สัปดาห์ที่สอง เดือนกุมภาพันธ์ 54: คดีพ.ร.บ.คอมฯ ขึ้นศาลแล้ว 2 คดี

สืบพยานคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์2 นัดในวันเดียว
4 ก.พ. 54 ที่ศาลอาญารัชดา เริ่มสืบพยานคดีฟ้องผู้ให้บริการพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2คดี คดีแรกคือ กรณีกองบังคับการปราบปรามฟ้องเว็บไซต์ประชาไทว่ากระทำผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา14,15 ฐานปล่อยให้มีข้อความหมิ่นสถาบันอยู่ในเว็บบอร์ดทั้งหมด 10 กระทู้ การสืบพยานโจทก์เริ่มต้นและดำเนินไปแล้วทั้งหมด 5 ปาก ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ในสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงไอซีทีทั้งหมด 2 ปาก เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ยึดเครื่องคอมพิวเตอร์จากกระทรวงไอซีที 1 ปาก ตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐาน 1 ปาก และทนายความเอกชนที่เคยให้ความเห็นต่อตำรวจกองปราบฯ เกี่ยวกับการตีความข้อความหมิ่นสถาบันฯ

การสืบพยานทั้ง 5ปากเน้นเนื้อหาที่กระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีทีและตำรวจ การสืบพยานโจทก์ปากแรกซึ่งคือนายอารีย์ จิวรรักษ์ ใช้เวลานานถึง 2 วัน ทำให้กำหนดนัดหมายพยานโจทก์อื่นๆ เลื่อนออกไป นัดหมายการสืบพยานโจทก์อีก 8ปากที่เหลือในเดือนกันยายน 54และนัดหมายสืบพยานจำเลยอีก 8 ปากในเดือนตุลาคม

อีกคดีหนึงคือ คดีที่กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ฟ้องนายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ผู้ออกแบบเว็บไซต์นปช.ยูเอสเอว่ากระทำผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14,15 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การสืบพยานโจทก์มีตำรวจจากปอท. 3 นาย ให้การเกี่ยวกับขั้นตอนและหลักฐานที่ใช้ในคดีนี้ อันประกอบด้วยข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ และภาพจากหน้าจอเว็บไซต์นปช.ยูเอสเอที่จำเลยเซ็นรับสารภาพ ด้านพยานจำเลยมีสองปาก คือ ตัวจำเลยที่ให้การถึงรายละเอียดในการจับกุม ความเกี่ยวข้องต่อเว็บไซต์นี้ และเหตุผลของการเซ็นรับสารภาพ ยังมีพยานผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่อธิบายการอ่านข้อมูลจราจร คอมพิวเตอร์ การพิจารณาในศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นลงแล้ว นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 15 มี.ค. 54

ร้อง UN ช่วยตรวจสอบ หวั่นรัฐใช้พรบ.มั่นคงฯ ละเมิดสิทธิผู้ชุมนุม
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติรักษาความมั่นคง ภายใน พ.ศ. 2551หมวด 2ให้พื้นที่ 7เขตของกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตปทุมวัน เขตวังทองหลาง เขตราชเทวี และเขตวัฒนาเป็นพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ระหว่างวันที่ 9-23กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554และมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รับผิดชอบ และออกข้อกำหนดตามมาตรา 18จำนวน 5ข้อคือ ให้เจ้าหน้าที่รัฐป้องกันและปราบปราม เหตุที่กระทบต่อความมั่นคง ห้ามบุคคลใดเข้าออกจากบริเวณพื้นที่ ห้ามนำอาวุธออกนอกเคหสถาน ห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ หรือต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข และให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยข้อกำหนดดังกล่าวจะกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนเวลาหรือเงื่อนไข

10 ก.พ. 54 นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความ เดินทางเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนเพื่อขอให้ตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายความ มั่นคงต่อผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชา ชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเห็นว่า การที่คณะรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในพ.ศ.2551โดยแสดง เจตนาอย่างชัดแจ้ง เพื่อนำกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้ในการสร้างอุปสรรคขัดขวางการใช้เสรีภาพการ ชุมนุมของประชาชนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ทั้งยังแสดงให้เห็นจากการให้สัมภาษณ์ของบุคคลในคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ ตำรวจที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมาย ว่าจะใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อการสลายการชุมนุมของกลุ่มประชาชนในครั้งนี้ ซึ่งการสลายการชุมนุมจะก่อให้เกิดความรุนแรงบาดเจ็บเสียหาย ทั้งร่างกายชีวิตและทรัพย์สิน

