สรุป 9 ชั่วโมง ประชุมรัฐสภา-พรรคต้าน คสช. (ซ้อม) อภิปรายไม่ไว้วางใจ

 

 

5 มิถุนายน 2562 ที่ประชุมร่วมกันของทั้งสองรัฐสภาครั้งแรกเพื่อทำการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งวันดังกล่าวมีการรับรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) เพิ่มเติม 3 คน คือ ศรีนวล บุญลือ พรรคอนาคตใหม่ จิตรภัสร์ กฤดากร พรรคประชาธิปัตย์ และวทันยา วงษ์โอภาสี พรรคพลังประชารัฐ ส่วนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงประกาศลาออกจากตำแหน่ง .

 

ในการประชุมช่วงเช้า 'ปิยบุตร แสงกนกกุล' .. พรรคอนาคตใหม่ ได้ขอเปิดอภิปรายคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. โดยอาศัยมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามมาตรา 160 ต่อมา 'ณัฐพล ทีปสุวรรณ' ..พรรคพลังประชารัฐ ลุกขึ้นเสนอชื่อ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามมาด้วย 'ศรีนวล บุญลือ' ..พรรคอนาคตใหม่ เสนอชื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นนายกรัฐมนตรี 

 

ตลอดการประชุม มีประเด็นโต้เถียงกันในเรื่องคุณสมบัติของผู้ถูกเสนอชื่อดำรงตำแหน่งนายกฯ โดยพรรคฝ่ายต่อต้านการสืบทอดอำนาจคสช. ต่างอภิปรายว่า สถานะของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช. ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ย่อมขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงการบริหารราชการแผ่นดินของ พล..ประยุทธ์ แสดงให้เห็นว่าขัดมาตรฐานจริยธรรม เช่น ไม่ธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยจากการทำการรัฐประหาร การวางกลไกสืบทอดอำนาจ เป็นต้น

 

.. พท. – อนค. ค้าน การเลือกนายกรัฐมนตรี ต้องให้ .. ออกไป

 

ภายหลัง ชวน หลีกภัย ประธานสภาได้แจ้งที่ประชุมเรื่องระเบียบวาระ ..พรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ได้มีการอภิปรายขอให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 และมาตรา 272 โดยขอให้การเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นกระทำโดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ไม่ใช่ที่ประชุมร่วมของรัฐสภา พร้อมทั้งขอให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัยเพิ่มเติม 2 เรื่อง คือ ให้มีการรับรองชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเปิดเผย โดยให้มีการออกชื่อผู้รับรอง และขอให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้แสดงวิสัยทัศน์ต่อสภาผู้แทนราษฎร

 

โดย เรวัต วิศรุตเวช ขออภิปรายหารือที่ประชุมว่า การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 159 เลือกการเห็นชอบนายกฯ ต้องให้ .. ประชุม อภิปรายก่อน แล้วจึง ให้ .. มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี 

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล .. พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายต่อว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เป็นบทเฉพาะกาลต้องตีความยึดตามบทหลัก มาตรา 159 ดังนั้น สภาผู้แทนราษฎร จึงมีอำนาจตรวจสอบคุณสมบัติของผู้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 

ด้าน ขจิต ชัยนิคม ลุกขึ้นประท้วงเรื่องการเห็นชอบการเลือกรัฐมนตรี ว่า รัฐธรรมนูญฉบับเดิม ไม่มีการกำหนดให้เลือกนายกรัฐมนตรี ในรัฐสภา ที่รวม .. และ .. ชี้ขอให้ประธานสภาให้เกียรติประชาชนที่เลือกผู้แทนฯ เข้ามา 

 

จนสุดท้าย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้วินิจฉัยให้ว่าการโต้แย้งประเด็นดังกล่าวฟังขึ้น แต่ให้ยึดตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 272 คือ ให้วุฒิสภาอยู่ร่วมในระหว่างการอภิปรายเรื่องคุณสมบัติของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

 

.. ฝั่งไม่เอา คสช. เสนอให้แคนดิเดตแสดงวิสัยทัศน์พปชร. ลั่นไม่มีข้อบังคับ 

 

ประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ .. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าไม่รู้จักภูมิหลังของผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีทั้งสอง จึงอยากให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ของบุคคลทั้งสอง เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาและประชาชนได้รู้จักนายกรัฐมนตรี ในอนาคตของประเทศไทย 

 

