เสียงของ ส.ส. ที่ไม่เอา คสช. ทำอะไรได้บ้างในสภา

จากการต่อสู้ในสนามการเลือกตั้ง สู่การต่อสู้ในสภาอย่างดุเดือด ฝั่งไม่เอา คสชอย่าง พรรคอนาคตใหม่ พรรคเพื่อไทย เพื่อชาติ เสรีรวมไทย ประชาชาติ พลังปวงชนไทย และเศรษฐกิจใหม่ รวมแล้วจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) รวมกัน 245 ที่นั่ง ยังคงผนึกกำลังกันเพื่อยกมือสู้กับฝั่งพรรพลังประชารัฐ และพรรคที่สนับสนุน คสชแม้จะต้องเจอกับเสียงของงูเห่าที่ทำให้มือของฝั่งไม่เอา คสชหายไปบ้าง แม้หากต้องเป็นฝ่ายค้าน ไม่ได้หมายความว่า ส.. ฝั่งไม่เอา คสชจะหมดหนทางทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนราษฎรมาดูกันว่าเสียงของ ส.จากฝั่งพรรคการเมืองไม่เอา คสชทำอะไรได้บ้างในฐานะฝ่ายค้าน

.. 250 เสียงขึ้นไป คว่ำกฎหมายฝั่งรัฐบาลได้

ในการพิจารณากฎหมาย หาก ส..ฝั่งที่ไม่เอา คสชเห็นว่า กฎหมายใดที่ถูกเสนอขึ้นมาไม่เป็นประโยชน์ หรือยังมีข้อบกพร่อง ก็มีสิทธิที่จะแปรญัตติแก้ไขกฎหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมาในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะกำหนดสัดส่วนให้ฝ่ายค้านจะต้องได้รับการแต่งตั้งเข้าไปเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ รวมถึงฝ่ายค้านสามารถอภิปรายและลงมติไม่เห็นชอบกฎหมายเพื่อยุติกฎหมายฉบับดังกล่าวได้อีกด้วย

ทั้งนี้ ตามหลักของการยกมือผ่านกฎหมายจะใช้เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร เท่ากับว่าหาก ส.. ฝั่งไม่เอา คสช. ไม่แตกแถวก็จะสามารถคว่ำกฎหมายฉบับนั้นไม่ให้ผ่านไปได้ เพราะจากนี้ ส.. ฝั่งรัฐบาลบ้างคนอาจต้องไปอยู่ใน ครม. หรือไปช่วยงานต่างๆ ในฝ่ายบริหาร ซึ่งจะทำให้เสียงของ ส.. ฝั่งรัฐบาลซึ่งปริ่มน้ำอยู่แล้วถูกลดลง นอกจากนี้ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาลจากการมีพรรคร่วมรัฐบาลจำนวนมาก ก็อาจเป็นไปได้ที่ ส.. ฝั่งรัฐบาล อาจเปลี่ยนมาร่วมโหวตคว่ำกฎหมายร่วมกับ ส.. ของฝั่งไม่เอา คสช. ซึ่งขอเพียง 6 เสียง จาก ส.. ฝั่งรัฐบาลก็สามารถคว่ำกฎหมายได้แล้ว 

อย่างไรก็ดี ในบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดอำนาจให้ ส.เข้ามาร่วมพิจารณากฎหมายปฏิรูปประเทศตามหมวด 16 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ครอบคลุมเรื่องการพัฒนาประเทศที่สำคัญเอาไว้แทบจะทุกด้าน ดังนั้นกรณีของกฎหมายปฏิรูปประเทศ เท่ากับว่าจะต้องใช้เสียงกึ่งหนึ่งของสภาทั้งสอง คือ 375 เสียงขึ้นไป ในการยกมือไม่เห็นชอบกฎหมายนั้นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็ยากที่ฝั่งไม่เอา คสชจะรวบรวมเสียงได้ถึง 376 เสียง

อ่านเรื่องมาตรา 270 อำนาจ ส.พิจารณากฎหมายปฏิรูปประเทศ ได้ที่ : https://ilaw.or.th/node/5265

.. 100 คน เข้าชื่อเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ + ใช้เสียง .อีกครึ่งถอด รมต. ครม.

หากต้องการถอดถอนรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 กำหนดให้ใช้ ส.. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาฯ หรือประมาณ 100 คน เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ และเมื่อมีการเสนอญัตติอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติดังกล่าว

ทั้งนี้ ในการลงมติไม่ไว้วางใจ หาก ส.. ลงคะแนนเสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประมาณ 250 เสียงขึ้นไป ให้รัฐมนตรีดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง และถ้าในกรณีนายกรัฐมนตรีถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจและมีการลงมติมากกว่าครึ่งหนึ่ง ให้คณะรัฐมนตรีทุกคนต้องพ้นไปจากตำแหน่งด้วย

.. 50 คน ยื่นเรื่องตรวจสอบคุณสมบัติ .ฝั่งรัฐบาลได้

หาก ส.. ฝั่งไม่เอา คสชต้องการยื่นเรื่องตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ของพรรคพลังประชารัฐ และฝ่ายรัฐบาล ตาม รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 82 จะต้องใช้เสียง ส.รวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ใน 10 หรือประมาณ 50 คน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยคุณสมบัติของ ส.. คนนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ผู้ใดขาดคุณสมบัติก็สั่งให้พ้นจากตำแหน่งทางการเมืองได้

ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถูกระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 และ 111 เช่น ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลายต้องไม่เป็นข้าราชการ ต้องไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง ต้องไม่เคยทำผิดฐานทุจริต ต้องไม่แทรกแซงสื่อ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90  วันก่อนเลือกตั้ง ต้องไม่ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง ฯลฯ

You May Also Like
อ่าน

ส่องวาระศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ สว. 67 เคาะเลือกคนใหม่ได้เกินครึ่ง

พฤษภาคม 2567 สว. ชุดพิเศษ จะหมดอายุแล้ว แต่ สว. ชุดใหม่ ยังคงมีอำนาจสำคัญในการเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ภายใต้วาระการดำรงตำแหน่งของ สว. ชุดใหม่ จะมีอำนาจได้ “เกินครึ่ง” ของจำนวนตำแหน่งทั้งหมด
อ่าน

กรธ. ชุดมีชัย ออกแบบระบบ สว. “แบ่งกลุ่มอาชีพ”-“เลือกกันเอง” สุดซับซ้อน!

ระบบ “เลือกกันเอง” สว. 67 ที่ให้เฉพาะผู้สมัคร ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2,500 บาท มีสิทธิโหวต คิดค้นโดยคนเขียนรัฐธรรมนูญ 2560 นำโดยมีชัย ฤชุพันธุ์