ตามข้อเท็จจริงที่กล่าว ข้างต้น เพื่อมิให้มีการบังคับใช้กฎหมายกระทบสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพของประชาชน และก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมเกินกว่าเหตุ อันอาจเป็นการกลั่นแกล้ง ขัดขวาง สร้างอุปสรรคและใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ความรุนแรงทำร้ายประชาชน จึงขอให้ทางข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความสำคัญติดตามตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายพรบ.ความมั่นคงฯ โดยตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจสอบรวบรวม ติดตาม ผลการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ เพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ได้รับมอบหมายสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้รัฐธรรมนูญของ ราชอาณาจักรไทย และกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่อย่างเคร่งครัด

แรงงานพม่าป่วยจากการทำงาน ไร้กองทุนเงินทดแทน เข้ารพ.ถูกล่ามโซ่
เมื่อวันที่ 9ม.ค. 54นายชาลี ผู้ป่วยจากอุบัติเหตุจากการทำงานก่อสร้างเข้าโรงพยาบาลในจังหวัดปทุมธานี แต่ถูกตำรวจจับตัวเพราะเป็นแรงงานชาวพม่าที่ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองส่งเขาไปรักษาที่รพ.ตำรวจโดยล่ามโซ่ตัวเขาไว้กับเตียง โรงพยาบาล และเตรียมจะส่งเข้ากลับไปยังประเทศพม่า

เขาถูกควบคุมตัวใน ข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย แม้เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานจะชี้แจงแล้วว่าใบอนุญาตการทำงานของเขายังไม่ หมดอายุ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เข้าช่วยเหลือ ทำให้โรงพยาบาลยอมปลดโซ่ และเรียกร้องสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน และอยู่ระหว่างร้องเรียนให้สภาทนายความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เขาถูกกล่าวหา ว่าทำผิดพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

นายจ้างแม่สอดล้อมโรงพักหลังถูก จนท.บุกจับแรงงานเถื่อน
10 ก.พ. 54ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ประกอบการโรงงานขนาดเล็กในอำเภอแม่สอดและใกล้เคียงจำนวนกว่า 100คน นำโดยนายชัยวัฒน์ ประเสริฐธรรม อายุ 60ปี ได้ปิดล้อมรถตู้ของศูนย์ปราบปรามแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงานและขบวนการค้า มนุษย์ (ศป.รต) ไม่ให้ออกจากโรงพัก หลังจากที่ได้นำผู้ต้องหาซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่จับกุมมาจำนวน กว่า 200คนมาส่งพนักงานสอบสวนการจับกุมโรงงานดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการโรงงาน ขนาดเล็กทั้งหมดไม่พอใจ จึงได้นำกำลังเข้าปิดล้อมรถดังกล่าว

ต่อมา พ.ต.อ.เดชชาติ วัฒนพนม ผกก.สภ.แม่สอด มาเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างแกนนำผู้ประกอบการโรงงาน และหัวหน้าชุดจับกุม เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะอำนวยความสะดวกการประกันตัวเจ้าของโรงงาน และจะรีบดำเนินคดีให้แล้วเสร็จ เนื่องจากขบวนการทั้งหมดมีการลงประจำวันไว้แล้ว ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการพอใจและสลายตัวไปในที่สุด

ผสานวัฒนธรรมร้อง ตรวจสอบจนท.กรณีผู้ต้องหาปล้นปืนอ้างถูกซ้อม
11ก.พ. นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ เจ้าหน้าที่มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ส่งหนังสือร้องเรียนแม่ทัพภาค 4ให้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ กรณีผู้ต้องหาปล้นปืนอ้างถูกซ้อมทรมาน ในข้อร้องเรียนกรณีนาย เอ (นามสมมุติ) ราษฎร จ.นราธิวาส ถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 30มกราคม พ.ศ. 2554กล่าวว่าตนถูกเจ้าหน้าที่ทหารบังคับให้นอนคว่ำหน้ากับพื้นตั้งแต่เช้า จากนั้นก็ถูกทำร้ายร่างกายเพื่อให้รับสารภาพเกี่ยวกับการปล้นปืน โดยการเตะตามร่างกาย และให้นอนหงายในลำธารบนภูเขาและถูกเจ้าหน้าที่เหยียบเพื่อให้จมน้ำ 2ครั้ง บาดแผลที่ข้อมือทั้ง 2ข้าง เกิดเนื่องจากการถูกเชือกรัด มีบาดแผลจากรอยมีดกรีดยาวประมาณ 5นิ้ว ที่ตรงกลางหน้าท้อง มีรอยฟกช้ำจากการถูกแตะที่หน้าท้องด้านขวาเป็นบริเวณกว้างประมาณ 3นิ้ว และบริเวณที่ก้นด้านซ้ายมีรอยช้ำกว้างประมาณ 1นิ้ว ซึ่งโดนทุบด้วยไม้กว้างประมาณ 5นิ้ว

