เกินครึ่งของ 97 เขตที่พลังประชารัฐชนะ เสียงโหวต “ไม่เอา คสช.” ยังเยอะกว่า

 

 

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศผลอย่างเป็นทางการสำหรับการเลือกตั้ง 2562 ไปแล้ว ปรากฏว่า พรรคพลังประชารัฐที่เปรียบดังพรรคตัวแทนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กวาดที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตไปถึง 97 ที่นั่ง รองมาจากพรรคเพื่อไทยที่ได้ที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขต มากที่สุด 137 ที่นั่ง 

 

การเลือกตั้งครั้งนี้ ในแง่หนึ่งความสนใจก็อยู่ที่การต่อสู้กันระหว่างความพยายามสืบทอดอำนาจของ คสช. และพรรคการเมืองที่ไม่เอาอีกแล้วกับระบอบ คสช. โดยมีพรรคการเมืองกลุ่มหนึ่งที่ประกาศชัดเจนก่อนเลือกตั้งว่า จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อได้ ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคประชาชนปฏิรูป ฯลฯ

 

อีกด้านหนึ่ง ก็มีพรรคการเมืองอีกจำนวนมากที่ประกาศชัดเจนก่อนเลือกตั้งว่า พรรคนั้นมีแนวทางต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเพื่อชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อธรรม พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคพลังปวงชนไทย พรรคสามัญชน ฯลฯ

 

ในการเลือกตั้งระบบแบ่งเขตทั้งหมด 350 เขต ใช้ระบบผู้ชนะได้ทั้งหมดไป หรือ Winner Takes All ซึ่งหมายถึงผู้สมัครที่ได้คะแนนมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นจะได้ที่นั่ง ส.ส. ทันที โดยไม่ต้องคำนึงว่า พรรคการเมืองอื่นๆ ที่ได้ลำดับรองลงมา ได้คะแนนสนับสนุนเท่าไร และไม่ต้องคำนึงว่า ผู้ชนะจะมีผู้สนับสนุนเกินครึ่งหนึ่งหรือไม่ 

 

เมื่อพิจารณาชัยชนะ 97 เขต ของพรรคพลังประชารัฐ จะเห็นว่า ปัจจัยสำคัญ คือ พรรคการเมืองที่ประกาศจุดยืนต่อต้านการสืบอำนาจของ คสช. แตกตัวเป็นหลายพรรคและในแต่ละเขตเลือกตั้งก็ลงสมัครแข่งกันเอง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ "เสียงแตก" ประชาชนที่ต้องการลงคะแนนเพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. ต่างแยกกันลงคะแนนให้กับหลายพรรคการเมือง 

 

มี 43 เขตที่พรรคพลังประชารัฐได้ชัยชนะค่อนข้างขาดลอยในเขตเลือกตั้งนั้น และได้คะแนนมากกว่าทุกพรรคที่ประกาศตัวว่า ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. รวมกัน ขณะที่อีก 54 เขต เมื่อลองเอาคะแนนของทุกพรรคที่ประกาศตัวว่า ต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คสช. มารวมกัน พบว่า มีคะแนนมากกว่าคะแนนของพรรคพลังประชารัฐ รวมด้วยคะแนนของพรรคอื่นๆ ที่ประกาศสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดังตารางต่อไปนี้

 

จังหวัดที่พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. เขต

เขตเลือกตั้ง

พรรคพลังประชารัฐ และพรรคที่หนุน คสช.

พรรคการเมืองที่ไม่เอา คสช.

กรุงเทพฯ

1

24,061

40,463

กรุงเทพฯ

2

28,126

38,035

กรุงเทพฯ

4

28,511

37,039

กรุงเทพฯ

6

29,764

54,392

กรุงเทพฯ

7

26,002

51,896

กรุงเทพฯ

8

29,975

60,159

กรุงเทพฯ

9

35,904

66,852

กรุงเทพฯ

13

28,345

56,335

กรุงเทพฯ

15

32,029

57,370

กรุงเทพฯ

17

32,579

47,851

กรุงเทพฯ

19

29,331

53,089

กรุงเทพฯ

30

32,346

59,117

กาญจนบุรี

1

41,013

33,791

กาญจนบุรี

2

33,258

22,294

กาญจนบุรี

4

30,910

31,807

กาญจนบุรี

5

21,618

14,517

กำแพงเพชร

1

33,476

33,279

กำแพงเพชร

2

34,994

21,786

กำแพงเพชร

3

31,688

30,159

กำแพงเพชร

4

30,627

37,018

ขอนแก่น

2

46,657

62,203

ฉะเชิงเทรา

2

44,761

49,745

ฉะเชิงเทรา

3

31,807

43,330

ชลบุรี

1

38,818

53,026

ชลบุรี

2

42,912

37,947

ชลบุรี

3

54,981

29,201

ชลบุรี

4

31,547

39,477

ชลบุรี

8

34,446

36,633

ชัยนาท

1

44,890

40,926

ชัยนาท

2

49,069

31,026

ชัยภูมิ

2

33,789

45,262

ชัยภูมิ

3

33,164

35,774

ตรัง

1

40,282

25,249

ตาก

1

44,520

33,271

ตาก

3

21,075

36,454

นครปฐม

4

33,446

38,883

นครราชสีมา

1

27,296

46,071

นครราชสีมา

4

40,245

25,703

นครราชสีมา

6

40,564

36,242

นครราชสีมา

7

36,696

35,616

นครราชสีมา

8

36,935

23,240

นครราชสีมา

11

42,373

28,348

นครศรีธรรมราช

1

36,598

18,608

นครศรีธรรมราช

2

34,698

11,989

นครศรีธรรมราช

7

30,853

15,593

นครสวรรค์

1

25,106

44,665

นครสวรรค์

2

31,456

36,030

นครสวรรค์

3

33,338

40,792

นครสวรรค์

6

26,367

27,841

นนทบุรี

1

32,525

67,322

นราธิวาส

1

44,370

34,614

นราธิวาส

2

42,906

30,508

พิจิตร

1

25,173

41,488

พิจิตร

2

21,851

33,137

พิจิตร

3

31,200

21,829

พิษณุโลก

3

25,938

29,452

พิษณุโลก

5

29,389

28,763

เพชรบุรี

1

35,106

20,244

เพชรบุรี

2

34,637

17,942

เพชรบุรี

3

47,765

17,721

เพชรบูรณ์

1

37,519

32,437

เพชรบูรณ์

2

50,077

17,169

เพชรบูรณ์

3

43,977

40,904

เพชรบูรณ์

4

35,739

43,331

เพชรบูรณ์

5

36,886

41,894

พะเยา

1

52,649

40,840

พะเยา

3

42,075

48,977

ภูเก็ต

1

33,743

30,972

ภูเก็ต

2

28,076

35,615

แม่ฮ่องสอน

1

31,366

38,578

ยะลา

1

26,891

38,769

ระยอง

4

29,511

51,020

ราชบุรี

1

39,755

23,900

ราชบุรี

2

40,355

18,925

ราชบุรี

3

46,855

20,737

ลพบุรี

1

32,073

56,297

สงขลา

1

39,531

19,167

สงขลา

2

38,410

27,354

สงขลา

3

43,721

26,207

สงขลา

4

32,870

13,619

สมุทรปราการ

1

35,066

47,202

สมุทรปราการ

2

35,890

67,805

สมุทรปราการ

3

29,424

52,253

สมุทรปราการ

5

42,378

68,968

สมุทรปราการ

6

28,160

44,874

สมุทรปราการ

7

28,215

51,902

สมุทรสาคร

3

25,759

35,612

สระแก้ว

1

63,596

32,241

สระแก้ว

2

53,167

38,702

สระแก้ว

3

42,356

49,039

สระบุรี

1

31,894

54,904

สระบุรี

2

44,369

55,954

สิงห์บุรี

1

49,789

65,375

สุโขทัย

1

44,903

47,639

สุโขทัย

2

41,361

39,606

สุรินทร์

2

35,851

42,886

อุบลราชธานี

6

32,938

42,668

รวมแล้วชนะ/เขต
 
43 54

หมายเหตุ : ผู้อ่านสามารถดูรายละอียดคะแนน และการคิดคำนวณแบบละเอียดได้ที่ไฟล์แนบ

 

 

กรุงเทพฯ ไม่เอา คสช. ฝ่ายสนับสนุนประยุทธ์คะแนนรวมแพ้ขาดทุกเขต

กรุงเทพมหานคร ถูกแบ่งออกเป็น 30 เขตเลือกตั้ง และพรรคพลังประชารัฐคว้าที่นั่งไป 12 เขตเลือกตั้ง ซึ่งดูเหมือนจะสูงที่สุด แต่เมื่อพิจารณาทั้ง 12 เขตเลือกตั้งแล้ว อันดับสองและอันดับสามส่วนใหญ่ก็เป็นพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ตามมา 

เมื่อเอาคะแนนของพรรคการเมืองที่ประกาศ “ไม่เอา คสช.” ทั้ง 12 เขตมารวมกัน เทียบกับคะแนนของพรรคการเมืองที่ประกาศ “สนับสนุน คสช.” ก็ชัดเจนว่า คนกรุงเทพฯ ไม่เอา คสช. มากกว่าแบบค่อนข้างขาดลอย ตัวอย่างเช่น เขต 1 ที่พรรคพลังประรัฐชนะไปด้วยคะแนน 23,246 คะแนน อันดับสองพรรคอนาคตใหม่ 18,091 คะแนน อันดับสาม พรรคเพื่อไทย 15,904 คะแนน แต่เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้ไป 24,061 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองฝ่าย “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 40,463 คะแนน

เขต 4 ที่พรรคพลังประรัฐชนะไปด้วยคะแนน 27,620 คะแนน อันดับสองพรรคอนาคตใหม่ 25,588 คะแนน อันดับสาม พรรคเพื่อไทยไม่ได้ลงสมัครในเขตนี้ แต่พรรคอื่นก็ได้คะแนนไม่น้อย เช่น พรรคเสรีรวมไทยได้ 3,199 คะแนน พรรคเศรษฐกิจใหม่ได้ 4,408 คะแนน แต่เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้ไป 28,511 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองฝ่าย “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 37,039 คะแนน

 

สมุทรปราการ พลังประชารัฐผงาด แต่คะแนนรวมยังสีเดิม

สมุทรปราการเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ผลการเลือกตั้งออกมาน่าสนใจ เพราะสมุทรปราการมีภาพลักษณ์เป็นจังหวัดที่ “คนเสื้อแดง” เข้มแข็ง และพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงในจังหวัดนี้อยู่มาก แต่ผลการเลือกตั้ง 2562 พรรคพลังประชารัฐคว้าที่นั่ง 6 เขตจากทั้งหมด7 เขต แพ้ไป 1 เขต คือ เขต 4 จาตุรนต์ แพ้ให้กับวุฒินันท์ บุญชู ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ ส่วนพรรคเพื่อไทยไม่ได้ที่นั่งในจังหวัดสมุทรปราการเลยเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี

เมื่อดูผลคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง ก็ต้องยอมรับว่า เพื่อไทยเสียคะแนนในจังหวัดนี้ไปมากจริงๆ แต่คะแนนส่วนหนึ่งก็ไปอยู่กับพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นพรรคที่มีแนวทางไม่สนับสนุนรัฐบาลทหารเช่นเดียวกัน หากนับคะแนนของพรรคที่ประกาศตัว “ไม่เอาคสช.” รวมกันแล้ว กลายเป็นว่า ทั้ง 7 เขตเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการก็ยังมีคะแนนรวมของคนที่มีจุดยืนไม่สนับสนุน คสช. มากกว่าอย่างชัดเจน

ตัวอย่างเช่น เขต 2 ที่ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐได้ไป 35,707 คะแนน เฉือนพรรคเพื่อไทยอันดับสองที่ได้ 31,655 คะแนน ไปไม่มาก แต่เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกัน 35,890 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 67,805 คะแนน มากกว่ากันเกือบเท่าตัว

หากรวมคะแนนทั้ง 7 เขตแล้ว ทั้งจังหวัดสมุทรปราการ พรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ไ้ด้คะแนนรวมกัน 235,063 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.“ ได้ไป 408,466 คะแนน

 

10 ที่นั่งอีสาน คนหนุน คสช. เยอะกว่าแค่นครราชสีมา

จากประสบการณ์ทางการเมืองในอดีตภาคอีสานก็ถูกมองว่า เป็นภูมิภาคของ “คนเสื้อแดง” และเคยเป็น “พื้นที่สีแดง” สมัยยุคคอมมิวนิสต์ หรือเป็นภูมิภาคที่ประชาชนมีแนวคิดต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งผลการเลือกตั้งปี 2562 หลังพรรคพลังประชารัฐ “ดูด ส.ส.” หน้าเดิมไปได้หลายคน ก็สามารถแย่งชิงเก้าอี้ ส.ส. ในภูมิภาคนี้มาได้อย่างน้อย 10 ที่ แต่เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนรวมทั้ง 10 เขตเลือกตั้ง ก็พบว่า 6 เขตในจังหวัดนครราชสีมา ประชาชนลงคะแนนให้พรรคที่ “ไม่เอา คสช.” น้อยกว่า ส่วนที่นั่งที่ได้มาจากจังหวัดอื่นๆ นั้น ประชาชนยังคง “ไม่เอา คสช.” มากกว่าอยู่  ดังนี้

ขอนแก่น ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐชนะได้หนึ่งเขต คือ เขต 2 เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกัน 46,657 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 62,203 คะแนน 

อุบลราชธานี ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐชนะได้หนึ่งเขต คือ เขต 6 ซึ่งเฉือนอันดับสองจากพรรคเพื่อไทยไปเพียงสามร้อยกว่าคะแนนเท่านั้น เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกัน 32,938 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอาคสช.” ได้ไป 42,668 คะแนน

ชัยภูมิ ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐชนะได้สองเขต คือ เขต 2 และ เขต 3 สำหรับผลเขต 2 เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกัน 45,262 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 62,203 คะแนน สำหรับผลเขต 3 เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกัน 33,164 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 35,774 คะแนน 

 

10 ที่นั่งภาคใต้พลังประชารัฐได้ใสๆ 9 ยังเป็นพื้นที่ “เอา คสช.”  

พื้นที่ภาคใต้ซึ่งเดิมหลายเขตเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ การมาของพรรคพลังประชารัฐก็ได้ที่นั่งไปถึง 10 ที่นั่ง แบ่งเป็น 4 ที่นั่งในจังหวัดสงขลา 3 ที่นั่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2 ที่นั่งในจังหวัดภูเก็ต และ 1 ที่นั่งในจังหวัดตรัง 

พรรคอนาคตใหม่ส่งผู้สมัครลงครบทุกเขตเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ที่นั่งในภาคใต้เลยแม้แต่ที่เดียว ส่วนพรรคเพื่อไทยเดิมเห็นว่า พื้นที่ภาคใต้มีฐานเสียงไม่เข้มแข็ง จึงส่งผู้สมัครลงน้อยมาก เพื่อสลับกันกับพรรคไทยรักษาชาติที่ถูกยุบไป ไม่ส่งผู้สมัคร ซึ่ง 9 จาก 10 เขตที่พรรคพลังประชารัฐได้ และ 1 เขตที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครลง คือ ภูเก็ตเขต 2 ก็เป็นเขตเดียวที่เมื่อรวมคะแนนออกมาแล้ว พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.“ ได้คะแนนรวมกันมากกว่า ที่ 35,615 คะแนน ขณะที่พรรคที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกันที่ 28,076 คะแนน

ส่วนอีก 9 เขตที่เหลือ คะแนนรวมของพรรคที่ “สนับสนุน คสช.” เยอะกว่าอย่างชัดเจน เช่น นครศรีธรรมราช เขต 1 เมื่อรวมแล้วพรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกัน 36,598 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 18,699 คะแนนมากกว่ากันเกือบเท่าตัว หรือ สงขลา เขต 4 พรรคการเมืองที่ “สนับสนุน คสช.” ได้คะแนนรวมกัน 32,870 คะแนน ขณะที่พรรคการเมืองที่ “ไม่เอา คสช.” ได้ไป 13,619 คะแนน  

 

ไม่มีระบบ MMA ไม่มี ส.ส. พลังประชารัฐ

จากวิธีคิดข้างต้นนี้ ทำให้เห็นเจตนารมณ์ของประชาชนถึงการไม่เอา คสช. อีกทั้งยังสะท้อนปัญหาของระบบการคิดคำนวณที่นั่ง ส.ส. แบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" หรือ MMA ในรัฐธรรมนูญ 2560 ที่สร้างขึ้นโดยคณะบุคคลที่แต่งตั้งโดย คสช. ซึ่งทำให้พรรคการเมืองจนาดใหญ่เสียเปรียบ และต้องเล่นเกมทางการเมืองแบบชแตกกระสานซ่านเซ็นไปเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย และตัดคะแนนกันเองบ้าง 

ชัดเจนว่า สองพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในฝั่ง "ไม่เอา คสช." คือ พรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ ตัดคะแนนกันเองในหลายเขต โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร และภาคอีสาน จนสุดท้ายเก้าอี้ ส.ส. ในเขตนั้นๆ ตกไปเป็นของพรรคพลังประชารัฐ แต่หากพิจารณาพรรคการเมืองเฉพาะเครือข่ายของพรรคเพื่อไทย ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อชาติ และพรรคประชาชาติ (พรรคไทยรักษาชาติถูกยุบไปก่อน) ซึ่งก็ลงสมัครในเขตเดียวกันเองหลายพรรค พรรคเหล่านี้ยังไม่ได้ตัดคะแนนกันเองอย่างมีนัยยะสำคัญจนส่งผลถึงการเสียเก้าอี้ ส.ส. ในพื้นที่ไป

เมื่อคะแนนของประชาชนที่มีจุดยืนร่วมกันว่า "ไม่เอา คสช." ถูกหั่นกระจายไปยังพรรคการเมืองหลายพรรค ก็ทำให้หลายพื้นที่กลายเป็นผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐได้เป็นตัวแทนของเขตนั้นๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้นๆ สนับสนุนการอยู่ในอำนาจต่อยาวๆ ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ คสช. 

อย่างไรก็ดี ด้วยระบบเลือกตั้งและการจัดสรรที่นั่ง ส.ส. แบบ MMA ที่ คสช. คิดขึ้นมาเอง หากในเขตเลือกตั้งใดใน 54 เขตนี้ พรรคการเมืองที่ "ไม่เอา คสช." ไม่ได้ตัดคะแนนกันเอง แต่รวมพลังเป็นพรรคเดียวแล้วคว้าที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขตมาได้ แม้พรรคพลังประชารัฐจะไม่ได้ที่นั่ง ส.ส. แบบแบ่งเขต แต่คะแนนที่ได้รับมาก็จะยังนำไปรวมเพื่อคิดเป็นที่นั่ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อแทน และพรรคพลังประชารัฐก็จะยังคงครองจำนวนที่นั่ง ส.ส. รวมแล้ว 115 ที่นั่ง ไม่แตกต่างจากเดิม

 

 

อ่านการคิดคำนวณด้วยระบบ MMA เพิ่ม : https://ilaw.or.th/node/5059

ข้อมูลคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองรายเขต : https://www.ect.go.th/ewt/ewt/ect_th/download/article/article_20190328165029.pdf

 

 

ไฟล์แนบ