานวิจัยเรื่องการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยและผลกระทบของ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งทำให้ iLaw เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในฐานะผู้มีข้อมูลความรู้เฉพาะประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และนำไปสู่การพัฒนาเว็บไซต์อีกแห่งหนึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพขึ้นในปี 2554 (freedom.ilaw.or.th) โดยมุ่งที่จะติดตามและบันทึกข้อมูลการใช้กฎหมายและอำนาจรัฐปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออก เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ, กฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นต้น ในช่วง 5 ปีแรก ฐานข้อมูลออนไลน์เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างสูงจากผู้คนในแวดวงสิทธิมนุษยชน เป็นผลจากการติดตามกระบวนการพิจารณาคดีอย่างใกล้ชิดและลงรายละเอียดในทุกคดีนอกจากนี้แล้ว เพื่อสร้างความเข้มแข็งของคนรุ่นใหม่ที่จะเติบโตมาพร้อมกับองค์กรความรู้ด้านสิทธิเสรีภาพอย่างเข้มแข็ง iLaw ยังเคยจัดกิจกรรมค่าย “รูดซิป(เ)ปิดปาก” 5 รุ่น จัดอบรมทนายความให้มีความรู้ด้านพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer forensic) 2 รุ่น จัดกิจกรรมอบรมร่วมกับองค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมและสถาบันการศึกษาหลายแห่งภายใต้รูปแบบและวัตถุประสงค์เดียวกัน
บทบาทของ iLaw หลังการรัฐประหาร 2557
หลังการประกาศใช้กฎอัยการศึกและการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) iLaw ได้ขยายขอบเขตการทำงานของศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ ให้ครอบคลุมถึงการเก็บข้อมูลการควบคุมตัวบุคคลอันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง การพิจารณาคดีทางการเมืองภายใต้กฎอัยการศึก และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีจำนวนมากที่ถูกสั่งให้พิจารณาคดีที่ศาลทหาร เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของ iLaw ได้ติดตามเยี่ยมผู้ต้องขังทางการเมือง และครอบครัว รวมทั้งเข้าร่วมสังเกตการณ์และบันทึกการพิจารณาคดี เพื่อจัดทำสถิติภาพรวม และข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เสรีภาพตลอดเวลาภายใต้รัฐบาลทหารเมื่อทหารเข้าควบคุมอำนาจรัฐ ได้แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย แต่ตั้งคนของตัวเองเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2560 และใช้อำนาจพิเศษครอบงำการทำประชามติ ทั้งยังตั้งองค์กรต่างๆ ขึ้นเองอ้างว่าเพื่อทำงานปฏิรูปประเทศ และเขียนแผนยุทธศาสตร์สำหรับอนาคตอีก 20 ปี แต่ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากมุมอื่นๆ ของสังคม iLaw จึงทำหน้าที่จับตาการร่างกฎหมาย ทั้งในแง่กระบวนการออกกฎหมายและเนื้อหาของกฎหมาย ที่เป็นไปโดยอำนาจเบ็ดเสร็จของคณะรัฐประหาร สรุปเนื้อหาและเผยแพร่สู่สังคมโดยมุ่งหวังให้เห็นปัญหาของการครอบงำกระบวนการทั้งหมดโดยคนกลุ่มเดียว และหวังเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารเพื่อเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
บทบาทของ iLaw ก่อนและหลังการเลือกตั้งปี 2562
หลังการประกาศใช้กฎอัยการศึกและการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) iLaw ได้ขยายขอบเขตการทำงานของศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ ให้ครอบคลุมถึงการเก็บข้อมูลการควบคุมตัวบุคคลอันเนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง การพิจารณาคดีทางการเมืองภายใต้กฎอัยการศึก และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีจำนวนมากที่ถูกสั่งให้พิจารณาคดีที่ศาลทหาร เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของ iLaw ได้ติดตามเยี่ยมผู้ต้องขังทางการเมือง และครอบครัว รวมทั้งเข้าร่วมสังเกตการณ์และบันทึกการพิจารณาคดี เพื่อจัดทำสถิติภาพรวม และข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เสรีภาพตลอดเวลาภายใต้รัฐบาลทหารเมื่อทหารเข้าควบคุมอำนาจรัฐ ได้แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย แต่ตั้งคนของตัวเองเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญปี 2560 และใช้อำนาจพิเศษครอบงำการทำประชามติ ทั้งยังตั้งองค์กรต่างๆ ขึ้นเองอ้างว่าเพื่อทำงานปฏิรูปประเทศ และเขียนแผนยุทธศาสตร์สำหรับอนาคตอีก 20 ปี แต่ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมจากมุมอื่นๆ ของสังคม iLaw จึงทำหน้าที่จับตาการร่างกฎหมาย ทั้งในแง่กระบวนการออกกฎหมายและเนื้อหาของกฎหมาย ที่เป็นไปโดยอำนาจเบ็ดเสร็จของคณะรัฐประหาร สรุปเนื้อหาและเผยแพร่สู่สังคมโดยมุ่งหวังให้เห็นปัญหาของการครอบงำกระบวนการทั้งหมดโดยคนกลุ่มเดียว และหวังเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารเพื่อเรียกร้องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ยุทธศาสตร์การทำงานของ iLaw
