จับตากฎหมายจาก สนช.

 

 

จับตากฎหมายจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

กฏหมายที่กำลังมีการเตรียมเสนอ ต่อ สนช.

หมายเหตุ ร่าง พ.ร.บ.ที่มีเครื่องหมาย * อยู่ข้างหลังสามารถคลิกเพื่อเข้าไปหน้าสรุปหรือบทวิเคราะห์กฏหมายนั้นได้
ลำดับ กฎหมาย เสนอโดย สถานะ สาระสำคัญ
1 ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย* กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์    ป้องกันและปราบปรามสื่อรูปแบบต่างๆ ที่จะกระตุ้น ส่งเสริม หรือยั่วยุให้เกิดพฤติกรรมอันตราย โดยกำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สามารถเข้าตรวจค้น ยึด หรืออายัดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
3 ร่าง พ.ร.บ.มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา  กระทรวงยุติธรรม ครม.เห็นชอบ กำหนดเกี่ยวกับผลของการไกล่เกลี่ยคดีอาญา เช่น ผู้เสียหายจะฟ้องคดีมิได้จนกว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป การไกล่เกลี่ยไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะทำการสอบสวนต่อไป 
4 ร่าง พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นการสอบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ   กำหนดให้เมื่อมีการไกล่เกลี่ยคดีอาญา ผู้เสียหายจะฟ้องคดีไม่ได้จนกว่าพนักงานสอบสวนจะมีคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไป ถ้าผู้เสียหายฟ้องคดีอยู่ก่อนแล้วให้ศาลรอการพิจารณาคดีนั้นไว้ 
5 ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา* สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครม.อนุมัติหลักการ ตั้งคณะกรรมการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา และตั้งกองทุนเพื่อนำไปสนับสนุนกิจกรรมของคณะกรรมการ พร้อมกำหนดบทลงโทษ หากมีการกระทำที่ส่งผลให้พุทธศาสนาเสียหาย
6 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา) สำนักงานศาลยุติธรรม   กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดและคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาอาจอนุญาติให้ฎีกาได้เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ
7 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  สำนักงานศาลยุติธรรม   กำหนดให้ศาลอาจรอกำหนดโทษหรือรอการลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดซึ่งจะถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือกักขังหรือปรับและเพิ่มเติมเงื่อนไขในการคุมความประพฤติ
8 ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ   กำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ระบบไต่สวน

 

10

ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ด้วยการจัดทำแผนระดับชาติว่าด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล 
11 ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 
12 ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์* กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ 
13 ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล* กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครม.อนุมัติหลักการ

เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้หรือเปิดเผย  และข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ สิทธิของเจ้าของข้อมูล หลักเกณฑ์การร้องเรียน และการให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

14 ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครม.เห็นชอบ เป็นการกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ และการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
15 ร่าง พ.ร.บ. กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ครม.อนุมัติหลักการ เป็นการจัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้มีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
16

ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การบังคับคดี) 

