บรรยากาศ “แดนสนธยา” ในเรือนจำชั่วคราว มทบ.11 จากสายตาทนายที่เข้าเยี่ยม

[For English please scroll down]
 
"บรรยากาศแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง" คือ คำพูดแรกของ "ชูชาติ กันภัย" ทนายความของ อาเดม คาราดัก ผู้ต้องหาคดีเหตุระเบิดราชประสงค์  เมื่อเปรียบระหว่างเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี ที่ตั้งอยู่ภายในมทบ. 11 กับเรือนจำอื่นๆ หลังเขาเคยเข้าไปพบผู้ต้องหาเพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายที่เรือนจำชั่วคราวแห่งนี้ตลอดช่วงสองเดือนที่ผ่านมา

 
ทนายชูชาติเล่าว่า ได้เข้าไปเยี่ยมอาเดม คาราดัก ผู้ต้องหาชาวตุรกีครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 ขณะนั้นผู้ต้องหาถูกนำตัวไปขังที่เรือนจำชั่วคราว ภายในมทบ.11 แล้ว พื้นที่ที่ทนายความมีโอกาสเข้าไปนั่งคุยกับผู้ต้องหาเป็นพื้นที่ส่วนตึกบัญชาการ ไม่ใช่ส่วนที่ใช้คุมขังผู้ต้องหา เพราะพื้นที่คุมขังนั้นไม่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้า 

 
เมื่อได้เข้าไป ก็ได้ทราบว่าผู้ที่ถูกคุมขังที่เรือนจำแห่งนี้ มีแค่ผู้ต้องหาคดีระเบิดเหตุราชประสงค์เพียง 2 คน คือ อาเดม คาราดัก และ เมียไรลี ยูซูฟู ซึ่งเจ้าหน้าที่ขังแยกกัน โดยระหว่างติดต่อขอพบผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่จะพาตัวผู้ต้องหาเดินมาจากข้างหลังตึก คะเนด้วยสายตาและระยะทางที่พาตัวผู้ต้องหามา คือ ประมาณ 500 เมตร ทุกครั้งที่พาตัวผู้ต้องหามา ผู้ต้องหาจะถูกปิดตา 

 
เท่าที่สังเกต ทนายชูชาติพบว่า เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหา คือ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ถูกส่งตัวมาประจำที่เรือนจำนี้ โดยมีทหารพร้อมอาวุธครบมือ 4-5 นาย และคอยควบคุมตัวจำเลยในสภาพปิดตาและใส่กุญแจมือและกุญแจเท้า ระหว่างการพูดคุยกับทนายความก็มีเจ้าหน้าที่ทหารประกบอยู่ตลอดเวลา และคอยจดบันทึกข้อความที่ทนายคุยกับผู้ต้องหา รวมถึงบันทึกเสียงการสนทนาไว้ แต่ทนายชูชาติก็ไม่ได้ติดใจอะไร เพราะเข้าใจว่าเป็นกฎระเบียบของทางเรือนจำ 

 
สัปดาห์ต่อมา ทนายชูชาติไปเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาอีกครั้ง แต่คราวนี้เข้าเยี่ยมไม่ได้ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งว่าผู้ต้องหาป่วย และทนายความต้องมีใบแต่งตั้งทนายจากศาลทหาร เขาจึงไปทำเรื่องขอใบแต่งตั้งทนายใหม่ที่ศาลทหาร แต่ใบแต่งตั้งทนายความก็ต้องให้ผู้ต้องหาลงชื่อด้วยซึ่งก็ยังให้ผู้ต้องหาลงชื่อในวันนั้นไม่ได้

 
ต่อมามีนักข่าวติดต่อสอบถามมาว่า รู้เรื่องที่ลูกความของเขารับสารภาพหรือยัง ทนายชูชาติจึงพยายามติดต่อไปที่ศาลและเรือนจำ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ หลังจากนั้นก็ถูกกีดกันไม่ให้เข้าเยี่ยมผู้ต้องหาอีก 2-3 ครั้ง โดยพลตรีวิจารณ์ จดแตง หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและสิทธิมนุษยชนให้คำตอบกับทนายว่า "ผู้ต้องหามีทนายอยู่แล้ว ที่ศาลตั้งให้ จะให้มีทนายอีกได้อย่างไร?" และขณะนั้นมีกระแสข่าวว่า ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ 

 
แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เรือนจำยืนยันว่าเขายังเป็นทนาย เขาจึงไปทำใบแต่งตั้งทนายอีกครั้งที่ศาลทหาร และจึงเข้าพบได้ ซึ่งการเข้าพบครั้งหลังปรากฎว่า มื่อทนายจะถามคำถามอะไรกับผู้ต้องหา ต้องเขียนคำถามไปให้เจ้าหน้าที่ดูก่อนว่าจะถามได้กี่ข้อ ตอนแรกเขายื่นคำถามไป 10 ข้อ แต่ได้รับอนุญาตให้ถามอยู่ 6-7 ข้อ โดยคำถามนั้นส่งให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ซึ่งจะปรึกษากับทหารว่าจะให้ถามได้กี่ข้อ และระหว่างถามก็มีเจ้าหน้าที่ทหารยืนคุมทุกครั้ง คำถามที่ถามได้จะเป็นคำถามปลายปิด ส่วนคำถามปลายเปิดจะถามไม่ได้ 