กิจกรรมของ iLaw ในแต่ละปี มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์บ้านเมือง สถานการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และกระแสสังคมที่จะสร้างโอกาสให้หวังผลจากกิจกรรมรณรงค์ได้ ภายใต้แนวทางการทำงาน ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์ ค้นคว้า เรียบเรียง บันทึกข้อมูล อย่างเป็นระบบบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ปัญหากระบวนการนิติบัญญัติ กระบวนการยุติธรรม เสรีภาพการแสดงออกที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
2. สร้างความตื่นตัวของสังคมและสร้างพื้นที่สำหรับการถกเถียงเรื่องของร่างกฏหมายใหม่ๆ และการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดีย
3. ออกแบบและสร้างสรรค์กิจกรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการออกกฎหมาย การเขียนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน การยุติการดำเนินคดีทางการเมือง และการเดินหน้าสู่สังคมประชาธิปไตย
4. จัดกิจกรรมอบรมและเผยแพร่ความรู้ สำหรับคนรุ่นใหม่ในประเด็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของคนรุ่นใหม่ที่มีความตื่นตัวทางการเมืองและระบอบประชาธิปไตย
ผู้ให้การสนับสนุน
ระหว่างปี 2552 ถึง 2557 iLaw รับการสนับสนุนทุนจาก มูลนิธิ Open Society (Open Society Foundation) และมูลนิธิ Heinrich Böll และได้รับเงินสนับสนุนหนึ่งครั้งจากบริษัท Google
ตั้งแต่ปี 2557 จนถึง 2567 iLaw ได้รับการสนับสนุนงบประมาณหลักสำหรับการดำเนินงาน จากองค์กรต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. Open Society Foundation (OSF)
2. National Endowment for Democracy (NED)
3. Fund for Global Human Rights (FGHR)
4. American Jewish World Service (AJWS)
และได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับกิจกรรมเฉพาะในแต่ละปีจาก มูลนิธิ Heinrich Böll Stiftung Southeast Asia
ในปี 2564 iLaw ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากสถานทูต Switzerland สำหรับงานสังเกตการณ์การชุมนุมในปี 2565 iLaw ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก Forum Asia สำหรับงานสังเกตการณ์การชุมนุม และ Access Now สำหรับการสืบสวนสอบสวนสปายแวร์เพกาซัส และยังได้รับต่อเนื่องมาในปี 2567 iLaw ได้รับการสนับสนุนเพิ่มจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (OHCHR) สำหรับการบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิ และได้รับเงินสนับสนุนหนึ่งครั้งจากโครงการ Meta Globalgiving
ทีมของเรา
คณะกรรมการ iLaw
- กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เครือข่าย FTA Watch
- จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
- เพ็ญวดี แสงจันทร์ มูลนิธิดวงประทีป
- ไพโรจน์ พลเพชร สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา สื่อมวลชน
ที่ปรึกษา iLaw
จอน อึ๊งภากรณ์ (ผู้ก่อตั้ง iLaw)
คณะทำงาน iLaw
- ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้อำนวยการบริหาร, [email protected]
- อานนท์ ชวาลาวัณย์ ผู้จัดการโครงการ, [email protected].th
- ชันษา สุพรรณเมือง ผู้จัดการสำนักงาน, [email protected]
- วรัญญุตา ยันอินทร์ ผู้ประสานงานกิจกรรม, [email protected]
อื่นๆ
ข้อมูล และเนื้อหาของ iLaw อยู่บนเว็บไซต์หลัก และยังมีข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมเฉพาะอยู่บนเว็บไซต์อีกหลายแห่ง ดังนี้
เว็บไซต์หลักของ iLaw: ilaw.or.th
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ: freedom.ilaw.or.th/
ฐานข้อมูลการชุมนุมสาธารณะ: www.mobdatathailand.org
เว็บไซต์จับตาการเลือกตั้ง: Vote62.com
Who is iLaw?
