สรุปคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีทวงคืนผืนป่าอุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ

 
ปี 2557 คสช.ออกคำสั่งคสช. ที่ 64/2557 ทวงคืนผืนป่าจากชาวบ้านทั่วประเทศ แต่หลังการยึดคืนที่ดินปรากฏว่า มีชาวบ้านยากไร้ ไม่มีที่ทำกินกลับเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ที่คสช.ทำการยึดคืนไปแล้วส่งผลให้ถูกกล่าวหาในคดีบุกรุกป่า กรณีล่าสุดคือ คดีทวงคืนผืนป่าที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง จังหวัดชัยภูมิ ศาลอุทธรณ์ภาคสาม แผนกคดีสิ่งแวดล้อมได้มีคำพิพากษาออกมาทั้งสิ้น 16 คดี โดยองค์คณะผู้พิพากษามีสามองค์คณะ องค์คณะที่หนึ่งและสองรับผิดชอบเจ็ดคดี และองค์คณะที่สามรับผิดชอบสองคดี
 
โดยประเด็นหลักที่โจทก์และจำเลยอุทธรณ์คือ จำเลยกระทำความผิดหรือไม่และการชดใช้ค่าเสียหาย ในประเด็นว่า จำเลยกระทำความผิดหรือไม่นั้น องค์คณะผู้พิพากษาทั้งสามองค์คณะเห็นพ้องว่า จำเลยกระทำความผิดจากการที่ไม่มีหลักฐานสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเซ็นคืนพื้นที่ให้แก่รัฐไปแล้ว เมื่อกลับเข้าไปทำประโยชน์หลังเซ็นคืนพื้นที่จึงเป็นการบุกรุกขึ้นใหม่
 
ขณะที่ประเด็นการเรียกค่าเสียหายองค์คณะที่หนึ่งเห็นว่า การวางค่าเสียหายของเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้อยู่บนหลักวิชาการและมีความสากล สามารถเชื่อถือได้จึงสั่งเพิ่มค่าเสียหายตามที่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ร้องมา ขณะที่องค์คณะที่สองและสามเห็นว่า การคำนวณค่าเสียหายของเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง อาจมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่สร้างความแปรผันในค่าเสียหายได้ เห็นว่า ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางไว้ต่ำกว่าที่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้เรียกไว้มีความเหมาะสมแล้ว
 
 
——————————————————————————–
ชื่อจำเลย นิตยา ม่วงกลาง (คดีที่หนึ่ง)
คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำคุกหนึ่งปี ลดเหลือแปดเดือน ชดใข้ค่าเสียหาย 150,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกหนึ่งปี ลดเหลือแปดเดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 150,000 บาท
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สอง
ศาลจังหวัดชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ – 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 26 เมษายน 2562
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า สนอง การปลูกและฝั่น นาคทน ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรทองไปร้องทุกข์ และไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมายได้ เห็นว่า ทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าและเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า อุทยานแห่งชาติไทรทอง มีหน้าที่ปราบปรามการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ฯและพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ พื้นที่เกิดเหตุเป็นทั้งป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ การกระทำของเจ้าพนักงานทั้งสองจึงเป็นไปตามขอบเขตหน้าที่ และความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์
 
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
 
 
พื้นที่เกิดเหตุอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ มีการประกาศให้ประชาชนรับทราบและปักหมุดเป็นเสาปูนโดยรอบ ในปี 2541 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สำรวจรายชื่อประชาชนที่ทำกินมาก่อนสามารถอยู่ในที่ดินต่อไปได้โดยไม่ขยายพื้นที่ โดยเจ้าพนักงานมีการสำรวจผู้อยู่อาศัยก่อนมติครม.2541 ทั้งสิ้นสามครั้งคือ ในปี 2546, 2551 และ 2553 เมื่อตรวจสอบรายชื่อแล้วไม่ปรากฏชื่อจำเลย จอมและทองปั่น ม่วงกลาง บิดามารดาของจำเลย และพรม อิมาพัฒน์ บุคคลที่จำเลยอ้างว่าได้ส่งมอบที่ดินให้ 
 
ปี 2558 เจ้าพนักงานได้ขอคืนพื้นที่ ทองปั่น มารดาของจำเลยเป็นผู้เซ็นคืนพื้นที่แทนจำเลยและตกลงจะให้มีการเก็บเกี่ยวฤดูกาลนี้ให้เสร็จสิ้น แต่เมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบอีกครั้งกลับพบว่า มีการปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่ ในทางนำสืบที่ว่า บิดามารดาของจำเลยได้รับมอบที่ดินมาจากพรม และส่งมอบต่อให้จำเลยนั้นฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการสำรวจรายชื่อผู้อยู่อาศัยมาก่อนตามมติครม. 2541 ไม่มีชื่อของบุคคลใดที่กล่าวมาเลย
 
ขณะที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นผู้ยากไร้ได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 นั้น ตามคำสั่งยกเว้นเฉพาะผู้อยู่อาศัยเดิมเท่านั้น ไม่ใช่กรณีของผู้บุกรุกใหม่ จะต้องมีการพิสูจน์การครอบครองก่อนหน้าวันที่คำสั่งออกมา แต่ปรากฏว่า มีการเปิดโอกาสให้พิสูจน์สิทธิแต่จำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ จึงถือว่า กระทำการบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ
 
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
 
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 150,000 บาทเป็น285,588 บาท เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก โดยคำนวณผ่านเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้, ความสมบูรณ์ของดินและความลาดชันของดิน ก่อนคิดคำนวณมาเป็นค่าเสียหายคือ ค่าเสียหายจากปริมาณน้ำที่สูญหาย, ปริมาณดินที่สูญหาย,อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น, ปุ๋ยไนโตรเจน, ปุ๋ยฟอสฟอรัสและปุ๋ยโปแตสเซียม รวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมด 285,588 บาท
 
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การประเมินความเสียหายอาศัยข้อมูลที่มีอยู่จริงและมีหลักวิชาการรองรับ แต่ไม่ใช่ความเสียหายที่แท้จริง เพราะว่า การประเมินเกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุ สภาพแวดล้อมอาจแตกต่างไปจากก่อนและขณะเกิดเหตุ ประกอบกับจำเลยทำประโยชน์ต่อจากบุคคลอื่น อุทธรณ์เพิ่มค่าเสียหายของโจทก์จึงฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
———————————————–

 
ชื่อจำเลย นิตยา ม่วงกลาง (คดีที่สอง)
คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำคุกหกเดือน ลดเหลือสี่เดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 40,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกหกเดือน ลดเหลือสี่เดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 40,000 บาท
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สอง
ศาลจังหวัดชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ – 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 5 เมษายน 2562
 
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
 
จำเลยอุทธรณ์ว่า สนอง การปลูก ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรทองไปร้องทุกข์นั้น เห็นว่า ความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
 
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
 
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 จำเลยอยู่อาศัยทำกินมาก่อนและไม่มีเจตนาบุกรุก พิเคราะห์ว่า ปี 2558 สนอง การปลูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติไทรทองสำรวจพื้นที่ป่าพบทองปั่น ม่วงกลางมารดาของจำเลยในที่ดินเกิดเหตุ สนองแจ้งต่อทองปั่นว่า เธอไม่มีรายชื่อการสำรวจผู้อยู่อาศัยตามมติครม. 2541 และขอคืนพื้นที่ ทองปั่น มารดาของจำเลยยินยอมเซ็นคืนพื้นที่ โดยกำหนดระยะเวลาให้เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังฤดูกาลนี้ จำเลยเป็นคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ทำกินของราษฎรในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งมีสนอง เจ้าพนักงานที่ยึดคืนที่ดินเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้วย เมื่อทราบว่า ทองปั่นยอมคืนที่ดินให้รัฐ จำเลยไม่ได้ทำการโต้แย้งหรือคัดค้านผ่านคณะทำงานฯ ในปี 2559 เมื่อสนองไปตรวจสอบพื้นที่อีกครั้ง พบว่า จำเลยยังเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เสร็จเป็นพื้นที่ หนึ่งไร่ สองงาน 98 ตารางวา จึงเป็นที่มาของคดีนี้
ในทางนำสืบพบว่า ที่ดินพิพาทนี้เป็นทีดินที่ได้รับมอบมาจากทองปั่น มารดาของจำเลย ซึ่งทองปั่นได้รับมอบจากพรม อิมาพัฒน์อีกทีในปี 2549 ทั้งที่ทองปั่นไม่ใช่ทายาทของพรม ดังนั้นการครองที่ดินของทองปั่นและจำเลยไม่ใช่การครองที่ดินก่อนการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายางกลักและอุทยานแห่งชาติไทรทอง หรือเป็นการโอนสิทธิถือครองที่ดินทางมรดก จึงเป็นยืนยันว่า ทองปั่น มารดาของจำเลยไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์ผู้ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 2541 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ผ่อนผันตามมติครม.
คดีนี้สนองและพวกได้ร้องทุกข์เพียงพื้นที่ที่จำเลยยังเก็บเกี่ยวไม่เสร็จเท่านั้น ไม่ได้ร้องทุกข์ในพื้นที่เพาะปลูกที่ได้มีการผ่อนผันให้จนจำเลยเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ อันเป็นการปฏิบัติสอดคล้องตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 ดังนั้นการที่จำเลยยังทำกินในพื้นที่ที่หมดระยะผ่อนผันแล้วจึงเป็นความผิดตามฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 40,000 บาทเป็น 47,339 บาท ตามกฎหมายแล้วหากค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 ห้ามไม่ให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์อ้างว่า เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก ซึ่งมีความน่าเชื่อถือเป็นการโต้เถียงในดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นถือเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ขณะที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเพราะได้รับการยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 เป็นการโต้เถียงในดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นถือเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน อุทธรณ์ของคู่ความจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
หมายเหตุ คดีนี้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกค่าเสียหาย 87,339 บาท
———————————————–
 
ชื่อจำเลย ทองปั่น ม่วงกลาง
คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำคุก 14 เดือน ลดเหลือเก้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์  พิพากษาแก้เป็นจำคุก 12 เดือน ลดโทษหนึ่งในสามเหลือแปดเดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สอง
ศาลจังหวัดชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562  คำพิพากษาลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562
 
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
 
จำเลยอุทธรณ์ว่า สนอง การปลูก ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรทองไปร้องทุกข์นั้น เห็นว่า ความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
 