กระทรวงยุติธรรม ครม.อนุมัติหลักการ  คุ้มครองให้ผู้ซื้อห้องชุดจากการขายทอดตลาดไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่ายส่วนกลางก่อนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพราะความรับผิดดังกล่าวเป็นของเจ้าของห้องชุดคนเดิม และเพื่อวางแนวทางให้นิติบุคคลอาคารชุดต้องดำเนินการเพื่อขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิเหนือห้องชุดดังกล่าวจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด
17 ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา)  สำนักงานศาลยุติธรรม ครม.อนุมัติหลักการ  กำหนดให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้าและให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในคดียาเสพติดมีผลเป็นที่สุด ฯลฯ 
18 ร่าง พ.ร.บ. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมการจัดสรรเงินที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่ง แต่ส่วนสำคัญคือเงินรางวัลจะไม่น้อยลงไปกว่าเดิม คือจะอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 60 รายได้ของรัฐจะถูกปรับลดลงจาก 28% เหลือ 20% ส่วนต่างที่เหลือนำไปจัดตั้งกองทุนเพื่อจัดซื้อสลากเลขไม่สวยและสลากที่ขายไม่หมดกลับคืน เพื่ออุดช่องโหว่ในการจำหน่ายเกินราคา
19 ร่าง พ.ร.บ.อาหาร กระทรวงสาธารณสุข ครม.เห็นชอบ กำหนดให้การผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องจัดให้มีระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร และสถานที่ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด  รวมถึงการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การขอขึ้นทะเบียนอาหารควบคุมพิเศษ และการขอจดแจ้งรายการอาหารควบคุม
20 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร [มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing)] กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดราคาซื้อขายสินค้าแบบสมยอมกัน ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลี่ยงภาษีได้ โดยได้เพิ่มบทบัญญัติในประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้ และรายจ่าย รวมทั้งกำหนดอายุความในการขอคืน และกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันยื่นเอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกันต่อเจ้าพนักงานประเมิน 
22 ร่าง พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครม.อนุมัติหลักการ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งมีสารที่เป็นอันตรายเป็นส่วนประกอบ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เป็นต้น โดยให้ผู้ผลิตรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัดซาก และผลักดันให้ผู้ผลิตเพื่อปรับปรุงออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
23 ร่าง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายภาษีสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ นำกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องสรรพสามิตทั้ง 7 ฉบับมารวมเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี พร้อมทั้งให้กำหนดการประเมินภาษีจากนี้ ณ ราคาขายปลีก เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นธรรมมากขึ้น และปรับปรุงอายุความในการประเมินภาษีจาก 2 ปี เป็น 3 ปี 
24 ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ เป็นการนำกฎหมายทั้ง 7 ฉบับมารวมกันในฉบับเดียว ประกอบด้วย กฎหมายสรรพสามิต กฎหมายภาษีสรรพสามิตเรื่องของไพ่ สุรา ยาสูบ พิกัดสรรพาสามิต การจัดสรรพเงินจากภาษีสรรพสามิต และการจัดสรรเงินจากภาษีสุรา โดยร่างฯ ฉบับนี้จะยกเลิก พ.ร.บ.เดิมในอดีตทั้งหมด 46 ฉบับ
25 ร่าง พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ เพิ่มบทบัญญัติเพื่อให้อำนาจแก่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ต้องเป็นสมาชิกขององค์กรผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับสมาคมกำกับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทั้งหมด และกำหนดบทบัญญัติเพื่อรองรับการจดทะเบียนจัดตั้ง “องค์กรผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่กำกับดูแลสมาชิก” แทน
26 ร่าง พ.ร.บ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครม.อนุมัติหลักการ ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551, กำหนดให้จัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการ กำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ โดยมีคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ 11 คน 
27 ร่าง พ.ร.บ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดหมายเลขกลางเพียงหมายเลขเดียวเพื่อใช้ขอความช่วยเหลือคือ 911 โดยไม่คิดค่าบริการและหากโทรก่อกวนจะมีความผิด ทั้งนี้หมายเลข 191 ยังคงใช้ได้แต่จะดึงข้อมูลมาที่หมายเลข 911
28 ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม    ครม.เห็นชอบ  
29 ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติการเปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาค)  ศาลปกครอง ครม.อนุมัติหลักการ ศาลปกครองในภูมิภาคจะเปิดทำการเมื่อใดให้ประธานศาลปกครองสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ศป. ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดวันเปิดทำการ, ประธานศาลปกครองสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.บ.ศป. มีอำนาจออกประกาศเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลปกครองชั้นต้น, กำหนดให้บรรดาเงินต่าง ๆ  ในคดีที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลปกครองหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งสิทธิให้ตกเป็นของแผ่นดิน
31 ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509  คณะรัฐมนตรี ครม.เห็นชอบ ยกเลิก พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, กำหนดให้สมาคมการค้าที่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ. 2509 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากประสงค์จะเป็นสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และเมื่อได้แจ้งแล้วให้ถือว่าสมาคมดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
32 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (แก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการรวมกันเป็นสมาคมของบุคคล)  คณะรัฐมนตรี ครม.เห็นชอบ กำหนดให้การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันย่อมกระทำได้ แต่ต้องมิใช่การหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน การก่อตั้งสมาคมให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, สมาคมต้องใช้ชื่อที่มีคำว่า “สมาคม” และคำว่า “จดทะเบียน” ประกอบกับชื่อของสมาคม
33 ร่าง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ  คณะรัฐมนตรี ครม.เห็นชอบ ผู้ใดใช้คำว่า “สมาคม” และคำว่า “จดทะเบียน” ประกอบกับชื่อในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจโดยมิได้เป็นสมาคมที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้, ผู้ใดใช้คำว่าสมาคมในการดำเนินกิจการเพื่อหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ไม่ว่าจะเป็นสมาคมที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
34 ร่าง พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ครม.อนุมัติหลักการ
ปรับปรุงนิยาม “เครื่องมือแพทย์” และเพิ่มนิยาม “อุปกรณ์เสริม” และ “ผู้จดแจ้ง” เพื่อสอดคล้องกับความตกลงอาเซียน, เพิ่มอำนาจรัฐมนตรีในการออกประกาศกำหนดการจัดระดับความเสี่ยงของเครื่องมือแพทย์, แก้ไขเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ ได้แก่ ยกเลิกมาตรการตรวจสอบผ่านด่านกรณีส่งออกเครื่องมือ-แก้ไขระยะเวลายื่นคำขอตามความเหมาะสม
แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551
35 ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครม.เห็นชอบ  กำหนดให้ผู้ประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมต้องรับผิดชดใช้ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เป็นผลจากการดัดแปลงพันธุกรรมที่ไม่อยู่ในบัญชีปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ยกเว้นพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้น เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้เสียหายเอง
36 ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพบุคลากรการกีฬา  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครม.อนุมัติหลักการ จัดตั้งสภาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน องค์กรทางการกีฬา เช่น สมาคม สโมสร ชมรม ฯลฯ โดยสภาวิชาชีมีหน้าที่รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ, กำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพ, รับรองมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ฯลฯ 
38 ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ
ให้อำนาจผู้มีหน้าที่รายงานส่งข้อมูลทางภาษีให้กับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจและให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจมีอำนาจในการส่งข้อมูลดังกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตามความตกลงได้, 
เป็นกฎหมายกลางที่ทำให้ไทยสามารถปฏิบัติตามความตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีกับรัฐบาลประเทศต่างๆ อาทิ ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย-สหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือในการปรับปรุง การปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม FATCA
39 ร่าง พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ สำนักงบประมาณ ครม.อนุมัติหลักการ  
40 ร่าง พ.ร.บ.การเงินการคลังของรัฐ กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ  
41 ร่าง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด  กระทรวงยุติธรรม ครม.อนุมัติหลักการ เป็นการรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมยาเสพติด การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และวิธีพิจารณาคดียาเสพติด รวมทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง มารวมไว้ในฉบับเดียวกัน พร้อมทั้งปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
42 ร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ ปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนกระบวนการจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงิน กระบวนการดำเนินงานของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และขยายวงเงินความคุ้มครองเงินฝากเป็นการชั่วคราวและลดลงอย่างเป็นลำดับขั้น
43 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ครม.อนุมัติหลักการ
เป็นการปรับปรุงกฎหมายในส่วนเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท การควบรวมบริษัท การจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อลดอุปสรรคและเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
44 ร่าง พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 โดยแก้ไขขอบเขตของ “หนี้สาธารณะ” ให้ครอบคลุมเฉพาะหนี้ที่กระทรวงการคลังมีอำนาจบริหารจัดการและรับผิดชอบโดยไม่รวมหนี้ของหน่วยงานในภาคการเงิน และหนี้เงินกู้ของหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กำหนดหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแลความเสี่ยงทางการคลัง ปรับปรุงองค์ประกอบและเพิ่มเติมอำนาจของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
45 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย  กระทรวงการต่างประเทศ ครม.อนุมัติหลักการ
กำหนดให้การให้ความคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศหรือการประชุม
ระหว่างประเทศต้องทำความตกลงเป็นหนังสือ รวมทั้งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้และให้เท่าที่จำเป็น
