เลือกตั้ง 62: โหวตโน อีกหนึ่งทางเลือก เมื่อไม่มีผู้สมัครที่อยากจะเลือก

การเลือกตั้ง 2562 ครั้งนี้ ยังมีอีกหนึ่งตัวเลือก คือ “โหวตโน” หรือ การกากบาทช่อง “ไม่เลือกผู้สมัครใด” เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ สำหรับคนที่ไม่ถูกใจผู้สมัครคนใดในเขตเลือกตั้งของตัวเองเลย  

การโหวตโนถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นพูดถึงในสังคม จากกรณีที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนในจังหวัดแพร่กาช่องโหวตโน เนื่องจากผู้สมัคร .ที่เป็นที่นิยม ไม่สามารถลงแข่งขันได้จากการที่พรรคไทยรักษาชาติถูกสั่งยุบพรรค ประชาชนที่ไม่รู้ว่า จะไปกากบาทให้ใครแล้วจึงชักชวนกันเพื่อไปโหวตโนซึ่งก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการแสดงเจตนารมย์ของประชาชน มาดูเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการโหวตโนกัน

โหวตโนมีความหมาย หากไม่มีผู้สมัคร .ที่ถูกใจในเขตเลือกตั้งนั้น 

การโหวตโนจะมีความหมาย หากประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้น ส่วนใหญ่ไม่พอใจผู้สมัครคนใดเลย และไปกาโหวตโน ถึงขั้นมีคนที่โหวตโนมากกว่าคะแนนของผู้สมัครที่มีคนโหวตสนับสนุนมากที่สุด ถือว่า ประชาชนในเขตนั้นส่วนใหญ่ยังไม่พอใจผู้สมัครที่มีอยู่ จึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในเขตนั้น และเปิดรับผู้สมัครกันใหม่

ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 92 ระบุว่า “เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่และมิให้นับคะแนนที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนได้รับไปใช้ในการคํานวณตามมาตรา 91 ในกรณีเช่นนี้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดําเนินการให้มีการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งเดิมทุกรายไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่นั้น

หมายความว่า หากเขตเลือกตั้งที่มีผู้ลงคะแนนโหวตโน มากกว่าคะแนนของผู้สมัคร .ที่ได้คะแนนสูงสุดในเขตนั้น จะต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ และไม่ให้นับคะแนนในเขตนั้นเข้าไปรวมในแบบบัญชีรายชื่อด้วย โดยผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเดิมในเขตนั้นทุกคนที่แพ้โหวตโน ไม่มีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งซ้ำอีก

ทั้งนี้ต้องย้ำว่า คะแนนจากช่องโหวตโนจะมีความหมายเปลี่ยนผลการเลือกตั้งได้ ต้องมีจำนวนมากจนสามารถเอาชนะผู้สมัครคนอื่นในเขตเลือกตั้งนั้นได้เท่านั้น 

โหวตโนไม่มีความหมาย หากไม่ต้องการให้ คสชสืบทอดอำนาจ

สำหรับกรณีที่เป็นมีคนเพียงส่วนน้อยตัดสินใจไปโหวตโนด้วยตัวเอง และมีจำนวนที่ไม่มากพอถึงขั้นจะมากกว่าผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด การไปโหวตโนในกรณีแบบนี้อาจไม่มีความหมาย ไม่ส่งผลอะไรต่อการเลือกตั้ง 

เนื่องจาก การเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำคัญที่ คสชต้องการสืบทอดอำนาจในนามของพรรคพลังประชารัฐและอยู่ต่อหลังการเลือกตั้งให้ได้ และดูเหมือนว่าการเตรียมความพร้อมมาอย่างดี ด้วยการเขียนกติกาต่างๆ เอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง ดังนั้น หากไม่ต้องการให้ คสชสืบทอดอำนาจผ่านการเลือกตั้งสำเร็จ ก็จะต้องไปลงคะแนนให้พรรคการเมืองที่มีจุดยืนไม่เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ และไม่สนับสนุนให้ พล..ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ แม้ว่าอาจจะไม่ถูกใจผู้สมัคร .ในเขตนั้นเลย แต่ด้วยระบบการเลือกตั้งที่มี “บัตรเลือกตั้ง” ใบเดียว ทำให้จำเป็นต้องลงคะแนนให้กับผู้สมัคร .คนนั้น เพื่อให้พรรคการเมืองที่เรามั่นใจว่าจะไม่สนับสนุน คสชมีที่นั่งรวมกันได้เกินครึ่งหนึ่งของสภา 

หากไม่อยากให้ คสชอยู่ต่อ โหวตโนจึงไม่มีความหมาย

รณรงค์ให้โหวตโนทำได้ ไม่มีกฎหมายห้าม

ช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งทุกพรรคการเมืองต่างต้องหาเสียง หรือการทำกิจกรรมรณรงค์เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจเลือกตัวเอง ในทางตรงกันข้าม หากใครเห็นว่า ในเขตเลือกตั้งนั้นๆ ไม่มีผู้สมัครที่่ควรค่าแก่การเลือกเลย ก็สามารถรณรงค์ชักชวนให้คนอื่นไปร่วมกันโหวตโน เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ขึ้นได้ เช่นเดียวกับการหาเสียงของทุกพรรคการเมือง

หากใครต้องการรณรงค์ให้โหวตโน ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดเดียวกับการรณรงค์หาเสียงของทุกพรรคการเมือง คือ ห้ามให้ทรัพย์สิน หรืเสนอจะให้เพื่อแลกกับการโหวตโน ห้ามหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ให้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ จูงใจให้เข้าใจผิด ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง มาตรา 73 

นอกจากการกระทำที่ถูกห้ามตามกฎหมายเหล่านี้แล้ว ก็ต้องถือว่า ประชาชนมีสิทธิทำได้ทุกอย่าง ดังนั้น เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม การรณรงค์ให้คนไปโหวตโน ก็เป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ทุกคนสามารถทำได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี การไปโหวตโน คือ “สิทธิ” ของประชาชน ที่สามารถทำได้ ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่ว่าเจตนารมณ์เป็นแบบไหน หากไม่มีตัวเลือก และไม่ถูกใจตัวเลือกที่มีอยู่จริงๆ ก็สามารถไปกาช่องโหวตโนได้ แต่หากมีเจตนารมณ์ที่ไม่ต้องการให้ คสชสืบทอดอำนาจสำเร็จ การโหวตโน ก็อาจไม่มีความหมาย เพราะไม่ได้มีผลในการนำไปคิดคะแนน ไม่สามารถนำไปเป็นคะแนนให้กับพรรคที่มีจุดยืนไม่เอา คสชได้