เลือกตั้ง 62: 3 เหตุการณ์ที่ กกต. ควรชงเรื่องลงโทษพรรคพลังประชารัฐถูกยุบได้แล้ว

 

13 กุมภาพันธ์ 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ในกรณีเข้าข่ายผิดพ...ว่าด้วยพรรคการเมือง (กฎหมายพรรคการเมือง) มาตรา 92 (2) ฐานกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากกรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ เป็นนายกรัฐมนตรี

 

การยุบพรรคการเมืองถูกกำหนดให้เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 92 ของ ...ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองจะถูกเสนอให้ยุบได้ก็ต่อเมื่อ กกต. มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ากระทำความผิด โดย กกต. มีหน้าที่ชงเรื่องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้สั่งยุบพรรคการเมืองนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคดีไว้พิจารณา และดำเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองกระทำผิดจริง ให้สั่งยุบพรรคการเมือง และสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น 

 

เงื่อนไขที่จะนำมาซึ่งการยุบพรรคได้ อย่างเช่น การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือ ให้บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการควบคุม ครอบงำ หรือ ชี้นำกิจกรรมของพรรคในลักษณะที่ทำให้พรรคหรือสมาชิกของพรรคขาดความอิสระ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เป็นต้น 

 

นอกจากกรณีของพรรคไทยรักษาชาติแล้ว ที่ผ่านมา กกตยังถูกร้องให้ตรวจสอบกรณีของพรรคพลังประชารัฐหลายครั้ง ทว่า กกต. ยังคงนิ่งเฉยไม่ได้เร่งดำเนินการ และยังไม่มีการสรุปเรื่องเพื่อยื่นต่อศาล ไอลอว์ชวนพิจารณา 3 เรื่อง ที่พรรคพลังประชารัฐเข้าข่ายถูกพิจารณาลงโทษได้บ้าง มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

 

 

 

 

หนึ่ง โต๊ะจีนหรู เงินบริจาคอื้อ ชื่อหน่วยงานรัฐปรากฏ

 

ตามมาตรา 76 ...ว่าด้วยพรรคการเมือง กำหนดว่า ห้ามไม่ให้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมือง หรือเข้าร่วมกิจกรรมระดมทุนของพรรค และมาตรา 66 กำหนดว่า บุคคลจะบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่พรรคการเมืองเกิน 10 ล้านบาทต่อปีไม่ได้ และกรณีนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท

 

จากกรณีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 พรรคพลังประชารัฐ จัดงานระดมทุนโต๊ะจีน 200 โต๊ะ โต๊ะละ 3 ล้านบาท ที่อิมแพคเมืองทองธานี โดยมี อุตตม สาวนายนสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์กอบศักดิ์ ภูตระกูล และ สุวิทย์ เมษินทรีย์ 4 รัฐมนตรีในรัฐบาล พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาร่วมในฐานะแกนนำพรรคพลังประชารัฐ มี ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดงาน รวมถึง นักการเมืองระดับชาติ และนักธุรกิจเข้าร่วมอย่างคับคั่ง สำนักข่าวอิศรา สอบถามไปยัง ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ถึงยอดเงินระดมทุนจากการจัดโต๊ะจีน ณัฏฐพล ระบุว่า ใกล้เคียง 650 ล้านบาท

 

สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบพบว่า ในงานระดมทุนโต๊ะจีนของพรรคพลังประชารัฐที่ผ่านมา พบทั้งชื่อย่อของหน่วยงานรัฐเป็นเจ้าของโต๊ะจีน เช่น "ททท" 3 โต๊ะ มูลค่ารวม 9 ล้านบาท, "คลัง" 20 โต๊ะ มูลค่ารวม 60 ล้านบาท, "กทม" 10 โต๊ะ มูลค่ารวม 30 ล้านบาท 

 

ประเด็นที่ กกตจะต้องไต่สวนข้อเท็จจริง คือ เป็นโต๊ะของหน่วยงานรัฐจริงหรือไม่ มาในฐานะอะไร นำเงินจากไหนมาจ่ายเงินระดมทุนให้พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งหากตัวย่อดังกล่าวเป็นหน่วยงานของรัฐจริง ก็เท่ากับว่า มีการบริจาคเงินให้กับพรรคพลังประชารัฐโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นความผิดที่จะทำผู้กระทำต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 128 

 