46 ร่าง พ.ร.บ.การบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด  กระทรวงยุติธรรม   กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด โดยมีรมว.ยุติธรรม เป็นประธาน เจ้าหน้าที่พนักงานกรมพินิจห้ามใช้เครื่องพันธนาการใดๆ กับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสถานควบคุม เว้นแต่มีความจำเป็น
47 ร่าง พ.ร.บ.โรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมให้โรงงานจัดทำการประกันภัย   หรือกองทุนสำหรับเยียวยาความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินบุคคลภายนอก กำหนดเกี่ยวกับการขอนุญาต เพิ่มบทลงโทษ
48 ร่าง พ.ร.บ.การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบังคับตามคำสั่งศาลในคดีอาญา สำนักงานศาลยุติธรรม ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้ศาลอาจมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย 
49 ร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย กระทรวงอุตสาหกรรม ครม.อนุมัติหลักการ
ยกระดับคณะกรรมการวัตถุอันตราย ขึ้นเป็นคณะกรรมการวัตถุอันตรายแห่งชาติ, กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับการควบคุมวัตถุอันตราย, แก้ไขเพิ่มเติมอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนจากเดิมไม่เกิน 6 ปี เป็น ไม่เกิน 10 ปี, เพิ่มบทลงโทษ, 
รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบมีอำนาจออกประกาศยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ สำหรับวัตถุอันตรายที่ใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และการพัฒนา
50 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ฯ) กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ ปรับปรุง 4 เรื่อง 1. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. การหักภาษีและนำส่งภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ 3. การจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และ 4. การนำส่งข้อมูลธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 
51 ร่าง พ.ร.บ.เงินทดแทน กระทรวงแรงงาน ครม.อนุมัติหลักการ ปรับปรุงแก้ไขขอบเขตการใช้บังคับให้ครอบคลุมถึงลูกจ้างของส่วนราชการ, เพิ่มเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้าง, ลดการจ่ายเงินเพิ่มกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบหรือจ่ายไม่ครบจำนวน และแก้ไขบทกำหนดโทษ
52 ร่าง พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ   กระทรวงพาณิชย์ ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขนิยาม คำว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย” ให้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้เสียในการไต่สวนการหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน และกำหนดให้มีบทบัญญัติในเรื่องมาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน เป็นหมวดใหม่
53 ร่าง พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ผู้ว่าฯ กทม.และประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเข้าไปด้วย, เพิ่มผู้นำเครือข่ายชุมชน นักวิชาการ ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าเป็นคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวระดับพื้นที่
55 ร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ กระทรวงอุตสาหกรรม ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้ตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา ตราด หนองคาย นราธิวาส เชีนงราย นครพนม กาญจนบุรี เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามร่าง พ.ร.บ.นี้, อนุญาตให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ การยกเว้นหรือการลดหย่อนภาษี การนำคนต่างด้าวเข้ามา,
56 ร่าง พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  กระทรวงอุตสาหกรรม ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขให้ กนอ. มีอำนาจอนุมัติตามกฎหมาย จากเดิมที่มีอยู่ 3 ฉบับ เป็น 9 ฉบับ เพื่อให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จภายในเขตนิคมอุตสาหกรรมสอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ 
57 ร่าง พ.ร.บ.กักพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขนิยามคำว่า “พืช” โดยตัดถ้อยคำว่า ผึ้ง รังผึ้ง ออก, แก้ไขส่วนของคณะกรรมการ เช่น เพิ่มอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้แทน และเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติหรือผู้แทน 
58 ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้ดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ, จัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 5 ปี, จัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจและพัฒนารัฐวิสาหกิจในฐานะผู้ถือหุ้นเชิงรุก 
59 ร่าง พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครม.อนุมัติหลักการ
แก้ไขเพิ่มเติม.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร 
พ.ศ.2551 อาทิ บัญญัติให้ พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่ “สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีมาตรฐานบังคับไว้ภายใต้กฎหมายอื่นแล้ว”, แก้ไขให้สินค้าเกษตร หรือขนาดหรือลักษณะของกิจการของการผลิต ส่งออก หรือนำเข้าสินค้าเกษตร อยู่ภายใต้มาตรฐานบังคับทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ เป็นต้น 
61 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (การไต่สวนมูลฟ้อง หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียม)  สำนักงานศาลยุติธรรม ครม.อนุมัติหลักการ
กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งทนายความให้แก่จำเลยและให้สิทธิจำเลยแถลงให้ศาลทราบถึงพยานหลักฐานที่ควรเรียกมาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง, เพิ่มบทบัญญัติการกำหนดกรณีที่ศาลอาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้ 
62 ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ครม.อนุมัติหลักการ เป็นการอนุวัติตามข้อตกลง ASEAN MRA on TP,  ให้มีคณะกรรมการรับรองสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยว มีอำนาจประเมินสมรรถนะของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เช่น บุคลากรแผนกแม่บ้าน แผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกประกอบอาหาร เป็นต้น และออกหนังสือรับรองสมรรถนะ 
63 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครม.เห็นชอบ ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติในกฎหมายอื่นที่มีหลักการในลักษณะเดียวกันกับบทบัญญัติดังกล่าวมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 
65 ร่าง พ.ร.บ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล สภาความมั่นคงแห่งชาติ  ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเรียกโดยย่อว่า “นปท.” โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกฯ เป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล และมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 
66 ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์  กระทรวงกลาโหม ครม.อนุมัติหลักการ พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่อาวุธที่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ. 2550, กำหนดให้อาวุธซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 21 ต.ค. 2519 มีไว้ในครอบครองโดยได้รับอนุญาตตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 37 ให้ถือว่าเป็นอาวุธซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.นี้ 
67 ร่าง พ.ร.บ.การค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง กระทรวงพาณิชย์ ครม.อนุมัติหลักการ กำกับการส่งออก ผ่านแดน ถ่ายลำ และการเป็นคนกลางซึ่งสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
68 ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครม.อนุมัติหลักการ
แก้ไขนิยามคำว่า “วิสาหกิจ” และ “องค์การเอกชน” ให้ครอบคุลมถึงภาคการเกษตร, ให้ใช้เกณฑ์จำนวนรายได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้วย 
69 ร่าง พ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กระทรวงอุตสาหกรรม ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการบริหารจัดการ การพัฒนาพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกรวม 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา
71 ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครม.อนุมัติหลักการ
ให้เจ้าของที่ดินสามารถโอนที่ดินให้ทายาทโดยธรรม, เพิ่มให้ ส.ป.ก. มีอำนาจในการจัดซื้อที่ดินนอกเขตปฏิรูปที่ดินได้ โดยไม่ต้องประกาศเขตปฏิรูป
ที่ดิน, ยกเลิกการห้ามจำหน่ายหรือก่อให้เกิดภาระติดพันใดๆ ในที่ดิน
72 ร่าง พ.ร.บ.สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย  กระทรวงยุติธรรม ครม.อนุมัติหลักการ ให้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 เป็นสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัตินี้
73 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (การกำหนดฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร) กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ ในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน ให้เจ้าพนักงานผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมใช้ราคาขายที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินแสดงหรือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้นั้น
74 ร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 กำหนดให้คณะกรรมการสถานบำบัดมีอำนาจให้ความยินยอมในการบำบัดรักษาทางกายแทนบุคคล (ผู้ป่วย) รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติจัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพจิต การป้องกันและควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต แบบมีส่วนร่วม โดยเชื่อมโยงกันทั้งระดับชาติ จังหวัด และท้องถิ่น
75 ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ ตั้งคณะกรรมการนโยบายบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาและกำกับดูแลระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศให้มีความครอบคลุมและมีเอกภาพ
76 ร่าง พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ จัดตั้ง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ” กำหนดให้ผู้ประกอบการทุกรายที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบขั้นบันได
77 ร่าง พ.ร.บ.กองทุนเพื่อการสนับสนุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ จัดตั้งกองทุนรวมฯ เพื่อจัดหาแหล่งทุนใหม่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ และสนับสนุนให้โครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐได้รับการพัฒนามากขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะ
78 ร่าง พ.ร.บ.นโยบายการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ครม.อนุมัติหลักการ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ, กำหนดให้แผนการพัฒนากีฬาแห่งชาติมีระยะเวลา 5 ปี 
79 ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้ผู้ประกอบการใช้สกุลเงินต่างประเทศในการคำนวณรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได้, ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
80 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ เพื่อให้บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถใช้สกุลเงินต่างประเทศในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการกำหนดให้ใช้สกุลเงินอื่น  ที่ไม่ใช่สกุลเงินไทยในการคำนวณรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม   
83 ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ครม.อนุมัติหลักการ ยกเลิก พ.ร.บ.สถาบันพลศึกษา พ.ศ. 2548 และให้สถาบันการพลศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, ให้แบ่งมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 ภาค ได้แก่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ โดยแต่ละภาคประกอบด้วยวิทยาเขตและโรงเรียนกีฬา
