เลือกตั้ง 62: 4 เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลัง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มีผลใช้บังคับ

 

 

 

หลังจากที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ..2561 (...ว่าด้วยการเลือกตั้ง ..) ได้รับการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 เมื่อครบกำหนด 90 วัน คือวันที่ 11 ธันวาคม 2561 จึงทำให้ ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง .มีผลใช้บังคับแล้ว นี่เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายที่บังคับใช้ และแน่นอนสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ “การเลือกตั้งในปี 2562 ที่ประชาชนรอคอยมานานเกือบ 5 ปี นอกจากนี้ยังมีเรื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกหลัง ...ฉบับนี้ มีผลใช้บังคับ ไอลอว์รวบรวมเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างน้อยๆ 4 เรื่อง  มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง  

 

 

หนึ่ง : การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นภายใน 150 วัน

 

เมื่อ ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง .มีผลใช้บังคับ ตามบทเฉพาะกาล มาตรา 171 ระบุว่า จะต้องมีการกำหนดวันเลือกตั้ง ภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ ...ฉบับนี้ มีผลใช้บังคับ และจะมีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมา ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงวันเลือกตั้ง .ที่จะขึ้นจริงอย่างเป็นทางการ

 

ซึ่งตามกรอบระยะเวลา 150 วัน จะทำให้การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นอย่างช้าสุดในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 ขณะที่ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาแถลงถึงปฏิทินการเลือกตั้งว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

 

 

สอง : รู้ว่าใครจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรค

 

มาตรา 13 ของ ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง .กำหนดว่า พรรคการเมืองต้องแจ้งรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อ ต่อ กกตก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้ กกต. ประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวพร้อมกับชื่อพรรคการเมืองให้ประชาชนทราบ ซึ่งจะทำให้รู้ว่า ใครคือผู้นำของแต่ละพรรค

 

ด้าน สุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยืนยันว่าทางพรรค จะส่งรายชื่อ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี อันดับ 1 ของพรรคแน่นอน และจะมีการพูดคุยในพรรคอีกครั้งว่า 3 รายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ของพรรคมีใครบ้าง 

 

 

สาม : กกตเปิดรับสมัคร ..

 

มาตรา 11 ของ ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง .กำหนดว่า เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา (...) ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ขึ้นใช้บังคับ กกต. จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง .แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน และดำเนินการให้ได้มาซึ่ง .แบบบัญชีรายชื่อตามระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (mixed member apportionment system หรือ MMA) (มาตรา 12) และภายใน 5 วัน กกตจะต้องประกาศกำหนดการเลือกตั้ง และกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยเริ่มรับสมัครไม่เกิน 25 วัน นับจากวันที่ พระราชกฤษฎีกา (...) ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ใช้บังคับ และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วัน

 

ทั้งนี้ มาตรา 41 ของ ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง .กำหนดคุณสมบัติของ .. ที่จะสมัครรับเลือกตั้งทั้งเขตเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อ จะต้องสังกัดเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ภายใน 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณียุบสภา ระยะเวลาจะเหลือ 30 วัน ซึ่งขณะนี้ เรายังไม่ทราบถึงวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ แต่หากมีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ตามที่วิษณุแถลง เท่ากับว่าผู้ที่จะลงสมัคร ..จะต้องสมัครเข้าสังกัดพรรคก่อนวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมาแล้ว

 

อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องที่น่าจับตาดูว่า คสชจะมีการใช้อำนาจพิเศษลดระยะเวลาสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งทางด้าน อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้เข้าร่วมประชุมกับแม่น้ำ 5 สาย และตัวแทนพรรคการเมือง ในวันที่ 7 ธันวาคม 2561 อุตตม ระบุว่า หลายพรรคการเมืองเสนอเรื่องให้ คสช. รับไว้พิจารณาว่า อยากให้มีการเลื่อนวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 5 พฤษภาคม 2562 และมีการขอให้ คสช. ใช้มาตรา 44 ลดระยะเวลาการสังกัดพรรคการเมือง 90 วัน เหลือเพียง 30 วัน เพื่อให้ลงสมัคร ..ได้ 

 

 

สี่ : ปลดล็อกพรรคการเมืองหาเสียงได้  

 

การปลดล็อคพรรคการเมืองจะเกิดขึ้นได้ หลังจากมีการประกาศใช้ ..ว่าด้วยการเลือกตั้ง .จากการให้สัมภาษณ์ของ สรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย ในการประชุมแม่น้ำ 5 สาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 สรอรรถ ระบุว่า  การประกาศ ..อาจเกิดขึ้น ในวันที่ 2 มกราคม 2562 และจะทำให้พรรคการเมืองจะสามารถเริ่มหาเสียงได้ ซึ่งก่อนหน้านี้  คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบและส่งให้ กกต. ไปดำเนินการต่อแล้ว 