iLaw is a civil society organization that utilizes communication, advocacy, and public engagement to realize the goal of democratic principles, freedom of expression, and accountable government. Our works focus on evidenced-based research, building knowledge and online database of public knowledge, and utilizing a variety of online and social media to circulate information and encourage broad public participation. Our activities are designed to enable people to participate according to their experience, ensuring that outcomes result from inclusive engagement.
iLaw Before the 2014 Coup
Founded in 2009 as Internet Dialogue for Law Reform, iLaw initially operated as a project under the Thai Volunteer Service Foundation (TVS). Our early work involved building a website (http://ilaw.or.th) to support public participation in the legislative process. iLaw strived to support the public’s right to petition to introduce a law by using the online media as a focal point that weaves differences. This right, affirmed in the 2007 Constitution, required at least 10,000 signatures as well as a photocopy of an ID Card and House Registration for a public-supported draft bill to be considered in the parliament. However, the public response were lower than anticipated. This was partly due to the rise of social media that enables decentralized communication spaces. Consequently, iLaw shifted its focus to specific advocacy issues, such as campaign to repeal three special security laws (namely, the Martial Law, the Emergency Decree on Government Administration in States of Emergencies, and the Internal Security Act), campaign against movie ban and censorship, and campaign against the draft Public Assembly Act.
iLaw After the 2014 Coup
Following the delacration of Martial Law and the subsequent military coup on 22 May 2014 by the National Council for Peace and Order (NCPO), iLaw expanded the scope of its legal and freedom of expression case database to include documenting the politically motivated detention. This included trials under Martial Law and the rapid increase of lese majeste cases under Section 112 of the Criminal Code, particularly those ordered to be tried under the military court. iLaw and its volunteers visited political detainees and their families, observed and documented trial proceedings, and compiled both quantitative and qualitative data related to the freedom of expression situation under the military government. When the military took over, the NCPO appointed the National Legislative Assembly to legislate, handpicked its own cronies to draft the 2017 Constitution, and utilized special power to manipulate the referendum. It also created various organizations under the claim of reforming the country and wrote the 20 year National Strategy Plan all without participation from the broader society. Therefore, iLaw monitored the legislative process and content of the law fully controlled by the NCPO, summarized and disseminated to the public to highlight the issues of monopolizing the entire process by a single group of people, and aimed to enhance communication effectiveness for future advocacy.
Subsequently, iLaw delved deeper into research, focusing on internet censorship in Thailand and the impact of the Computer Crime Act on human rights and freedom of expression. As a result, iLaw started to receive the recognition in the field of computer-related laws and prompted the development of another website (freedom.ilaw.or.th) in 2011 as an online database legal information and freedom of expression case. The platform aimed to monitor and document legal enforcement and state power that infringe on freedom of expression, including laws like the Computer Crime Act and Article 112 of the Criminal Code. Over its initial five years, the online database gained significant recognition and acceptance among human rights community, due to its detailed coverage and close scrutiny of legal proceedings. In addition, iLaw organized five “Muzzle the Mouth” camps to foster the young right-aware generation, provided two trainings to lawyers on computer forensics, as well as and collaborated on training activities with various civil society networks and educational institutions with the aim of strengthening knowledge and advocacy in the field of freedom of expression.
iLaw Before and After the 2019 General Election
iLaw closely monitored the General Election in 24 March 2019 which represented one of the mechanisms planted by the NCPO to remain in power. iLaw published an election handbook for the people and freely distributed to the public, observed the electoral irregularities, and published a report on the irregularity of the result reporting. Even into the second NCPO regime post 2019 election, iLaw continued to monitor the NCPO’s mechanisms such as the 250-member appointed Senate, the Constitutional Court, and the independent agencies with the similar goal of raising public awareness as we did during the first NCPO regime. When the youth-led movement broke out in 2020, iLaw collaborated with Amnesty International Thailand to develop mobdatathailand.org, a database that documents public assemblies and the use of force to control, harass, and obstruct by the government officials. On 7 August 2020, iLaw launched the “Join Together, Build Together, Draft Together Constitution” campaign aiming to collect signatures to propose an amendment to the 2017 Constitution that could pave the way back to democracy. The result was overwhelming. Within 43 days, 100,732 Thai citizens signed on to the petition. The draft amendment was considered and debated in the parliament, but was rejected in the first reading on 18 November 2020.