86 ร่าง พ.ร.บ.การยาสูบแห่งประเทศไทย  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้โรงงานยาสูบมีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยเปลี่ยนชื่อเป็น การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) กำหนดให้มีคณะกรรมการยาสูบแห่งประเทศไทย กำหนดให้มีผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย
87 ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ  สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ครม.อนุมัติหลักการ ปรับเปลี่ยนสถานภาพของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม 
88 ร่าง พ.ร.บ.โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงสาธารณสุข ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดกลไก หลักเกณฑ์ และมาตรฐานเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกันและการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม       
91 ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม ครม.อนุมัติหลักการ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยคณะกรรมการมีหน้าที่กำหนดนโยบาย เสนอความเห็นและให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรี, อธิบดีอาจเพิกถอนอนุญาตได้ เมื่อผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิธีการประกอบกิจการที่ดีจนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
92 ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย   ครม.เห็นชอบ ขยายหลักการในเรื่องผู้เสียหายกรณีบุคคล ผู้ถูกกระทำให้สูญหาย เพื่อให้สามี ภริยา ผู้บุพการี และผู้สืบสันดานของผู้ได้รับความเสียหายสามารถเข้ามาต่อสู้คดี, กำหนดให้คดีความผิดตามร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นคดีพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ, แก้ไขเพิ่มเติมให้ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
94  ร่าง พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร  กระทรวงสาธารณสุข ครม.อนุมัติหลักการ ควบคุม กำกับ ดูแลเป็นการเฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่เป็นยาแผนไทย ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
95 ร่าง พ.ร.บ.กีฬามวย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ. 2542 ยกเลิกกองทุนกีฬามวย และโอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระผูกพัน สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างของกองทุนกีฬามวยตาม พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ. 2542 ให้ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 
96 ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 63/2559, ยกเลิกหมวด 5 กองทุน (กองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพ) และให้โอนบรรดาทรัพย์สิน หนี้สิน ภารผูกพัน สิทธิ หน้าที่ รวมทั้งพนักงานและลูกจ้างของกองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 ไปเป็นของกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติตาม พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
97
ร่าง พ.ร.บ.สหกรณ์ 
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากภาคเอกชนเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ, นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งใดๆ และดำเนินคดีต่อบุคคลที่ทำให้สหกรณ์เสียหาย
98 ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครม.อนุมัติหลักการ กำหนดให้มี คทช. ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน, การดำเนินนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
99 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของ คจช. และแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ คจช. ให้มีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับอำนาจของ คทช.
100
ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว 
  ครม.อนุมัติหลักการ ยกเลิกฉบับ 2550 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ กำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัว การให้ความคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว การบำบัดฟื้นฟู และวิธีปฏิบัติต่อบุคคลในครอบครัว 
101 ร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียว กระทรวงพาณิชย์ ครม.เห็นชอบ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าสู่ระบบด้วยการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย 
102 ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  กระทรวงการคลัง ครม.อนุมัติหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจในการกระทำกิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ
* คสช./ครม.อนุมัติหลักการ หมายถึง ฝ่ายบริหารรับร่างกฎหมายแล้วส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อ 
** คสช./ครม.เห็นชอบ หมายถึง คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จส่งให้ฝ่ายบริหารเห็นชอบก่อนส่งให้ สนช.
กฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.
ลำดับ กฎหมาย เสนอโดย สถานะ สาระสำคัญ  
1 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล* ครม. ผู้เสนอขอถอน กำหนดมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยห้ามผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือความดูแลของตน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคล  
6 ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว   รับหลักการ แก้ไขนิยามเกี่ยวกับเด็กจากเดิมที่ว่า บุคคลอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ เป็น บุคคลที่มีอายุ 10 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์, . แก้ไขกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุเด็กและปรากฏภายหลังว่าเด็กนั้นมีอายุไม่เกิน 10 ปี ในขณะกระทำความผิดและเด็กอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจหรือองค์การอื่นใด ให้สถานพินิจหรือองค์การดังกล่าวรายงานให้ศาลทราบ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวเด็กและให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก  
8 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (มาตรการปรับปรุงการยกเว้นเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน) กระทรวงการคลัง รับหลักการ เพื่อให้สอดรับกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อบุตรหนึ่งคนตลอดปีภาษี  โดยให้คิดเฉพาะเงินได้ที่ได้รับมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป  
10 ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต กระทรวงการคลัง รับหลักการ เป็นการนำกฎหมายทั้ง 7 ฉบับมารวมกันในฉบับเดียว ประกอบด้วย กฎหมายสรรพสามิต กฎหมายภาษีสรรพสามิตเรื่องของไพ่ สุรา ยาสูบ พิกัดสรรพาสามิต การจัดสรรพเงินจากภาษีสรรพสามิต และการจัดสรรเงินจากภาษีสุรา โดยร่างฯ ฉบับนี้จะยกเลิก พ.ร.บ.เดิมในอดีตทั้งหมด 46 ฉบับ  
11 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน รับหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษความผิดที่กระทำต่อแรงงานเด็ก   
14 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (แก้ไขอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา   รับหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ, ปรับปรุงโทษ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัส, ปรับปรุงอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด โดยเพิ่มอัตราโทษปรับในสัดส่วนอัตราโทษจำคุกหนึ่งปีต่ออัตราโทษปรับสองหมื่นบาท  
15 ร่าง พ.ร.บ.สถาบันภูมิราชธรรม  ครม. ผ่่านวาระ 1 ให้มีการจัดตั้ง “สถาบันภูมิราชธรรม” เป็นสถาบันอุดมศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เป็นนิติบุคคลมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ และอยู่ในอุปถัมภ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  
16 ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ครม. ผ่านวาระ 1    
19 ร่าง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน กระทรวงมหาดไทย รับหลักการ แก้ไขผู้ออกใบอนุญาตและผู้ขอใบอนุญาต, กำหนดมาตรการควบคุมสิ่งเทียมอาวุธปืนชนิดร้ายแรง, กำหนดมาตรการควบคุมดอกไม้เพลิงชนิดร้ายแรง เช่น บั้งไฟ ตะไล  
20 ร่าง พ.ร.บ.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม   รับหลักการ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 โดยขยายขอบเขตของหลักทรัพย์และสถาบันการเงินเพื่อให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้กว้างขึ้น และเพิ่มอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ของบรรษัทฯ   
21 ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารออมสิน  กระทรวงการคลัง รับหลักการ แก้ไขให้คณะกรรมการธนาคารออมสินเป็นผู้กำหนดวงเงินค่าใช้จ่าย ประกาศงบดุล และประกาศฐานะการเงินโดยย่อของธนาคารออมสินประจำไตรมาสภายในหกเดือนต้นของปีถัดไป ประกาศรายงานประจำปีว่าด้วยธุรกิจซึ่งธนาคารออมสินได้จัดทำในระหว่างปี และให้ธนาคารออมสินสามารถได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือจากแหล่งอื่นได้  
22 ร่าง พ.ร.บ.ระบบการชำระเงิน กระทรวงการคลัง รับหลักการ สถาบันใดก็ตาม เมื่อโอนเงินเสร็จสิ้นตามกระบวนการแล้ว ต่อมาภายหลังมีคำสั่งของศาลมาว่าล้มละลาย  จะเพิกถอนสิ่งที่โอนไปแล้วกลับมาไม่ได้ เพราะถือว่าได้ดำเนินการจนสิ้นสุดไปแล้ว  
23 ร่าง พ.ร.บ.การปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ   รับหลักการ    
24 ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (เกี่ยวกับการพ้นจากราชการของข้าราชการตุลาการ)  สำนักงานศาลยุติธรรม รับหลักการ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 แก้ไขเพิ่มเติมให้ข้าราชการตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการตุลาการผู้นั้นมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์  
25 ร่าง พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส (เกี่ยวกับการกำหนดให้ข้าราชการตุลาการไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบหกสิบห้าปี)  สำนักงานศาลยุติธรรม รับหลักการ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส พ.ศ. 2542 เพิ่มเติมให้ข้าราชการตุลาการที่มีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่และให้ไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส จนกว่าจะพ้นจากราชการตามกฎหมาย  
26 ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด รับหลักการ กำหนดให้อัยการอาวุโสไม่มีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)   
27 ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง   รับหลักการ ยกเลิกกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดินและกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบจัดเก็บภาษีดังกล่าวแทน  
28 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน รับหลักการ เพิ่มมาตรา 118/1 ให้กรณีการเกษียณอายุเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง ในกรณีที่มิได้ตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุลูกจ้างไว้ให้ลูกจ้างเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย และกำหนดโทษสำหรับนายจ้างที่ฝ่าฝืนไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ  
29 ร่าง พ.ร.บ.มาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล   รับหลักการ กำวหนดมาตรการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและผู้ที่หลบหนี รวมทั้งการนำเงินค่าปรับตามคำพิพากษาในคดีอาญามาเป็นค่าใช้จ่ายในมาตรการนี้ด้วย  
30 ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน   รับหลักการ    
31 ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561   รับหลักการ    
32 ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง   รับหลักการ    
กฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของ สนช.
ลำดับ กฎหมาย เสนอโดย สถานะ สาระสำคัญ
1 พ.ร.บ.ศุลกากร *

