หลังจากเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียวจากพรรคก้าวไกล ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ ต่อที่ประชุมรัฐสภาโดย 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งได้รับการลงมติ “เห็นชอบ” จากรัฐสภาไม่เกินกึ่งหนึ่ง จึงทำให้ประเทศไทยวันนี้ยังไม่มีนายกฯ คนที่ 30 อย่างเป็นทางการ โดยจะมีการลงมติใหม่อีกครั้งในวันที่ 19 ก.ค. 2566
เหตุที่การตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลใหม่ยังไม่สำเร็จ แม้จะรวมเสียงข้างมากได้แล้วถึง 311 เสียง (ไม่นับประธานรัฐสภา) เป็นผลโดยตรงจากรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 272 ที่ให้ตัวการสำคัญอย่าง ส.ว. ชุดพิเศษร่วมโหวตนายกฯ ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกฯ ในวันที่ 13 กรกฎาคม จาก 250 ส.ว.ชุดพิเศษ (เรณู ตังคจิวางกูร ลาออกจึงทำให้จำนวนส.ว.เหลืออยู่ 249 คน) เป็นดังนี้
- เห็นชอบ 13 เสียง
- ไม่เห็นชอบ 34 เสียง
- งดออกเสียง 159 เสียง
- ไม่มาลงมติ 43 คน
ต่อมา พรรคก้าวไกลพยายามที่จะตอบโต้ท่าทีในการโหวตครั้งที่ผ่านมาของส.ว. ด้วยการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกมาตรา 272 หรือการ “ปิดสวิตช์ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี” แม้จะทราบดีว่าที่ผ่านมามีการยื่นร่างแก้ไขประเด็นนี้ จำนวน 6 ฉบับ แต่ไม่เคยสำเร็จ ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 268 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 56 เสียง
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 212 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 3 เสียง
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 455 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 15 เสียง
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 461 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 21 เสียง
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 206 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 3 เสียง
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ได้เสียงเห็นชอบจากรัฐสภา 356 เสียง มีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 23 เสียง
การโต้กลับของพรรคก้าวไกลในช่วงเวลานี้ อาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยพิสูจน์ได้ว่าส.ว. บางคนที่อ้างว่าพร้อมที่จะ “ปิดสวิตช์” โหวตนายกฯ ด้วยการ “งดออกเสียง” นั้นมีความจริงใจแน่วแน่แท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการกล่าวอ้างเพื่อสกัดกั้นนายกฯ จากผลการเลือกตั้ง
ชวนย้อนรอยดูผลการโหวตฯ แก้ไขมาตรา 272 (ปิดสวิตช์ส.ว.เลือกนายกฯ) ควบคู่กับมติโหวตนายกฯ ล่าสุด ว่าส.ว.คนใดเคยรับหลักการพร้อมเคียงข้างประชาชนกันบ้าง
14 ส.ว. เคยรับหลักการ “ปิดสวิตช์ส.ว.” อย่างน้อยสี่ครั้ง จาก 6 ร่างที่เคยเสนอ
1. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
2. คำนูณ สิทธิสมาน เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
3. เฉลิมชัย เฟื่องคอน เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
4. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
5. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 6 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
6. ประภาศรี สุฉันทบุตร เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
7. พรทิพย์ โรจนสุนันท์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
8. ประมนต์ สุธีวงศ์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
9. พิศาล มาณวพัฒน์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 6 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
10. มณเฑียร บุญตัน เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 5 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
11. วันชัย สอนศิริ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
12. วัลลภ ตังคณานุรักษ์ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
13. อนุศาสน์ สุวรรณมงคล เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว. ) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
14. อำพล จินดาวัฒนะ เคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
23 ส.ว. เคยรับหลักการ “ปิดสวิตช์ส.ว.” จากภาคประชาชนครั้งล่าสุด (7 กันยายน 2565)
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามี ส.ว.จำนวน 23 คน ที่เคยรับหลักการร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 ซึ่งอาจพออนุมานได้ว่า บุคคลเหล่านี้ยึดมั่นหลักการที่ส.ว. จะไม่ใช้อำนาจขัดขวางรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่ในวันโหวตนายกฯ ส.ว.บางส่วนไม่ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ อย่างที่ประชาชนคาดหวัง ดังนี้
1. กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
2. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
3.คำนูณ สิทธิสมาน
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
4. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
5. เฉลิมชัย เฟื่องคอน
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
6. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ไม่มาลงมติ
7. ณรงค์ สหเมธาพัฒน์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
8. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
9. บรรชา พงศ์อายุกูล
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติไม่เห็นชอบ
10. ประภาศรี สุฉันทบุตร
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
11. ประมนต์ สุธีวงศ์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
12. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติ งดออกเสียง
13. พรทิพย์ โรจนสุนันท์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
14. พิศาล มาณวพัฒน์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
15. มณเฑียร บุญตัน
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
16. พล.อ. เลิศรัตน์ รัตนวานิช
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติไม่เห็นชอบ
17. วันชัย สอนศิริ
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
18. วัลลภ ตังคณานุรักษ์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
19. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ไม่มาลงมติ
20. สุวัฒน์ จิราพันธ์
- 13ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
21. พ.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
22. อนุศาสน์ สุวรรณมงคล
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติงดออกเสียง
23. อำพล จินดาวัฒนะ
- 13 ก.ค.2566 (วันโหวตนายกฯ ครั้งที่ 1) ลงมติเห็นชอบ
10 ส.ว.ฟังมติมหาชน เคยตัดอำนาจตัวเองและลงมติเห็นชอบให้ “พิธา” เป็นนายกฯ
จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีส.ว.จำนวน 7 คน ที่เคยลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งแรก โดย “เห็นชอบ” ให้ “พิธา” เป็นนายก ฯ และเคยปิดสวิตช์ตัวเองตัดอำนาจเลือกนายกฯ อย่างน้อยหนึ่งครั้ง
1. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
2. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 1 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
3. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 1 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
4.ประภาศรี สุฉันทบุตร ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
5. พิศาล มาณวพัฒน์ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 6 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
6. พีระศักดิ์ พอจิต ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 2 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (iLaw) เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
7. มณเฑียร บุญตัน ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 5 ครั้ง
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (Resolution) เสนอเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
8. วันชัย สอนศิริ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 4 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
9. วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) 1 ครั้ง ได้แก่
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
10. อำพล จินดาวัฒนะ ลงมติเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ (13 ก.ค. 2566) และเคยรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญม.272 (ปิดสวิตช์ส.ว.) ปิดสวิตช์ส.ว. 4 ครั้ง
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล เสนอเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564
- ร่างแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคประชาชน (No 272) เสนอเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565
(หมายเหตุ : 13 ก.ค.2566 มีส.ว. 3 คนเห็นชอบให้พิธาเป็นนายกฯ แต่ไม่เคยรับหลักการปิดสวิตช์ส.ว.แม้แต่ครั้งเดียวคือ เฉลา พวงมาลัย,พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยาง,สุรเดช จิรัฐิติเจริญ )
RELATED POSTS
No related posts