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีกลุ่มทุน ต่างๆ อาทิ กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ ที่ได้รับสัมปทานรัฐ และเป็นคู่สัญญากับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอทไม่ว่าจะเป็น เครือคิงเพาเวอร์ ผู้บริจาครายใหญ่ ใช้บริษัทในเครือรวม 3 แห่งบริจาคยอดรวม 24 ล้านบาทบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานจากภาครัฐเพื่อปลูกพืชผลิตน้ำตาลหลายพื้นที่ บริจาคเงินระดมทุนโต๊ะจีนให้พรรคพลังประชารัฐรวม 9 ล้านบาทบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เครือทีพีไอโพลีน บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชนได้รับสัมปทานและเป็นคู่สัญญากับกระทรวงพลังงานมาอย่างยาวนาน ร่วมบริจาคเงินรวม 6 ล้านบาท เป็นต้น และบริษัทต่างๆ ที่ซื้อโต๊ะจีนของพรรคพลังประชารัฐ เป็นบริษัทคู่สัญญาของรัฐในยุค คสชซึ่งแต่ละบริษัทมียอดบริจาคสำหรับนิติบุคคลเกิน 5 ล้านบาท ตามที่กฎหมายกำหนด

 

นอกจากนี้ กฎหมายพรรคการเมืองมาตรา 74 ยังกำหนดว่า ห้ามพรรคการเมืองรับบริจาคเงินจากบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจอยู่นอกราชอาณาจักร หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยแต่มีผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 49 เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย 

 

ซึ่งปรากฏว่า ในรายชื่อผู้บริจาคซื้อโต๊ะจีน มีบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัท ซัยโจ เดนกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมด้วย จึงเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่ต้องเร่งตรวจสอบว่าบริษัทเหล่านี้เข้าข่ายเป็นผู้บริจาคที่ขัดมาตรา 74 หรือไม่ หากพบว่า เป็นผู้บริจาคที่ต้องห้าม ก็เป็นหน้าที่ของ กกต. ที่ต้องชงเรื่องเสนอศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคพลังประชารัฐต่อไป

 

ทั้งยังน่าตั้งข้อสังเกตว่า คสช. ได้ปล็ดล็อคพรรคการเมืองไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ในขณะที่งานเลี้ยงโต๊ะจีนถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ซึ่งมีเวลาห่างกันเพียง 8 วัน เท่านั้น ก็สามารถจัดงานใหญ่ได้ ทั้งวงดนตรี การแสดง สถานที่ และโต๊ะจีน ย้ำว่าทั้งหมดใช้เวลาเพียง 8 วัน

 

อย่างไรก็ดี 21 ธันวาคม 2561 ศรีสุวรรณ จรรยา ประธานสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เข้ายื่นคำร้อง ต่อ กกต.  ในกรณีการจัดงานโต๊ะจีน ของพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 19 .. 2561 ที่ผ่านมา ขัดต่อกฏหมายหรือไม่ โดยจนถึงวันนี้ นับเป็นเวลา เกือบ 2 เดือน (56 วัน) ยังไม่มีบทสรุปออกมาแต่อย่างใด

 

 

 

 

สอง คนนอกครอบงำพรรค

 

ตามกฎหมายพรรคการเมือง มาตรา 28 ระบุไว้ว่า ห้ามไม่ให้พรรคการเมืองยินยอม หรือกระทำการใดอันทำให้บุคคลอื่น ซึ่งมิใช่สมาชิกกระทำการอันเป็นการควบคุมครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมือง ในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมือง หรือสมาชิกขาดความเป็นอิสระ และมาตรา 29 ระบุว่า ห้ามบุคคลซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการใดอันเป็นการควบคุมครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมพรรคการเมือง ในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

 

มกราคม 2562 สุชาติ ตันเจริญ กรรมการสรรหาผู้สมัคร ..พรรคพลังประชารัฐ เผยว่า หลังจากหารือกับทีมงานร่างนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ได้คิดจะร่างนโยบาย เปลี่ยน ...4-01 กว่า 30 ล้านไร่ ให้เป็นที่ดินทองคำ เพื่อเสนอให้แก่คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ รวมไปถึงการผลักดันให้เห็นผลตั้งแต่ในช่วงรัฐบาลชุดนี้ 

 

ทว่าเมื่อมีการประกาศนโยบายพรรคออกไปเช่นนี้ ร้อนไปถึงหูของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ และไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคด้วย 15 มกราคม 2562 พล..ประยุทธ์ ได้สั่งให้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ไประงับไอเดียของแกนนำพรรคพลังประชารัฐที่นำประเด็นที่ดินส... 4-01 ไปหาเสียง เพราะขัดต่อเจตนารมณ์การใช้ที่ดินของรัฐที่ต้องการกันไว้เพื่อเกษตรกรรมและผู้ยากไร้ว่า กฎหมายไม่เปิดช่องให้แก้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ...4-01 หลังจากนั้นพรรคพลังประชารัฐก็มีท่าทีเปลี่ยนไป

