เลือกตั้ง 62: สำรวจจุดยืน พรรคไหนไม่เอา คสช.

การเลือกตั้งที่จะถึงในครั้งนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สร้างกติกาที่ทำให้ตนเองกลับเข้ามาสู่อำนาจได้อีกครั้ง อย่างเช่น การเลือกสมาชิกวุฒิสภา (..) 250 คนเองการลงมาเป็นผู้เล่นผ่านพรรคพลังประชารัฐที่มีผู้ร่วมก่อตั้งมาจากคนในรัฐบาล คสชซึ่งประกาศสนับสนุน พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี, การเปิดช่องให้รัฐสภาสามารถเลือกนายกฯ คนนอกได้ รวมถึงการออกแบบระบบเลือกตั้งให้ยากที่จะพรรคการเมืองใดได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา

ตามรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดว่า การเลือกตั้งนายกฯ ต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภา คือ 376 เสียง จาก 750 คน  ซึ่งหนทางที่พรรคการเมืองจะสามารถชนะการสืบทอดอำนาจของ คสชได้ ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ทั้งจากแบบเขตเลือกตั้ง และบัญชีรายชื่อ ที่มีจุดยืนไม่เข้าร่วมกับ คสชเข้าไปนั่งในสภาให้ได้มากกว่ากึ่งหนึ่งของสภา ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่พรรคเดียวจะทำได้ ในขณะที่ฝั่ง คสชมี .อยู่แล้วในมือ 250 คน เท่ากับว่า ต้องการคะแนนเสียงจาก .อีกเพียง 126 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว

ดังนั้น หากจะขัดขวางไม่ให้ คสช. สืบทอดอำนาจได้อย่างสะดวก พรรคการเมืองที่ไม่สนับสนุน คสช. อาจต้องผนึกกำลังจากพรรคการเมืองที่เห็นตรงกันว่าไม่เอา คสชร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน ซึ่งก่อนการเลือกตั้งมีตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ ออกมาแสดงถึงจุดยืนของพรรคบ้างแล้ว ไอลอว์ชวนสำรวจว่า มีพรรคการเมืองไหนบ้างที่มีจุดยืนไม่เอา คสช.  

กลุ่มแรก คือ กลุ่มพรรคเพื่อไทย และเครือข่าย ที่มีทั้ง แกนนำ และ ส.จากพรรคเพื่อไทย กระจายไปอยู่ตามพรรคต่างๆ อย่าง พรรคไทยรักษาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคประชาชาติ ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นยุทธศาสตร์แยกกันเดิน ร่วมกันตี

1. พรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทย (ตัวย่อ พท.) คือพรรครัฐบาลล่าสุดก่อนถูก คสช. ยึดอำนาจในปี 2557 จุดยืนของพรรคชัดเจนว่าตรงข้ามกับ คสช. ทั้งนี้หากดูจากแกนนำพรรค อดีต ส.และคณะทำงาน พรรคเพื่อไทยถือว่าเป็นพรรคที่สืบทอดเจตนารมย์มาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนที่ต้องถูกยุบพรรคไปจากความขัดแย้งทางการเมืองในทศวรรษที่ผ่านมา และยังมีอดีตนายกฯ ที่ถูกรัฐประหารสองคนที่ยังคงมีอิทธิพลกับพรรคคือ ทักษิณ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

การเลือกตั้งในปี 2562 พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด หากนำผลคะแนนการเลือกตั้งในปี 2554 ที่พรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้ง นำมาคิดด้วยระบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ Mixed Member Apportionment System (MMA) พรรคเพื่อไทย จะได้ ส.. แบบบัญชีรายชื่อลดลงจากเดิมได้ 61 คน จะเหลือเพียง 18 คน ซึ่งการเลือกตั้งที่จะถึงก็คาดการณ์ว่าพรรคเพื่อไทยอาจจะได้ ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวนไม่มากนัก หรือ อาจจะไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว หากได้ ส.. เขตจำนวนมาก

ทั้งนี้ในการจัดตั้งรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เสียงถึง 376 เสียงในสภา ซึ่งต่อให้พรรคเพื่อไทยจะสามารถเอาชนะทุกเขตเลือกตั้งจำนวน 350 เขต ก็ยังไม่ได้เสียงในสภาที่มากพอจะเลือกนายกฯ ของพรรคเพื่อจัดตั้งรัฐบาล เพราะยังต้องการ ส.. อีก 26 เสียงจากพรรคการเมืองอื่นมาร่วมด้วย