ด้าน .. พรรคพลังประชารัฐ บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ เสนอว่า ธนาธร และ ประยุทธ์ เป็นบุคคลสาธารณะ ได้แสดงวิสัยทัศน์ในสื่อต่างๆ มาตลอด และตั้งคำถามว่า หากอยากเห็นสภาเดินหน้า ก็ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกแสดงวิสัยทัศน์ 

 

ต่อมา ภาดาท์ วรกานนท์ เสนอให้ ไม่มี การแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีเพราะในอดีตไม่มีการแสดงวิสัยทัศน์ดังกล่าว และไม่มีข้อบังคับใดกำหนดให้กระทำการดังกล่าว ก่อนจะเสนอให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี 

 

ส่วน พรรณิการ์ วานิช .. พรรคอนาคตใหม่ เสนอว่าไม่มีคำว่าเสียเวลา ถ้าจะให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ เชื่อว่าประชาชนรอได้ 

 

อย่างไรก็ดี ชวน หลีกภัย ชี้ว่า การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี จะแสดงวิสัยทัศน์หรือไม่ ก็เป็นสิทธิของผู้ถูกเสนอชื่อคนนั้นๆ ไม่มีข้อบังคับให้ต้องแสดงวิสัยทัศน์แต่อย่างใด เมื่อที่ประชุมได้ถอนญัติให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีแสดงวิสัยทัศน์ 

 

พรรคต่อต้านการสืบทอดเปิดฉากตรวจสอบ ชี้ พล..ประยุทธ์ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 

การอภิปรายดำเนินไปจนถึงการอภิปรายคุณสมบัติของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีระหว่างธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากพรรคอนาคตใหม่ และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรคพลังประชารัฐ 

 

ขจิตร ชัยนิคม ..พรรคเพื่อไทย เริ่มอภิปรายว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเจ้าหน้าที่รัฐตามความเห็นของศาล โดยระบุถึง มาตรา 160 (6) กำหนดว่า บุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีคุณสมบัติตาม รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98(15) ที่กำหนดว่าต้องไม่เป็นพนักงาน/ข้าราชการของรัฐ โดยยกคดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว คสช. ของ สมบัติ บุญงามอนงค์ มาอภิปราย

 

อย่างไรก็ดี ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต้องไม่มีคุณสมบัติในการเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ตาม .98 (15) ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรณี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ศาลยุติธรรมเคยระบุว่า คำสั่งหัวหน้า คสช. ถือว่าเป็นคำสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่รัฐ จึงอาจขัดรัฐธรรมนูญเรื่องคุณสมบัติ 

 

ด้าน ชลน่าน ศรีแก้ว .. พรรคเพื่อไทย ไม่เห็นด้วยที่จะเสนอชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งขัดต่อคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ตาม มาตรา 160 ประกอบ 98(15) ของรัฐธรรมนูญ 2560 นอกจากนี้ ชลน่าน ยังอภิปรายเรื่องในเรื่องที่ว่า ทำไม .. ไม่ควรเลือกนายก ตามที่นักศึกษาได้ไปยื่นหนังสือในช่วงเช้าของวันนี้ ชวน หลีกภัย ประธานสภาได้แจ้งต่อชลน่านว่า สิ่งที่พูดเกินเรื่องคุณสมบัตินายกรัฐมตรีไปแล้ว ชลน่านกล่าวตอบว่า จำเป็นต้องพูดเรื่องนี้ เพราะเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เนื่องจาก .. แต่งตั้งโดย คสช

 

ต่อมา ชวลิต วิชยสุทธิ์ .. พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นอภิปราย มีคำพิพากษาศาลฎีกา 3578/2560 ที่ชี้สถานะ พลเอก ประยุทธ์ว่าเป็น 'เจ้าพนักงาน' ชัดเจนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขัดต่อคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี ทั้งยังแจงเพิ่มว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 วางบรรทัดฐานว่า พนักงานรัฐคือบุคคลที่ 'ได้รับการแต่งตั้ง รับเงินเดือน มีอำนาจหน้าที่และปฏิบัติงานประจำ อยู่ในกำกับของรัฐตามกฎหมาย' ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าข่ายทั้งหมด จึงขัดคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี

 

