คสช. ใช้มาตรา 44 ห้ามหาเสียงออนไลน์-ยกเลิกไพรมารี่โหวต

วันที่ 14 กันยายน 2561 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2561 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) สาระสำคัญของคำสั่งฉบับนี้ คือ การแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  (...) ว่าด้วยพรรคการเมือง .. 2560 เพื่อขยายกรอบเวลาให้พรรคการเมืองดำเนินงานธุรการของพรรค ยกเลิกระบบไพรมารีโหวตโดยให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง 11 คนมีอำนาจในการสรรหาแทน และห้ามไม่ให้มีการหาเสียงออนไลน์

 

ยังไม่ปลดล็อกพรรคการเมือง แค่คลายล็อกสู่การเลือกตั้ง 

 

วันที่ 25 มิถุนายน 2561 คสช. เชิญพรรคการเมืองมาประชุมร่วมกัน กำหนดช่วงเวลาการปลดล็อกพรรคการเมืองไว้หลัง .. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (..) และ ... ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อ ... ทั้งสองประกาศใช้ในวันที่ 12 กันยายน 2561 จากนั้น สองวันถัดมา คสช. จึงใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับนี้

 

อย่างไรก็ดี คำสั่งฉบับนี้ไม่ได้ปลดล็อกพรรคการเมืองทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้สถานการณ์บ้านเมืองที่มีความสงบเรียบร้อยดำเนินอยู่ต่อไปในช่วงเวลาการปฏิรูปประเทศ ประกาศ คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่เกี่ยวกับการดำเนินการของพรรคการเมืองจึงจำเป็นต้องมีผลบังคับใช้ต่อไป อันได้แก่ ประกาศ คสช.ที่ 57/2557 ซึ่งห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดๆ คําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป รวมถึงคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 53/2560 ซึ่งอนุญาตให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมและธุรการบางอย่างของพรรคได้ 

 

ถึงกระนั้น คำสั่งฉบับนี้ก็อ้างว่าได้คลายล็อกพรรคการเมืองเพื่อให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่ง คสช. ได้ประกาศเบื้องต้นไว้ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 

 

ขยายเวลาจัดหาทุนประเดิม 1 ล้านบาท ไปจนถึง 13 มีนาคม 2562

 

เดิมที ... พรรคการเมืองฯ กำหนดให้พรรคการเมืองเก่าต้องมีทุนประเดิมไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ภายใน 180 วันนับแต่ ... พรรคการเมืองบังคับใช้ (วันที่ 8 ตุลาคม 2560) หรือภายใน 4 เมษายน 2561 แต่เมื่อ ... พรรคการเมืองฯ เริ่มบังคับใช้ พรรคการเมืองยังติดล็อกห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองตามประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 อยู่

 

จนกระทั่งในวันที่ 22 ธันวาคม 2560 คสช. ได้ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. 53/2560 อนุญาตให้พรรคการเมืองจัดหาทุนประเดิมได้และขยายเวลาจัดหาทุนประเดิมไปอีก 180 วัน นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 หรือภายใน 28 กันยายน 2561 ซึ่งคำสั่งฉบับนี้ ข้อ 1(1) ก็ได้ขยายเวลาจัดหาทุนประเดิมอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่สอง โดยขยายเวลาไปอีก 180 วัน นับแต่วันที่คำสั่งฉบับนี้บังคับใช้ (14 กันยายน 2561) หรือภายในวันที่ 13 มีนาคม 2562

 

 

 

 

ขยายเวลาให้สมาชิกพรรค 500 คน ชำระค่าบำรุงพรรค ไปจนถึง 13 มีนาคม 2562

 

เดิมที ... พรรคการเมืองฯ กำหนดให้พรรคการเมืองเก่าต้องจัดให้สมาชิกพรรค 500 คน ชำระค่าบำรุง ภายใน 180 วัน นับแต่พ.. พรรคการเมืองบังคับใช้ หรือภายใน 4 เมษายน 2561 ต่อมา คำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 53/2560 ได้ขยายระยะเวลาไปอีก 180 วัน นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ซึ่งคำสั่งหัวหน้าคสช. ฉบับนี้ ในข้อ 1(2) ได้ขยายระยะเวลาดังกล่าวอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่สอง โดยขยายเวลาไปอีก 180 วัน นับแต่คำสั่งคสช.ฉบับนี้บังคับใช้ หรือภายในวันที่ 13 มีนาคม 2562

 