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2561 พรรคเพื่อไทย มีการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2561 พร้อมทั้งลงคะแนนเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยได้หัวหน้าพรรคคือ พล...วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรค เช่น กิตติรัตน์ ณ ระนอง และปลอดประสพ สุรัสวดี และมีเลขาธิการพรรคคือ ภูมิธรรม เวชยชัย นอกจากนี้ที่ประชุมยังตั้ง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการเลือกตั้ง เพื่อถือธงนำพรรคและเป็นว่าที่นายกฯ ของพรรคในการเลือกตั้งครั้งนี้ และมีแกนนำพรรคคนสำคัญ เช่น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์เสนาะ เทียนทอง, โภคิน พลกุล, เฉลิม อยู่บำรุง และวัฒนา เมืองสุข ฯลฯ

จุดยืนพรรคเพื่อไทย ชัดเจนผ่านแกนนำพรรคอย่าง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เคยแสดงจุดยืนว่า ไม่พร้อมที่จะร่วมงานการเมืองหาก พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ในสนามการเมือง เพราะจุดยืนของพรรคเพื่อไทยชัดเจน ที่ไม่ยอมรับกับกลุ่มคนที่ไม่ได้ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยโดยเฉพาะการปฏิวัติ รัฐประหาร เช่นเดียวกับ ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ที่เคยกล่าวว่า พรรรคเพื่อไทยชัดเจนว่าปฏิเสธนายกฯ คนนอก และเราไม่เห็นด้วยกับการสืบทอดอำนาจผ่านพรรคทหารหรือพรรคอะไรก็ตาม 

2. พรรคไทยรักษาชาติ

พรรคไทยรักษาชาติ (ตัวย่อ ทษช.) ซึ่งตัวย่อของพรรคยังถูกตั้งข้อสังเกตว่าคล้ายตัวย่อของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พรรคนี่แตกตัวมาจากพรรคเพื่อไทยที่ได้รับผลกระทบจากระบบเลือกตั้งใหม่ซึ่งต้องการให้ไม่มีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มี ส.. จำนวนมาก

แกนนำพรรคส่วนใหญ่เป็นอดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย นักการเมืองรุ่นใหม่ รวมถึงเป็นลูกหลานนักการเมือง แกนนำคนสำคัญคือ ปรีชาพล พงษ์พาณิช หัวหน้าพรรค, มิตติ ติยะไพรัช เลขาธิการพรรควรวัจน์ เอื้ออภิญญกุลวิม รุ่งวัฒนจินดาเยาวเรศ ชินวัตร, ขัตติยา สวัสดิผล นอกจากนี้ ยังสมทบไปด้วยนักการเมืองรุ่นใหญ่ อีกหลายคน เช่น จาตุรนต์ ฉายแสงพิชัย นริพทะพันธุ์ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อเหวง โตจิราการ,  และอนุตตมา อมรวิวัฒน์ ฯลฯ 

จุดยืนของพรรคไทยรักษาชาติ จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ กล่าวถึงจุดยืนของพรรคในงานประชุมของพรรคไทยรักษาชาติว่า เป็นพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยเต็มตัว และมีภาระกิจสำคัญคือ ต้องหยุดการสืบทอดอำนาจ แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และเมื่อประชาชนทั้งประเทศเห็นพ้องร่วมกันว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญ พรรคไทยรักษาชาติจะเป็นพรรคแรกที่เข้าไปร่วมกับประชาชนแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย 

3. พรรคเพื่อชาติ

พรรคเพื่อชาติ (ตัวย่อ พ...) ถูกมองว่าเป็นพรรคของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยมีแกนนำคนสำคัญ คือ ยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตประธานรัฐสภา และ จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนหาเสียง ทั้งนี้ ยงยุทธ และจตุพร ไม่สามารถเป็นสมาชิกพรรคและไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะรัฐธรรมนูญ และกฎหมายพรรคการเมือง 2560 ห้ามผู้ที่เคยรับโทษจำคุกและยังพ้นโทษไม่ถึง 10 ปี เอาไว้ 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 พรรคเพื่อชาติมีการประชุมพรรคเพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรค โดยที่ประชุมมีมติให้ สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นหัวหน้าพรรค และลินดา เชิดชัย เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งทั้งสองต่างอดีต ส.. จากพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทยตามลำดับ

จุดยืนของพรรคเพื่อชาติ แม้จะข้อครหาว่าจะไปสนับสนุน คสช. แต่ จตุพร พรหมพันธุ์ ยืนยันว่า พรรคเพื่อชาติจะไม่สนับสนุนเผด็จการ เรามีจุดยืนประชาธิปไตยที่ชัดเจน เพียงแต่พรรคเพื่อชาติจะพูดคุยได้ทุกฝ่ายเพื่อให้ประเทศมีทางออก นอกจากนี้ จตุพร ยังเรียกร้องให้ พล..ประยุทธ์ จากตำแหน่งนายกฯ และหัวหน้า คสช. หากอยากจะเป็นนายกฯ ต่อ และในการประชุมร่วมกับกับ คสช. พรรคเพื่อชาติก็ปฏิเสธเข้าร่วม เนื่องจากกติกาเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม และไม่ต้องการสร้างความชอบธรรมให้ คสช

ทางด้านโฆษกพรรคเพื่อชาติ เกศปรียา แก้วแสนเมือง กล่าวถึงกรณีที่พรรคไม่เข้าร่วมประชุมกับ คสช. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 ว่า ทุกพรรคการเมืองพร้อมที่จะทำตามกฎกติกาอยู่แล้ว ไม่ว่ากฎกติกานั้นจะเกิดขึ้นจากความไม่ชอบธรรม เอารัดเอาเปรียบกันก็ตาม แต่เราก็พร้อมทำตามเพื่อให้การเลือกตั้งสามารถดำเนินต่อไปได้ เพียงแต่จะไม่ขอร่วมสร้างความชอบธรรมให้กับสิ่งที่ คสช. ต้องการ และมิเห็นประโยชน์อันใดที่จะเกิดขึ้นกับประเทศจากการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้

4. พรรคประชาชาติ

พรรคประชาชาติ (ตัวย่อ ปช.) นำโดยกลุ่มวาดะห์ซึ่งเป็นนักการเมืองกลุ่มแรก ๆ ที่แยกตัวออกจากพรรคเพื่อไทย มียุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้น ส.. กลุ่ม 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย วันมูหะมัดนอร์ มะทา นอกจากนี้ยังมีแกนนำพรรคคนสำคัญ อย่าง อารีเพ็ญ อุตรสินธุ์วรวีร์ มะกูดี อดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย เป็นรองหัวหน้าพรรคพล...ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเลขาธิการพรรค

จุดยืนของพรรคประชาชาติ วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า นโยบายและจุดยืนของพรรค คือไม่เอา คสช. ไม่เอารัฐประหาร ไม่เอา นายกฯ คนนอก เขาเคยกล่าวว่า พรรคไหนที่เชียร์เผด็จการ ใช้อิทธิพลมืดไปบังคับข่มขู่ประชาชน สิ่งเหล่านี้ คือ ศัตรูของเราที่ไม่สามารถยอมรับได้ ด้าน สุพจน์ อาวาส รองโฆษกพรรคประชาชาติ ยังกล่าวว่า ขอให้พรรคที่ต่อต้านเผด็จการรวมตัวกัน ไม่เอา คสช. ให้เป็นรัฐบาล

กลุ่มที่สองเป็นพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่มีจุดยืนชัดเจนว่า ไม่เอา คสชซึ่งมีผู้ร่วมพรรคที่หลากหลาย ทั้ง นักกิจกรรมทางสังคม เอ็นจีโอ และนักวิชาการ อย่างไรก็ดี การเป็นพรรคการเมืองหน้าใหม่ ที่คนส่วนใหญ่ในประเทศอาจจะยังไม่คุ้นชิน ทั้งพรรคการเมือง และนักการเมือง และด้วยข้อจำกัดของกติกาการเลือกตั้ง ที่เหลือบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว ใช้เลือกทั้ง .ระบบเขตเลือกตั้ง และบัญชีรายชื่อ นั่นเท่ากับว่า พรรคการเมืองหน้าใหม่ จะต้องส่ง .ลงเขตเลือกตั้ง เพื่อนำมาคิดเป็นจำนวนที่นั่ง ..บัญชีรายชื่อ นับเป็นความท้าทายว่า พรรคการเมืองจะสามารถคว้าที่นั่งในสภาได้เท่าไหร่ 

