เลือกตั้ง 62: สูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส. เปลี่ยนผลการเลือกตั้งอย่างไรบ้าง?

ในวันพรุ่งนี้ (24 เมษายน 2562) ที่ประชุมใหญ่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าจะรับพิจารณาเรื่อง 'วิธีการคำนวณที่นั่ง ส.ส.' ตามที่ กกต. ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 หรือไม่ ซึ่งความสำคัญของการวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว จะเป็นการหาข้อยุติเกี่ยวกับที่นั่ง ส.ส. ในสภา
ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวไว้วินิจฉัย ผลของการวินิจฉัยจะออกมาได้อย่างน้อย 2 ทาง คือ 
1) การดำเนินการคำนวณสูตรที่นั่ง ส.ส. ตามสูตร กรธ. ที่ทำให้มีพรรคการเมืองเมือง 27 พรรค อยู่ในสภา ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
2) การดำเนินการคำนวณสูตรที่นั่ง ส.ส. ตามสูตร กรธ. ที่ทำให้มีพรรคการเมืองเมือง 27 พรรค อยู่ในสภา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่ง กกต. มีหน้าที่ต้องดำเนินการหาวิธีการคำนวณที่นั่ง ส.ส. เสียใหม่
อย่างไรก็ดี ปฏิเสธไม่ได้ว่า จากสูตรเรื่องตั้งเท่าที่มีการพูดถึงในสังคม ล้วนแล้วแต่ทำให้ผลที่นั่งของ ส.ส. ในแต่ละพรรคแตกต่างกันไป และทำให้ทิศทางและกระแสการเมืองเปลี่ยนทิศทาง
โดยในครั้งนี้จะเลือกเปรียบเทียบ 2 สูตร ระหว่าง สูตรของ กรธ. (สูตร 27 พรรค-ช่องสีเหลือง) และ สูตรที่ทั้งบรรดานักวิชาการ อดีต กกต. หลายคน ออกมายืนยันว่าเป็นสูตรที่ถูกต้องกว่า (สูตร 16 พรรค-ช่องสีเขียวมิ้นท์) จะได้ข้อเท็จจริงดังนี้
(1) พรรคการเมืองที่อยู่ในสภาจะแตกต่างกัน โดย สูตรของ กรธ. จะทำให้มี 27 พรรคในสภา ในขณะที่สูตรที่ตีความโดยยึดรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4) แะล พ.ร.ป.การเลือกตั้งฯ มาตรา 128 (5) มาบังคับใช้โดยเคร่งครัดจะพบว่า มีพรรคการเมืองในสภาแค่ 16 พรรค
(2) หากเรานำสูตรของ กรธ. (สูตร 27 พรรค-ช่องสีเหลือง) มาคำนวณที่นั่งให้กับแต่ละพรรคที่ถูกแบ่งไปตามจุดยืนทางการเมืองที่มีต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งพอจำแนกได้อย่างน้อย 3 อย่าง ได้แก่ ฝ่ายที่สนับสนุน คสช., ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช. และ ฝ่ายที่ยังมีจุดยืนไม่ชัดเจน จะพบว่า 
– ฝ่ายที่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 125 ที่นั่ง
– ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 247 ที่นั่ง
– ฝ่ายที่ยังมีจุดยืนไม่ชัดเจน มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 127 ที่นั่ง
(3) ในขณะเดียวกัน หากเรานำอีกสูตรมาใช้ (สูตร 16 พรรค-ช่องสีเขียวมิ้นท์) คำนวณที่นั่งให้กับแต่ละพรรคที่ถูกแบ่งไปตามจุดยืนทางการเมือง จะพบว่า 
– ฝ่ายที่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 123 ที่นั่ง
– ฝ่ายที่ไม่สนับสนุน คสช. มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 253 ที่นั่ง
– ฝ่ายที่ยังมีจุดยืนไม่ชัดเจน มีจำนวน ส.ส. รวมกันได้ 124 ที่นั่ง
(4) ความแตกต่างของจำนวนที่นั่ง ส.ส. ระหว่างสองสูตรคือ สูตร กรธ. (ช่องสีเหลือง) ทำให้ พรรคที่สนับสนุน คสช. เพิ่มขึ้น 2 ที่นั่ง และทำให้พรรคที่จุดยืนไม่ชัดเจน เพิ่มขึ้น 3 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคที่ไม่สนับสนุนคสช. มีที่นั่งลดลง 6 ที่นั่ง เมื่อเปรียบเทียบกับอีกสูตรหนึ่ง
(5) ผลของสูตรคำนวณที่นั่งตามแบบ กรธ. จะทำให้พรรคที่ไม่สนับสนุน คสช. มีคะแนนเสียงไม่เพียงพอต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในกรณีที่พรรคที่สนับสนุน คสช. เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงการเห็นชอบหรือยกเลิกกฎหมายที่สำคัญ
You May Also Like
อ่าน

พร้อมสมัคร เพื่อ โหวต สว. 2567 แล้ว! ต้องเตรียมตัวยังไง ทำอะไรบ้าง?

สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้าม และมีความสนใจสมัคร สว. หากอยากรู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง มาดูเลย
อ่าน

ดูการเลือก สว. ชุดใหม่! กระทรวงมหาดไทยดูแลเลือกระดับอำเภอ-จังหวัด

สมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันทั้ง 250 คนกำลังจะหมดวาระลงในเดือนพฤษภาคมปี 2567 พร้อมอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 อย่างไรก็ตาม สว. ชุดใหม่ทั้ง 200 คนที่จะมาจากระบบ “เลือกกันเอง” ยังมีอำนาจอื่นๆ ครบ เช่น ให้ความเห็นชอบต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเห็นชอบหรือให้คำแนะเพื่อแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ตรวจสอบฝ่ายบริหาร…