 
ขณะที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เล่าให้ทนายชูชาติว่า ระหว่างการควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำแห่งนี้ ผู้ต้องหาจะถูกสอบสวนจากฝ่ายความมั่นคงอยู่บ่อยๆ 

 
ทนายชูชาติเล่าว่า ช่วงครั้งหลังสุดที่ไปเยี่ยมอาเดม เป็นช่วงที่ผู้ต้องหาคดี 112 จากการแอบอ้างสถาบันฯ ของกลุ่ม "หมอหยอง" เข้าไปอยู่ที่นั่นแล้ว แต่ระเบียบการก็ยังคงเดิม ทนายชูชาติเล่าด้วยว่า ช่วงแรกที่มาที่นี่ มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มาดูแลและควบคุมผู้ต้องหาอยู่ประมาณ 2-3 คน ตอนนี้น่าจะมีประมาณ 10 คนแล้ว เพราะมีนักโทษมาเพิ่มและมีเหตุการณ์การตายของ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา ในห้องขัง ทั้งนี้บรรยากาศและอำนาจควบคุมผู้ต้องหายังเป็นของเจ้าหน้าที่ทหารกลายๆ อยู่

 
ส่วนระเบียบการการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ทนายชูชาติให้ข้อมูลว่า ที่เรือนจำชั่วคราวแขวงนครไชยศรีใช้ระเบียบของกรมราชทัณฑ์เหมือนกับเรือนจำอื่นทั่วประเทศแทบทุกประการ ส่วนทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไรนั้นไม่ทราบ เพราะไม่ได้เห็นข้างใน แต่สำหรับทนายความแล้ว มีเงื่อนไขเพิ่มจากปกติ คือ การเข้าเยี่ยมต้องมีใบแต่งตั้งที่ศาลนั้นๆ เซ็นรับรอง ซึ่งปกติเรือนจำโดยทั่วไปไม่ต้องใช้ ใช้แค่สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความก็พอ

เป็นที่แน่นอนว่า จากกระแสข่าวเรื่องราวคดีแอบอ้างสถาบันฯ ที่มีผู้ต้องหาเสียชีวิตถึง 2 จาก 3 คน คือ พ.ต.ต ปรากรม วารุณประภา เสียชีวิตวันที่ 23 ตุลาคม 2558  และสุริยัน สุจริตพลวงศ์หรือ "หมอหยอง" เสียชีวิตวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558  ทำให้ขณะนี้สังคมเกิดตั้งคำถามถึงสภาพการควบคุมตัวและวิธีปฏิบัติต่อผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่เรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี ที่ถูกทำให้เป็น "แดนสนธยา" 

 
 
 
 
The atmosphere in the temporary remand facility (“Nakhon Chaisri Facility”) inside the 11th Military Circle military base from a lawyer’s eye sight
“The atmosphere is totally different” said Chuchat Kanpai, a lawyer of Aden Karadak, compared the prison in the Nakhon Chaisri temporary remand facility (“Nakhon Chaisri Facility”) inside the 11th Military Circle military base with other prisons.
The lawyer was not allowed to access into the area of detention, the meetings were done out of the area, at the headquarter building.
On the days, only two prisoners, the alleged of bombing at Bangkok’s Erawan Shrine, were detained in separated cells in this remand facility. Every time he met the prisoners, they were blindfolded while being brought from somewhere behind the building.
The officers on duty the lawyer met, those just assigned to take control of the prisoners, were correctional officers working for other prisons, prior to the assignment, accompanied by armed military officers. The prisoners were blindfolded, footcuffed and handcuffed. Throughout the visit, the military officers were with them, taking note as well as recording their chat.
A week later, Chuchart revisited the prisoners again but, this time, he was not allowed to go inside, as the officers informed, whereas the prisoner was sick. The lawyer was required to provide an attorney appointment granted from the military court. In this regard, he went to the court, unfortunately, he was later informed at his arrival that the appointment could not be proceeded unless it was signed by the offender while he could not meet him.
Once the lawyer was asked, by a journalist, whether he’s informed that his client had confessed or not, he contacted the military court and the prison, for the news to be clarified, but got no reply.
Since then, he was kept from the prison a few times after Maj. Gen. Wijarn Jodtaeng, director of laws and human rights bureau, provide the explanation with the question of “the offender already had a lawyer appointed by the court, how could he has another lawyer?”, while there was a rumor that that the offender confessed for guilty.
While the correctional officer confirmed that Chuchart was a lawyer, then he went back to military court again to do an attorney appointment. Later, he was allowed to meet the prisoner. The latest time he met him, he was instructed to write down his questions and sent to the officers for checking and filtering first. He was allowed to ask 6-7 questions from 10 questions written. Out of the questions prepared, only those open-ended questions could be gave to the prisoner.
The correctional officers told Chuchart that during the detention, the prisoners were interrogated by security officers repeatedly.
The latest time that he went to the prison was, coincidently, when Mor Yong and his colleagues”, after their arrest, were also detained there. Up until now, the number of the correctional officers has been visibly increased, from 2 or 3 to 10, from the very first day of the lawyer’s visit.