5. พรรคอนาคตใหม่

พรรคอนาคตใหม่ (ตัวย่อ อคน.) เป็นพรรคการเมืองแรกๆ ที่ชูจุดยืนคนรุ่นใหม่ภายใต้การนำของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หรือฉายาไพร่หมื่นล้าน” อดีตรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท และ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค อดีตสมาชิกคณะนิติราษฎร์ที่เคลื่อนไหวแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ หรือ ม.112 รวมทั้งอดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมี นักวิชาการ นักกิจกรรมทางการเมือง และกลุ่มคนรุ่นใหม่ ตบเท้าเข้าร่วมพรรคอนาคตใหม่อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการชื่อดังรังสิมันต์ โรม นักกิจกรรม ที่ออกมาต่อต้าน คสช.เป็นต้น

จุดยืนของพรรคอนาคตใหม่ แม้ว่าจะเป็นพรรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ แต่ก็ประกาศกร้าวอย่างชัดเจนว่า ไม่ร่วมกับ คสชหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ และกำจัดมรดก คสช.

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เคยแสดงจุดยืนว่า พรรคอนาคตใหม่พร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกพรรค ตราบใดที่ยืนหยัดในอุดมการณ์เดียวกัน คือ 1. ไม่เอาการสืบทอดอำนาจของ คสช. ทุกรูปแบบ 2. แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 3. ต้องล้มล้างผลพวงของคณะรัฐประหาร เพื่อนำสังคมไทยกลับเป็นปกติ ด้าน ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวถึงรัฐธรรมนูญ คสช. ว่าเขียนให้แก้โดยไม่ให้แก้ เพราะการแก้ไขต้องใช้เสียง .. 250 คนที่ พล..ประยุทธ์ ตั้งขึ้น และ .. ฝ่ายค้านร่วมด้วย ทั้งยังต้องเจอกับศาลรัฐธรรมนูญอีก ต่อให้มีเสียงข้างมาก 300 เสียงก็ไม่มีทางแก้สำเร็จ อนาคตใหม่ต้องการปักธงทางความคิด ต้องการเส้นแบ่งพรรคการเมือง เพื่อให้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ คะแนนเสียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องใช้การรณรงค์ทางการเมือง เพื่อให้ฉันทมติเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญไปต่อไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เข้าสภาเมื่อไร วันแรกจะเสนอเรื่องนี้ทันที

6. พรรคสามัญชน

พรรคสามัญชน (ตัวย่อ สช.) เป็นพรรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ มีที่มาจากขบวนการสามัญชนก่อรูปขึ้นตั้งแต่ปี  2555 โดยกลุ่มนักกิจกรรมทางสังคมที่มีบทเรียนจากความบิดเบี้ยวของการบังคับใช้อำนาจรัฐ และนโยบายสาธารณะที่ละเลยคนจน คนชายขอบ หรือ ชนชั้นกลาง

พรรคสามัญชนมีผู้ร่วมก่อตั้งพรรค และสมาชิก มาจากเครือข่ายที่ทำงานเคลื่อนไหวทางสังคม องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือเอ็นจีโอหลายกลุ่ม หลักการของพรรคสามัญชนคือ “ประชาชนเป็นผู้กำหนดอนาคตของตนเอง” ภายใต้หลักการสามข้อคือประชาธิปไตยจากฐานราก สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมเป็นธรรม

พรรคสามัญชน มีแกนนำคนสำคัญ อาทิ เลขาธิการพรรค กิตติชัย งามชัยพิสิฐ อดีตแกนนำกลุ่มพอกันที ที่ริเริ่มกิจกรรมจุดเทียนเขียนสันติภาพรณรงค์เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 และหัวหน้าพรรค เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ จากกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ที่ขับเคลื่อนประเด็นทางทรัพยากร โดยเฉพาะนโยบายการบริหารจัดการแร่

จุดยืนของพรรคสามัญชน มีจุดยืนที่ชัดเจน ถึงการไม่เข้าร่วมกับ คสชและต้องการกำจัดมรดกทางกฎหมาย ที่เป็นดั่ง อาวุธ ของ คสช.