ทางมูลนิธิฯ เห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ซึ่งทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพของ นายเอนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพราะขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย และอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT) ซึ่งเป็นกติการะหว่างประเทศ และเป็นหลักการสากล

ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3ผ่านฉลุย
11ก.พ. รัฐสภาลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190เกี่ยวกับหนังสือสัญญากระทบอาณาเขตไทย และมาตรา 93-98ว่าด้วยการแข่งเขตการเลือกตั้งวาระ 3เรียบร้อยแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงเกินหนึ่ง 397ต่อ 19และ งดออกเสียง 10เสียง เห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190ในวาระที่ 3เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ซึ่งขั้นต่อจากนี้จะมีการนำร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านการแก้ไขและความเห็นชอบจาก รัฐสภาแล้วนายกรัฐมนตรีจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20นับตั้งแต่วันที่ได้รับร่างแก้ไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190ต่อไป

ทั้ง นี้ร่างแก้ไขมาตรานี้มีสาระสำคัญ คือ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพ.ร.บ.เพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ เรื่องดังกล่าว ให้มีการออกกฎหมายลูกภายในระยะเวลา 1ปี นับตั้งแต่วันที่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา

จากนั้น ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 93-98ที่กำหนดให้ ส.ส.มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวน 375คน และบัญชีรายชื่อ 125คน ในวาระที่ 3ด้วยคะแนน 347ต่อ 37งดออกเสียง 42โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้กล่าวขอบคุณสมาชิกและสั่งปิดการประชุม ในเวลา 15.10น. ทั้งนี้ ในร่างแก้ไขมาตรา 93-98ยังกำหนดให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณา และให้ความเห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ และต้องมีการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้ง ส.ส.ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อใช้บังคับการเลือกตั้งนั้น และให้ข้อกำหนดตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้งใช้บังคับแทนบทบัญญัติ แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. ในส่วนที่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้

รัฐบาลมาลาวี ออกกม.ห้ามปชช. 'ตด'
สำนัก ข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประชาชนชาวมาลาวี เตรียมลุกฮือก่อหวอดประท้วงรัฐบาล เหตุไม่พอใจหลังได้ออกกฎหมายใหม่ที่ชื่ออย่างเป็นทางการว่าผู้ใดที่ทำให้ อาการสกปรกหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้อื่นในที่สาธารณะถือว่ามีความผิด แต่เป็นความผิดสถานเบาเท่านั้น หรือ ใครตดในที่สาธารณะถือว่ามีความผิดนั่นเอง โดยชาวมาลาวีส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เป็นเรื่องที่ไร้สาระ การที่รัฐบาลออกกฎหมายอย่างนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย และทำให้ชาวมาลาวีขายหน้าไปทั่วโลก “เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ รัฐบาลควรเอาเวลาไปทำที่มีสาระอย่างอื่นจะดีกว่า”

ขณะที่ จอร์จ ซาวอนดา รัฐมนตรียุติธรรมของมาลาวี กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยในที่สาธารณะ ซึ่งรวมถึงการตดด้วย ถ้าหากใครรู้ตัวว่ากลั้นไม่อยู่ก็ควรไปในห้องน้ำหรือที่ลับตาคน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนแทน

ที่มา: ว็อยซ์ทีวี

คพ.ไม่ยอมจ่ายค่าโง่คดีคลองด่าน9,000 ล.
11ก.พ. นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงข่าวกรณีที่คณะอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 12ม.ค.ที่ผ่านมา ได้ตัดสินข้อพิพาทให้ คพ.ต้องจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าเสียหาย รวมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5ให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี ผู้รับเหมาโครงการออกแบบก่อสร้างระบบรวบรวม และบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ซึ่งเบื้องต้น คพ.ได้ลองคำนวณตัวเลขคร่าว ๆ พบว่า จากเงินต้นที่ถูกฟ้องไว้ คือ จากเงินต้น 4,424,099,982บาท และอีก 26,434,636เหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่วันที่ 28ก.พ.2546นั้น รวมแล้วอาจมีมูลค่าสูงถึง 9,000ล้านบาท ดังนั้น ทาง คพ.มีความเห็นว่า จะไม่รับคำชี้ขาดดังกล่าว เนื่องจากคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ คพ.ได้คัดค้านตั้งแต่แรกแล้วว่า สัญญาเป็นโมฆะ จึงถือว่าไม่ได้มีสัญญาเกิดขึ้น