
พรรคแกนนำรัฐบาลใหม่ พร้อมผลักดันประเด็น แต่ยังคงต้องมีการพูดคุยให้ถี่ถ้วน
พรรคก้าวไกล
- นิรโทษกรรมประชาชนทุกคนที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและแสดงความคิดเห็นทางการเมืองด้วยการบิดเบือนกฎหมายของผู้มีอำนาจ นับตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
- การนิรโทษกรรมจะไม่มีผลรวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใช้อำนาจภายใต้บังคับบัญชาของคณะผู้ก่อการ
- เกณฑ์การพิจารณาผู้ที่จะได้รับการนิรโทษกรรม ต้องกระทำโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชนและนักวิชาการด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน
- ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์จะได้นิรโทษกรรม มีสิทธิที่จะเลือกไม่รับการนิรโทษกรรมได้
- คณะกรรมการสามารถพิจารณาขยายการคืนความยุติธรรมไปก่อนหน้าปี 2557 และกำหนดเกณฑ์สำหรับการกลั่นกรองคดีดังกล่าวได้ เพื่อสะสางความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมก่อนหน้าปี 2557 และ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้โดยไม่ละเลยการคืนความยุติธรรมในอดีต
รังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกลและว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ ให้สัมภาษณ์ในรายการ Vote ปะล่ะ โดยสำนักข่าวทูเดย์ ในประเด็นถึงเรื่องว่ามีนโยบายนิรโทษกรรมทางการเมืองหรือไม่ ซึ่งสรุปจากที่รังสิมันต์กล่าว ได้ใจความว่า นิรโทษกรรมแน่นอน พรรคก้าวไกลยืนยันว่าการนิรโทษกรรมจะเป็นกุญแจในการทำให้ประเทศเดินต่อ แก้กฎหมายอย่างเดียวบางทีต้องใช้เวลาและต้องพิสูจน์ว่าผิดถูกอย่างไร แต่การนิรโทษกรรมมันเหมือนการเริ่มต้นกันใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นกันใหม่นี้พรรคก้าวไกลก็มีหลักการอยู่ประมาณสองสามข้อ
ข้อแรกเราให้ความสำคัญเริ่มต้นจากช่วงเวลาเริ่มนิรโทษกรรมตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นมา เพราะเรามองว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร เป็นช่วงเวลาที่มีการใช้กฎหมายทำนิติสงครามกับพี่น้องประชาชนอย่างกว้างขวาง
อย่างไรก็ตามมาสู่ข้อที่สองว่า เราตระหนักว่ามันอาจจะมีจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลทางกฎหมายบางอย่างตั้งแต่การรัฐประหาร 49 ซึ่งอาจเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงพี่น้องประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมปี 53 52 อะไรก็แล้วแต่หรือเป็นช่วงเวลาที่มันไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวแต่ประชาชนดังกล่าวก็อาจใช้สิทธิเสรีภาพในการวิพากย์วิจารณ์ต่างๆ ซึ่งสืบเนื่องหรือมีแรงจูงใจทางการเมือง ช่วงเวลาแบบนี้พรรคก้าวไกลมองว่าขยายการนิรโทษกรรมไปได้
ข้อที่สามคือ จุดสำคัญในการพิจารณาว่าคดีไหนนิรโทษ คดีไหนไม่นิรโทษ
หนึ่งต้องดูแรงจูงใจทางการเมือง
สองต้องไม่เป็นคดีที่ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่เป็นคดีพวกถึงแก่ชีวิต เช่น คุณไปชุมนุมทางการเมืองแต่คุณไปยิงเขาจนตายแบบนี้อาจไม่ได้รับนิรโทษกรรม ซึ่งจะมีคณะกรรมการเข้ามากลั่นกรอง แต่ว่าการที่จะให้คณะกรรมการกลั่นกรองต้องมาพร้อมกับความยินยอมของคนที่ได้รับการนิรโทษด้วย
ทำไมเราต้องดีไซน์กฎหมายแบบนี้ขึ้นมา รังสิมันต์เล่าว่า ตนเป็นผู้ถูกดำเนินคดีในช่วงปี 57 เป็นต้นมา ถ้าเกิดไปเขียนกฎหมายว่านิรโทษแบบเหมารวมเลย เดี๋ยวก็โดนอีกว่าสร้างกฎหมายเพื่อนิรโทษตัวเอง การดีไซน์แบบนี้มันจะอนุญาตให้คนที่ไม่อยากเข้าสู่กระบวนการการนิรโทษกรรมสามารถพิสูจน์ตัวเองในศาลได้หรือในกระบวนการยุติธรรมได้ แต่ว่ากับประชาชนตัวเล็กตัวน้อยที่เขาสมควรได้รับการนิรโทษกรรม เขาก็สมควรได้รับเพื่อให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ดูคลิป นาทีที่ 11.12 – 14.18
พรรคเพื่อไทย
- คดีการเมือง
- คดีที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน
- คดีความมั่นคง
- คดีที่เกิดจากความแตกต่างทางความคิด
- คดีที่รัฐสร้างขึ้นมาเองโดยการใช้อำนาจจากการรัฐประหาร
พรรคประชาชาติ
พรรคไทยสร้างไทย
พรรคภูมิใจไทย เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้เห็นต่างทางการเมือง แต่ไม่เห็นด้วยหากเป็นกรณีทุจริต
พรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยอย่างมีเงื่อนไขให้นิรโทษกรรม “ประชาชน” ผู้เห็นต่างทางการเมือง ไม่เห็นด้วยในกรณีผู้มีอำนาจกระทำรวมถึงกรณีทุจริตคอร์รัปชัน
- กลุ่มแรกคือผู้ถืออำนาจนำตัวจริง อาจจะเป็นนักการเมือง พรรคการเมือง และมีคดีอาญาซึ่งไม่ได้เกิดจากมูลเหตุทางการเมือง เช่น คดีทุจริตคอร์รัปชัน เป็นผู้มีอิทธิพลตัวจริง กลุ่มคนเหล่านี้ต้องการการนิรโทษกรรม ซึ่งไม่สามารถนิรโทษกรรมได้
- กลุ่มที่สองอาจเรียกว่าแกนนอน เป็นภาคประชาชน ตัวแทน ที่ลุกขึ้นมาเป็นแกนนำการเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้ประสงค์ที่จะไปเป็นนักการเมือง ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็ควรได้รับการนิรโทษกรรม
- กลุ่มที่สามเป็นฝ่ายฮาร์ดคอร์ “เผาเลยพี่น้อง” ทำให้เกิดเหตุขึ้นจริงๆ กลุ่มนี้ถึงจะมีคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองก็ต้องว่าไปตามกระบวนการ ไม่สามารถนิรโทษกรรมได้ เพราะต่อไปอาจจะมีการกระทำแบบนี้เกิดขึ้นอีก
- กลุ่มที่สี่เป็นฝ่ายนักวิชาการที่อภิปรายและออกความเห็นเป็นแนวร่วม ไม่ได้ออกไปเคลื่อนไหวบนท้องถนน ซึ่งก็ควรได้รับการนิรโทษกรรม
- กลุ่มที่ห้าควรได้รับการนิรโทษกรรมแน่นอนคือประชาชน ที่ถูกแจ้งข้อหาพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ความผิดจราจร
พรรคพลังประชารัฐ ก้าวข้ามความขัดแย้งโดยนิรโทษกรรมหรือไม่อย่างไรต้องหาทางออกร่วมกัน
- คดีการเมืองคืออะไร มันไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายว่า คดีใด คือ “คดีการเมือง” อาจจะอนุมานได้ว่า คดีกบฏหรือคดีล้มล้างการปกครอง คือ คดีการเมือง แต่การชุมนุมครั้งนั้น ไม่มีใครโดนข้อหาเหล่านี้ การนิรโทษกรรมจึงไม่มีใครได้ประโยชน์
- คดีเผาสถานที่ราชการหรือสถานที่ของเอกชนที่มีบางคนกล่าวว่า “เผาไปเลยครับพี่น้อง ผมรับผิดชอบเอง” คดีเหล่านี้ก็เคยถกเถียงกันว่า ไม่ใช่คดีการเมืองประกอบทั้งผู้กระทำผิดก็พ้นโทษหมดแล้ว การนิรโทษกรรมจึงไม่มีประโยชน์
- ที่มีปัญหามาก คือ “คดีทุจริต” ในบางรัฐบาล มีนักการเมือง รัฐมนตรีและข้าราชการ โดนจำคุกในคดีทุจริตมากที่สุด คดีเหล่านี้ไม่ถือเป็นคดีการเมือง หากนิรโทษเกิดการชุมนุมรอบใหม่แน่ ตนไม่ได้ “ชักใบให้เรือเสีย” แต่พอเริ่มทำ MOU ก็จะมีปัญหาตามมาว่า “คดีการเมือง” คืออะไร อย่าลืมว่าในการชุมนุมก็มีทหาร ตำรวจ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ เสียชีวิตเยอะเหมือนกัน
- ตนจำได้ว่า ตอนที่ตนเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องนิรโทษกรรม เรามีข้อสรุปว่า ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เราต้องเริ่มต้นจากหลักว่า (1) ค้นหาความจริง (2) เปิดเผยความจริง (3) จัดการกับความจริง (4) ลืม
- บางเรื่องมันต้องให้เวลาแก้ปัญหา อย่างอื่นมันนำมาใช้แก้ปัญหาไม่ได้ “เวลา” คือยาสมานแผลที่ดีที่สุด การ “ลืม” นี่เป็นหลักสากลทั่วโลกในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่รัฐบาลหลายประเทศเขาทำสำเร็จแล้ว “ยิ่งหากท่านว่าที่นายกรัฐมนตรี จะพ่วง คดี ม.112 เป็นคดีการเมืองด้วย เหมือนเติมฟืนเข้าในกองไฟเลยครับ อย่าทำเป็นโลกสวยไปนะครับ”
- สิ่งที่ยากที่สุดตอนนี้ คือ การบริหารอารมณ์ของกองเชียร์ครับ มันยากกว่าการพูดและโบกมือบนหลังคารถมาก ประเภท”มีกรณ์ ไม่มีกู มีกูไม่มีกรณ์ หรือ “ฉันเกิดในรัฐบาล 9 ไกล” อย่าให้กองเชียร์ทำเลยครับ ไม่งั้นอาจจะมี”มีทิม ไม่มีกู มีกูไม่มีทิม” บ้านเมืองก็ไปไม่ได้ เมื่อเรียกตัวเองว่า เป็นคนรุ่นใหม่ อย่าสร้างประเทศนี้ ด้วยความโกรธแค้น ชิงชัง เลยครับ ห้ามกองเชียร์หน่อย
RELATED POSTS
No related posts