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
 
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นผู้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 จำเลยครอบครองที่ดินมาก่อนคำสั่งคสช.และไม่ได้ทำการบุกรุกใหม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินที่จำเลยครอบครองนั้นอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ คณะทำงานติดตามทวงคืนผืนป่าพิจารณาถึงสิทธิการครอบครองที่ดินและลงความเห็นว่า จำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการผ่อนปรนตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557
ถ้าหากไม่ถูกต้องจำเลยมีสิทธิที่จะหาเหตุผลมาโต้แย้งแต่แรก แต่จำเลยยินยอมคืนที่ดินโดยสมัครใจ ไม่ปรากฏหลักฐานในการขู่เข็ญจำเลย คณะทำงานฯผ่อนปรนระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ตามตกลง ข้อเท็จจริงจึงชัดเจนว่า จำเลยทราบดีว่า ตนเองไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าว อย่างไรก็ตามหลังจำเลยคืนที่ดินแล้ว หากจำเลยมีหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับประโยชน์ผ่อนปรนตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 (หลักฐานที่พิสูจน์ว่า อยู่มาก่อนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541)ก็สามารถแจ้งต่อคณะทำงานฯได้ แต่จำเลยไม่ได้ท้วงติงคณะทำงานฯและเมื่อพ้นระยะที่คณะทำงานฯผ่อนปรนให้เก็บเกี่ยวผลผลิตของฤดูกาลนี้แล้วจำเลยยังไม่ออกจากพื้นที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการบุกรุกครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติ
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
 
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้ทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่สภาพความเป็นป่า เห็นว่า การบุกรุกของจำเลยถือเป็นเหตุให้เกิดการทำลายหรือทำให้สูญหายแก่สภาพทรัพยากรธรรมชาติแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่มเสียหายให้เต็มตามคำฟ้องที่ 117,240 บาท พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พื้นที่พิพาทก่อนการบุกรุกมีความอุดมสมบูรณ์อย่างไร มีเพียงภาพถ่ายทางอากาศปี 2557 บริเวณที่เกิดเหตุเปรียบเทียบพื้นที่ข้างเคียงไม่ได้เป็นป่าหนาแน่นอุดมสมบูรณ์หรือเป็นป่าต้นน้ำแต่อย่างใด แม้จะมีเจ้าพนักงานป่าไม้คำนวณถึงค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้วยโปรแกรมตามหลักวิชาการ แต่เมื่อพิจารณาภาพถ่ายทางอากาศ ไม่อาจบอกได้ว่า จำเลยทำให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
 
ประเด็นที่สี่ แก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
 
เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นหลังจากที่พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2559 บังคับใช้แล้ว การกระทำความผิดครั้งนี้จะต้องใช้กฎหมายใหม่บังคับแก่จำเลยมีโทษตั้งแต่หนึ่งถึงสิบปี ปรับ20,000-200,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์มาจึงไม่สามารถแก้ไขโทษให้หนักขึ้นได้
ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจหนักเกินไป ศาลอุทธรณ์ฯพิพากษาแก้เป็นจำคุก 12 เดือน ลดโทษหนึ่งในสามเหลือแปดเดือน
———————————————–
 
ชื่อจำเลย วันชัย อาพรแก้ว
คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำคุกสิบเดือน ลดเหลือหกเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 300,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกสิบเดือน ลดเหลือหกเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 300,000 บาท
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่หนึ่ง
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2562   คำพิพากษาลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562
 
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
 
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ข้อเท็จจริงเห็นว่า สนอง การปลูก เป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.อุทยานฯ มีหน้าที่ในการปราบปรามความผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ฯ, พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ และพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ พื้นที่เกิดเหตุเป็นทั้งป่าสงวนแห่งขาติและอุทยานแห่งชาติ การยึดคืนพื้นที่ของสนองเป็นการกระทำตามหน้าที่  และความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
 
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
 
ปี 2558 สนอง การปลูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าลงพื้นที่สำรวจที่ดิน เมื่อมาถึงที่ดินของจำเลยพบแก้วฟ้า อาพรแก้ว มารดาของจำเลย โดยแก้วฟ้าระบุว่า เป็นผู้ส่งมอบที่ดินจ่อให้แก่จำเลย ผู้เป็นบุตรชาย สนองจึงทำการตรวจสอบว่า จำเลยและมารดาเป็นผู้ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 หรือไม่ ปรากฏว่า ไม่มีรายชื่อทั้งสองในบัญชีผู้ได้รับการผ่อนผันจึงขอคืนที่ดิน แก้วฟ้าจึงลงลายมือชื่อคืนที่ดินแทนจำเลย สนองได้กำหนดระยะเวลาผ่อนผันให้เก็บเกี่ยวผลผลิต แต่เดือนกรกฎาคม 2559 ปรากฏว่า จำเลยเข้าไปปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่อีกครั้ง 
จำเลยนำสืบว่า ที่ดินดังกล่าว แก้วฟ้า มารดาของจำเลยได้รับมอบมาจากบิดามารดาอีกทีหนึ่ง ปี 2546 มีเจ้าหน้าที่เคยมาสำรวจที่ดินแล้ว ต่อมาปี 2550 แก้วฟ้าได้ยกที่ดินให้จำเลยทำกินต่อไป หลังมารดาจำเลยเซ็นคืนที่ดินไป จำเลยได้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปหลายหน่วนงาน จนกระทั่งมีการประชุมร่วมของคณะทำงานประกอบด้วยฝ่ายรัฐและประชาชนเห็นควรให้ชะลอการทวงคืนผืนป่าที่เกิดเหตุไว้ก่อน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นว่า จำเลยรู้เห็นเรื่องการคืนที่ดิน การกระทำของแก้วฟ้ามีผลผูกพันกับจำเลย
เอกสารจากการประชุมระหว่างขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ)กับตัวแทนฝ่ายรัฐในวันที่ 12 พฤษภาคม 2561 ที่ให้ชะลอการดำเนินคดีต่อประชาชนที่ได้รับกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าและจะดำเนินการตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 นั้นเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังการขอคืนที่ดิน การชะลอการดำเนินคดีเป็นเรื่องของประชาชนที่อาศัยในป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติที่ยังไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ไม่มีผลบังคับต่อจำเลย
ในทางนำสืบยังเห็นว่า แก้วฟ้า มารดาของจำเลยไม่ใช่ผู้ที่ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนมติครม. 2541 จำเลยจึงถือเป็นผู้บุกรุกใหม่ ไม่อาจอ้างข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช. ที่ 66/2557 ให้พ้นผิดได้ ประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่า วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 การประชุมระหว่างประชาชนและสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) มีความเห็นว่า พื้นที่พิพาทปรากฏร่องรอยการทำประโยชน์ตั้งแต่ก่อนปี 2545 ซึ่งก่อนคำสั่งคสช.บังคับใช้ ให้กันพื้นที่ให้ประชาชนอยู่อาศัยต่อไปได้ เห็นว่า รายงานการประชุมดังกล่าวทำขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้วไม่มีผลย้อนหลัง
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 300,000 บาทเป็น 860,395 บาท เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก โดยคำนวณผ่านเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้, ความสมบูรณ์ของดินและความลาดชันของดิน ก่อนคิดคำนวณมาเป็นค่าเสียหายคือ ค่าเสียหายจากปริมาณน้ำที่สูญหาย, ปริมาณดินที่สูญหาย,อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น, ปุ๋ยไนโตรเจน, ปุ๋ยฟอสฟอรัสและปุ๋ยโปแตสเซียม รวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมด 860,395 บาท การประเมินค่าเสียหายเป็นไปตามหลักวิชาการและมีความเป็นสากล จึงมีความน่าเชื่อถือ อุทธรณ์เพิ่มค่าเสียหายจึงฟังขึ้น 860,395 บาท
 
ประเด็นที่สี่ แก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
 
เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มกราคม-11 กรกฎาคม 2559 ซึ่งความผิดเกิดก่อนและหลังพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2559 บังคับใช้ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 31 วรรคหนึ่งระบุว่า ผู้ที่กระทำการครอบครองยึดถือครอบครองทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดโทษไว้สิบเดือนต่ำกว่าที่กฎหมายใหม่กำหนด แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
พิพากษาจำคุกสิบเดือน ลดโทษเหลือหกเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 860,395 บาทตามศาลชั้นต้น
————————————–
ชื่อจำเลย สมร สมจิตร
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุกหนึ่งปี ปรับ 20,000 บาท จำคุกรอลงอาญาไว้สามปี คุมประพฤติจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปี ชดใช้ค่าเสียหาย 80,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกหนึ่งปี ปรับ 20,000 บาท จำคุกรอลงอาญาไว้สามปี คุมประพฤติจำเลยเป็นเวลาหนึ่งปี ชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเป็น 366,663 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่  25 มิถุนายน 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่หนึ่ง
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
 
ความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
 
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
 
ในทางนำสืบพบว่า ปี 2558 สนอง การปลูกได้ตรวจสอบที่ดินพิพาทของจำเลย แต่จำเลยไม่มีรายชื่อตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จำเลยยินยอมส่งมอบพื้นที่คืนและเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังฤดูกาลนี้ตามระยะผ่อนผันที่กำหนดไว้ ต่อมาในปี 2559 สนองเข้าตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวพบว่า มีการปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่อายุประมาณสองเดือน
จำเลยสู้ว่า เหตุที่กลับไปปลูกมันสำปะหลังอีกครั้งเนื่องจากไม่มีที่ดินทำกิน โดยเข้าทำกินและอยู่อาศัยมาตั้งแต่ปี 2520 จนกระทั่งปี 2541 เจ้าหน้าที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.)สำรวจพื้นที่และปักหลักเขต ปักไปได้สองหลัก หลักหมดแต่เจ้าหน้าที่บอกว่า ให้ทำกินต่อไปได้ จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่มาตลอด เมื่อเจ้าหน้าที่ขอคืนพื้นที่ จำเลยไม่ได้แสดงเอกสาร หลักเขตที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่เคยปักเอาไว้ก็ไถทิ้งไปแล้ว เจ้าหน้าที่ให้จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสาร หากไม่ยอมลงจะไม่มีที่ทำกินและจะต้องติดคุก จำเลยจึงต้องลงลายมือชื่อในเอกสารขอคืนพื้นที่อย่างไม่เต็มใจ วันต่อมาจึงไปส.ป.ก. ชัยภูมิขอเอกสารส.ป.ก. เห็นว่า จำเลยทราบว่า พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และการลงลายมือชื่อ จำเลยไม่อาจปฏิเสธถึงผลผูกพันได้
การกล่าวอ้างว่า ส.ป.ก.สำรวจในปี 2546 และอนุญาตให้ทำกินต่อไปนั้นเป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง ทั้งแป้น กองศรีพยานจำเลยที่ถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกันก็ย่อมที่จะเบิกความช่วยจำเลยและไม่ได้ยืนยันว่า ส.ป.ก.ทำการสำรวจและอนุญาตให้ทำกินต่อไปได้ จึงมีน้ำหนักน้อย เอกสารยืนยันการเสียภาษีบำรุงท้องที่ก็ไม่ใช่หลักฐานยืนยันกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินหรือได้รับการผ่อนผันให้ทำประโยชน์ต่อไปตามมติครม. 2541
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยอยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 ซึ่งต้องมีการพิสูจน์สิทธิว่า อยู่มาก่อนจริงหรือไม่ ซึ่งตามมติครม. 2541 มีการพิสูจน์สิทธิสามครั้ง แต่จำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ จึงถือว่า จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วว่า พื้นที่ที่เข้าไปบุกรุกทำกินเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการบุกรุกอันก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 80,000 บาทเป็น 366,663 บาท เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก โดยคำนวณผ่านเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้, ความสมบูรณ์ของดินและความลาดชันของดิน ก่อนคิดคำนวณมาเป็นค่าเสียหายคือ ค่าเสียหายจากปริมาณน้ำที่สูญหาย, ปริมาณดินที่สูญหาย,อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น, ปุ๋ยไนโตรเจน, ปุ๋ยฟอสฟอรัสและปุ๋ยโปแตสเซียม รวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมด 366,663 บาท การประเมินค่าเสียหายเป็นไปตามหลักวิชาการและมีความเป็นสากล จึงมีความน่าเชื่อถือ อุทธรณ์เพิ่มค่าเสียหายจึงฟังขึ้น 366,663 บาท
ประเด็นที่สี่ แก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใดๆเพื่อหาประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 ความผิดฐานนี้มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาทจึงมีอายุความหนึ่งปี ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มูลเหตุของความผิดเกิดระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 3 กรกฎาคม 2559 แต่โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า มีความผิดจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
 