 

กรณีที่พรรคพลังประชารัฐยอมถอยเพราะพล..ประยุทธ์ อาจเข้าข่ายยินยอมให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคเข้ามาครอบงำกิจกรรมของพรรค ซึ่งแม้พลังประชารัฐมีแนวคิดอยู่แล้วว่าจะเสนอ พล..ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ขณะนั้นก็ยังถือว่า เป็นบุคคลภายนอกที่เข้ามาครอบงำกิจกรรมของพรรค และเป็นมูลเหตุที่จะนำไปสู่การพิจารณายุบพรรคได้

 

 

 

 

สาม บังคับสมัครสมาชิกพรรคแลกบัตรคนจน

 

ตาม กฎหมายพรรคการเมือง มาตรา 30 ระบุห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ใดให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมเพื่อจูงใจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด สมัครเข้าเป็นสมาชิก ทั้งนี้ เว้นแต่สิทธิหรือประโยชน์ซึ่งบุคคลจะพึงได้รับในฐานะที่เป็นสมาชิก และมาตรา 31 ระบุห้ามมิให้ผู้ใดเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด จากพรรคการเมืองหรือจากผู้ใดเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งมีโทษ คือ ตัดสิทธิทางการเมืองของผู้สมัคร 5 ปี และหากพบว่า พรรคการเมืองต้นสังกัดไม่ยับยั้งหรือจัดการใดๆ จะนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองได้ 

 

23 ธันวาคม 2562 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ได้โพสต์คลิปแฉว่า ประชาชนที่มาลงทะเบียนเพื่อรับบัตรสวัสดิการรัฐรอบเก็บตก ในพื้นที่ .สามัคคี .เลิงนกทา .ยโสธร ถูกบังคับให้ลงชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ

 

โดยคลิปดังกล่าวระบุข้อความประกอบว่า “มีการเก็บตกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แล้วมีพิกิต ศรีชนะ ผู้แทนสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ มาด้วย แถมยังมีการโฆษณาชวนให้มาลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐพร้อมสนับสนุนพรรค ถ้าใครไม่ลงทะเบียนพรรค จะไม่ได้ใบสวัสดิการแห่งรัฐ ส่วนคนที่ลงสนับสนุนพรรคจะได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับเงิน 100 บาท คนที่ลงทะเบียนพรรคต้องมีการแปะโป้ง ใส่รูป+สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้านอีกด้วย แบบนี้คือการโกงเลือกตั้งแบบอ้อมๆหรือไม่ ???”

 

ซึ่งเมื่อคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็กลายเป็นกระแส และถูกแชร์ต่อไป โดยฝั่งของพรรคพลังประชารัฐได้ออกมาปฏิเสธ และเรื่องก็เงียบไปอีกเช่นเคย

 

เมื่อสำนักข่าวเข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ ประชาชนที่จังหวัดยโสธรยืนยันว่า ถูกเจ้าหน้าที่ของว่าที่ผู้สมัคร ..พรรคการเมืองพรรคหนึ่งบังคับให้สมัครเป็นสมาชิกพรรคก่อน จึงจะทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ พร้อมกับจะให้เงินอีก 100 บาท เพื่อเป็นค่าจ้างในการเดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรค 

 

หากเรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องจริง ก็เท่ากับว่า พรรคพลังประชารัฐได้ให้ประโยชน์เพื่อชักจูงให้คนมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เป็นมูลเหตุที่จะทำให้พรรคพลังประชารัฐถูกยุบได้ 

 

ทั้งหมดนี้ สามารถเป็นมูลเหตุที่ กตตผู้ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ต้องนำมาตรวจสอบ เพื่อพิสูจน์ว่า พรรคพลังปราชารัฐมีความผิดจริง หรือไม่ เพราะการกระทำเหล่านี้ ถือเป็นการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ลงเล่นอยู่ในสนามเดียวกัน หากแต่ที่ผ่านมา กกตยังคงมีท่าทีนิ่งเฉย และไม่มีความคืบหน้าใดๆ นับจนถึงวันที่ยื่นเรื่องให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ กกตเมินเฉยต่อประเด็นเรื่องโต๊ะจีนพรรคพลังประขารัฐผ่านมาถึงกว่า 50 วัน หลังจากมีผู้ร้องเรียน แต่ในกรณีของพรรคไทยรักษาชาติ ใช้เวลาเพียง 5 วันก็สามารถดำเนินการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคได้แล้ว