ปัญหาที่มารัฐธรรมนูญ 2560

รัฐธรรมนูญ 2560 จัดทำขึ้นหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจในปี 2557 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน นำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิก คสช. มาร่างโดยประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ “เนื้อหา” มีแต่เพียงโอกาสที่จะเลือกระหว่าง “เห็นชอบ” และ “ไม่เห็นชอบ” เมื่อถึงคูหาประชามติ

หลังการทำประชามติเมื่อ 7 สิงหาคม 2559 ร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว ก็ยังถูก “แก้ไข” สองครั้ง ครั้งแรก แก้ไขตามคำถามพ่วงประชามติ ให้สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จากการแต่งตั้ง มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ได้ และครั้งที่สอง แก้ไขตาม “ข้อสังเกต” พระราชทาน

สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของรัฐ

เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 พบว่ารัฐธรรมนูญ 2560 เป็นครั้งแรกที่คำว่า “ความมั่นคงของรัฐ” และ “ความสงบเรียบร้อย” ถูกนำมาเขียนเป็นหลักการทั่วไปในการจำกัดสิทธิเสรีภาพ

จุดเด่นประการหนึ่งของรัฐธรรมนูญ 2560 คือ การตั้งหมวดที่ 5 “หน้าที่ของรัฐ” เป็นครั้งแรกโดยมีเนื้อหาหลายประการที่เคยเป็น “สิทธิ” ในฉบับก่อนๆ ถูกเปลี่ยนเป็น “หน้าที่ของรัฐ” แทน

การกำหนดเป็น “สิทธิ” ส่งผลให้บุคคลสามารถเรียกร้องต่อรัฐ ประชาชนคนอื่น รวมทั้งรัฐต่างประเทศ ไม่ให้มา ละเมิดต่อสิทธิของตัวเองได้ และรัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองไม่ให้ถูกละเมิด การเขียนให้เป็น “หน้าที่ของรัฐ” ไม่ได้รับประกันว่ารัฐจะทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ และพรากโอกาสที่ประชาชนจะยืนยันซึ่งสิทธิของตัวเอง เช่น หากบริษัทแห่งหนึ่งสร้างตึกโดยไม่มีทางลาดและลิฟต์ ถ้าคนพิการมี “สิทธิ” ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกก็มีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทได้ แต่เมื่อเป็น “หน้าที่ของรัฐ” ต้องรอให้รัฐไปบอกคนสร้างตึกนั้นอีกทีหนึ่ง

สถาบันทางการเมือง

นายกรัฐมนตรี-รัฐบาล

รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 กำหนดว่า “นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง” เพื่อให้ยึดโยงกับสภาผู้แทนราษฎรและประชาชน แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้กำหนดไว้ สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกฯ จากบุคคลในบัญชีที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ต่อ กกต. สามรายชื่อ โดยบุคคลนั้นไม่จำเป็นต้องลงสมัครรับเลือกตั้ง ระบบนี้ทำให้นายกฯ มีความเชื่อมโยงกับประชาชนน้อยลง และการจำกัดบัญชีอาจเป็นปัจจัยให้การเมืองเดินสู่ทางตัน หากบุคคลในบัญชีขาดคุณสมบัติทั้งหมด จะทำให้บ้านเมืองเดินต่อไปไม่ได้

สภาผู้แทนราษฎร

ระบบเลือกตั้ง “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่ใช้ในการเลือกตั้ง 2562

หลังแก้รัฐธรรมนูญ ใช้ระบบเลือกตั้ง “คู่ขนาน”

วุฒิสภา

วุฒิสภาแต่งตั้งตามบทเฉพาะกาล

วุฒิสภาที่มาจากการ “เลือกกันเอง”

ศาล

ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ

การออกกฎหมาย

ตามรัฐธรรมนูญ 2560 สภาผู้แทนราษฎรมีบทบาทหลักในการพิจารณา ขณะที่วุฒิสภารับหน้าที่ “กลั่นกรอง” หากวุฒิสภาไม่เห็นด้วยหรือแก้ไขเนื้อหาร่างกฎหมายนั้น ก็ต้องส่งกลับไปให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติอีก นอกจากนี้ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรจะมีอำนาจมากกว่า สามารถตัดลดงบประมาณได้ แต่วุฒิสภาทำไม่ได้ ลงมติได้เพียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น

แต่การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง สส. และ สว. มีอำนาจเท่าๆ กัน เพราะทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 

รัฐธรรมนูญ 2560 มีวิธีการแก้ไขที่ยุ่งยากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะเงื่อนไขที่ต้องมีเสียง สว. หนึ่งในสาม หรือ 67 คน และ “ฝ่ายค้าน” ร้อยละ 20 การแก้ไขในประเด็นบททั่วไป พระมหากษัตริย์ วิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ คุณสมบัตินักการเมือง และอำนาจศาลและองค์กรอิสระ ยังบังคับให้ต้องทำประชามติด้วย อีกทั้งยังให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเข้ามามีบทบาทตอนท้ายว่า จะแก้ได้หรือไม่อีกด้วย

กลไกตรวจสอบอำนาจรัฐโดยประชาชน

การปฏิรูป

รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ใช่รัฐธรรมนูญปกติ แต่ถูกยึดโยงกับ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” และ “แผนปฏิรูปประเทศ” ที่เริ่มต้นในสมัย คสช. อย่างแยกไม่ขาด คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติประกอบไปด้วยนายทุนใหญ่และทหารจำนวนมาก

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติ หากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเห็นว่าการกระทำของรัฐบาลขัดต่อยุทธศาสตร์ชาติก็สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัด ก็ให้ยื่นต่อ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินคดีฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งต้องถูกปลดโดยองค์กรอิสระซึ่งมาจากการคัดสรรโดย สว. ที่ไม่ได้มาจากประชาชน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทเฉพาะกาล

Amnestypeople.com
Join iLaw club
Facebook Fanpage