เปิดข้อบังคับประชุม ส.ว. ใครลงมติอย่างไร ไม่ต้องเปิดเผยบนเว็บไซต์

ระยะเวลาหนึ่งปีของการทำงานของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ได้ทำอะไรหรือตัดสินใจอะไรไปบ้าง ย่อมเป็นสิ่งที่ประชาชนอย่างเราควรได้รู้ เพราะนอกจากบุคคลเหล่านี้จะลงมติตัดสินใจเรื่องที่กระทบต่อประชาชนแล้ว บุคคลทั้ง 250 คนยังมาจากการคัดเลือกของ คสช. ทั้งหมด ประชาชนจึงย่อมอยากรู้ว่า ระหว่างที่รับเงินเดือนจากงบประมาณภาษีประชาชน พวกเขาลงมติตัดสินใจอย่างไร (หรือไม่มาทำงานเลย)

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในการผ่านกฎหมายทุกฉบับ หรือการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเพื่อตรวจสอบรัฐบาล เป็นอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ที่ต้องลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ ซึ่งโดยหลักแล้ว เพื่อความโปร่งใส ผลการลงมติที่ละเอียดพอที่จะเปิดเผยว่า ส.ว. คนไหนลงมติอย่างไรบ้าง จึงเป็นข้อมูลที่ควรต้องเปิดเผยให้โปร่งใสที่สุด

เปิดข้อบังคับประชุม ส.ว. ใครลงมติอย่างไร ไม่ต้องเปิดเผยบนเว็บไซต์

จากที่ได้พยายามค้นหาบันทึกการลงคะแนนของ ส.ว. ในมติต่างๆ ไม่พบข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลย 

ซึ่งตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ในข้อ 76 กำหนดไว้ว่า “ให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดทำบันทึกการลงมติการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกการลงมติดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้ประชาชนทราบได้ทั่วไป เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ” 

เมื่อข้อบังคับดังกล่าวกำหนดให้เปิดเผยที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในทางปฏิบัติจึงมีการนำแผ่นกระดาษไปติดบอร์ดไว้ให้ประชาชนสามารถไปตรวจสอบดูได้เอง แต่ก็ต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก่อนจึงเข้าไปได้ และข้อบังคับข้อ 76 นี้เองเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่มีการเปิดเผยใบประมวลผลการลงคะแนนของ ส.ว. แต่ละคนบนเว็บไซต์ของรัฐสภา 

การเขียนข้อบังคับข้อ 76 เช่นนี้ แตกต่างจากกรณีขอดูบันทึกการลงคะแนนของ ส.ส. ที่สามารถค้นหาได้จาก ระบบฐานข้อมูลรายงานและและบันทึกการประชุมบนเว็บไซต์ของรัฐสภาโดยตรง

ซึ่งจะแสดงทั้งบันทึกการประชุม บันทึกการออกเสียงและการลงคะแนน ซึ่งของ ส.ส. ยังได้มีการเปิดเผยใบประมวลผลการลงมติเป็นรายบุคคลอีกด้วย 

ทั้งนี้เนื่องจากข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 89 ระบุว่า “ให้เลขาธิการจัดทำบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ ณ บริเวณสภา รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นเพื่อให้ประชาชนทราบได้ทั่วไป เว้นแต่การออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับตามข้อ 84” 

You May Also Like
อ่าน

กรธ. ชุดมีชัย ออกแบบระบบ สว. “แบ่งกลุ่มอาชีพ”-“เลือกกันเอง” สุดซับซ้อน!

ระบบ “เลือกกันเอง” สว. 67 ที่ให้เฉพาะผู้สมัคร ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2,500 บาท มีสิทธิโหวต คิดค้นโดยคนเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 นำโดยมีชัย ฤชุพันธุ์
อ่าน

สมัคร สว.67 แค่กรอกเลือกกลุ่มอาชีพ โดยมีผู้รับรองและพยาน

ผู้สมัคร สว. ไม่ว่าจะเพราะสมัครเพื่ออยากมีส่วนร่วมในกระบวนการหรือสมัครเพื่อไปเป็น สว. สำหรับหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าเราสามารถสมัคร สว.ในกลุ่มที่ต้องการได้หรือไม่ ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 (ระเบียบ กกต. การเลือกสว.) กำหนดว่า การพิสูจน์ว่าผู้สมัครอยู่กลุ่มอาชีพใด ใช้หลักฐานตามเอกสารสว. 4 คือการมี “ผู้รับรอง”