ในทำนองเดียวกัน .. พรรคการเมือง กำหนดให้ สมาชิกพรรคชำระค่าบำรุงพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน ภายใน 1 ปี และไม่น้อยกว่า 10,000 คน ภายใน 4 ปี ทั้งสองกิจกรรมนับเวลาเริ่มต้นตั้งแต่พ... พรรคการเมืองฯ บังคับใช้ ต่อมา คำสั่งหัวหน้า คสช. 53/2560 ขยายระยะเวลาการทำกิจกรรมทั้งสองไปอีกเท่าตัว คือ 1 ปี และ 4 ปี ตามลำดับ นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ซึ่งคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับนี้ในข้อ 1(2) และ (3) ได้ขยายเวลาการทำกิจกรรมทั้งสองอีกครั้งไปอีกเท่าตัว คือ 1 ปี และ 4 ปี ตามลำดับ นับตั้งแต่คำสั่งคสช.ฉบับนี้บังคับใช้

 

ในข้อ 5 ของคำสั่งคสช. ฉบับนี้ ยังขยายระยะเวลาให้สามารถเก็บค่าบำรุงพรรคการเมืองตำ่กว่า 100 บาทแต่ไม่น้อยกว่า 50 บาท ไปเป็นสำหรับ 3 ปีแรกที่พ... พรรคการเมืองฯ บังคับใช้ จากเดิมในพ... พรรคการเมืองฯ กำหนดไว้ว่าให้สามารถเก็บค่าบำรุงพรรคในอัตราดังกล่าวได้เฉพาะปีแรกเท่านั้น

 

 

 

 

ถ้าจะประชุมพรรค ตั้งสาขาพรรค ต้องแจ้ง กกต. ก่อน 5 วัน

 

ข้อ 2 ของคำสั่ง คสช. ฉบับนี้ระบุว่า ถ้าพรรคการเมืองต้องการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ต้องแจ้งกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวัน ซึ่งกิจกรรมทางการเมืองดังกล่าว ได้แก่ 

 

1) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ คำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง และนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งต้องเสร็จก่อนครบ 90 วัน นับแต่วันที่ ... ว่าด้วยการเลือกตั้ง .. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ ภายในวันที่ 11 ธันวาคม 2561

2) การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นๆ ของพรรค  ซึ่งต้องเสร็จก่อนครบ 90 วัน นับแต่วันที่ ... ว่าด้วยการเลือกตั้ง .. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ ภายในวันที่ 11 ธันวาคม 2561

3) การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด ซึ่งต้องเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ ... ว่าด้วยการเลือกตั้ง .. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือวันที่ 12 กันยายน 2562 

4) การรับสมาชิกพรรคการเมือง

5) การจัดให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง

6) การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งเขตเลือกตั้งตาม ... ว่าด้วยการเลือกตั้งส..

7) กิจกรรมทางการเมืองอื่นที่ คสช.กำหนด

 

สี่กิจกรรมที่หากพรรคการเมืองทำไม่สำเร็จจะส่งผู้สมัคร .. ไม่ได้ และอาจถูกยุบพรรค

 

ถ้า กกต. เห็นว่าพรรคการเมืองใดไม่สามารถดำเนินการ ดังนี้ได้คือ 1) จัดหาทุนประเดิมพรรคจำนวนหนึ่งล้านบาท 2) ให้สมาชิก 500 คน จ่ายค่าบำรุงพรรค 3) แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ คำประกาศอุดมการณ์ทางการเมือง และนโยบายของพรรค และ 4) เลือกตั้งหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นๆ ของพรรค ภายในเวลาที่กำหนด กกต. อาจมีมติขยายเวลาดังกล่าวไปอีกหนึ่งเท่าตัว 

 

หากครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือครบระยะเวลาที่ กกต. มีมติให้ขยายไปแล้ว พรรคการเมืองใดไม่สามารถดำเนินทั้งสี่กิจกรรมข้างต้นให้เสร็จจะถือว่าสิ้นสภาพลงหรือจะถูกยุบพรรคนั้นเอง และในระหว่างที่พรรคการเมืองยังดำเนินการทั้งสี่กิจกรรมไม่ครบถ้วนจะไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งผู้สมัคร .. ลงเลือกตั้งได้และจะไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ซึ่งถ้าพรรคการเมืองใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของ กกต. ให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของ กกต.

