วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง

ในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 จะเป็นวันที่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ผู้ทำการรัฐประหารในปี 2557 จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาครบ 8 ปี (นับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557) ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ จะดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งนายกฯ ติดต่อกันหรือไม่ติดต่อกันก็ตาม แต่ทว่า การเริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งของ พล..ประยุทธ์ ยังเป็นข้อถกเถียงอยู่ว่าจะเริ่มนับเมื่อไร

โดยการนับวาระการดำรงตำแหน่งของ พล..ประยุทธ์ มีการตีความแตกต่างกันอย่างน้อยสามแนวทาง ได้แก่ หนึ่ง เริ่มนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ครั้งแรก หลังการรัฐประหาร ปี 2557 หรือเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 สอง เริ่มนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ หรือ วันที่ 6 เมษายน 2560 และสาม เริ่มนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งนายกฯ ครั้งที่สอง หลังการเลือกตั้งในปี 2562 หรือ วันที่ 9 มิถุนายน 2562 ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดในประเด็นนี้

อย่างไรก็ดี จากข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานต่างชี้ไปในทิศทางที่ว่าวาระนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้ให้ถือว่าเป็น ครม. ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 โดยไม่มีการกำหนดข้อยกเว้นเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งไว้ อีกทั้ง ครม. ก่อนการเลือกตั้ง ปี 2562 ยังใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขตที่ ครม. รักษาการ จะกระทำได้ ดังนั้น ต้องถือว่า พล..ประยุทธ์ เป็นนายกฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 

ดังนั้น การตีความของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับวาระนายกฯ 8 ปี ของ พล..ประยุทธ์ จึงเป็นที่ต้องจับตาว่า จะมีอภินิหารทางกฎหมายหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้ช่วยค้ำจุนสถานะของ พล..ประยุทธ์ ไว้ อย่างน้อย 3 ครั้ง ได้แก่ คดีถวายสัตย์ไม่ครบ คดีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และคดีพักบ้านหลวง ดังนั้น การยื่นตรวจสอบสถานะ พล..ประยุทธ์ ครั้งใหม่จากเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ จึงเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงตามที่ถูกตั้งสมญานามไว้หรือไม่

เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ทุกคนเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 8 ปี ตลอดชีวิต

ย้อนกลับไปรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของนายกฯ ว่าต้องไม่เกิน 8 ปี ซึ่งปรากฏในมาตรา 171 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปีมิได้” แต่ทว่า การเขียนเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดช่องโหว่ว่า ถ้าหากไม่ได้เป็นนายกฯ ติดต่อกันหรือมีการเว้นวรรคการดำรงตำแหน่ง จะทำให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ใหม่ อีกเป็นระยะเวลา 8 ปี หรือไม่ 

ด้วยเหตุนี้ ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จึงได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น โดยกำหนดไว้ในมาตรา 158 วรรคสี่ ว่า

นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่ง ติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”

กล่าวคือ ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งนายกฯ มากี่ครั้ง และไม่ว่าจะดำรงต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ตาม แต่ระยะเวลาดำรงตำแหน่งนายกฯ ของทุกคนต้องรวมกันแล้วไม่เกิน 8 ปี ตลอดชีวิต

โดยผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้เขียนขยายความมาตราดังกล่าวไว้ในเอกสารความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ด้วยว่า “..การนับระยะเวลาแปดปีนั้น แม้บุคคลดังกล่าวจะมิได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันก็ตาม แต่หากรวมระยะเวลาทั้งหมดที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบุคคลดังกล่าวแล้วเกินแปดปี ก็ต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม ได้กำหนด ข้อยกเว้นไว้ว่าการนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีในระหว่างรักษาการภายหลังจากพ้นจากตำแหน่ง จะไม่นำมานับรวมกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าว

อีกทั้ง ในเอกสารคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ ยังระบุด้วยว่าการกำหนดระยะเวลาแปดปีไว้ก็เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอานาจในทางการเมืองยาวเกินไปอันจะเป็นต้นเหตุเกิดวิกฤติทางการเมืองได้

การตีความวาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ มีอย่างน้อยสามแนวทาง

แม้ว่ามาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จะระบุชัดว่าทุกคนเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 8 ปี ตลอดชีวิต” แต่ทว่า การตีความระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ก็ยังมีการตีความที่แตกต่างกันไป เนื่องจากมาตรา 158 วรรคสี่ มีข้อยกเว้นว่าไม่ให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง” 

อีกทั้ง ในมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ยังบัญญัติไว้ว่า “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ …” ทำให้มีการตีความว่า การดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ เป็นการดำรงตำแหน่งตามบทเฉพาะกาล ไม่ใช่การดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามมาตรา 158 วรรคสี่

ด้วยเหตุนี้ การตีความวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ จึงแบ่งออกได้สามแนวทาง ได้แก่

  1. นับจากวันที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ หลังการเลือกตั้งในปี 2562 หรือ วันที่ 9 มิถุนายน 2562 
  2. นับจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 หรือ วันที่ 6 เมษายน 2560
  3. นับจากวันที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ หลังการรัฐประหารในปี 2557 หรือ 24 สิงหาคม 2557

โดยแนวทางการตีความวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ในข้อที่ 1 นับว่าเป็นแนวทางการตีความแบบสุดโต่งที่สุดกล่าวคือ ให้นับวาระหลังจากที่ พล..ประยุทธ์ เข้ารับตำแหน่งนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ครั้งแรก และไม่ต้องนับวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ก่อนหน้า แม้ว่า พล..ประยุทธ์ จะครองตำแหน่งนายกฯ มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี 9 เดือน ซึ่งการตีความเช่นนี้ จะทำให้ พล..ประยุทธ์ สามารถดำรงตำแหน่งนายกฯ รวมกันได้ยาวนานถึง 12 ปี 9 เดือน

ส่วนการตีความวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ในข้อที่ 2 นับว่าเป็นแนวทางการตีความแบบประนีประนอมที่สุดซึ่งอยู่บนหลักกฎหมายอาญาที่ว่ากฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังกล่าวคือ เมื่อยังไม่มีกฎหมาย ก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ และจะใช้กฎหมายย้อนหลังในทางที่เป็นโทษมิได้ หรือหมายความว่า การนับวาระการดำรงตำแหน่งของ พล..ประยุทธ์ จะต้องเริ่มนับตอนที่มีกฎหมายมาบังคับใช้ หรือ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มีผลบังคับใช้ ซึ่งก็คือ วันที่ 6 เมษายน 2560 โดยการตีความตามแนวทางดังกล่าว จะทำให้ พล..ประยุทธ์ สามารถดำรงตำแหน่งนายกฯ รวมกันได้ยาวนานถึง 10 ปี 7 เดือน

ส่วนการตีความวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ในข้อที่ 3 นับว่าเป็นแนวทางการตีความแบบเคร่งครัดที่สุดซึ่งอยู่บนหลักกฎหมายมหาชนที่ว่าไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจกล่าวคือ การดำรงตำแหน่งนายกฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับอำนาจรัฐ ดังนั้น ต้องตีความในทางจำกัดอำนาจรัฐให้มากที่สุด และเมื่อรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ไม่ได้บัญญัติข้อยกเว้นสำหรับการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ ก็ต้องถือว่า การดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 อยู่ภายใต้เงื่อนไข ห้ามดำรงตำแหน่งนายกฯ เกิน 8 ปี ด้วยเช่นกัน ซึ่งการตีความตามแนวทางดังกล่าวจะทำให้ พล..ประยุทธ์ สามารถดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เท่านั้น

เมื่อรัฐบาลคสช. ก่อนเลือกตั้ง ไม่ใช่รักษาการ ต้องเริ่มนับวาระนายกฯ ปี 57

แม้ว่าจะมีการตีความวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ไว้ถึงสามแนวทาง แต่จากพยานและหลักฐาน อย่างน้อย 2 อย่าง กลับชี้ให้เห็นว่า การตีความวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ต้องเริ่มนับจากวันที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 ดังนี้

1) บันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 500 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 ที่ระบุถึงความเห็นของประธานและรองประธาน กรธในเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ก่อนรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ไว้ดังนี้

  • สุพจน์ ไข่มุกต์ รองประธาน กรธกล่าวว่า “หากนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้บังคับ เมื่อประเทศยังคงมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ควรนับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วย
  • มีชัย ฤชุพันธ์ ประธาน กรธกล่าวว่า “บทเฉพาะกาลมาตรา 264 บัญญัติไว้ว่า ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ และให้นำความในมาตรา 263 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม การบัญญัติในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แม้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับก็สามารถนับรวมระยะเวลาดังกล่าวรวมกับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ ซึ่งเมื่อนับรวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็ต้องมีระยะเวลาไม่เกินแปดปี

จากบันทึกความเห็นดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า การดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามบทเฉพาะกาล  มาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 หมายถึงการดำรงตำแหน่งนายกฯ ไม่เกิน 8 ปีในมาตรา 158 เช่นเดียวกัน อีกทั้ง ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ปี 2557 มาตรา 2 ยังระบุว่า ประเทศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ สุพจน์ ไข่มุกต์ รองประธาน กรธ. ที่ระบุว่า หากเป็นนายกฯ ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ควรนับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวมด้วย ดังนั้น ต้องเริ่มนับวาระนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557

2) คำให้สัมภาษณ์ของ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายกฎหมาย) เมื่อปี 2562 ที่ระบุว่า รัฐบาลนี้(คณะรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ใช้บังคับ)ไม่ใช่คณะรัฐมนตรีที่รักษาการ เพราะว่าถ้าใช่รัฐธรรมนูญจะบอกว่าเป็นรัฐบาลรักษาการ แต่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 กลับบอกด้วยว่า ไม่ใช่รัฐบาลรักษาการ เป็นคณะรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่ไปจนถึงคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น จึงเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม

จากคำให้สัมภาษณ์ดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า การดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ไม่ใช่ข้อยกเว้นตาม มาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ระบุว่า “ไม่ให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่งดังนั้น ต้องเริ่มนับวาระนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557

นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ยังกำหนดด้วยว่า คณะรัฐมนตรีที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 (1) คือ พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลง เหตุเพราะอายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภา หรือ คณะรัฐมนตรีลาออก แต่กรณีการดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล..ประยุทธ์ ไม่ใช่ตามเงื่อนไขดังกล่าว

อีกทั้ง หากจะกล่าวอ้างว่า คณะรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ เป็นคณะรัฐมนตรีที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีชุดนั้นก็ต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่กำหนดว่า ห้ามอนุมัติงานหรือโครงการหรือสร้างภาระผูกผันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป หรือ ไม่แต่งต่างโยกย้ายข้าราชการ รวมถึงไม่อนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น แต่จากข้อมูลของสำนักข่าวบีบีซีไทย ระบุว่า ครึ่งปีหลังของปี 2561 หรือก่อนการเลือกตั้งในปี 2562 ไม่กี่เดือน คณะรัฐมนตรีที่มี พล..ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ได้อนุมัติโครงการ อย่างน้อย 9 โครงการ อาทิ เติมบัตรคนจน แจกบำนาญข้าราชการ โครงการบ้านหนึ่งล้านหลัง หรือ โครงการช็อปช่วยชาติ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่สามารถกระทำได้ภายใต้สถานะคณะรัฐมนตรีรักษาการ แต่เนื่องจาก วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีตามมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 เป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มและสามารถกระทำได้ ดังนั้น จะกล่าวอ้างว่า การดำรงตำแหน่งของ พล..ประยุทธ์ ก่อนหน้ารัฐธรรมนูญประกาศใช้ เป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการจึงไม่อาจกล่าวอ้างได้

จับตา “อภินิหารทางกฎหมาย” ของศาลรัฐธรรมนูญ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญปราบโกง

นับตั้งแต่ปี 2562 จนถึง ปี 2565 พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกฯ ถูกยื่นตรวจสอบผ่านกลไกศาลรัฐธรรมนูญ ไปแล้วอย่างน้อยสามครั้ง ซึ่งทุกครั้งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในทางที่เป็นคุณแก่ พล..ประยุทธ์ แทบทั้งสิ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

หนึ่ง คดีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ สืบเนื่องจาก พล..ประยุทธ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 161 กำหนด โดยจงใจเลี่ยงประโยคว่า “ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 

อีกทั้ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 กำหนดว่า “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติใด ของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” ดังนั้น ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่ครบถ้วนจึงเป็นการกระทำที่มิอาจใช้บังคับได้ และส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่การบริหารราชการแผ่นดินของ พล..ประยุทธ์ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

แต่ในคดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีมิติเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213  ประกอบ ...ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ..2561 มาตรา 46 วรรคสาม และมาตรา 47(1) เนื่องจากเป็นการถวายสัตย์ต่อหน้าพระมหากษัตริย์ไม่ได้อยู่ในอำนาจตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด นอกจากนี้การกระทำของพลเอกประยุทธ์ ไม่ใช่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 49

สอง คดีขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ สืบเนื่องจาก สมาชิกผู้แทนราษฎรพรรคร่วมฝ่ายค้าน 7 พรรค ร่วมยื่นหนังสือพร้อมรายชื่อ สมาชิกผู้แทนราษฎรจำนวน 101 คน ให้กับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ส่งคำร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นการขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เนื่องจากพลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ทำให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (6) และมาตรา 98 (15) 

แต่ในคดีนี้ ศาลมีคำวินิจฉัยว่า ตำแหน่งหัวหน้าคสชมาจากการเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ โดยมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นการใช้อำนาจรัฎฐาธิปัตย์ ที่เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ดังนั้นการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นเพียงการเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อให้มีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยเพียงเท่านั้น นอกจากนี้การดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นการแต่งตั้งที่ไม่ได้ขึ้นกับกฎหมาย ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และการทำงานของรัฐ จึงไม่มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และไม่ใช่เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (15) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 16 (6) พลเอกประยุทธ์ สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปได้

สาม คดีพักบ้านหลวง กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (5) เรื่องฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง 

รวมถึงความเป็นรัฐมนตรีของ พล.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) เรื่องการกระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เนื่องจาก พล..ประยุทธ์ พักอาศัยในบ้านพักข้าราชการทหารแม้เกษียณอายุไป 6 ปีแล้ว และถือเป็นการรับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ 

แต่ในคดีนี้ ศาลมีคำวินิจฉัยว่า พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่ขาดคุณสมบัติความเป็นนายกฯ เนื่องจากเป็นไปตามระเบียบภายในของกองทัพบก (ทบ.) ปี 2548 และยังชี้ว่ารัฐพึงจัดสรรที่พำนักให้ผู้นำประเทศ เพื่อ “สร้างความพร้อมทั้งสุขภาพกายและจิตใจในการปฏิบัติภารกิจในการบริหารประเทศล้วนเป็นประโยชน์ส่วนรวม” และกรณีนี้ไม่ถือประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ ไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตัวเอง

อย่างไรก็ดี การที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปในทิศทางที่เป็นคุณต่อ พล..ประยุทธ์ ก็สะท้อนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างคสช. กับศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเพราะถ้านับถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2565 จะพบว่าที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 7 ใน 9 คน มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมของคสชกล่าวคือ มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน มาจากการลงมติเห็นชอบในสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.ที่มาจากการแต่งตั้งของพล..ประยุทธ์ และมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 5 คน ที่มาจาการลงมติเห็นชอบโดย ..แต่งตั้ง ซึ่งทั้ง สนชและ .แต่งตั้งก็ล้วนมีที่มาจากคสชอีกต่อหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าศาลรัฐธรรมนูญจะแสดงอภินิหารทางกฎหมายในทางที่เป็นคุณกับ พล..ประยุทธ์ อีกครั้ง แต่สิ่งที่น่าตั้งคำถามมากกว่าคือ รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ยังเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงอยู่หรือไม่