กิตติชัย งามชัยพิสิฐ เคยให้สัมภาษณ์ว่า เราไม่ร่วมกับรัฐบาล นายกฯ คนนอก โดยหลักการเราเห็นว่ารัฐบาลควรยึดโยงกับประชาชน ซึ่งหมายถึงคุณก็ต้องลงเลือกตั้งด้วย ขณะที่ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ กล่าวหลังรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค ว่า “เราจะร่วมกันปลดอาวุธ คสช. ด้วยมือเปล่าพร้อมอธิบายว่า จะขับเคลื่อนเพื่อยกเลิกคำสั่ง คสช. หลายๆ ฉบับ ที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อทำให้ คสช. กลับไปอยู่ในที่ตั้งที่สมควรอยู่และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้งของประชาชนอีกต่อไป เป็นภารกิจที่จะทำในช่วงเวลาอันใกล้นี้ 

7. พรรคเกียน

พรรคเกียน เดิมขอจดตั้งชื่อว่า พรรคเกรียน แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จนต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็น พรรคเกียนซึ่งพรรคการเมืองแนวใหม่ ภายใต้คำขวัญ “ผู้นำความบันเทิงสู่การเมืองไทยและไม่หาเสียง หาแต่เรื่องนำความบันเทิงโดย สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือที่รู้จักในนามบกลายจุดอดีตแกนนอนกลุ่มคนวันอาทิตย์สีแดง และผู้ที่ถูกอายัดบัญชีโดย คสชนอกจากนี้ ยังมีแนวร่วมพรรคที่น่าสนใจอย่าง เดชรัตน์ สุขกำเนิด นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุดยืนของพรรคเกียน นอกจากการทำการเมือง ให้เป็นเรื่องบันเทิงแล้ว สมบัติ บุญงามอนงค์ กล่าวว่า พรรคเกียนยืนยันว่าจะไม่เสนอนายกรัฐมนตรีคนนอกอย่างแน่นอน 

8. พรรคเสรีรวมไทย

พรรคเสรีรวมไทย (ตัวย่อ สร.) ภายใต้คำขวัญรวมพลัง สร้างชาติโดยการนำของ พล...เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ได้รับฉายาวีรบุรุษนาแกและมือปราบตงฉินก่อนหน้านี้พรรคเสรีรวมไทย ได้จดทะเบียนตาม ...ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.. 2550 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2556 แต่ยังไม่ทันได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง คสช. ก็ยึดอำนาจเสียก่อน และในการเลือกตั้งปี 2562 ก็ได้หัวหน้าพรรคชื่อ พล...เสรีพิศุทธ์

จุดยืนของพรรคเสรีรวมไทย ชัดเจนว่า จะไม่เข้าร่วมกับ คสชนอกจากนี้ ยังมีแนวคิดที่เป็นจุดเด่นของพรรค อย่าง เรื่องการปฏิรูปกองทัพ และยกเลิกระบบทหารเกณฑ์ พล...เสรีพิศุทธ์ เคยเปิดเผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงผู้นำใหม่ที่มาจากเสียงของประชาชน ส่วนสาเหตุที่ไม่เข้าร่วมกับพรรคของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เนื่องจากไม่สามารถยอมรับการปล้นอำนาจแบบเผด็จการ และ ยังเกิดการทุจริตขึ้นอีก รวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ก็เขียนขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง

พล...เสรีพิศุทธ์ ยังเคยยืนยันว่า พรรคเสรีรวมไทย ยึดมั่นอุดมการณ์ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ฝักใฝ่เผด็จการ รวมถึงพรรคการเมืองที่เป็นแนวร่วมหรือให้การสนับสนุนเผด็จการ 

จากการสำรวจพรรคการเมืองที่มีจุดยืนไม่เอา คสช. จะเห็นได้ว่า ในการเลือกตั้ง 2562 พรรคเหล่านี้มีจุดยืนร่วมกัน คือ ไม่เอานายกฯ คนนอก ไม่เอาการสืบทอดอำนาจ คสชและกำจัดมรดกทางกฎหมายของ คสช.