After the youth-led movement erupted in 2020, the government responded with harsher laws and unprecedentedly wider prosecution. This made it impossible to document all of the cases. As various media outlets and Thai Lawyer for Human Rights continued to report on the issues, iLaw reduced the volume of its freedom of expression case documentation, focusing instead on pivotal cases that might set precedent for the future. The focus also shifted to producing statistical work and analysis as well as monitoring other human rights issues such as the operation of Pegasus spyware. During the second NCPO regime from 2021-2022, iLaw continued to monitor public demonstrations and proposals to amend the 2017 Constitution. We joined with the Coalition to Repeal Section 112, gathering signatures from the public to propose repealing Section 112 of the Criminal Code. iLaw also consistently organized capacity building training aimed at political activists and young generation which included topics such as Section 112, the power structure of the Thai state, 2017 Constitution, communication and advocacy design, and election monitoring.
iLaw Before and After the 2023 General Election
The 2023 General Election and the work of Election Commission aroused suspicion. iLaw fulfilled the areas where the governemnt officials are lacking, focusing on raising awareness on electoral rules. We created the 2023 election handbook for the public and encouraged them to volunteer as election observers whose jobs were to take photos of ballot counting boards, and report election results via the website Vote62.com. After the election, iLaw monitored the official announcement of the results and the Prime Minister vote. Following the 2023 General Election saw an unprecedented rise of public enthusiasm to engage in activities that support democratic cause. Consequently, iLaw adapts to not only study and provide information but also design activities and open up public space for public participation. For instance, the #Conforall campaign, a civil petition calling for a referendum for a new constituion, in August 2023 gathered 211,904 signatures within 3 days. This success led to our campaigns in 2024 which iLaw called for signatures for a draft amnesty bill for the people, advocated for a fair referndum, and encouraged the public to apply and participate in the selection process of the new Senate.
iLaw’s Strategic Approach
iLaw’s activities evolve and adapt each year depending on the political climate, human rights violations, and social trends that create opportunities for meaningful advocacy. Our approaches are:
- Systematically monitor, research, and document data online to build a database of issues related to legislative processes, justice, and freedom of expression in Thai society.
- Foster public awareness and create spaces to discuss new legislations and the drafting of a people’s constitution, particularly on issues that may impact civil and political rights, by utlizing social media platforms.
- Develop and organize activities to enable public participation in lawmaking process, drafting the people’s constitution, ending political prosecutions, and advancing towards a democratic society.
- Conduct training and spread knowledge on civil and political rights for young people to enhance their political awareness and strengthen their engagement in democracy.
Our Supporters
Between 2009 and 2014, iLaw received funding from Open Society Foundation and Heinrich Böll Foundation, as well as once from Google.
From 2014 to 2024, iLaw has continued to received primary operational fundings from the following organiztions:
1. Open Society Foundation (OSF)
2. National Endowment for Democracy (NED)
3. Fund for Global Human Rights (FGHR)
4. American Jewish World Service (AJWS)
iLaw also received additional support depending on activites’ each year from Heinrich Böll Stiftung Southeast Asia.
In 2021, iLaw received additional support from the Embassy of Switzerland for the public assembly monitoring in 2022. Forum Asia also helped funded the public assembly monitoring. Access Now provided support for the investigation on the operation of Pegasus Spyware in Thailad which they continued to support in 2024. Moreover, iLaw also received support from Office of High Commissioner on Human Rights (OHCHR) for documentation on rights violation, and received support once from Meta Globalgiving.
Our Team
iLaw’s Committee
- Kannikar Kijtiwatchakul (FTA Watch Network)
- Janjira Janpeaw (Human Rights Lawyers Association)
- Penwadee Saengchan (Duang Prateep Foundation)
- Orapin Yingyongpathana (Journalist)
iLaw’s Adviser
- Jon Ungphakorn (iLaw’s founder)
iLaw’s Team
- Yingcheep Atchanont (Executive Director) [email protected]
- Anon Chawalawan (Project Manager) [email protected].th
- Chansa Supanmuang (Office Manager) [email protected]
- Waranyuta Yan-in (Activity Coordinator) [email protected]
Other
Information and content by iLaw can be found on the main website, while other information on specific campaign can be found here:
iLaw’s main website ilaw.or.th
Database on laws and cases related to freedom of expression freedom.ilaw.or.th/
Database on freedom assembly www.mobdatathailand.org
Election observation Vote62.com