 

 

 

 

ยกเลิกไพรมารีโหวตเดิมให้คณะกรรมการสรรหาฯ 11 คน มีอำนาจเลือกผู้สมัครแทน

 

ระบบการคัดเลือกผู้สมัครขั้นต้น หรือระบบไพรมารีโหวตคือ การให้สมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมในการเลือกว่าใครจะเป็นตัวแทนพรรคในการลงสมัคร .. ก่อน .. จะลงสู่สนามเลือกตั้ง ซึ่งพ... พรรคการเมือง ได้บังคับให้ทุกพรรคการเมืองต้องทำตาม แต่คำสั่งฉบับนี้ได้ยกเลิกระบบไพรมารีโหวตตาม ... พรรคการเมืองและกำหนดระบบการคัดเลือกผู้สมัคร .. แบบใหม่ขึ้นให้ใช้เฉพาะการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2562

 

ระบบไพรมารีโหวตใน .. พรรคการเมือง หรือแบบเดิมนั้นมีขั้นตอนสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสำหรับ .. สองแบบ คือ .. แบบเขตเลือกตั้งและ .. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค 

 

ในการสรรหาผู้สมัคร ..แบบแบ่งเขตเลือกตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพรรค จะเปิดรับสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติและจะส่งรายชื่อให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดเพื่อจัดการประชุมให้สมาชิกพรรคลงคะแนนเลือกผู้สมัครตามรายชื่อนั้น โดยมีข้อกำหนด คือ พรรคการเมืองที่จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง .. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ใดได้นั้น ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดที่นั้น และในการประชุม สาขาพรรคต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า 100 คน หรือ ตัวแทนพรรคประจำจังหวัดต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า 50 คน ซึ่งสมาชิกจะลงคะแนนเสียงเลือกได้หนึ่งคน และผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 2 คนแรกของแต่ละเขตเลือกตั้ง จะถูกส่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคให้ความเห็นชอบ  

 

ส่วนการสรรหาผู้สมัคร .. แบบบัญชีรายชื่อ มีขั้นตอน คือ คณะกรรมการสรรหาฯ จะเปิดรับสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติและจัดบัญชีรายชื่อไม่เกิน 150 คน แล้วส่งบัญชีรายชื่อให้สาขาพรรคหรือตัวแทนพรรคประจำจังหวัดเพื่อจัดประชุม โดยสมาชิกลงคะแนนเลือกได้คนละไม่เกิน 15 คน จากบัญชีรายชื่อ จากนั้น คณะกรรมการสรรหาฯ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัคร โดยเรียงลำดับตามผลรวมของคะแนนที่ได้รับจากสาขาพรรคหรือตัวแทนพรรคประจำจังหวัดส่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคให้ความเห็นชอบ

 

อย่างไรก็ดี ข้อ 4 ของคำสั่งฉบับนี้ ได้ยกเลิกระบบไพรมารีโหวตแบบเดิมแทบทั้งหมด และกำหนดระบบการสรรหาผู้สมัคร .. “แบบใหม่ให้คณะกรรมการสรรหาฯ มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาผู้สมัครรับเลือกตั้ง .. ทั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ แล้วเสนอต่อคณะกรรมการบริหารพรรค โดยให้คณะกรรมการสรรหาฯ รับฟังความคิดเห็น จากหัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด และสมาชิก มาประกอบการพิจารณาสรรหาด้วย ซึ่งคำสั่งฉบับนี้กำหนดให้คณะกรรมการสรรหาฯ ประกอบด้วย กรรมการบริหารพรรคการเมืองสี่คน และตัวแทนสมาชิกที่พรรคการเมืองเลือกเจ็ดคน ขณะที่ระบบไพรมารีโหวตแบบเดิมกำหนดว่า คณะกรรมการสรรหาฯ ให้ประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่เกินกึ่งหนึ่ง และหัวหน้าสาขาพรรคไม่น้อยกว่าสี่สาขา 

 

ล็อกพรรคการเมือง ห้ามหาเสียงออนไลน์

 

ข้อ 6 ของคำสั่งฉบับนี้ พรรคการเมืองจะประชาสัมพันธ์หรือติดต่อสื่อสารกับผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ภายในพรรคการเมืองและสมาชิกของพรรคของตน โดยวิธีผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ต้องไม่มีลักษณะเป็นการหาเสียง”  ซึ่ง กกต. และ คสช. อาจกำหนดลักษณะต้องห้ามของการประชาสัมพันธ์หรือการติดต่อสื่อสารที่จะมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือสั่งให้มีการระงับการดำเนินการดังกล่าวก็ได้