พิพากษาจำคุกหนึ่งปี โทษจำคุกรอลงอาญาไว้สามปี คุมประพฤติเป็นเวลาหนึ่งปี แก้ไขให้ชดใช้ค่าเสียหายเป็น 366,663 บาท
 
——————————————–
ชื่อจำเลย ปัทมา โกเม็ด
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุกหนึ่งปี ลดโทษเหลือแปดเดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 250,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกหนึ่งปี ลดโทษเหลือแปดเดือน พิพากษาแก้ค่าเสียหาย 250,000 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สอง
ประเด็นที่หนึ่ง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า จำเลยไม่ได้อยู่ในรายชื่อของผู้ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 2541 พื้นที่เกิดเหตุเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาตินายางกลักและอุทยานแห่งชาติไทรทอง ต่อมาในปี 2558 สนอง การปลูก เจ้าพนักงานของอุทยานแห่งชาติไทรทองได้ตรวจสอบที่ดิน เมื่อมาถึงที่ดินของจำเลย ตรวจสอบพบว่า จำเลยไม่มีสิทธิถือครองที่ดินจึงให้จำเลยเซ็นคืนพื้นที่และกำหนดระยะผ่อนผันให้เก็บเกี่ยวผลผลิตของฤดูกาลนี้ แต่ในปี 2559 เจ้าพนักงานตรวจสอบที่ดินอีกครั้งพบว่า จำเลยปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่อีกครั้ง
จำเลยอ้างว่า จำเลยเป็นผู้ยากไร้อยู่ในข่ายได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557เพราะอยู่อาศัยในพื้นที่เกิดเหตุมาก่อนคำสั่งคสช. ที่ดินดังกล่าวจำเลยได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดาของจำเลยที่ทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ(ป่าอนุรักษ์) ไม่ใช่ผู้เข้าทำประโยชน์รายใหม่ ข้อเท็จจริงเห็นว่า จำเลยไม่ได้อยู่ในรายชื่อของผู้ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 2541 และยินยอมเซ็นคืนที่ดินต่อเจ้าพนักงาน โดยจำเลยได้เก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปตามเวลาที่กำหนดผ่อนผันแล้ว ต่อมาจำเลยเข้าปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่ พิเคราะห์แล้ว จำเลยได้รับการผ่อนผันตามมติครม.2541 การที่จำเลยเข้าไปปลูกมันสำปะหลังในที่ดินที่ส่งมอบคืนหลังสิ้นสุดระยะผ่อนผันให้เก็บเกี่ยวแล้วเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่า
ข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 ที่ระบุว่า ไม่ให้ดำเนินการกระทบต่อผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัยมาก่อนคำสั่งนั้นไม่ใช่การผ่อนผันให้อยู่อาศัยหรือทำกินต่อโดยไม่ต้องออกจากเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ การปฏิบัติงานที่ไม่กระทบต่อผู้มีรายได้น้อยเช่น การจัดสรรที่อยู่อาศัยหรือที่ดินทำกินใหม่ให้ รวมทั้งไม่ได้เป็นการยกเว้นความผิดที่ได้กระทำสำเร็จแล้วแต่อย่างใด
 
ทั้งนี้วิธีการยึดคืนพื้นที่เป็นแนวปฏิบัติตามมติครม. 2541 แบ่งเป็นสามประเภทดังนี้
หนึ่ง กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้และไม่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ สามารถทำกินต่อไปได้
สอง กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ แต่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศจะต้องกำหนดแผนการย้ายไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม
 
สาม กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า เป็นการอยู่อาศัยทำกินภายหลังการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้จะต้องจัดทำแผนเคลื่อนย้าย หากยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายจะต้องทำการจัดระเบียบที่อยู่อาศัยให้เพียงพอแก่การดำรงชีพ
 
กรณีของจำเลยนั้นไม่ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 2541 จะต้องส่งมอบพื้นที่คืนแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำเลยต้องถูกบังคับให้ส่งมอบพื้นที่คืนไม่ใช่เป็นสิทธิของจำเลยว่า จะสมัครใจส่งมอบคืนหรือไม่ พิเคราะห์แล้วว่า อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น และมีความผิดตามที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้
 
ประเด็นที่สอง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
ความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์ไม่รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจำเลยครอบครองต่อจากบิดามารดา และขณะที่บิดามารดาเข้าครอบครองนั้นเป็นพื้นที่โล่งเตียนเป็นผลมาจากสัมปทานป่าไม้ โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 250,000 บาทเป็น 1,120,399 บาท ในทางนำสืบพบว่า เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก โดยคำนวณผ่านเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้, ความสมบูรณ์ของดินและความลาดชันของดิน ก่อนคิดคำนวณมาเป็นค่าเสียหาย
โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า พื้นที่ก่อนที่จำเลยเข้าทำกินมีความสมบูรณ์เพียงใด พิจารณาภาพประกอบเห็นว่า เป็นพื้นที่โล่งเตียนจากไถปลูกมันสำปะหลังแตกต่างจากพื้นที่ข้างเคียงที่ยังคงมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ จึงสรุปได้ว่า การครอบครองทำประโยชน์ด้วยการปลูกมันสำปะหลังนั้นทำให้ไม้ยืนต้นไม่สามารถเติบโตได้ ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหาย ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ให้เพิ่มค่าเสียหายเห็นว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบว่า โปรแกรมคำนวณค่าเสียหายมีหลักการคำนวณ ถูกต้องแม่นยำเพียงใด พื้นที่แปลงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณความเสียหายตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่เกิดเหตุราว 300-500 เมตร จึงอาจมีความแตกต่างในเรื่องความสมบูรณ์ก็เป็นได้ ทั้งไม่ปรากฏหลักฐานความอุดมสมบูรณ์ก่อนการเข้าครอบครองของจำเลย
เมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินต่อจากบิดามารดาไม่ได้เป็นผู้บุกรุกรายใหม่และโจทก์ไม่ได้หักล้างนำสืบเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าพฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางไว้ที่ 250,000 บาทถือว่าสูงเกินไป
พิพากษาจำคุกยืนตามศาลชั้นต้น ปรับแก้ลดค่าเสียหายเหลือ 200,000 บาท
 
