จดหมายเปิดผนึก เรื่อง การไม่มีส่วนร่วมของพนักงานบริการซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการทบทวนกฎหมาย

 

วันที่ 28 สิงหาคม 2561
                                      
จดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เรื่อง การไม่มีส่วนร่วมของพนักงานบริการซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการทบทวนกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
ตามที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัด “ประชุม เพื่อฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียต่อการทบทวนกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ครั้งที่ 1 เมือวันที่ 24 เมษายน 2561 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมประชุมมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา สภาเด็กและเยาวชน และผู้สังเกตการณ์ กว่า 200 คน เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้มาเป็นเวลายาวนาน กว่า 20 ปี ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย    พ.ศ. 2558 กำหนดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายที่บังคับใช้เกิน 5 ปี ที่กฎหมายบังคับใช้ หรือเห็นว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุง แก้ไข ยกเลิกกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีการนำเสนอผลการศึกษากฎหมายว่าด้วยการค้าประเวณีของต่างประเทศและมีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อหลักการ แนวทาง และเนื้อหาสาระในการปรับปรุงแก้ไข หรือยกเลิกกฎหมาย
ทั้งนี้ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนพนักงานบริการได้เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว  เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 พบว่าสัดส่วนผู้มาร่วมจาก 200 คน ส่วนใหญ่เป็นภาครัฐ ในส่วนของประชาสังคมมีอยู่เพียง 5 คนจาก 5 องค์กร 
ทางมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ได้เสนอความคิดเห็นในการจัดเวทีในครั้งต่อไปว่า ควรมีชุมชนพนักงานบริการมาร่วมแสดงความคิดเห็น และเปิดช่องทางการแสดงความคิดเห็นเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพราะพนักงานบริการมีมากกว่า 300,000 คนในประเทศไทย ต่อมาพบว่าทาง สค.ได้จัดประชุมรับฟังครั้งที่ 2  เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 แต่ทางมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชนพนักงานบริการไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม และไม่มีข้อมูลสาธารณะทางเว็ปไซด์จึงไม่สามารถประชาสัมพันธ์ให้กับชุมชนพนักงานบริการได้มีโอกาสเข้าร่วมในเวทีรับฟังความคิดเห็นได้ 
ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 77 วรรคสอง บัญญัติว่า "ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผย ผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณา ในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน" โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลกระทบจากการออกกฎหมาย แต่ปรากฏว่า ชุมชนพนักงานบริการ
ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงกลับไม่ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมวิเคราะห์ ประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายปรามการค้าประเวณีที่ผ่านมา พวกเราจึงมีความกังวลว่ารายงานความคิดเห็นดังกล่าวที่มีการจัดทำขึ้นนั้น ชุมชนพนักงานบริการยังไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การดำเนินการของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ในการจัดทำรายงานครั้งนี้จึงไม่เป็นไปตามหลักการที่บัญญัติตามรัฐธรรมนูญ  อีกทั้งในเดือนกรกฎาคม 2560 คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี(CEDAW Committee of Experts)มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (ข้อ 27(a)) เรื่อง ขอให้แก้ไข พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ยกเลิกความผิดทางอาญาต่อหญิงใน การค้าประเวณี เรามีความเห็นว่าการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของพนักงานบริการเท่านั้นจึงจะทำให้รัฐบาลไทยสามารถที่จะแก้ไข พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ยกเลิกความผิดทางอาญาในการค้าประเวณีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ และผู้ร่วมลงนามท้ายจดหมายนี้จึงขอให้ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จัดรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้แทนชุมชนพนักงานบริการและพนักงานบริการ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการทบทวนกฎหมายที่สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 ต่อไป
ด้วยความนับถือ
ลงชื่อ
1. มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์  และ แคนดูบาร์ 
2. มูลนิธิผู้หญิง 
3. มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ 
4. มูลนิธิ ธีรนาถ กาญจนาอักษร 
5. เครือข่ายสุขภาพและโอกาส HON-Health and Opportunity Network
6. เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ 
7. เครือข่ายสุขภาพชาติพันธ์บนพื้นที่สูง 
8. นาดา ไชยจิตต์ นักกิจกรรมรณรงค์สิทธิมนุษยชนอิสระ 
9. ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักกิจกรรมรณรงค์สิทธิมนุษยชนอิสระ 
   
28 August 2018
Open Letter to the Ministry of Social Development and Human Security
Re: The process of reforming the Prevention and Suppression of Prostitution Act 1996 is not
inclusive of sex workers who are the persons impacted by the law.
To: The Minister for Social Development and Human Security and the Director of the Office of
Women's Affairs and Family Development
The Office of Women's Affairs and Family Development of the Ministry of Social Development and Human Security organized "hearings to solicit the opinions of stakeholders in order to review the Prevention and Suppression of Prostitution Act”. The first hearing was held on 24th of April, 2018, and the second was held on the 28th May 28, 2018. The participants were to include representatives from the government, private sector, civil society, educational institutions, child and youth organizations. The first meeting was attended by more than two hundred people in order to move the policy and measures in order to solve the problems of prostitution. The Prevention and Suppression of Prostitution Act 1996 has been in force for over twenty years. A 2015 Royal Decree requires that all laws in force for more than five years must undergo review to assess the suitability and appropriateness of the law. The review includes recommendations whether it is necessary to amend or abolish the law in line with changing social conditions. At the first hearing the results of a study on prostitution law from other countries was presented. The meeting broke into small groups to collect the opinions regarding the principles, guidelines and contents for possible amendments or
repealing of the Prostitution Act.
Empower Foundation that represents the sex worker community participated in the first meeting on April 24, 2018. Empower found that the majority of the participants were from government agencies. Of the two hundred participants only five representatives of five civil society groups were present. Considering there are more than 300,000 sex workers in Thailand and that they are the most directly impacted by the law, Empower Foundation recommends that the process must include sex worker representation and also create channels for sex workers to take part in the review process.
The second hearing May 28, 2018, Empower Foundation the sex worker representative organization was not invited to attend the meeting resulting in no sex worker participation. Also there is no information made available to the public making it impossible for the sex worker community to be informed, participate or make recommendations.
According to the 2017 Constitution Section 77 states that “Prior to the enactment of every law, the State should conduct consultation with stakeholders, analyze any impacts that may occur from the law thoroughly and systematically, and should also disclose the results of the consultation and analysis to the public, and take them into consideration at every stage of the legislative process.
When the law has come into force, the State should undertake an evaluation of the outcomes of the law at every specified period of time, for which consultation with stakeholders shall be conducted, with a view to developing all laws to be suitable to and appropriate for the changing contexts.” The purpose of Section 77 of the Constitution is to ensure proper review and evaluation of the impact of laws. However the sex worker community who are directly impacted by the prostitution law are not able to participate, make recommendations or take any part in the analysis and evaluation of the enforcement of the Prevention and Suppression of Prostitution Act 1996. We are concerned that any report or recommendations on this issue by the Office of Women's Affairs and Family Development that has not involved the true participation of sex workers is not in accordance with the Thai Constitution. Furthermore in July 2017 the CEDAW Committee of Experts recommended that Thailand must review the Prevention and Suppression of Prostitution Act to decriminalize sex work (Section 27a). We believe that the government will only be able to effectively resolve the problems of prostitution and end the criminalization of prostitution with the genuine participation of sex workers
in the process.
Empower Foundation and the co-signatories below hereby call on the Ministry for Social Development and Human Security and the Office of Women's Affairs and Family Development to organize a hearing to include the recommendations of sex worker representatives in the law review process in accordance with Section 77 of the 2017 Constitution.
Respectfully yours
1. Empower Foundation and Can Do Bar
2. Foundation For Women
3. Foundation for SOGI Rights and Justice
4. Teeranat Foundation
5. HON-Health and Opportunity Network
6. Northern Thai Labor Network
7. Highland Peoples Health Network
8. Nada Chaiyajit Human Rights Defender
9. Sirisak Chaited Human Rights Defender