ขวลิต วิชยสุทธิ์ กล่าวต่อว่า ประเด็นต่อเนื่องของสถานะปัจจุบันของ พลเอก ประยุทธ์ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นวันที่ 14 มีนาคม 2562 มีความเห็นว่า พลเอก ประยุทธ์ ไม่ได้มีลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ไม่ได้อยู่ในบังคับของรัฐ หากแต่เป็นตำแหน่งที่ใช้รัฏฐาธิปัตย์ ผมเห็นว่า ความเห็นนี้ไม่ได้เป็นข้อยุติเรื่องเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากผู้ตรวจฯไม่ได้เป็นองค์กรชี้ขาดผูกพันรัฐสภา แต่องค์กรที่ให้ความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นๆ

 

ด้าน .. พรรคพลังประชารัฐ ยืนยันคุณสมบัติ พลเอก ประยุทธ์ เหมาะสมแล้วที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา แจงเหตุผลว่า พลเอก ประยุทธ์ มีความเสียสละแก้ปัญหาช่วงบ้านเมืองไม่ปกติ มีภาวะความเป็นผู้นำสูง ติดดิน มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังขอร้องสมาชิกสภาคนอื่นหยุดสร้างความขัดแย้งและสร้างวาทกรรม เผด็จการ สืบทอดอำนาจ

 

ปิยบุตรแจง พลเอกประยุทธ์ มีลักษณะต้องห้ามขัดมาตรฐานจริยธรรม ไม่ธำรงไว้ซึ่งประชาธิปไตย

 

ปิยบุตร แสงกนกกุล .. พรรคอนาคตใหม่ มาตรา 159 ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ใช่ว่าใครเหมาะกว่าใคร แต่จะพิจารณาตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มีลักษณะ 160(5) ที่ระบุว่า ต้องไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ผิดตามมาตรฐานทางจริยธรรม มาตรฐานจริยธรรม หมวด 1 ข้อ 5 ต้องยึดมั่นและธํารงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจาก พลเอก ประยุทธ์ ในขณะที่เป็น ผบ.ทบ. ได้ก่อการรัฐประหาร ต่อมาก็ออกกฎหมายเองจึงมีพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

 

ต่อมา เสรี สุวรรณภานนท์ .. กำลังอภิปรายว่า พลเอก ประยุทธ์ เหมาะสมอย่างไร กำลังอภิปราย คารม พลพรกลาง .. พรรคอนาคตใหม่ ลุกขึ้นท้วง กรณีที่เสรีกล่าวว่าทหารไม่ได้ยึดอำนาจโดยไม่มีเหตุผล มีความวุ่นวายบนถนนมานาน มีการเผาบ้านเผาเมืองจากนั้นอภิปรายต่อในประเด็นคุณสมบัติเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐนั้น เสรีแจงว่า มาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ระบุคุณสมบัติของ .. .. ซึ่งหมายรวมถึงนายกรัฐมนตรี คำวินิจฉัย 5/2543 ของศาลรัฐธรรมนูญ ต้องไปดูว่าการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐอื่นนั้นเป็นแบบไหน ก่อนเสรีจะปล่อยวาทะเด็ดผมนิยมเผด็จการประชาธิปไตยครับ แต่ไม่ได้นิยมพวกประชาธิปไตยจอมปลอมครับท่านประธาน” 

 

สุทินอภิปราย พลเอก ประยุทธ์ ใช้มาตรา 44 ปิดเหมือง ผิดตามมาตราฐานจริยธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศ

 

สุทิน คลังแสง .. พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า พลเอก ประยุทธ์ ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรฐานจริยธรรม ไม่ธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นหัวหน้ากบฏ และสร้างความชอบธรรมในการยึดอำนาจ จะนิรโทษกรรมตัวเองทำไม หากไม่ได้ทำอะไรผิด อีกข้อ คือ ผิดตามข้อห้ามตาม มาตรา 98(15) ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 

 

สุทิน ยกกรณีเหมืองอัครา เพื่อชี้ให้เห็นว่า พลเอก ประยุทธ์ บกพร่องตรงไหน โดยใน .พิจิตร มีเหมืองชื่อว่า อัครา ไมน์นิ่ง ผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทคิงส์เกต สัญชาติออสเตรเลีย เริ่มขึ้นด้วยการเจรจาการค้าเสรีไทย ออสเตรเลีย ได้รับการคุ้มครองภายใต้องค์กรการค้าโลก และทำการดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2544 

 

พอมาถึงปี 2559 พลเอก ประยุทธ์ ใช้ มาตรา 44 ในการปิดเหมือง มาตรา 44 เป็นตัวการที่บ่งชัดว่า บริหารประเทศโดยปฏิเสธหลักนิติรัฐ ทำอะไรกับคนไทยเขาไม่สู้ แต่พอไปปิดเหมืองทองอัครา เกิดคดีแล้ว คิงส์เกตนำเรื่องขึ้นสู่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ กระบวนการเอาผิดกำลังเกิดขึ้น วันนี้พลเอกประยุทธ์จัดตั้งทีมทนายความด้วยงบประมาณ 600 ล้านบาท ที่ไม่ใช่เงินของ พล..ประยุทธ์ 

 

สุทิน ชี้ว่าขัดมาตรฐานจริยธรรมข้อ 6 ไม่รักษาผลประโยชน์แห่งชาติ เพราะการใช้ มาตรา 44 เป็นการใช้กฎหมายที่ไม่ใช่กฎหมาย มีการส่งกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อประนีประนอมให้ถอนฟ้อง มีการประเมินค่าเสียหาย ประมาณ 40,000 ล้านบาท ประเทศไทยหรือพลเอกประยุทธ์ วันนี้ถ้าแพ้ต้องชดใช้อีกรวมกับผู้ถือหุ้นอื่นๆ รวมแล้วแสนล้าน 

 

ด้าน พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ .. พรรคพลังประชารัฐ โต้แย้งเรื่องเหมืองอัคราว่า การปิดหรือหยุดดำเนินการของเหมืองโดยใช้มาตรา 44 เริ่มมาจากการตรวจสอบพบสารเคมีที่รั่วซึมออกมา มีการตรวจสอบโดยสธ. มีผลกระทบต่อผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นเรื่องปัญหาเรื่องผลประโยชน์ระหว่างบริษัทและหน่วยงานท้องถิ่น ผู้ที่อภิปรายให้ข้อมูลไม่ครบ  จำเป็นต้องให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่ง 

 

ส่วน พรทิพย์ โรจนสุนันท์ .. ชี้แจงว่า ประชาชนที่อยู่ในแถบเหมืองมีปัญหาในเชิงสุขภาพมานาน มีการตรวจสอบ ร้องเรียนแต่ยังไม่มีหน่วยงานไหนดูแล ปี 2558 เข้าใจว่า หลังรัฐประหาร มีการตรวจพบว่า ประชาชนโดยเฉพาะเด็กมีการปนเปื้อนด้วยโลหะหนัก เป็นจังหวะที่ประชาชนมีคนรับฟังความทุกข์ร้อนเป็นครั้งแรก

 

ขณะที่ วีระกร คำประกอบ ประท้วงว่า การอภิปรายในตอนนี้เข้าใกล้เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปทุกที เรื่องที่ยกมาอ้างคิดไปเองทั้งนั้น เหมือนการใส่ร้าย พลเอก ประยุทธ์ และ พรรคพลังประชารัฐ มากกว่า

 

จากเลือกนายก สู่อภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอก ประยุทธ์ หวั่นเลือกนายกฯ ไม่จบวันนี้

 

พรรณิการ์ วานิช .. พรรคอนาคตใหม่ มีความประพฤติขัดต่อมาตรฐานทางจริยธรรม ข้อ 6 เกียรติภูมิ หมายถึง การได้รับการยอมรับว่ามีศักดิ์ศรี ว่าด้วยการไม่กระทำการใด ห้เสียศักดิ์ศรี แต่ พลเอก ประยุทธ์ ไปพูดให้คำสัญญากับต่างชาติถึง 8 ครั้ง กว่าจะได้มีการเลือกตั้ง จนถูกกล่าวถึงในสายตานานาชาติว่า เป็นตัวการ์ตูนพิน็อคคิโอซึ่งทราบกันดีว่า เป็นตัวละครที่พูดไม่ตรงกับความจริง 

 

เวลาผ่านไปจนถึงประมาณ 18.30 ขณะที่รังสิมันต์ โรม .. พรรคอนาคตใหม่ กำลังอภิปรายอยู่นั้น ระวี มาศฉมาดล .. พรรคพลังธรรมใหม่  ได้ลุกขึ้นค้านว่า ขณะนี้ได้มีการอภิปรายซึ่งกินเวลานานกว่า 6 ชั่วโมงแล้ว ทำให้มีการทบทวนเรื่องเวลาในการอภิปรายขึ้น จากนั้น .. พรรคประชาธิปัตย์ได้ขอยกเลิกการอภิปราย เพื่อทำให้เวลากระชับขึ้น จากนั้น พรเพชร วิชิตชลชัย ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ประกาศว่ายังเหลือสมาชิกที่ต้องอภิปรายเพิ่มอีก 15 คน และจะมีการออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีในเวลา 20.30