———————————————————————
ชื่อจำเลย พุธ สุบงกช
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุกสิบเดือน ลดโทษเหลือหกเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 370,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกสิบเดือน ลดโทษเหลือหกเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 370,000 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สาม
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นพิจารณาไม่ปรากฏชัดว่า การร้องทุกข์สอบสวนไม่ชอบและจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นในประเด็นนี้ ประกอบกับความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 เนื้อหาของคำสั่งมีสองส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้คือ ข้อ 2.3 การดำเนินการใดๆต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้ ผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นมาก่อนที่คำสั่งคสช.จะมีผลบังคับ ยกเว้นผู้บุกรุกใหม่จะต้องทำการสอบสวนและพิสูจน์ทราบเพื่อกำหนดวิธิปฏิบัติที่เหมาะสม และข้อ 2.4 กรณีใดๆซึ่งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมให้ดำเนินต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนด จากคำสั่งทั้งสองมีหลักเกณฑ์สำคัญคือ เป็นผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่ดินทำกิน โดยอยู่อาศัยเดิมมาก่อนวันที่ 14 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งดังกล่าว และต้องเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ถูกดำเนินคดีให้ทำกินต่อไปโดยไม่มีการจับกุม ส่วนผู้ที่ดำเนินคดีแล้วจะต้องดำเนินตามกระบวนการต่อไป
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยคือ จำเลยทำกินในที่ดินตลอดมาก่อนเกิดเหตุหรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินที่จำเลยทำกินเป็นที่ดินของขัน ม่วงกลาง บิดาของภรรยาจำเลย ปี 2552 ขันเสียชีวิต จำเลยจึงอยู่ทำกินในที่เกิดเหตุมาตลอด แต่ในรายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่ปรากฏชื่อจำเลย สุมสวย ม่วงกลาง ภรรยาของจำเลย ขัน ม่วงกลาง บิดาของภรรยาจำเลย จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยทำกินในที่เกิดเหตุก่อนการออกคำสั่งคสช. ทั้งในการสำรวจตามมติครม. 2541 ก็ไม่ปรากฏทั้งชื่อบิดามารดาของภรรยาจำเลย แสดงว่า จำเลยไม่ได้อยู่ทำกินมาก่อนคำสั่งคสช. ที่ 64/2557 บังคับใช้ “จึงไม่อาจถือได้ว่า จำเลยเป็นผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดิน แม้จำเลยจะเข้าทำไร่มันสำปะหลังในที่ดินเกิดเหตุก่อนคำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ก็ตามถือได้ว่าเป็นการบุกรุกใหม่” ไม่เข้าหลักเกณฑ์ยกเว้นตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์ไม่รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ได้ทำลายพื้นที่ป่าเป็นอุทธรณ์ที่ฟังไม่ขึ้น จึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 370,000 บาทเป็น 961,326 บาท ในทางนำสืบพบว่า เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก โดยคำนวณผ่านเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้, ความสมบูรณ์ของดินและความลาดชันของดิน ก่อนคิดคำนวณมาเป็นค่าเสียหาย
เห็นว่า วิธีการคำนวณดังกล่าวเป็นการประเมินหาค่าเสียหายไม่ใช่ค่าเสียหายตามจริง เนื่องจากมีปัจจัยที่ทำให้ค่าความเสียหายแปรผันได้ ไม่ว่าจะการเก็บดินในแปลงเกิดเหตุและแปลงตัวอย่างที่มีลักษณะการสุ่มเท่านั้น กรณีที่ที่ดินมีความกว้างและลาดเอียงต่างกัน เมื่อมีพายุลมฝนจะทำให้เกิดการชำระล้างหน้าดินที่ต่างกัน รวมทั้งการเก็บตัวอย่างในฤดูกาลที่แตกต่างก็ล้วนเป็นเหตุให้ค่าความเสียหายต่างกันได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ก่อนการบุกรุกของจำเลยพื้นที่เกิดเหตุต้นทุนทรัพยากรเท่าใด กรณีความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอาจนเกิดจากการทำประโยชน์จากบุคคลที่อยู่ในที่ดินข้างเคียงก็เป็นได้ พิเคราะห์แล้วค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางไว้เหมาะสมแล้ว
ประเด็นที่สี่ แก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มกราคม-6 กรกฎาคม 2559 ซึ่งความผิดเกิดก่อนและหลังพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2559 บังคับใช้ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 31 วรรคหนึ่งระบุว่า ผู้ที่กระทำการครอบครองยึดถือครอบครองทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดโทษไว้สิบเดือนต่ำกว่าที่กฎหมายใหม่กำหนด แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานเข้าไปดำเนินกิจการใดๆเพื่อหาประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2504 ความผิดฐานนี้มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาทจึงมีอายุความหนึ่งปี ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มูลเหตุของความผิดเกิดระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 6 กรกฎาคม 2559 แต่โจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า มีความผิดจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่ได้ยกมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
พิพากษาจำคุกสิบเดือน ลดโทษเหลือหกเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 370,000 บาทตามศาลชั้นต้น
—————————————————
ชื่อจำเลย สมพิตร แท่นนอก (คดีที่หนึ่ง)
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุกหนึ่งปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นหนึ่งปี สี่เดือน เนื่องจากกระทำความผิดภายในห้าปีนับแต่พ้นโทษคดีทำไม้และมีไม้ท่อนที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองไว้โดยไม่รับอนุญาต แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ลดโทษหนึ่งในสี่เหลือโทษจำคุกสิบเดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำคุกหนึ่งปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นหนึ่งปี สี่เดือน เนื่องจากกระทำความผิดภายในห้าปีนับแต่พ้นโทษคดีทำไม้และมีไม้ท่อนที่ยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในทางนำสืบเป็นประโยชน์ลดโทษหนึ่งในสี่เหลือโทษจำคุกสืบเดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ – 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สาม
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
ความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม ดังนั้นการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยทำกินและอาศัยในพื้นที่พิพาทตั้งแต่ก่อนการบังคับของคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 ซึ่งจำเลยอยู่ในข่ายผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ดังกล่าว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า วันที่ 30 มิถุนายน 2541 คณะรัฐมนตรีมีมติผ่อนผันให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทองอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ขยายพื้นที่ออกไป ต่อมาปี 2551 และ 2553 มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของประชาชนในพื้นที่ จำเลยไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้ได้รับการผ่อนผันให้ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ [และอุทยานแห่งชาติ]
ปี 2558 เจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติไทรทองออกสำรวจพื้นที่พบจำเลยปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ หลังการเจรจาขอคืนพื้นที่จำเลยยินยอมคืนพื้นที่ทั้งหมดและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันในระยะผ่อนผัน ปรากฏว่า จำเลยกลับไปทำไร่มันสำปะหลังอีกครั้งในพื้นที่สิบไร่
เห็นว่า “แม้จำเลยจะได้อาศัยอยู่ในที่เกิดเหตุก่อนมีคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 โดยเป็นผู้ยากไร้และผู้ไร้ที่ดินทำกินอย่างที่จำเลยอุทธรณ์ก็ตาม แต่คำสั่งคสช.ดังกล่าวไม่ได้ละเว้นหรือยกโทษให้แก่ผู้กระทำผิดมาก่อนและตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2556 ข้อ 2.1 ที่ระบุว่า การดำเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยในพื้นที่เดิมๆนั้น ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่จะต้องดำเนินการสอบสวนและพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป นั้นหมายถึง ยกเว้นไม่ดำเนินคดีให้เฉพาะบุคคลที่เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติโดยได้รับการผ่อนผันเท่านั้น”
เมื่อจำเลยไม่มีรายชื่อในบัญชีผู้ได้รับการผ่อนผัน จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากข้อยกเว้นตามคำสั่งคสช. ดังนั้นเมื่อจำเลยคืนพื้นที่พิพาทจำนวน 40 ไร่แล้วแต่กลับเข้าไปปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่อีกครั้งในพื้นที่ 10 ไร่จึงถือว่า เป็นความผิดฐานทำลายและทำให้ป่าเสื่อมสภาพ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์ว่า ไม่ได้ก่อความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติของป่าสงวนแห่งชาติจึงไม่ต้องรับผิด จากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการได้ประเมินความเสียหายโดยการจัดแปลงป่าตัวอย่างที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่พิพาทในคดีนี้ โดยสำรวจเส้นรอบวงต้นไม้ ความสูงของต้นไม้ ตัวอย่างดิน ความลาดชันของที่ดินพิพาทและป่าตัวอย่าง โดยจะนำเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์คำนวณออกมาเป็นค่าสูญเสียน้ำ อุณหภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง [และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆเช่น โปรแตสเซียม ไนไตรเจนและฟอสฟอรัส] รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 725,794 บาท
อย่างไรก็ตามในทางนำสืบของโจทก์ได้นำภาพถ่ายสองภาพคือ พื้นที่พิพาทและแปลงป่าตัวอย่าง ภาพถ่ายที่ดินพิพาทนั้นมีลักษณะโล่งเตียนไม่มีต้นไม้ใหญ่ ไม่มีต้นหญ้าปกคลุม ขณะที่ภาพถ่ายแปลงป่าตัวอย่างมีลักษณะเป็นป่าสมบูรณ์ เห็นว่า ป่าแต่ละแห่งมีโครงสร้างของป่า ชนิดของต้นไม้ สภาพดิน ธาตุอาหารในดินและสภาพอากาศซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและเวลา สภาพดินในป่าที่มีความสมบูรณ์ ต้นไม้ปกคลุมหนานแน่นจะถูกกัดเซาะทำลายน้อยกว่าป่าโปร่ง ทำให้ความลาดชันของดินมีน้อยและสภาพอากาศชุ่มชื้นกว่า ธาตุอาหารในดินมากกว่าป่าโปร่งที่ถูกแสงแดดเผาทำลาย
เมื่อเปรียบเทียบกับที่ดินพิพาทที่จำเลยได้ตัดต้นไม้มีเพียงไม้ขนาดเล็กขึ้นเท่านั้น ซึ่งแปรผลส่งต่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดังนั้นเมื่อที่ดินมีสภาพเป็นป่าไม่สมบูรณ์ แต่โจทก์คำนวณค่าเสียหายเปรียบเทียบกับป่าที่มีสภาพสมบูรณ์เช่นนี้ย่อมทำให้การประเมินค่าเสียหายคลาดเคลื่อนไปจากความจริง เช่นนี้แล้วจึงไม่อาจเป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณค่าเสียหายจากจำเลยได้
นอกจากนี้ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 มาตรา 97 ยังกำหนดให้ผู้ที่ทำความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าที่เสียหายไป ซึ่งครอบคลุมความเสียหายที่แท้จริงเท่านั้น แต่ในทางนำสืบโจทก์ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงความเสียหายที่แท้จริงที่ได้รับ เมื่อพิจารณาแล้วค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางไว้ที่ 100,000 บาทนั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
ประเด็นที่สี่ ปัญหาการคำนวณโทษจำคุก
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกหนึ่งปี เพิ่มโทษจากคดีครอบครองไม้ที่ยังไม่ได้แปรรูปเป็นจำคุกหนึ่งปีสี่เดือน ลดโทษหนึ่งในสี่เหลือสิบเดือนนั้นไม่ถูกต้อง โทษที่ถูกต้องคือจำคุกหนึ่งปี แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ปัญหานี้จึงไม่อาจลงโทษจำคุกตามโทษจำคุกที่ระบุได้ คงโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
 
พิพากษาจำคุกสิบเดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาทตามศาลชั้นต้น
 
———————————————–
 
ชื่อจำเลย สุวิทย์ รัตนะไชยศรี
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุกหนึ่งปี ลดเหลือแปดเดือน จำเลยกระทำความผิดในช่วงรอการลงโทษคดีทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตบวกโทษจำคุกของคดีดังกล่าวเก้าเดือน รวมจำคุก 17 เดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 40,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์  จำคุกหนึ่งปี ลดเหลือแปดเดือน จำเลยกระทำความผิดในช่วงรอการลงโทษคดีทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตบวกโทษจำคุกของคดีดังกล่าวเก้าเดือน รวมจำคุก 17 เดือน ชดใช้ค่าเสียหาย 110,762  บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่หนึ่ง
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานอุทยานแห่งชาติไทรทองที่ดำเนินคดีไม่ได้รับมอบอำนาจจากทางอุทยานฯ จึงไม่มีอำนาจในการแจ้งความดำเนินคดี และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ศาลเห็นว่า อุทธรณ์จำเลยประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากพนักงานพิทักษ์ป่า และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ร้องทุกข์กล่าวโทษนั้นกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ คดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงที่จะสอบสวนได้เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผู้ริเริ่มคดีก็ได้ อุทธรณ์จำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
 
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า ไม่ได้เป็นผู้บุกรุกใหม่และไม่ได้กระทำความผิด ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยไม่ได้แสดงให้เห็นจนปราศจากข้อสงสัยในการครอบครองที่ดินและจำเลยไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าครอบครองมาก่อน จึงไม่ถือว่าได้ครอบครองที่ดินมาก่อน พ.ร.บ.ที่ดินฯ ประกาศใช้ ในส่วนที่อ้างว่าครอบครองที่ดินก่อนประกาศเขตอุทยานแห่งชาตินั้น การประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทอง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 แล้ว ถือว่าเป็นที่รับรู้โดยทั่วกัน โดยจำเลยไม่ได้ทำการคัดค้าน จึงถือว่าไม่ได้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว ไม่มีสิทธิในที่ดิน และหลังจากมีมติคณะรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2541 จำเลยก็ไม่ได้ยื่นหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นการครอบครองที่ดินมาก่อนจึงฟังไม่ขึ้น
อีกทั้งจำเลยเคยถูกพิพากษาให้มีความผิดในคดีทำไม้หวงห้าม ตั้งแต่ปี 2557 และคดีเป็นที่สิ้นสุดแล้ว  ซึ่งในคดีเดิมมีจุดเกิดเหตุห่างจากพื้นที่เกิดเหตุในคดีนี้เพียง 40 เมตร จึงเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าจำเลยได้บุกรุกเข้าไปในเขตป่าโดยจำเลยรู้อยู่แล้ว อุทธรณ์ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์ว่าพื้นที่ที่จำเลยครอบครองผ่านการทำประโยชน์มานานแล้ว จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งเมื่อศาลเห็นว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ครอบครองที่ดินมาก่อน อุทธรณ์ประเด็นนี้จึงฟังไม่ขึ้น
ในส่วนของอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้เพิ่มมูลค่าการชดใช้ค่าเสียหายของจำเลย เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้ชดใช้ 40,000 บาท ไม่เป็นไปตามค่าความเสียหายจริง ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าพยานที่โจทก์นำมาเบิกความมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ และโปรแกรมที่ใช้ประเมินค่าเสียหายแล้วคำนวนได้ 110,762 บาท นั้นเป็นโปรแกรมที่มีวัตถุประสงค์ในการประเมินค่าเสียหายทตามสภาพจริงและสร้างความเป็นธรรมในการพิจารณาคดี  โดยพยานโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ การคิดคำนวนค่าเสียหายเป็นไปตามหลักวิชาการ และสากล จึงมีความน่าเชื่อถือและเหมาะสมพอสมควร ศาลอุทธรณ์จึงเห็นควรให้อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น เพิ่มค่าเสียหายตามที่ขอมาเป็น 110,762 บาท
พิพากษาจำคุก 17 เดือนตามศาลชั้นต้น แก้ค่าเสียหายจากเดิม 40,000 บาท เพิ่มเป็น 110,762 บาท
———————————————–
 
ชื่อจำเลย นริศรา ม่วงกลาง
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุก 14 เดือน ลดเหลือ เก้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 130,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์  จำคุก 14 เดือน ลดเหลือ เก้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 607,161  บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่หนึ่ง
 
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานอุทยานแห่งชาติไทรทองที่ดำเนินคดีไม่ได้รับมอบอำนาจจากทางอุทยานฯ จึงไม่มีอำนาจในการแจ้งความดำเนินคดี และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ศาลเห็นว่า อุทธรณ์จำเลยประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงที่จะสอบสวนได้เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผู้ริเริ่มคดีก็ได้ เพราะฉะนั้นพนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการได้เลย 
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
ปี 2535 มีการประกาศให้พื้นที่พิพาทเป็นเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ ต่อมามีการผ่อนผันให้ผู้ที่ทำกินในพื้นที่ก่อนการประกาศดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ตามมติครม. 2541 จำนวน 947 ราย เนื้อที่ 27,000 ไร่ โดยผู้ได้รับการผ่อนผันสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่ที่ได้รับการผ่อนผันเท่านั้น ห้ามทำการตัดไม้หรือขยายพื้นที่เพิ่มเติม จำเลย, จอม ม่วงกลาง, ทองปั่น ม่วงกลาง บิดามารดาของจำเลย รวมทั้งพรม อิมาพัฒน์ บุคคลที่จำเลยอ้างว่า มอบสิทธิถือครองที่ดินให้บิดามารดาจำเลย ไม่ได้มีรายชื่ออยู่ในบัญชีดังกล่าว
จำเลยอุทธรณ์ว่า การขอคืนพื้นที่ตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 ให้สำรวจผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินตามมติครม.2541 และจำเลยอยู่ในพื้นที่มาก่อนมติครม. 2541 และอยู่ในข่ายผู้ยากไร้ได้รับการยกเว้นตามคำสั่งคสช. ที่ 66/2557 ซึ่งตามข้อเท็จจริงนำสืบเห็นว่า จำเลยรับว่า ครอบครองที่ดินพิพาทจริง ซึ่งขัดแย้งในทางนำสืบของจำเลยที่บอกว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่บ้านสามีที่เพชรบูรณ์ ทองปั่น มารดาเป็นผู้ทำกินในพื้นที่ดังกล่าว แย้งกับถ้อยคำของพนักงานสอบสวนที่ระบุว่า ทองปั่น มารดาจำเลยเป็นผู้บอกว่า จำเลยเป็นเจ้าของพื้นที่
เมื่อเจ้าหน้าที่ลงสำรวจพื้นที่พบว่า จำเลยไม่มีรายชื่อตามมติครม. 2541 จึงทำการขอคืนพื้นที่ โดยมีทองปั่นเป็นผู้เซ็นคืนพื้นที่พิพาท ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้กำหนดระยะผ่อนผันให้เก็บเกี่ยวผลผลิต แต่ในเดือนเมษายน 2559 เจ้าหน้าที่พบว่า จำเลยยังไม่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ในเดือนกรกฎาคม 2559 ตรวจพบจำเลยปลูกมันสำปะหลังในอีกพื้นที่หนึ่ง จึงกลายเป็นเหตุในคดีนี้
ในกระบวนการพิสูจน์สิทธิยึดตามการสำรวจตามติครม. 2541 ทำในปี 2546 2551 และ 2553 ไม่ปรากฏชื่อของจำเลย, จอม, ทองปั่นและพรมเลย ซึ่งการสำรวจดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้จำเลยพิสูจน์สิทธิถือครองที่ดิน แต่จำเลยไม่สามารถพิสูจน์ได้ ข้อต่อสู้ที่จำเลยอ้างว่า พรมยกที่ดินให้บิดามารดาของจำเลยและจำเลยสืบสิทธิต่อจากมารดา รวมทั้งจำเลยอยู่ในในข่ายผู้ได้รับประโยชน์จากคำสั่งคสช. ที่ 66/2557 จึงไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้นจึงถือว่า จำเลยครอบครองพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติและป่าสงวนแห่งชาติ
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 130,000 บาทเป็น 607,161  บาท เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก โดยคำนวณผ่านเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้, ความสมบูรณ์ของดินและความลาดชันของดิน ก่อนคิดคำนวณมาเป็นค่าเสียหายคือ ค่าเสียหายจากปริมาณน้ำที่สูญหาย, ปริมาณดินที่สูญหาย,อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น, ปุ๋ยไนโตรเจน, ปุ๋ยฟอสฟอรัสและปุ๋ยโปแตสเซียม รวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมด 607,161  บาท
พิเคราะห์แล้ว เจ้าพนักงานป่าไม้เบิกความให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ระบุว่า ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางมาน้อยกว่าที่เจ้าพนักงานป่าไม้ประเมินไว้ฟังขึ้น สั่งแก้ไขค่าเสียหายเป็น 607,161 บาท
ประเด็นที่สี่ แก้ไขปัญหากฎหมาย
มีประเด็นกฎหมายที่โจทก์ไม่ได้ยกมาในชั้นนี้ แต่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ คือ การกระทำความผิดของจำเลยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 – วันที่11 กรกฎาคม 2559 ซึ่งการกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อนและหลังการบังคับใช้พ.ร.บ.ป่าสงวน 2559 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 กฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษการบุกรุกพื้นที่ป่าไว้ที่ 1-10 ปีและปรับ 10,000-200,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นวางโทษไว้เพียง 9 เดือน 10 วัน ซึ่งต่ำกว่าโทษตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้จึงมิอาจเพิ่มโทษให้แก่จำเลยได้  เจ้าพนักงานมีหน้าที่จบกุม
 
พิพากษาจำคุกเก้าเดือนสิบวันยืนตามศาลชั้นต้น แก้ค่าเสียหายจากเดิม 130,000 บาท เพิ่มเป็น 607,161 บาท
—————————————————–
ชื่อจำเลย สุวลี โพธิ์งาม
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 160,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์  จำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 160,000 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สอง
 
 
 
ประเด็นที่หนึ่ง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า นวลจันทร์ โพธิ์งาม มารดาของจำเลยเป็นผู้ที่มีรายชื่อได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรทองตามมติครม. 2541 แต่จำเลยที่อ้างว่า เป็นผู้สืบสิทธถือครองที่ดินจากมารดาไม่มีรายชื่อได้รับการผ่อนผัน จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นที่จำเลยสืบสิทธิการครอบครองต่อจากมารดา เป็นผู้รายได้น้อย มีการกินมาก่อนคำสั่งคสช. ที่ 64/2557 ได้รับประโยชน์จากคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 ที่ระบุว่าไม่ใช้บังคับแก่ผู้ยากไร้และจำเลยยังเข้าไปทำกินสืบสิทธิต่อจากมารดา ทั้งจำเลยยังไม่ได้มีความสมัครใจในการขอคืนพื้นที่
ในทางนำสืบ สนอง การปลูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าเบิกความว่า จำเลยไม่มีรายชื่อได้รับการผ่อนผันตามมติครม.2541 การสำรวจกระทำสามครั้งคือ ปี 2546, 2551 และ 2553 โดยการสำรวจปี 2553 รายชื่อผู้ได้รับการผ่อนผันยังคงตามปี 2551 มีเพียงบางรายได้รับการสืบสิทธิต่อจากบิดามารดา แต่ยังไม่มีรายชื่อจำเลย
ต่อมาในปี 2558 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติไทรทองออกตรวจสอบพื้นที่พิพาทดังกล่าว จำเลยอ้างตัวว่า เป็นผู้ครอบครอง หลังการพูดคุยจำเลยเซ็นคืนพื้นที่พิพาทจำนวน 12 ไร่และตกลงกันว่า จะเก็บเกี่ยวผลผลิตให้เสร็จตามระยะผ่อนผัน ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2559 เจ้าหน้าที่ฯตรวจสอบพบว่า จำเลยปลูกมันสำหลังรอบใหม่ในพื้นที่ประมาณห้าไร่ จึงเป็นเหตุในคดีนี้
พื้นที่ห้าไร่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ 12 ไร่ที่จำเลยต้องส่งคืน ซึ่งพื้นที่ที่จำเลยไม่ได้ทำการปลูกมันสำปะหลังรอบใหม่นั้นยังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ แตกต่างจากแปลงที่รอการสำรวจที่มีร่องรอยการทำประโยชน์อย่างชัดเจน ข้อเท็จจริงปรากฏว่า พื้นที่ที่จำเลยอ้างว่า สืบสิทธิต่อจากมารดามีประมาณเจ็ดไร่ ขณะที่พื้นที่ยึดคืนนั้นมีประมาณ 12 ไร่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ยอมว่า จำเลยไม่ทราบว่า พื้นที่ที่มารดาครอบครองทำประโยชน์ 20 ไร่ ที่อยู่ระหว่างการพิสูจน์สิทธิและได้รับการผ่อนผันตามมติครม.2541 ครอบคลุมถึงบริเวณใด ซึ่งหากพื้นที่ที่จำเลยทำกินนั้นเป็นพื้นที่เดียวกันกับของมารดาจำเลยที่ได้รับการผ่อนผันก็น่าจะปรากฏร่องรอยการทำประโยชน์ ทั้งจำเลยยังเบิกความเองว่า ได้รับการสืบสิทธิจากมารดาจำนวนเจ็ดไร่ แต่พื้นที่ยึดคืนมี 12 ไร่ ดังนั้นที่จำเลยกล่าวว่า ได้รับมอบสิทธิถือครองที่ดินจากมารดาซึ่งได้รับการผ่อนผันตามมติครม.2541 จึงฟังไม่ขึ้น
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ได้รับประโยชน์จากคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 เป็นเรื่องของการจัดหาที่อยู่อาศัยไม่ใช่ผ่อนผันให้ทำกินต่อไปไม่ต้องออกจากพื้นที่เหมือนเช่นมติครม.2541 และไม่ได้เป็นการยกเว้นการกระทำความผิดแต่อย่างใด
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งคสช.ที่ 64/2557 ไม่ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานต้องทวงคืนพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรี 2541 เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ได้มีการวางแนวทางยึดคืนพื้นที่ไว้เป็นพิเศษ แต่ใช้วิธีการที่มีอยู่แล้วและใช้กันตลอดมาคือ แนวปฏิบัติตามมติครม. 2541 แบ่งเป็นสามประเภทดังนี้
หนึ่ง กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้และไม่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ สามารถทำกินต่อไปได้
สอง กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ แต่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศจะต้องกำหนดแผนการย้ายไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม
สาม กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า เป็นการอยู่อาศัยทำกินภายหลังการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้จะต้องจัดทำแผนเคลื่อนย้าย หากยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายจะต้องทำการจัดระเบียบที่อยู่อาศัยให้เพียงพอแก่การดำรงชีพ
กรณีของจำเลยนั้นไม่ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 2541 จะต้องส่งมอบพื้นที่คืนแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในส่วนที่จำเลยบอกว่า ไม่สมัครใจในการคืนพื้นที่ การที่จำเลยไม่มีรายชื่อตามมติครม. ปี 2541 ต้องถูกบังคับคืนที่ดิน ไม่ได้เป็นสิทธิของจำเลยที่จะคืนหรือไม่ การทำหนังสือส่งคืน จำเลยได้รับทราบสิทธิและหน้าที่ รับทราบระยะเวลาในการย้ายออก ถ้าไม่กระทำทำตามต้องดำเนินคดี อุทธรณ์ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
เรื่องอำนาจการดำเนินคดี จำเลยอุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานอุทยานแห่งชาติไทรทองที่ดำเนินคดีไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.ป่าสงนแห่งชาติฯและพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ไม่มีอำนาจในการแจ้งความดำเนินคดี และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ศาลเห็นว่า อุทธรณ์จำเลยประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากพนักงานพิทักษ์ป่า และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ร้องทุกข์กล่าวโทษนั้นกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ คดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงที่จะสอบสวนได้เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผู้ริเริ่มคดีก็ได้ เพราะฉะนั้นพนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการได้เลย อุทธรณ์จำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นสั่งชดใช้ไม่เต็มตามที่โจทก์ขอถือเป็นการไม่ชอบ จากการนำสืบพยานโจทก์ พยานโจทก์คำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ประเมินพื้นที่ที่เกิดเหตุและป่าใกล้ที่เกิดเหตุ เช่น การสำรวจดิน ต้นไม้ และความลาดชันของพื้นที่คำนวณเป็นค่าเสียหายรวม 361,983 บาท อย่างไรก็ตามโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ก่อนที่จำเลยเข้าไปในที่เกิดเหตุพื้นที่มีลักษณะเช่นไร ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า พื้นที่ที่บุกรุกตลอดมาอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ภาพถ่ายทางอากาศเห็นว่า มีการปลูกไถจนพื้นที่โล่งเตียนแตกต่างจากพื้นที่ข้างเคียง ผลการกระทำดังกล่าวทำให้ไม้ยืนต้นไม่สามารถเจริญขึ้นได้ ส่งผลต่อดินน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ เสียสมดุลทางระบบนิเวศ
แม้ในการคำนวณค่าเสียหาย โจทก์คำนวณค่าเสียหายโดยมีหลักวิชาการรองรับ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากการสำรวจกระทำหลังเกิดเหตุ การเก็บตัวอย่างในพื้นที่ป่าตัวอย่างที่กำหนด ไม่ปรากฏสภาพก่อนที่จำเลยจะบุกรุกว่า มีสภาพใกล้เคียงกับป่าตัวอย่าง ซึ่งความอุดมสมบูรณ์อาจมีความแตกต่างกันได้ ประกอบกับจำเลยเป็นผู้ได้รับผลกระทบตามคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 ควรจะได้รับประโยชน์ตาม คำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ที่ทางราชการจะต้องให้การช่วยเหลือเยียวยาไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเกินควร ไม่ใช่แต่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยอันเป็นการซ้ำเติมจำเลยที่เดือดร้อนอยู่แล้วให้เดือดร้อนขึ้น อุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้เพิ่มค่าเสียหายจึงฟังไม่ขึ้น พิเคราะห์แล้วว่า ค่าเสียหาย 160,000 บาทเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
พิพากษาจำคุกห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 160,000 บาทตามชั้นต้น
———————————————–
ชื่อจำเลย สมพิตร แท่นนอก (คดีที่สอง)
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  จำคุกหนึ่งปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นหนึ่งปี สี่เดือน เนื่องจากกระทำความผิดภายในห้าปีนับแต่พ้นโทษคดีทำไม้และมีไม้ท่อนยังไม่แปรรูปไว้ในครอบครองไว้โดยไม่รับอนุญาต แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ลดโทษหนึ่งในสี่เหลือโทษคุกสิบเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์  จำคุกหนึ่งปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นหนึ่งปี สี่เดือน เนื่องจากกระทำความผิดภายในห้าปีนับแต่พ้นโทษคดีทำไม้และมีไม้ท่อนยังไม่แปรรูปไว้ในครอบครองไว้โดยไม่รับอนุญาต แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ลดโทษหนึ่งในสี่เหลือโทษคุกสิบเดือน 20 วัน ชดใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 คำพิพากษาลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สอง
 
 
 
 
ประเด็นที่หนึ่ง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
 
ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้มีรายชื่อตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ที่จะได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง พื้นที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายางกลักที่ประกาศเมื่อปี 2525 และอุทยานแห่งชาติไทรทองที่ประกาศเมื่อปี 2535 ต่อมาในปี 2551 คณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของประชาชนในพื้นที่อุทยานแห่งขาติไทรทองเข้าทำการตรวจสอบ ไม่ปรากฏรายชื่อของจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์ที่ดินตามบัญชีสรุปรายชื่อของคณะกรรมการฯ ด้วยเหตุนี้จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 2541
 
ในทางนำสืบพบว่า ปี 2558 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติไทรทองและเจ้าหน้าที่ทหารได้ตรวจสอบพื้นที่พิพาท พบจำเลยซึ่งระบุว่า เป็นผู้ครอบครองพื้นที่ เจ้าหน้าที่ฯขอคืนพื้นที่ จำเลยเซ็นคืนพื้นที่โดยตกลงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตฤดูกาลนี้ให้แล้วเสร็จตามเวลาที่เจ้าหน้าที่ฯผ่อนผันไว้ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ฯเข้าตรวจอีกครั้งในปี 2559 และ 2560 จำเลยได้ปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่และบุกรุกพื้นที่เพิ่มเติมจากพื้นที่ที่เคยขอคืนไว้ประมาณสองไร่
 
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 ที่การดำเนินการทวงคืนผืนป่าตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ที่อยู่อาศัยก่อนมีคำสั่งคสช.ที่ 64/2557  และการดําเนินการแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมาตั้งแต่เดิมให้หน่วยที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณากําหนดมาตรการและการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ทั้งในคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 ไม่ได้ระบุว่า เจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของมติครม. 2541 นอกจากนี้จำเลยยังเป็นผู้ทำประโยชน์ต่อจากบิดาของภรรยาจำเลยและไม่ได้สมัครใจคืนพื้นที่แต่อย่างใด
พิเคราะห์ว่า จำเลยไม่มีรายชื่อเป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้ทำประโยชน์ในที่ดินต่อไปตามมติครม.2541 จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศันและทำกินต่อไปและต้องส่งมอบพื้นที่คืนให้อุทยานแห่งชาติไทรทอง เมื่อพ้นระยะเวลาผ่อนผันจำเลยกลับไม่ยอมออกจากพื้นที่และเข้าไปปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่อีกครั้ง การกลับเข้าไปหลังเซ็นคืนที่ดินและพ้นกำหนดผ่อนผันให้เก็บเกี่ยวผลผลิตถือเป็นการบุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติรอบใหม่
 
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ได้รับประโยชน์จากคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 เป็นเรื่องของการจัดหาที่อยู่อาศัยไม่ใช่ผ่อนผันให้ทำกินต่อไปไม่ต้องออกจากพื้นที่เหมือนเช่นมติครม.2541 และไม่ได้เป็นการยกเว้นการกระทำความผิดแต่อย่างใด
 
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งคสช.ที่ 64/2557 ไม่ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานต้องทวงคืนพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรี 2541 เห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ได้มีการวางแนวทางยึดคืนพื้นที่ไว้เป็นพิเศษ แต่ใช้วิธีการที่มีอยู่แล้วและใช้กันตลอดมาคือ แนวปฏิบัติตามมติครม. 2541 แบ่งเป็นสามประเภทดังนี้
 
หนึ่ง กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้และไม่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ สามารถทำกินต่อไปได้
 
สอง กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ แต่เป็นพื้นที่ล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศจะต้องกำหนดแผนการย้ายไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม
 
สาม กรณีที่ตรวจพิสูจน์พบว่า เป็นการอยู่อาศัยทำกินภายหลังการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้จะต้องจัดทำแผนเคลื่อนย้าย หากยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายจะต้องทำการจัดระเบียบที่อยู่อาศัยให้เพียงพอแก่การดำรงชีพ
กรณีของจำเลยนั้นไม่ได้รับการผ่อนผันตามมติครม. 2541 จะต้องส่งมอบพื้นที่คืนแก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในส่วนที่จำเลยบอกว่า ไม่สมัครใจในการคืนพื้นที่ การที่จำเลยไม่มีรายชื่อตามมติครม. ปี 2541 ต้องถูกบังคับคืนที่ดิน ไม่ได้เป็นสิทธิของจำเลยที่จะคืนหรือไม่ การทำหนังสือส่งคืน จำเลยได้รับทราบสิทธิและหน้าที่ รับทราบระยะเวลาในการย้ายออก ถ้าไม่กระทำทำตามต้องดำเนินคดี อุทธรณ์ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
 
เรื่องอำนาจการดำเนินคดี จำเลยอุทธรณ์ว่า เจ้าพนักงานอุทยานแห่งชาติไทรทองที่ดำเนินคดีไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.ป่าสงนแห่งชาติฯและพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ไม่มีอำนาจในการแจ้งความดำเนินคดี และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ศาลเห็นว่า อุทธรณ์จำเลยประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากพนักงานพิทักษ์ป่า และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่ร้องทุกข์กล่าวโทษนั้นกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ คดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจตามกฎหมายโดยตรงที่จะสอบสวนได้เมื่อมีความผิดเกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผู้ริเริ่มคดีก็ได้ เพราะฉะนั้นพนักงานสอบสวนสามารถดำเนินการได้เลย อุทธรณ์จำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
 
ประเด็นที่สาม โจทก์ฟ้องซ้ำหรือไม่
สมพิตรถูกกล่าวหาสองคดีโดยแบ่งเป็นพื้นที่พิพาทสองพื้นที่คือ พื้นที่ 10 ไร่ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าออกตรวจในปี 2559 และพบว่า จำเลยปลูกมันสำปะหลังฤดูกาลใหม่อายุประมาณหนึ่งเดือนและพื้นที่ 11 ไร่ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าออกตรวจในปี 2560 พบว่า จำเลยปลูกมันสำปะหลังเช่นเดียวกัน อันเป็นเหตุในคดีนี้ จำเลยสู้ว่า จำเลยไม่ได้บุกรุกพื้นที่ใหม่ แต่เป็นการปลูกมันสำปะหลังตามฤดูกาลในที่ดินทำกินเดิมของจำเลย ซึ่งเป็นเจตนาเดียวคือ ครอบครองพื้นที่พิพาทเพื่อทำไร่มันสำปะหลังตั้งแต่อดีตจนถึง 2560 ไม่ใช่การกระทำต่างกรรมต่างวาระ
พิเคราะห์ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระ โดยการเข้าทำประโยชน์หลังพ้นระยะผ่อนผันให้เก็บเกี่ยวถือเป็นการบุกรุก ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2559 และ 2560 ในสถานที่ต่างกัน ดังนั้นจึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีก่อนหน้า
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นสั่งชดใช้ไม่เต็มตามที่โจทก์ขอถือเป็นการไม่ชอบ จากการนำสืบพยานโจทก์ พยานโจทก์คำนวณความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ประเมินพื้นที่ที่เกิดเหตุและป่าใกล้ที่เกิดเหตุ เช่น การสำรวจดิน ต้นไม้ และความลาดชันของพื้นที่คำนวณเป็นค่าเสียหายรวม 361,983 บาท อย่างไรก็ตามโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า ก่อนที่จำเลยเข้าไปในที่เกิดเหตุพื้นที่มีลักษณะเช่นไร ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า พื้นที่ที่บุกรุกตลอดมาอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง ภาพถ่ายทางอากาศเห็นว่า มีการปลูกไถจนพื้นที่โล่งเตียนแตกต่างจากพื้นที่ข้างเคียง ผลการกระทำดังกล่าวทำให้ไม้ยืนต้นไม่สามารถเจริญขึ้นได้ ส่งผลต่อดินน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ เสียสมดุลทางระบบนิเวศ
 
แม้ในการคำนวณค่าเสียหาย โจทก์คำนวณค่าเสียหายโดยมีหลักวิชาการรองรับ แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากการสำรวจกระทำหลังเกิดเหตุ การเก็บตัวอย่างในพื้นที่ป่าตัวอย่างที่กำหนด ไม่ปรากฏสภาพก่อนที่จำเลยจะบุกรุกว่า มีสภาพใกล้เคียงกับป่าตัวอย่าง ซึ่งความอุดมสมบูรณ์อาจมีความแตกต่างกันได้ ประกอบกับจำเลยทำกินในพื้นที่ต่อจากบิดาของภรรยาจำเลยและเป็นผู้ได้รับผลกระทบตามคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 ควรจะได้รับประโยชน์ตาม คำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ที่ทางราชการจะต้องให้การช่วยเหลือเยียวยาไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเกินควร ไม่ใช่แต่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยอันเป็นการซ้ำเติมจำเลยที่เดือดร้อนอยู่แล้วให้เดือดร้อนขึ้น อุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้เพิ่มค่าเสียหายจึงฟังไม่ขึ้น พิเคราะห์แล้วว่า ค่าเสียหาย 100,000 บาทเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว
พิพากษายืนตามชั้นต้น
———————————————
ชื่อจำเลย สากล ประกิจ
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  พิพากษาจำคุก 6 ปี ลดเหลือ 4 ปี ชดใช้ค่าเสียหาย 900,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุก 6 ปี ลดเหลือ 4 ปี แก้ไขชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเป็น 1,587,211 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ คำพิพากษาลงวันที่  8 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่หนึ่ง
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า สนอง การปลูกและจีรศักดิ์ กิ่งชัยภูมิ เจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าของอุทยานแห่งชาติไทรทองไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีเนื่องจากทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ไม่ใช่เจ้าพนักงานของกรมป่าไม้ที่มีอำนาจตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ พิเคราะห์ว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นทั้งป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ เจ้าพนักงานทั้งสองทำตามหน้าที่และความผิดคดีนี้ถือเป็นอาญาแผ่นดิน พนักสอบสวนสามารถสอบสวนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้องทุกข์ ดังนั้นผู้ร้องทุกข์จะเป็นใครไม่สำคัญ อุทธรณ์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
ข้อเท็จจริงพบว่า พื้นที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายางกลักที่ประกาศเมื่อปี 2525 และอุทยานแห่งชาติไทรทองที่ประกาศเมื่อปี 2535  ต่อมาปี 2558 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติไทรทองได้ตรวจสอบพื้นที่ครอบครองของจำเลยจำนวน 41 ไร่ พบว่า จำเลยไม่มีรายชื่อได้รับการผ่อนผันให้อยู่ต่อไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จึงขอคืนพื้นที่ จำเลยเซ็นคืนที่ดินและตกลงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตตามระยะเวลาผ่อนผันที่กำหนดไว้ ต่อมาปี 2559 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวพบว่า มีการทำไร่มันสำปะหลังฤดูกาลใหม่ โดยพื้นที่พิพาทขยายออกไปเป็น 46 ไร่
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับประโยชน์ตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 จำเลยครอบครองทำประโยชน์มาหลายสิบปีก่อนคำสั่งดังกล่าว เห็นว่า กระบวนการขอคืนพื้นที่ป่าตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 เจ้าหน้าที่ได้มีการตรวจสอบรายชื่อว่า บุคคลใดทำประโยชน์ในเขตอุทยานแห่งชาติบ้างและตรวจสอบต่อไปว่า เป็นผู้มีสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี 2541 หรือไม่ หากไม่มีรายชื่อก็จะได้ขับไล่และขอคืนพื้นที่ ปรากฏว่า บัญชีรายชื่อไม่ปรากฏชื่อของจำเลย หากจำเลยอยู่มาก่อนจริงเหตุใดจึงไม่ดำเนินการพิสูจน์สิทธิอย่างที่ประชาชนรายอื่นๆในบัญชีกระทำ
ทั้งพยานจำเลยยังระบุว่า จำเลยมีที่ดินสปก.จำนวน 48 ไร่ และที่ดิน 20 ไร่ นอกจากนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นอีก แสดงว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ยากไร้หรือไม่มีที่ทำกินที่เป็นไปตามเงื่อนไขของคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 ที่จะได้รับการยกเว้นให้ทำกินต่อไปได้
ในประเด็นที่หนูเกณฑ์ จันทาสี คณะตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ดินทับซ้อนระหว่างอุทยานแห่งชาติไทรทองและที่ดินทำกินของราษฎรตำบลห้วยแย้เบิกความว่า ที่ดินพิพาทมีร่องรอยการใช้ประโยชน์ก่อนปี 2545 เห็นว่า รายงานดังกล่าวดำเนินการภายหลังการขอคืนพื้นที่พิพาทและไม่ได้ยืนยันว่า จำเลยทำประโยชน์มาก่อนมีมติคณะรัฐมนตรี 2541 หรือไม่
พิเคราะหืแล้วว่า จำเลยได้คืนที่ดินให้แก่รัฐตามคำสั่งคสช.ที่ 64/2557 และ 66/2557 อันเป็นการกระทำโดยชอบและไม่มีรายชื่อในบัญชีผู้ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี 2541 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวมานานแล้วและพยานโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า มีการทำลายป่าอย่างไร เห็นว่า ข้อเท็จจริงยุติแล้วว่า จำเลยเข้าไปปลูกมันสำปะหลังในที่เกิดเหตุ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติอันเป็นการก่อความเสียหายแก่สภาพป่า จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลพิจารณาเพิ่มค่าเสียหายจาก 900,000 บาทเป็น 1,587,211  บาท เจ้าพนักงานป่าไม้ได้ประเมินความเสียหายในพื้นที่บุกรุกจากการสำรวจแปลงป่าธรรมชาติใกล้เคียงเปรียบเทียบกับแปลงป่าที่จำเลยบุกรุก โดยคำนวณผ่านเส้นรอบวงและความสูงของต้นไม้, ความสมบูรณ์ของดินและความลาดชันของดิน ก่อนคิดคำนวณมาเป็นค่าเสียหายคือ ค่าเสียหายจากปริมาณน้ำที่สูญหาย, ปริมาณดินที่สูญหาย,อุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น, ปุ๋ยไนโตรเจน, ปุ๋ยฟอสฟอรัสและปุ๋ยโปแตสเซียม รวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมด 1,587,211 บาท
พิเคราะห์แล้ว โปรแกรมการวิเคราะห์ค่าเสียหายทางคอมพิวเตอร์นั้นมีจุดประสงค์เพื่อประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง สร้างความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีความ การคิดคำนวณมีความสากลจึงมีความน่าเชื่อถือ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ระบุว่า ค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางมาน้อยกว่าที่เจ้าพนักงานป่าไม้ประเมินไว้ฟังขึ้น สั่งแก้ไขค่าเสียหายเป็น 1,587,211  บาท
———————————————–
ชื่อจำเลย สีนวล พาสังข์
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  พิพากษาจำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 150,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 150,000 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 คำพิพากษาลงวันที่  25 เมษายน 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่สอง
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า สนอง การปลูกไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้รับมอบอำนาจจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรทองในการร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย เห็นว่า คดีนี้เป็นอาญาแผ่นดินที่เป็นหน้าที่ของตำรวจและพนักงานสอบสวนในการสอบสวนเพื่อเอาความผิดแก่ผู้กระทำความผิดทางอาญา ไม่ว่าจะมีผ็เสียหายร้องทุกข์หรือไม่ก็ตาม การกระทำของพนักงานสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่พนักงานอัยการ ผู้เป็นโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีนี้เช่นกัน อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
พื้นที่พิพาทในคดีนี้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินายางกลักและอุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี 2528 และ 2535 ตามลำดับ ขณะเกิดเหตุจำเลยทำไร่มันสำปะหลังในพื้นทื่พิพาท จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับประโยชน์จากคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 เนื่องจากเป็นผู้อาศัยและสืบสิทธิทำประโยชน์ในพื้นที่จากดี เงินจัตุราและสา เงินจตุรัสญาติของสามีจำเลย ซึ่งอาศัยมาก่อนการประกาศพื้นที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ
การสำรวจที่ดินทำกินมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับสภาพพื้นที่จริงที่จำเลยได้ถือครองทำประโยชน์และการสำรวจตามมติคณะมนรัฐตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อพื้นทีพิพาทอยู่ระหว่างการสำรวจเพื่อพิสูจน์สิทธิจึงอยู่ในข่ายที่ไม่ต้องคืนพื้นที่
ในทางนำสืบพบว่า สนอง การปลูก พนักงานพิทักษ์ป่าอุทยานแห่งชาติไทรทองกล่าวว่า ในปี 2558 เขาได้สำรวจที่ดินพบจำเลยทำไร่มันสำปะหลังในพื้นที่ 27 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เมื่อตรวจสอบพบว่า จำเลยไม่มีรายชื่อที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำกินตามมติครม. 2541 แต่สามีของจำเลยได้รับการพิสูจน์สิทธิและผ่อนผันให้ทำกินในที่ดินแปลงอื่น สนองขอคืนพื้นที่ โดยให้จำเลยเซ็นในบันทึกข้อตกลงและกำหนดระยะผ่อนผันให้จำเลยเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูกาลจนเสร็จสิ้น ต่อมาในปี 2559 สนองได้ทำการสำรวจพื้นที่พิพาทอีกครั้งปรากฏว่า จำเลยยังไม่ออกจากพื้นที่เดิมและขยายพื้นที่ทำไร่มันสำปะหลังไปอีกหกไร่
การดำเนินการของสนองสอดคล้องกับข้อ 2.1 ของคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 ที่ว่า การดําเนินการใด ๆ  ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้  ผู้ที่มีรายได้น้อย  และผู้ไร้ที่ดินทํากิน  ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ  ก่อนคําสั่งนี้มีผลบังคับใช้  ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่  จะต้องดําเนินการสอบสวน  และพิสูจน์ทราบ  เพื่อกําหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดําเนินการ ตามขั้นตอนต่อไป โดยสนองไม่ได้ฟ้องในส่วนที่เป็นพื้นที่ 27 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวาเดิมที่ให้การผ่อนผันไว้ แต่ฟ้องในส่วนที่จำเลยทำการบุกรุกใหม่ โดยตรวจวัดพื้นที่ได้ 6 ไร่ 4 ตารางวา
ด้านจำเลยรับว่า ได้ถือครองที่ดินต่อจากญาติของสามีจำเลยในปี 2528 จึงไม่ใช่การถือครองมาก่อนสถานะความเป็นป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติหรือเป็นการสืบสิทธิทางมรดก ดังนั้นแล้ว[เมื่อจำเลยไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับการผ่อนผันตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557] และยังทำการบุกรุกพื้นที่เพิ่มอีกหกไร่ก็ย่อมเป็นเหตุแห่งการดำเนินคดี การกระทำของจำเลยมีความผิดตามคำฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายและจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามคำฟ้องระบุว่า เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการได้เข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ ตรวจความลาดชัน ดินในที่เกิดเหตุ และคำนวณค่าเสียหายผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นการวิเคราะห์อย่างเป็นระยย มีความน่าเชื่อถือ เห็นว่า โจทก์ไม่ได้เก็บตัวอย่างดิน พร้อมภาพถ่ายแสดงพื้นที่ ต้นไม้ พันธุ์ไม้ต่างในพื้นที่พิพาทก่อนจำเลยทำการบุกรุกมายืนยันในชั้นศาล
ทั้งเมื่อพิจารณาภาพถ่ายพื้นที่บุกรุกใหม่ก่อนเกิดเหตุที่ถ่ายในปี 2545 และ 2557 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนและอาจไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลย ดังนั้นการคำนวณค่าเสียหายอาจมีความคลาดเคลื่อน เบี่ยงเบนจากความเสียหายที่แท้จริง ดังนั้นค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางมาเหมาะสมแล้ว
ประเด็นที่สี่ แก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นต่อเนื่องถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2559 บังคับใช้ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 31 วรรคหนึ่งระบุว่า ผู้ที่กระทำการครอบครองยึดถือครอบครองทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดโทษไว้สิบเดือนต่ำกว่าที่กฎหมายใหม่กำหนด แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
 
———————————————————-
ชื่อจำเลย สุณี นาริน
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  พิพากษาจำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 150,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 439,027 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 คำพิพากษาลงวันที่  3 พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่หนึ่ง
 
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า สนอง การปลูกและจีรศักดิ์ กิ่งชัยภูมิ เจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าของอุทยานแห่งชาติไทรทองไม่มีอำนาจร้องทุกข์คดีเนื่องจากทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ไม่ใช่เจ้าพนักงานของกรมป่าไม้ที่มีอำนาจตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ พิเคราะห์ว่า พื้นที่เกิดเหตุเป็นทั้งป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ เจ้าพนักงานทั้งสองทำตามหน้าที่และความผิดคดีนี้ถือเป็นอาญาแผ่นดิน พนักสอบสวนสามารถสอบสวนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้องทุกข์ ดังนั้นผู้ร้องทุกข์จะเป็นใครไม่สำคัญ อุทธรณ์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่

ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์ว่าพื้นที่ที่จำเลยครอบครองผ่านการทำประโยชน์มานานแล้ว โจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า มีการทำลายป่าอย่างไร จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เห็นว่า ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปทำไร่มันสำปะหลัง ซึ่งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ อันสร้างความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ  อุทธรณ์ประเด็นนี้จึงฟังไม่ขึ้น
ในส่วนของอุทธรณ์โจทก์ที่ขอให้เพิ่มมูลค่าการชดใช้ค่าเสียหายของจำเลย เนื่องจากศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้ชดใช้ 150,000 บาท ไม่เป็นไปตามค่าความเสียหายจริง ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าพยานที่โจทก์นำมาเบิกความมีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ และโปรแกรมที่ใช้ประเมินค่าเสียหายแล้วคำนวนได้ 439,027 บาท นั้นเป็นโปรแกรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่และสร้างความเป็นธรรมในการพิจารณาคดี  โดยพยานโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ การคิดคำนวนค่าเสียหายเป็นไปตามหลักวิชาการ และสากล จึงมีความน่าเชื่อถือและเหมาะสมพอสมควร ศาลอุทธรณ์จึงเห็นควรให้อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น เพิ่มค่าเสียหายตามที่ขอมาเป็น 439,027 บาท
———————————————
ชื่อจำเลย สุภาพร สีสุข
คำพิพากษาศาลชั้นต้น  พิพากษาจำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 190,000 บาท
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุกแปดเดือน ลดเหลือห้าเดือนสิบวัน ชดใช้ค่าเสียหาย 381,010 บาท
ศาลชัยภูมิอ่านคำพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 คำพิพากษาลงวันที่  1  พฤษภาคม 2562
องค์คณะผู้พิพากษา องค์คณะที่หนึ่ง
 
ประเด็นที่หนึ่ง โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า สนอง การปลูก ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตามกฎหมายได้ เห็นว่า สนองเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ป่า  อุทยานแห่งชาติไทรทอง เมื่อพบผู้กระทำความผิดยึดครองที่ดินอุทยานแห่งขาติจึงทำการขอคืนพื้นที่ถือเป็นการปฏิบัติราชการตามกรอบกฎหมาย และความผิดตามฟ้องเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการสอบสวนโดยไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์
ประเด็นที่สอง จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
พื้นที่พิพาทอยู่ในพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาตินายางกลักและอุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี 2525 และ 2535 ตามลำดับ  ต่อมาวันที่ 30 มิถุนายน 2541 คณะรัฐมนตรีมีมติให้สำรวจประชาชนที่ทำกินในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อผ่อนผันให้ทำกินต่อไปโดยไม่ต้องถูกดำเนินคดี มีการสำรวจครั้งแรกในปี 2551 ไม่ปรากฏรายชือของทองปั่น ม่วงกลาง มารดาของจำเลยและจำเลยในบัญชีสำรวจ ในปี 2558 สนอง การปลูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ป่าได้ตรวจสอบพื้นที่พิพาทพบทองปั่น มารดาจำเลยกำลังทำประโยชน์ในพื้นที่พิพาทที่ทองปั่น ยกให้จำเลย หลังการพูดคุยทองปั่นเซ็นคืนที่ดินแทนจำเลย ในปี 2559 เมื่อสนองเข้าตรวจสอบพื้นที่พิพาทอีกครั้งพบว่า ทองปั่นยังคงทำประโยชน์ในที่ดินอีกครั้ง
เห็นว่า จำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านบันทึกข้อตกลงการคืนที่ดินให้แก่รัฐ แสดงว่า จำเลยทราบดีว่า ที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรทองและจำเลยไม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในที่ดิน แต่หลังการคืนที่ดินจำเลยกลับเข้าไปทำประโยชน์อีกด้วยอ้างว่า ไม่มีที่ทำกิน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จอมและทองปั่น ม่วงกลาง บิดาและมารดาของจำเลยมีสิทธิถือครองในที่ดินมาก่อนการประกาศให้พื้นที่พิพาทในคดีนี้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติไทรทอง จำเลยจึงได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี 2541 ทั้งหน่วยงานของจะต้องดำเนินการตามคำสั่งคสช.ที่ 66/ 2557 พิจารณาจากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศของที่ดินเมื่อปี 2545 ที่ปรากฏป่ามีความสมบูรณ์ เปรียบเทียบกับภาพถ่ายเมื่อปี 2557 ที่ป่าถูกทำลายเกือบหมด แสดงว่า จำเลยเข้าถือครองที่ดินและแผ้วถาง ทำลายป่าหลังปี 2545 ซึ่งภายหลังการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติไทรทอง จำเลยจึงไม่ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี 2541 และไม่ได้รับประโยชน์ตามคำสั่งคสช.ที่ 66/2557 เนื่องจากเป็นผู้บุกรุกใหม่ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สาม การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิ่มค่าเสียหายให้เต็มตามคำฟ้องที่ 381,010 บาท ในทางนำสืบโจทก์มีเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการประเมินค่าเสียหายผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกมาเป็นค่าเสียหายจากปริมาณน้ำที่สูญหาย, ค่าเสียหายจากปริมาณดินที่สูญหาย, ค่าเสียหายจากอุณหภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นและค่าเสียหายจากปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมสูญหายรวมเป็นค่าเสียหายทั้งหมด 381,010 บาท จำเลยเบิกความค้านทำนองว่า มูลค่าความเสียหายที่โจทก์ประเมินไม่ถูกต้องตามค่าเสียหายจริง
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โปรแกรมคำนวณค่าเสียหายดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อสร้างหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าความเสียหายตามสภาพที่เกิดขึ้นจริงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาความเสียหาย การประเมินความเสียหายเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการได้นำข้อมูลป่าสมบูรณ์ที่เป็นแปลงตัวอย่างมาเปรียบเทียบกับที่ดินที่จำเลยบุกรุก จึงเชื่อว่า การคิดคำนวณมูลค่าความเสียหายเป็นไปตามหลักวิชาการและน่าเชื่อถือ
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สภาพป่าและความสมบูรณ์ของแต่ละพื้นที่ของประเทศมีความแตกต่างกันจะนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาคำนวณเป้นค่าเสียหายย่อมไม่เป็นธรรรม และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นถึงสภาพป่าก่อนเกิดเหตุและหลักเกิดเหตุ การคำนวณดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าเสียหายที่แท้จริง เห็นว่า การคำนวณเจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญการได้นำข้อมูลชุดเดียวกันเช่น ความลาดชัน ดินและอุณหภูมิในแปลงป่าตัวอย่างที่ใกล้ที่สุดมาเปรียบเทียบ กระบวนการเช่นนี้ก็สามารถคำนวณความเสียหายได้แล้วไม่จำเป็นต้องนำสืบให้เห็นถึงสภาพป่าก่อนและหลังเกิดเหตุว่า มีความแตกต่างกันอย่างไรและการคำนวณไม่ได้ใช้โปรแกรมจากพื้นที่อื่นมาใช้ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
ฉะนั้นค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นวางมาที่ 190,000 บาทเห็นว่า น้อยเกินไปและไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ 381,010 บาท
ประเด็นที่สี่ แก้ไขปัญหาข้อกฎหมาย
เหตุแห่งคดีเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2558-11 กันยายน 2559  ซึ่งเกิดขึ้นก่อนและหลังพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ 2559 บังคับใช้ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายใหม่ มาตรา 31 วรรคหนึ่งระบุว่า ผู้ที่กระทำการครอบครองยึดถือครอบครองทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดโทษไว้สิบเดือนต่ำกว่าที่กฎหมายใหม่กำหนด แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
 
 
ไฟล์แนบ