แม้ “ร่างแก้รัฐธรรมนูญ #ปลดล็อกท้องถิ่น” จะไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา แต่ความหวังของประชาชนที่ต้องการให้ประเทศไทยมีการ “กระจายอำนาจ” ให้ท้องถิ่นมากขึ้นยังไม่หมดไป เนื่องจากในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างช้า ในปี 2566 มีพรรคการเมืองอย่างน้อยสองพรรค ได้แก่ พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล ที่ประกาศนโยบายสนับสนุนการกระจายอำนาจ และลดการรวมศูนย์อำนาจของส่วนกลาง
7 ธันวาคม 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีนัดลงมติ ร่างแก้รัฐธรรมนูญ "ปลดล็อกท้องถิ่น" ที่เสนอให้ลดอำนาจราชการส่วนภูมิภาค และเพิ่มอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีอิสระในการทำบริการสาธารณะ และได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอเพื่อตอบโจทย์ปัญหาในแต่ละพื้นที่ แต่ร่างดังกล่าวก็ต้องตกไปเนื่องจากได้รับเสียงเห็นชอบจากรัฐสภาไม่ถึงกึ่งหนึ่งและได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่ถึงหนึ่งในสาม
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอินโดนีเซีย ล้วนแต่มีกลไกที่ให้โอกาสลูกหนี้บุคคลธรรมดา “เริ่มชีวิตใหม่” โดยการฟื้นฟูสภาวะทางการเงินได้ ไม่ต้องถูกฟ้องล้มละลายทุกกรณี ซึ่งเป็นช่องทางที่กฎหมายไทยยังไม่มี ทำให้ลูกหนี้ไทยยังขาดโอกาส แต่สภาก็กำลังมีข้อเสนอเรื่องนี้
กระทรวงดีอี คุมโลกออนไลน์เข้มงวดขึ้น ออกประกาศใหม่ เกี่ยวกับการนำข้อมูล "ออก" จากระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการต้องลบข้อมูลที่เป็นความผิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังบุคคลทั่วไปร้องเรียน แต่กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบแล้วแจ้งให้ลบยังมีเวลาขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อหาที่แจ้งให้ลบ
23 พ.ย. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ “เอกฉันท์” ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จาหเหตุที่ 77 ส.ว. ส่งเรื่องมา หลังจากนี้นายกฯ นำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ความยากของการแก้รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ไม่ได้จำกัดอยู่แค่มาตรา 256 เพราะในความเป็นจริง ตัว ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว. ที่มาจากรัฐบาล ก็เป็นส่วนหนึ่งของการถ่วงเวลาในการแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา มีการใช้เทคนิคเพื่อถ่วงเวลาการแก้รัฐธรรมนูญจากทั้ง ส.ส. และ ส.ว. รวมกันอย่างน้อย 5 ครั้ง
ย้อนดูแนวนโยบายและกฎหมายภายใต้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตลอดแปดปีที่ผ่านมา จะพบว่า รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ที่คุ้นชินแต่กับสีเขียวลายพราง ‘ไม่จริงใจ’ กับการปกป้องสิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม
“ฟุตบอลโลก 2022” ที่ประเทศกาตาร์เปิดฉากการแข่งขันขึ้นในวันที่ 21 พ.ย.2565 แต่แฟนบอลชาวไทยจะมีโอกาสได้รับชมฟุตบอลโลกครั้งนี้ผ่านช่องทางโทรทัศน์ที่ถูกลิขสิทธิ์และฟรีหรือไม่ ไอลอว์ชวนทบทวนเหตุการณ์ ข้อกฎหมาย และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกที่เกิดการถกเถียงในช่วงที่ผ่านมา
พ.ร.บ.เข้าชื่อเสนอกฎหมายฉบับใหม่ ให้เข้าชื่อเสนอกฎหมายทำทางออนไลน์ได้ มี 2 วิธี 1) เข้าชื่อทางเว็บผู้เชิญชวน 2) เข้าชื่อทางระบบเว็บสภาได้ ผู้เชิญชวนขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้อำนวยความสะดวกได้ ประหยัดต้นทุนผู้เชิญชวนไม่ต้องทำเว็บเอง
7 พฤศจิกายน 2565 ที่ประชุมวุฒิสภมีมติมิให้เปิดเผยบันทึกการประชุม จำนวน 10 ครั้ง ของกมธ.พิทักษ์สถาบันฯ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย (ไม่ให้เปิดเผย) 129+10 = 137 เสียง ไม่เห็นด้วย (เห็นควรให้เปิดเผย) 0 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง