กระบวนการยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน ไม่ใช่แค่ขึ้นศาลหาคนผิด

 

จากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทย ผู้สูญเสียจำนวนมากยังคงไม่ได้รับการเยียวยา ความจริงยังไม่ปรากฏ ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยังไม่ถูกลงโทษ มีเสียงร้อง เมื่อความรุนแรงคลี่คลายจึงมีเสียงเรียกร้องหาความยุติธรรมจากทุกฝ่าย เมื่อวันที่ 4 .. 2553 ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม..-..53 (ศปช.) จึงจัดเวทีสัมมนาเรื่อง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังกรณี เม..-.. 53

 
การอภิปรายในช่วงเช้า หัวข้อ “ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน : กรณีศึกษาจากต่างประเทศ” มีนักวิชาการจากหลายสาขาสะท้อนบทเรียนจากหลายประเทศ เพื่อศึกษาบทเรียนการจัดการกับผู้กระทำความผิด ความขัดแย้ง ผู้เสียหาย และมีแนวการปฏิรูประบอบอย่างไรภายหลังเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง 

 
การเสวนาในช่วงบ่าย หัวข้อ “ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านแบบไทยๆ” โดย ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ตัวแทนคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) กล่าวถึงแนวคิดของคอป. ต่อการแสวงหาความยุติธรรมว่า เพียงแค่กระบวนการยุติธรรมอย่างเดียวอาจจะไม่พอ เพราะขนาดของปัญหาใหญ่ มีความซับซ้อน มีผู้ถูกละเมิดและผู้กระทำความผิดเยอะมาก ทำให้ศาลยุติธรรมปกติไม่สามารถเข้ามาจัดการได้ เพราะอำนาจรัฐอาจจะเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่อาจใช้แนวคิดเรื่องการลงโทษอย่างเดียว ต้องดูแลเหยื่ออย่างครบกระบวนการ ต้องพัฒนาทางโครงสร้าง

 
คนเหล่านั้นทำผิดต้องรับผิดชอบ แต่สังคมต้องช่วยกันคิดว่ารับผิดชอบแบบไหนจึงเหมาะสม การลงโทษเชิงแก้แค้นอาจจะไม่ใช่ทางออกอย่างเดียว ถ้าเหยื่อ ถ้าสังคมร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสม อาจนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนกว่าได้” ดร..กิตติพงษ์กล่าว

 
ดร..กิตติพงษ์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ในแต่ละประเทศ แม้ว่าความขัดแย้งต่างกัน ก็จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมปกติเหมือนกั ดังนั้นการแสวงหาความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านควรจะประกอบไปด้วย กลไกต่างๆ กลไกแรก คือ การฟ้องคดีผู้ละเมิด กลไกที่สอง คือ คณะกรรมการที่เข้าไปค้นหาความจริง แต่ต้องไม่มีลักษณะเป็นองค์กรลงโทษแบบศาล กลไกที่สาม คือ การเยียวยาเหยื่อ กลไกที่สี่ คือ การนำเสนอทางออกเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันได้ เช่น การปรองดอง นำเสนอการปฏิรูปองค์กรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

 
 
                                       
 
 
ทางด้าน ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี นักสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ไม่ได้หมายถึงความยุติธรรมในรูปแบบพิเศษ แต่หมายถึงบทบาทของกระบวนการยุติธรรมที่ออกมารองรับและปรับใช้กับสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนผ่าน หรือเพิ่งผ่านเหตุการณ์ความขัดแย้ง หรือผ่านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง

 
แต่ ดร..ศรีประภา เห็นว่า ประเทศไทยในยุคปัจจุบันยังไม่ใช่ยุคเปลี่ยนผ่าน จึงยังไม่จำเป็นต้องนำเรื่องกระบวนการยุติธรรมในยุคเปลี่ยนผ่านมาใช้กับสังคมไทย

 
ในปัจจุบัน ไม่แน่ใจว่าจะพูดเรื่องนี้กับสังคมไทยได้หรือไม่ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ความขัดแย้งยังไม่ได้สิ้นสุดลง จะพูดว่าเป็นความยุติธรรมหลังความขัดแย้งไม่ได้ สังคมไทยไม่ใช่ยุคหลังเผด็จการเปลี่ยนผ่านไปเป็นประชาธิปไตย”

 
"ปัจจุบันรัฐไทยไม่ได้พยายามหามาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ให้เกิดขึ้นอีก นอกจากนั้น รัฐไทยยังมีเครื่องมือ ทั้งเครื่องมือทางกฎหมาย เช่น...ฉุกเฉิน เครื่องมือทางนโยบาย ที่ทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจเกิดขึ้นได้อีก” ดร..ศรีประภากล่าว

 
ดร.ศรีประภาเสนอด้วยว่า ความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านจะสำเร็จได้ต้องมีเงื่อนไขบางอย่าง เช่น การแก้ไขความขัดแย้งที่รากเหง้า ให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การเยียวยาความเจ็บปวดของเหยื่อด้วยการขอโทษและให้อภัย และการป้องกันการกระทำความผิดโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม