ไอลอว์ ยื่นคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ เร่งรัด คสช. เปิดรายชื่อ สว. แต่งตั้ง

วันที่ 29 เมษายน 2562 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw) ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) ผ่านไปรษณีย์ตอบรับ เรื่องการดำเนินการล่าช้าของ คสช. และ กกต. หลังจากก่อนหน้านี้วันที่ 11 มีนาคม 2562 ไอลอว์ได้ยื่นหนังสือขอให้ คสช. และ กกต. เปิดรายชื่อ ส.ว. แต่งตั้ง แต่ทั้งสองหน่วยงานยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนใดๆ กลับมา

โดยหลังจากการยื่นเอกสาร ทางไอลอว์ได้ติดต่อไปยัง คสช. เพื่อสอบถามความคืบหน้า แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าได้ส่งเรื่องไปข้างบนแล้วและอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งจะมี “คณะกรรมการกลั่นกรอง” ทำหน้าที่พิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับเรื่อง โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะมีการประชุมย่อยทุกสัปดาห์และประชุมทุกสิ้นเดือน

พีรภัทร มีแสง เจ้าหน้าที่ไอลอว์ กล่าวว่า “ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่ คสช. ว่าเราจะติดตามเรื่องกับคณะกรรมการกลั่นกรองได้อย่างไร เจ้าหน้าที่ตอบว่า ไม่มีช่องทางติดต่อไปยังคณะกรรมการดังกล่าว ให้รอคณะกรรมการติดต่อกลับมายังผู้ร้องเอง”
ขณะที่เมื่อติดต่อไปทาง กกต. เจ้าหน้าที่ได้ตอบกลับว่า ได้ส่งหนังสือไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องแล้วให้รอหนังสือตอบกลับ ซึ่งส่วนงานที่เกี่ยวข้องคือ “งานสนับสนุนการเลือกตั้ง ประชามติ 2” ซึ่งเมื่อติดต่อไปยังส่วนงานนี้เจ้าหน้าที่ก็แจ้งว่าจะติดตามให้และให้ติดต่อมาใหม่
พีรภัทร กล่าวว่า “การติดต่อ กกต. เป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหน้าที่ได้ให้เบอร์ภายในมารวมๆ แล้วถึง 8 เลขหมาย ผมโทรติดต่อไปตามเบอร์ที่ได้รับมาหลายสายโทรไม่ติด หรือถ้าโทรติดแต่ละส่วนงานก็โยนความรับผิดชอบกันไปมา ทำให้ยังไม่ได้คำตอบว่าตอนนี้เรื่องอยู่ขั้นไหน”
“การเปิดเผยรายชื่อว่าที่ ส.ว. ถือเป็นสิทธิที่ประชาชนควรจะได้รับรู้ ได้เห็นรายชื่อก่อนที่พวกเขาจะเข้ามาทำหน้าที่ แม้จะไม่มีโอกาสเลือก ส.ว. ทั้งนี้เมื่อ คสช. และกกต. ไม่เปิดรายชื่อให้ประชาชนเห็นก่อนย่อมทำให้สังคมคิดได้ว่ามีวาระซ่อนเร้นบ้างอย่าง และคาดได้ว่า ว่าที่ ส.ว. คงเป็นพวกเดียวกับ คสช. มากกว่าจะมาจากประชาชนที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้ไอลอว์จึงร้องเรียนต่อประธาน สขร. เพื่อเร่งรัดให้ คสช. และกกต. เปิดเผยรายชื่อว่าที่ ส.ว.” พีรภัทร กล่าว
วันที่ 29 เมษายน 2562 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ (iLaw) ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) ผ่านไปรษณีย์ตอบรับ เรื่องการดำเนินการล่าช้าของ คสช. และ กกต. หลังจากก่อนหน้านี้วันที่ 11 มีนาคม 2562 ไอลอว์ได้ยื่นหนังสือขอให้ คสช. และ กกต. เปิดรายชื่อ ส.ว. แต่งตั้ง แต่ทั้งสองหน่วยงานยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนใดๆ กลับมา
โดยหลังจากการยื่นเอกสาร ทางไอลอว์ได้ติดต่อไปยัง คสช. เพื่อสอบถามความคืบหน้า แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าได้ส่งเรื่องไปข้างบนแล้วและอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งจะมี “คณะกรรมการกลั่นกรอง” ทำหน้าที่พิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับเรื่อง โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะมีการประชุมย่อยทุกสัปดาห์และประชุมทุกสิ้นเดือน
พีรภัทร มีแสง เจ้าหน้าที่ไอลอว์ กล่าวว่า “ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่ คสช. ว่าเราจะติดตามเรื่องกับคณะกรรมการกลั่นกรองได้อย่างไร เจ้าหน้าที่ตอบว่า ไม่มีช่องทางติดต่อไปยังคณะกรรมการดังกล่าว ให้รอคณะกรรมการติดต่อกลับมายังผู้ร้องเอง”
ขณะที่เมื่อติดต่อไปทาง กกต. เจ้าหน้าที่ได้ตอบกลับว่า ได้ส่งหนังสือไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องแล้วให้รอหนังสือตอบกลับ ซึ่งส่วนงานที่เกี่ยวข้องคือ “งานสนับสนุนการเลือกตั้ง ประชามติ 2” ซึ่งเมื่อติดต่อไปยังส่วนงานนี้เจ้าหน้าที่ก็แจ้งว่าจะติดตามให้และให้ติดต่อมาใหม่
พีรภัทร กล่าวว่า “การติดต่อ กกต. เป็นไปด้วยความยากลำบาก เจ้าหน้าที่ได้ให้เบอร์ภายในมารวมๆ แล้วถึง 8 เลขหมาย ผมโทรติดต่อไปตามเบอร์ที่ได้รับมาหลายสายโทรไม่ติด หรือถ้าโทรติดแต่ละส่วนงานก็โยนความรับผิดชอบกันไปมา ทำให้ยังไม่ได้คำตอบว่าตอนนี้เรื่องอยู่ขั้นไหน”
“การเปิดเผยรายชื่อว่าที่ ส.ว. ถือเป็นสิทธิที่ประชาชนควรจะได้รับรู้ ได้เห็นรายชื่อก่อนที่พวกเขาจะเข้ามาทำหน้าที่ แม้จะไม่มีโอกาสเลือก ส.ว. ทั้งนี้เมื่อ คสช. และกกต. ไม่เปิดรายชื่อให้ประชาชนเห็นก่อนย่อมทำให้สังคมคิดได้ว่ามีวาระซ่อนเร้นบ้างอย่าง และคาดได้ว่า ว่าที่ ส.ว. คงเป็นพวกเดียวกับ คสช. มากกว่าจะมาจากประชาชนที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้ไอลอว์จึงร้องเรียนต่อประธาน สขร. เพื่อเร่งรัดให้ คสช. และกกต. เปิดเผยรายชื่อว่าที่ ส.ว.” พีรภัทร กล่าว
You May Also Like
อ่าน

ข้าราชการลาออกชั่วคราวเพื่อลงสมัคร สว. 67 ได้

กฎหมายหลายฉบับได้เปิดช่องให้ข้าราชการปัจจุบันสามารถลาออกเพื่อสมัครเป็น สว. ได้โดยมีผลทันทีนับแต่วันที่ยื่นลาออก และหากไม่ได้รับการเลือกเป็น สว. ก็ยังมีทางเลือกสามารถกลับไปรับราชการได้ตามเดิมเช่นกัน
อ่าน

5 คูหา เปลี่ยนประเทศไทย: ปฏิทินแห่งความหวังสู่รัฐธรรมนูญใหม่

17 มีนาคม 2567 านเสวนา “5 คูหา เปลี่ยนประเทศไทย: ปฏิทินแห่งความหวังสู่รัฐธรรมนูญใหม่” ชวนมองไปข้างหน้า เดินหน้าเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีกระบวนการอย่างไร ประชาชนจะทำอะไรได้บ้าง รวมถึงการเลือก สว. ชุดใหม่