เปิดรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรคการเมือง

การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีในบัญชีพรรคการเมืองต่างๆ ที่จะต้องยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันรับสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ระหว่างวันที่ 4-8 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีหลายพรรคการเมืองได้เปิดเผยชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ไปก่อนหน้านี้แล้ว กระทั่ง 8 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการส่งรายชื่อผู้สมัคร ทำให้เราได้เห็นแคนดิเดตของแต่ละพรรคแล้ว ซึ่งในที่สุด พรรคพลังประชารัฐ ก็เสนอชื่อ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว 

 

ส่วนพรรคเพื่อไทย เสนอครบ 3 รายชื่อ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์เลือกตั้งพรรคเพื่อไทย ชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ชัยเกษม นิติศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามลำดับ

 

และหลังจากที่รอลุ้นกันมาหลายคืนว่าพรรคไทยรักษาชาติ จะส่งใคร สุดท้ายเป็นไปตามข่าวลือ คือ “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

 

 

 

 

ด้าน พรรคประชาชาติ เสนอ 3 รายชื่อ คือ วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคอดีตประธานรัฐสภาอดีตรองนายกรัฐมนตรีอดีตรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ...ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรค และ ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม รองหัวหน้าพรรค ตามลำดับ 

 

พรรคอนาคตใหม่ เสนอชื่อ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 

 

พรรคเสรีรวมไทย เสนอชื่อ พล...เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อันดับ 2 – 3 *รอประกาศ

 

พรรคประชาธิปัตย์ เสนอแค่คนเดียว คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

พรรคภูมิใจไทย เสนอชื่อ  อนุทิน ชาญวีรกูล 

พรรคชาติไทยพัฒนา เสนอชื่อ กัญจนา ศิลปอาชา

พรรคชาติพัฒนา เสนอชื่อ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล และ เทวัญ ลิปตพัลลภ ตามลำดับ

 

ขั้นตอนต่อจากนี้ กกตจะประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ก็คือ การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งผลการเลือกตั้งของประชาชนจะมีผลต่อการเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา รัฐธรรมนูญกำหนดให้ “นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากการเลือกตั้ง” หรือ ต้องเป็น .และการเกิดขึ้นของ .แบบบัญชีรายชื่อ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนเลือกพรรคการเมืองที่ชอบทำให้เป็นธรรมเนียมว่า ผู้สมัคร .บัญชีรายชื่อลำดับที่หนึ่งของพรรคการเมืองคือ "ว่าที่นายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองนั้น ซึ่งจะเห็นว่า หลังการเลือกตั้ง .บัญชีรายชื่อลำดับที่หนึ่งของพรรคที่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งจะเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ ทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย สมัคร สุนทรเวช พรรคพลังประชาชน และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย

 

ทว่าตาม รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดใหม่ให้แต่ละพรรคเสนอชื่อว่าที่นายกฯ แยกออกมาอีกบัญชีหนึ่ง และที่สำคัญผู้ที่จะถูกเสนอเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี ของพรรคการเมืองนั้นไม่จำเป็นต้องลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น .ด้วย หรือไม่ต้องผ่านสนามเลือกตั้ง ส่งผลให้ข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญที่ห้ามบรรดาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในรัฐบาล คสชหรือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงสมัครรับเลือกตั้ง .ยังสามารถใช้ช่องทางนี้เพื่อกลับมาเป็นนายกฯ ได้ เข้าทางรัฐบาล คสชที่ต้องการสืบทอดอำนาจต่อผ่านพรรคพลังประชารัฐ ดังนั้น จึงเห็นรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรี ของพรรคนี้ คือ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

อย่างไรก็ดี บัญชีว่าที่นายกฯ จะใช้ได้พรรคนั้นต้องมี .. 25 คนขึ้นไป รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 159 กำหนดว่า .ต้องพิจารณาเห็นชอบบุคคลที่สมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จากบัญชีรายชื่อนายกฯ ที่พรรคการเมืองเสนอ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าบุคคลที่อยู่ในบัญชีว่าที่นายกฯ ของทุกพรรคการเมืองจะมีสิทธิได้รับการเลือกเป็นนายกฯ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็น .ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คือ จำนวน .ทั้งหมด 500 คน พรรคการเมืองนั้นต้องมี .อย่างน้อย 25 คน จึงจะเสนอชื่อนายกฯ ในบัญชีของตัวเองได้ นอกจากนี้ การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ต้องมี .รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หรือ ต้องมี .อย่างน้อย 50 คน เป็นผู้รับรอง

 

อ่านเรื่อง บัญชีว่าที่นายกฯ สามรายชื่อ คืออะไร ได้ที่ : https://ilaw.or.th/node/5131