 

อย่างไรก็ดี 11 ธันวาคม 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 เรื่อง การให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

 

โดยการออกคำสั่งดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 ข้อที่ 8 ที่กำหนดว่า ให้ คสช. พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเลือกตั้ง หลัง ...ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีผลบังคับใช้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561

 

ข้อ 1 ยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ห้ามพรรคการเมืองหรือประชาชนทำกิจกรรมทางการเมือง จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่

 

ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 10/2557 เฉพาะ ข้อ 1. ที่ห้าม จาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคไทยรักษาชาติ ทำธุรกรรมทางการเงิน

 

ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 26/2557 ที่ห้าม สมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำพรรคเกียน และ จ่าสิบตำรวจ ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ทำธุรกรรมทางการเงิน

 

ยกเลิกประกาศ คสช. ที่ 39/2557 ที่กำหนดให้บุคคลที่มารายงานตัวต่อ คสช. และได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ คสช. กำหนด ได้แก่ ห้ามเดินทางออกราชอาณาจักร ห้ามเคลื่อนไหวหรือสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และถูกระงับธุรกรรมทางการเงิน

 

ยกเลิกประกาศ คสช. ที่ 40/2557 ที่กำหนดให้บุคคลที่ถูกกักตัวตามกฎอัยการศึกต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ คสช. กำหนด ได้แก่ ห้ามเดินทางออกราชอาณาจักร ห้ามเคลื่อนไหวหรือสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และถูกระงับธุรกรรมทางการเงิน

 

ยกเลิกประกาศ คสช. ที่ 57/2557 เฉพาะข้อ 2 ที่ห้ามมิให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วดําเนินการประชุม หรือดําเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง และการดําเนินการเพื่อการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองให้ระงับไว้เป็นการชั่วคราว รวมทั้งให้ระงับการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองไว้เป็นการชั่วคราว

 

ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 80/2557 ที่ห้ามแกนนำพรรคเพื่อไทย แกนนำนปช. แกนนำพรรคประชาธิปตย์ และแกนนำ กปปส. รวมทั้งสิ้น 18 คน เดินทางออกนอกราชอาณาจักร หรือทำกิจกรรมทางการเมือง ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และถูกระงับธุรกรรมทางการเงิน

 

ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เฉพาะข้อที่ 12 เรื่อง ห้ามผู้ใดมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้า คสช.

 

ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2561 เฉพาะข้อ 4, 5 และ 7 เรื่องห้ามพรรคการเมืองดําเนินการประชุม หรือดําเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติตามเงื่อนไขของคสช.

 

ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 13/2561 เฉพาะข้อ 6 เรื่องห้ามพรรคการเมืองดำเนินการอันเป็นการหาเสืยงบนโลกออนไลน์ และให้ กกต. และ คสช. เป็นคนกำหนดลักษณะต้องห้ามของการสื่อสารบนโลกออนไลน์

 

ข้อ 2 การยกเลิกบรรดาประกาศ/คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ตามข้อ 1 ไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการ หรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไปก่อนการยกเลิกโดยคำสั่งนี้

 

สำหรับข้อที่ 2 ยังมีความไม่แน่ชัดในความหมาย เนื่องจากคำว่า 'ไม่กระทบกระเทือน' นั้นจะมีขอบเขตระดับไหน ซึ่งอาจจะหมายถึง การไม่ยกเลิกคดีความหรือเงื่อนไขที่ คสช. เคยใช้กับพรรคการเมือง นักการเมือง ประชาชน ก่อนหน้าจะมีคำสั่งยกเลิกฉบับนี้ หรือ มีผลยกเลิกการดำเนินคดี หรือการดำเนินการ หรือ การปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง คสช. ที่ได้กระทำไปก่อนจะมีคำสั่งยกเลิกนี้ แต่เขียนไว้เพื่อป้องกันการกระทำที่ได้ทำไปก่อนจะมีคำสั่งยกเลิกออกมา 

 

นอกจากนี้ แม้พรรคการเมืองจะเริ่มหาเสียงได้ แต่จะต้องใช้งบประมาณหาเสียงภายใต้กฎเกณฑ์ที่ กกตกำหนด ซึ่งในบทเฉพาะกาล มาตรา 176 ของ ...ว่าด้วยการเลือกตั้ง .กำหนดให้ กกต. ต้องจัดประชุมหารือกับหัวหน้าพรรคการเมืองเพื่อกำหนดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ภายหลังวันที่ ...ฉบับนี้ มีผลใช้บังคับ