คสช.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา
แก้ไขพ.ร.บ.ศุลกากร เดิม กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอต่ออธิบดีกรมศุลกากรเพื่อพิจารณากำหนดราคาของนำเข้ากำหนด ถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้า กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากร
2 พ.ร.บ.
จัดตั้งศาลปกครองและ
วิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2557
คสช.

 ประกาศราชกิจจานุเบกษา

แก้ไขข้อความของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ เดิม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (กศป.) ให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีความกังวลว่าการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 จะทำให้กศป.ต้องสิ้นสุดลงหรือไม่
3  พ.ร.บ.การถวายความปลอดภัย พ.ศ. 2557  คสช.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา

แก้กฎหมายปี 2549 จากการ "รักษาความปลอดภัย" เป็น "ถวายความปลอดภัย" ทหารและตำรวจมีหน้าท่ีในการถวายความปลอดภัยตามที่สมุหราชองครักษ์กําหนด
4 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ 20* คสช. คุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก้ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ค้ำประกันรู้ก่อนภายใน 60 วันนับแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
5 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร  (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63)* คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา
กำหนดให้การขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ให้ยื่นคำร้องขอคืนได้ภายในสามปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษี
6

พ.ร.บ.การ
กลับไปใช้ในสิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2557

 

คสช.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา

ขยายสิทธิให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนำญข้าราชการ และผู้รับบำนาญอยู่ในวันก่อนวันที่บทบัญญัติ หมวด 3 ใช้บังคับ สามารถกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนำญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ได้
7 พ.ร.บ.แก้ไข
เพิ่มเติม พรก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2557
คสช.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา

แก้ไขพ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกกร ให้รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง มีอำนาจกำหนดอัตราศุลกากรตามราคาหรือตามสภาพได้ ให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจกำหนด ถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ และตีความพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อจำแนกประเภทของของล่วงหน้ำก่อนการนำของเข้ามาในราชอาณาจักร 
8 พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน (ฉบับที่ 3) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขมาตรา 25 พ.ร.บ.กองอาสารักษาดินแดน ให้ทายาทของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนซึ่งเสียชีวิตภายหลังจากที่ได้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุพิการทุพพลภาพมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด 
9 พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2557 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขปรับเกณฑ์น้ำหนักรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลให้เพิ่มขึ้นจาก 1,600 กก. มาเป็น 2,200 กก. ให้อำนาจนายทะเบียนในการเข้าตรวจสถานที่และยึดแผ่นป้ายทะเบียนรถที่ค้างชำระภาษี และปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมและบทกำหนดโทษ 
10 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2557 (ปรับปรุงหน่วยงานที่ได้รับยกเว้นภาษี) คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงน้ำหนักของรถยนตร์ส่วนบุคคลจาก 1,600 กก. เป็น 2,200 กก. เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิตรถในปัจจุบันที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปมาก เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการการตรวจสภาพรถให้ได้รับความเป็นธรรม และปรับปรุงบทกำหนดโทษ
  พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2557    ประกาศราชกิจจานุเบกษา เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนการรูปแบบของหน่วยงานรัฐใหม่ จึงต้องแก้ไขกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้รับการยกเว้นการขออนุญาตการประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีประจำปี 
11 พ.ร.บ.การรับขนคนโดยสารทางถนนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2557 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้มีกฎหมายที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดในเรื่องการรับขนคนโดยสารระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะตามที่ได้มีการทำความตกลงระหว่างประเทศ
12 พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขพ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด กำหนดให้มีคณะกรรมการชั่งตวงวัด กำหนดการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจชั่งตวงวัด และการควบคุมเครื่องชั่งตวงวัด กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษทางอาญา และปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม
13 พ.ร.บ.การคุ้มครอง
คนไร้ที่พึ่ง
*
คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางดำเนินการให้ความคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และให้จัดตั้งสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เพื่อให้ความช่วยเหลือบุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ 
14 พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2557  ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษสายบางพลี – สุขสวัสดิ์ ในท้องที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ (ที่ดินจำนวน 26 แปลง)
  พ.ร.บ.ศุลกากร (

ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2557
คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดหลักเกณฑ์การนำสินค้าผ่านเข้าออกประเทศ กำหนดถิ่นของที่นำเข้า รวมทั้งกำหนดพิกัดนำเข้าสินค้า 
15 พ.ร.บ.ศุลกากร (
ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2557
ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไข พ.ร.บ.ศุลกากร เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินพิธีการศุลกากรที่ใช้กับพื้นที่ควบคุมร่วมกัน
16 พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดหลักเกณฑ์ป้องกันการทำรุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์เพื่อให้สัตว์ได้รับการคุ้มครองตามธรรมชาติของสัตว์อย่างเหมาะสมตามประเภทและชนิดของสัตว์ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้ ในงานหรือใช้ในการแสดง
17 พ.ร.บ.ส่งเสริมการ
พัฒนาฝืมือแรงงาน พ.ศ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานฯ เพื่อกำหนดสาขาอาชีพ หรือลักษณะงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะหรือต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ ซึ่งต้องดำเนินการโดยผู้ผ่านการรับรองความรู้ความสามารถ กำหนดให้ค่าธรรมเนียมหรือค่าทดสอบตกเป็นเงินของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการซึ่งจ้างงาน ฯลฯ
18

 พ.ร.บ.สถาน
พยาบาลสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557

ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไข พ.ร.บ.สถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ.2533 ในบทนิยาม แก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาต กำหนดให้ผู้รับอนุญาตแสดงรายการอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการ แก้ไขอัตราค่าธรรมเนียม ฯลฯ
19 ร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก (ปรับปรุงหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นภาษีประจำปี) กระทรวงคมนาคม ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อยกเว้นการขออนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล และยกเว้นภาษีรถประจำปีให้มหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของรัฐ วัด มัสยิด มูลนิธิ สภากาชาดไทย 
20 พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558* คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อรับคำร้อง และศูนย์รับคำขออนุญาตตามกฎหมายต่างๆ ให้ยื่นได้ ณ จุดเดียว กำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตของหน่วยราชการให้ชัดเจน 
21 พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 คสช. แก้ไขพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับบทบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาตที่กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกฯ โดยแก้ไขหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอและกำหนดระยะเวลาในการทำคำสั่ง ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายอื่นกำหนดระยะเวลาในเรื่องนั้นไว้
22 พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันเพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่เกิดกับสัตว์ การทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปรับปรุงบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
23 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557 คสช.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา

แก้ไขพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 
(1) หลักเกณฑ์การนำเข้า ส่งออก สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยให้ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า
(2) แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 55)
(3) แก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียม
24 พ.ร.บ.งาช้าง พ.ศ. 2558 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรการควบคุมการค้าหรือการครอบครองงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปงาช้าง เพื่อมิให้มีการนำงาช้าง ที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาปะปน กับงาช้างตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาCITES ที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามในฐานะประเทศสมาชิก
25 พ.ร.บ.การรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558  คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับขนทางอากาศระหว่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติระหว่างประเทศ 
26 พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558* คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 ให้ผู้ควบคุมอากาศยานไทยและเจ้าหน้าที่มีอำนาจรับแจ้งและรับตัวบุคคลผู้กระทำความผิดในอากาศยานในระหว่างการบิน เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดที่กำหนดในอนุสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี กำหนดความผิดที่ผู้โดยสารได้กระทำในอากาศยานในระหว่างการบินต่อผู้ควบคุมอากาศยาน เจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ผู้โดยสารและต่อทรัพย์สิน
27 พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2557 (ส่งใบสั่งทางไปรษณีย์)* ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา

แก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่พบการกระทำความผิด สามารถส่งใบสั่งไปยังภูมิลำเนาของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ (แก้ไขมาตรา 140 วรรคหนึ่ง)
28  พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 (กำหนดสัญญาณจราจรเพิ่มเติมกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ไฟฉายเรืองแสงในการแสดงสัญญาณจราจรได้)* ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา

แก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก โดยกำหนดอุปกรณ์เพื่อช่วยในการแสดงสัญญาณจราจร (เพิ่มมาตรา 24 วรรคสาม) และกำหนดข้อสันนิษฐานในกรณีผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบโดยไม่มีเหตุอันควร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142)
29 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) พ.ศ. 2557 (มาตรการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้ห้างหุ้นส่วนสามัญและนิติบุคคล)* ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา

1) เพิ่มนิยามคำว่า "คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล" หมายความว่าบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกันอันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
2) กำหนดให้เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ไม่ได้รับการยกเว้นจากเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้
30 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 *

ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพิ่มความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากโรงภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และเพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าว (เพิ่มมาตรา 28/1 และมาตรา 69/1) เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของคนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยิน คนพิการทางสติปัญญา (เพิ่มมาตรา 32 วรรคสอง (9))
31 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 * ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไข พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพิ่มบทนิยามคำว่า “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” “มาตรการทางเทคโนโลยี” และ “การหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยี” เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ กรณีการทำซ้ำที่จำเป็นในระบบคอมพิวเตอร์ เพิ่มอำนาจศาลให้สั่งริบสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
32 พ.ร.บ.
ความลับทางการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไข พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ในประเด็นองค์ประกอบ คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และวิธีการประชุมของคณะกรรมการ และยกเลิกลักษณะต้องห้ามของกรรมการ และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ
33  พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 26)*  พ.ศ.2558 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพื่อกำหนดกระบวนกำหนดเพิ่มการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายจำนวนมากในการดำเนินคดีครั้งเดียว
34 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2558 (กำหนดความผิดเกี่ยวกับเพศ)* คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขความผิดเกี่ยวกับเพศและความผิดต่อเสรีภาพที่มีอายุเด็กเป็นองค์ประกอบความผิด โดยกำหนดไม่ให้ผู้กระทำความผิดอ้างความไม่รู้ของอายุของเด็กเพื่อให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้
35 พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดข้อยกเว้นในการให้สินเชื่อแก่กรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้มีตำแหน่งเทียบเท่า หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงินหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวได้ โดยเฉพาะกรณีก่อนรับตำแหน่ง
36 ร่าง พรบ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์) กระทรวงพาณิชย์ ประกาศราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าเป็นส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงพาณิชย์
37 ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม
(จัดตั้งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ)
กระทรวงการต่างประเทศ ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกฐานะสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ขึ้นเป็นกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยให้เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลรับผิดชอบงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
38  พ.ร.บ.
ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558
ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสมาชิกราชบัณฑิตยสภา และกำหนดให้รายได้ ที่ได้รับจากการให้บริการทางด้านวิชาการและการจัดการศึกษาอบรมสามารถนำไปใช้จ่ายในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
39 พ.ร.บ.
กำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558
ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ขยายหลักสูตรการสอนของสถาบันการศึกษาวิชาการทหารจากระดับปริญญาโทเป็นระดับปริญญาเอก และให้สภาการศึกษาวิชาการทหารมีอำนาจให้ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงและประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่นักเรียนวิชาการทหาร
40 พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ลดขั้นตอนการจัดรูปที่ดินให้สามารถดำเนินการได้เร็ว และส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รวมทั้งนำหลักการของกฎหมายว่าด้วยคันและคูน้ำมากำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้และยกเลิกกฎหมายดังกล่าว
41 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 22)พ.ศ. 2558  (กำหนดนิยามคำว่า "เจ้าพนักงาน")* คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดนิยามคำว่า “เจ้าพนักงาน” ให้รวมถึงบุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นเจ้าพนักงานหรือได้รับแต่งตั้งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะประจำหรือชั่วคราว เพื่อให้มีความชัดแจ้งและลดข้อโต้แย้ง พร้อมทั้งเพิ่มลักษณะความผิดเกี่ยวกับศพ ความผิดเกี่ยวกับการคุกคาม และปรับปรุงอัตราโทษปรับสำหรับความผิดลหุโทษ
42 พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การขู่เข็ญ การใช้กำลังประทุษร้าย
43 พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558  คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมโครงสร้างบริษัทผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทประกันภัยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยจากกองทุนประกันวินาศภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
44 พ.ร.บ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมโครงสร้างบริษัทผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทประกันภัยเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจประกันภัย รวมทั้งให้มีการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยจากกองทุนประกันชีวิตเพื่อให้ความช่วยเหลือเจ้าหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
45 พ.ร.บ.สัตว์เพื่องาน
ทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558

ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดการกำกับดูแลและส่งเสริมการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคุ้มครองชีวิตและสวัสดิภาพของสัตว์ ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมนักวิจัยให้มีผลงานอันเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศต่อไป
46 พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมการออกใบรับรองระบบการประกันคุณภาพอาหารสัตว์ และใบรับรองอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์ การเลิกกิจการและการโอนกิจการ รวมทั้งเรื่องการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบรับรอง และการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์เพื่อประโยชน์ด้านคุณภาพอาหารสัตว์และคุ้มครองผู้บริโภค
47 พ.ร.บ.
ยกเลิก พรบ.การชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2558
ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา

ยกเลิกพระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พุทธศักราช 2482

  ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2558 (จัดตั้งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้การดำเนินงานความร่วมมือเพื่อพัฒนาระหว่างประเทศสามารถปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและความคล่องตัว จึงสมควรยกระดับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ขึ้นเป็นกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ 
  ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2558 (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงพาณิชย์) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของไทย และเป็นการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
48 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฯ เพื่อแบ่งส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
49 พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการกีฬาจังหวัด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งประเทศไทย และหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสมาคมกีฬา
50 พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้ประชาชนหรือชุมชนประมงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการส่งเสริมให้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำได้คุณภาพมาตรฐาน และปลอดภัยเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค
51 พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการผลิต การพัฒนา และการเผยแพร่สื่อ ที่มีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ดีของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาสื่อ
52 พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
53 พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และกำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บเงินจากสถาบันเงินของรัฐเข้ากองทุน เพื่อนำไปช่วยเหลือและสนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
54 พ.ร.บ.การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติบางฉบับ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เนื่องจาก คสช. มีประกาศเรื่องการแต่งตั้งบุคคลในหน่วยงานต่างๆ อาทิ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แต่การแต่งตั้งดังกล่าวได้มีการยกเลิกคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการดังกล่าว เป็นเหตุให้คณะกรรมการทั้ง 2 ชุด มีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกัน ก่อให้เกิดความสับสน จึงต้องตรากฎหมายฉบับนี้ให้มีความชัดเจน ว่าใครปฎิบัติหน้าที่อย่างไร 
55 พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้มี คกก.นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เสนอนโยบายและแผนการบริหารจัดการ ให้มีการสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชนชายฝั่งและ อปท.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และกำหนดกลไกและมาตรการในการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 
56 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ.2540 พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมให้การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องโอนทรัพย์สินอย่างเด็ดขาดไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจ แต่สามารถใช้วิธีให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากนิติบุคคลเฉพาะกิจแทนได้
57 พ.ร.บ.
สถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2558
ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งสถาบันวิทยาลัยชุมชน โดยกำหนดให้มีหน้าที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่ำปริญญา และฝึกอบรมด้านวิชาการหรือวิชาชีพ ซึ่งรูปแบบการจัดการศึกษาให้คำนึงถึงการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง
58 พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงอำนาจหน้าที่คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมในการออกข้อบังคับสภาในเรื่องใบอนุญาต รวมทั้งกำหนดเรื่องอายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต เพื่อให้การประกอบวิชาชีพมีคุณภาพและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
59 พ.ร.บ.สวนป่า พ.ศ. (ฉบับที่2) 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมและจูงใจมีการปลูกสร้างสวนป่าควบคู่ไปกับการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กรอบความร่วมมือด้านป่าไม้ของอาเซียน
60 พ.ร.บ.หอพัก พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้หอพักมี 2 ประเภท คือ หอพักชายและหอพักหญิง และหอพักเอกชนกำหนดให้รับผู้พักได้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากผู้พักดังกล่าวสามารถดูแลตนเองได้พอสมควร
61 พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรียกอีกอย่างว่า กฎหมายอุ้มบุญ มุ่งสนับสนุนผู้ต้องการมีบุตรด้วยการอุ้มบุญอย่างถูกกฎหมาย ทั้งคู่สามีภรรยา คนโสด และกลุ่มเพศที่สาม โดยที่พ.ร.บ.จะคุ้มครองทั้งผู้ว่าจ้าง ผู้รับตั้งครรภ์ และเด็กที่เกิดมา ให้ได้รับสิทธิต่างๆ จากพ่อแม่ทางพันธุกรรม 
62 พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่ 8)* พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ศาลจังหวัดทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร และกำหนดให้ผู้บังคับบัญชาทหารมีอำนาจสั่งควบคุมผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารได้ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็น 
63 พ.ร.บ.ประกันสังคม* (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ขยายขอบเขตการบังคับใช้ให้ครอบคลุมลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ กำหนดการคำนวณค่าจ้างรายวันในการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ รวมทั้งเพิ่มหลักเกณฑ์และอัตราเงินสมทบที่รัฐจะออกให้แก่ผู้ประกันตน
64 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป
65 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป
66 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการรัฐสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป
67

พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558

ครม.

 

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป
68  พ.ร.บ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินเดือนประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสม เป็นธรรม ได้มาตรฐาน โดยคำนึงถึงค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป
69 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพิ่มอำนาจทางปกครองให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายในการเข้าไปตรวจตรา และหากพบการกระทำความผิดค้ามนุษย์ ให้ปิดสถานประกอบกิจการ โรงงาน อาคาร หรือสั่งห้ามใช้เรือและยานพาหนะ เป็นการชั่วคราว
70 พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น จำนวน 11 ฉบับ
71 พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ผู้ชุมนุม แจ้งวัน เวลา และสถานที่ชุมนุมต่อหัวหน้าสถานีตำรวจในท้องที่ ห้ามชุมนุมในสถานที่ราชการ ห้ามชุมนุมในพื้นที่ระยะรัศมี 150 เมตร จากสถานที่ประทับของพระบรมวงศ์นุวงศ์ ฯลฯ และห้ามการจัดปราศรัย เดินขบวน หรือการเคลื่อนย้าย ในช่วงเวลา 22.00น.- 06.00น. 
72 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 3)* พ.ศ. 2558 ประธานกรราการ ป.ป.ช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ป.ป.ช.มีอำนาจในการจับกุม ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดเผยทรัพย์สินด้วย ให้ความผิดฐานคอร์รัปชั่นมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต และไม่มีอายุความ
73 พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
74 พ.ร.บ.การจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เปิดโอกาสให้เจ้าของเรือสามารถจัดหาเรือใหม่เพิ่มเติมและพัฒนากองเรือของตนเองได้โดยใช้ทรัพย์สินที่เป็นเรือที่อยู่ระหว่างการต่อหรือสร้างมาเป็นหลักประกันแก่ผู้ให้สินเชื่อ และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการต่อเรือและธุรกิจพาณิชยนาวีของประเทศ 
75 พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
76 พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
77 พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. 2558*

ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
78 พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
79 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (สื่อลามกอนาจารเด็ก)* จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร กับคณะ ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดความผิดเกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามกเป็นความผิดเฉพาะการมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้า เพื่อการแจกจ่าย  หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน
80 พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 4 )พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกจ้างสามารถจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงขึ้นได้โดยที่นายจ้างไม่จำต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้น
81 พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้จัดตั้งองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบ บริหารจัดการกองทุนพัฒนายางพารา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา
82 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 (แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับค้ำประกันและจำนอง)* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคลสามารถผูกพันตนเพื่อรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วมได้ รวมทั้งสามารถทำข้อตกลงล่วงหน้ายินยอมให้มีการผ่อนเวลาได้ หากเป็นสถาบันการเงินหรือประกอบอาชีพค้ำประกันเพื่อสินจ้างเป็นปกติ
83 พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดมูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก ผู้ได้รับมรดกเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 
84 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้จากการรับให้ เพื่อให้สอดคล้องกับภาษีมรดก
85 พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ผู้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ผู้รับใบอนุญาต เจ้าของหรือผู้ครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่กำหนด และกำหนดอายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว รวมทั้งการให้ผู้ต้องรับผิดและชดใช้ค่าเสียหายแล้ว มีสิทธิในการไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่มีส่วนในการทำให้เกิดความเสียหายด้วย
86  พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ลดขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย  โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้ เพื่อให้การพิจารณาคำขอรับชำระหนี้มีความรวดเร็วขึ้น
87 พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้อำนาจของเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกี่ยวกับการอนุญาต การออกใบอนุญาต ใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การมีคำสั่งไม่อนุญาต  และการสั่งเพิกถอนใบอนุญาต และแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีมีอำนาจในการยกเว้นค่าธรรมเนียม 
88 พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภค และกำหนดให้การโฆษณาเครื่องสำอางจะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
89 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกเลิกการกำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาพฤติการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือการดำเนินการแทนของบุคคล หรือตามคำสั่ง หรือภายใต้การควบคุมของบุคคลที่ถูกกำหนด ที่ต้องมีพฤติการณ์ดังกล่าวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งเป็นบุคคลที่ถูกกำหนด
90 พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา พัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ
91 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 (แก้ไขเพิ่มเติมการอุทธรณ์ฎีกา)* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดและคู่ความอาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาอาจอนุญาติให้ฎีกาได้เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ
92 พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เจ้าของอาคารบางประเภทต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในกรณีที่บุคคลนั้นได้รับความเสียหาย
93 พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558  ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ควบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ เพื่อลดความซ้ำซ้อนของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน 
94 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา18 ของพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 โดยให้แก้มาตรา 18(1) ให้ประธานศาลอุทธรณ์ทำหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการข้าราชการศาล ยุติธรรม(ก.ศ.) จากเดิมที่เป็นรองประธานศาลฎีกาอาวุโสสูงสุด และมาตรา18(3) แก้ไขถ้อยคำตามระบบข้าราชการจากที่เคยใช้การจัดระดับมาตรฐานกลาง (ซี11ระดับ) เป็นการจัดระดับประเภทตำแหน่ง (4ประเภท) และให้มีการแก้ไขบทเฉพาะกาลให้ผู้ที่เป็นก.ศ.เดิม ยังทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าครบวาระ
95

 พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2558

ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ ให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ โดยให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน
96 ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความในศาลแขวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรี ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 เพื่อให้พนักงานอัยการผู้มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายมีอำนาจอนุญาตให้ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง ซึ่งไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
97 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 เพื่อให้พนักงานอัยการผู้มีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย มีอำนาจอนุญาตให้ฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหา ซึ่งไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
98 พ.ร.บ.การผังเมือง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี กับคณะ สนช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.บ. ผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งเดิมมีการกำหนดระยะเวลาการกำหนดผังเมืองรวม 5 ปี ซึ่งเป็นจุดอ่อนให้มีผู้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ จึงแก้ไขร่างดังกล่าวให้ไม่มีกำหนดระยะเวลาโดยไม่กำหนดการหมดอายุ
99  พ.ร.บ.เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ฉบับ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในการพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ให้ครอบคลุมถึงผู้ที่ทางราชการมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลของบุคคลดังกล่าว
100 พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรการในการกำกับดูแลสินค้าที่นำผ่านให้มีความรัดกุมมากขึ้น ป้องกันการใช้วิธีนำผ่านเป็นช่องทางลักลอบส่งออกหรือนำเข้าสินค้าและเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ 
101 พ.ร.บ.การให้สิทธิแก่ผู้สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติบางกรณีและการโอนเงินจากกองทุนประกันสังคมในกรณีชราภาพไปยังกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงระบบการออมเพื่อการดำรงชีพยามชราภาพ โดยให้อยู่ในการกำกับดูแลของหน่วยงานเดียวกัน, เปิดโอกาสให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติที่มีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในวันที่สมัครเป็นสมาชิก มีสิทธิเป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปีนับแต่วันดังกล่าว, กำหนดให้โอนเงินของผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมที่แสดงความจำนงโอนมาเป็นสมาชิกของกองทุนการออมแห่งชาติ  มาเป็นเงินสะสมในบัญชีรายบุคคลของสมาชิกรายนั้น แต่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน
102 พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้การจ้างแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
103 พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงการให้อำนาจกระทรวงการคลังรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน โดยพิจารณาองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนด้วย
104 พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา รองรับการนำทรัพย์สินทีมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นประกันการชำระหนี้ในลักษณะที่ไม่ต้องส่งมอบการครองครองแก่เจ้าหนี้ และสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
105  พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย* พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์จะประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยจะต้องขอรับใบอนุญาต และจะต้องจัดตั้งในรูปบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
106 พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดจดทะเบียนรับรองการทำประโยชน์ ที่ดินเพื่อการสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ โดยห้ามโอนที่ดินสาธารณูปโภคนั้นให้กับผู้อื่น เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
107 พ.ร.บ.คลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงการจัดเก็บสินค้า การให้เช่าเก็บสินค้าให้มีระบบ มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นต่อประชาชน และป้องกันความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจ
108 พ.ร.บ.จดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เครื่องจักรที่จะจด ทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรต้องผ่านการตรวจสอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือ จากผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนซึ่งได้รับใบอนุญาต และให้การอนุญาตหรือการไม่อนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนด
109 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การโอนคดีจากศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่ง การส่งคำคู่ความโดยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ และการส่งคำคู่ความไปยังต่างประเทศ) สำนักงานศาลยุติธรรม ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์มีอำนาจโอนคดีที่อาจกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นที่สำคัญจากศาลชั้นต้นไปยังศาลแพ่ง และให้ศาลแพ่งซึ่งรับคดีไว้พิจารณาพิพากษามีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณานอกเขตศาลได้
110 พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยุบเลิกสำนักงาน ก.ส.ล. และตลาด ให้รมว.พาณิชย์ออกเป็นประกาศ โดยให้มีผลเป็นการยกเลิก พ.ร.บ. การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ. การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ในวันถัดจากวันที่ประกาศรัฐมนตรี กำหนดให้ยุบเลิกสำนักงานและตลาด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
111 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้หลักประกันทางธุรกิจเหนือสิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอนเมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นไปเช่นเดียวกับกรณีของสิทธิจำนอง จำนำ หรือค้ำประกัน
112 พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา
โอนงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นบางรายการ ไปตั้งจ่ายเป็นงบกลาง รายการเงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น 
113 พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน +3 พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อจัดตั้งสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน +3 โดยเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเฝ้าระวังและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินแบบพหุภาคีตามกรอบอาเซียน +3 พร้อมกำหนดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานฯ ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในการดำเนินงานและการปฏิบัติงานของสำนักงานฯ ในประเทศไทย
  พ.ร.บ. รายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 คสช. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ มีงบประมาณใช้จ่ายประจำปี 
114 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขนิยามคำว่า “ความผิดมูลฐาน” “ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด” และ “สถาบันการเงิน”, เพิ่มลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดฐานฟอกเงิน, แก้ไขเพิ่มเติมการรายงาน การแสดงตน การตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และการสั่งให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
115 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อกำหนดให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นหน่วยงานที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
116 พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มี “กองทุนยุติธรรม” เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม การประกันตัวบุคคล การช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการให้ความรู้ทาง กฎหมายแก่ประชาชน
117 พ.ร.บ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 วรรคสี่ของพ.ร.บ.โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2551 ผู้บัญชาการโรงเรียนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี โดยระหว่างนี้ห้ามมิให้โยกย้ายผู้บัญชาการโรงเรียน เว้นแต่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น
118 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร) ฉบับที่ 29 พ.ศ.2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ก่อนขายทอดตลาดห้องชุดใน อาคารชุด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้ นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเพื่อการออกหนังสือ รับรองการปลอดหนี้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว และเมื่อขายทอดตลาดแล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอด ตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลอาคารชุด ก่อนเจ้าหนี้จำนองและให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ ซื้อ โดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้
119
พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสมาคมประชาชาติ
แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้อาเซียน สถานที่ ทรัพย์สินและสินทรัพย์ของอาเซียน การสื่อสารในทุกรูปแบบและบรรณสารของอาเซียน พนักงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ผู้แทนถาวรของรัฐสมาชิกอาเซียน เจ้าหน้าที่ที่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของอาเซียนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ สมาชิกซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย ได้ รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในกฎ บัตรอาเซียน และความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
120 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ พ.ศ. 2558 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้จัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษขึ้น และให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลชำนัญพิเศษ ได้แก่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลคดีภาษีอากร ศาลแรงงาน ศาลล้มละลาย และศาลเยาวชนและครอบครัว ฯลฯ
121 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจออกประกาศเปิดทำการสาขาของศาลชั้นต้นในท้องที่อื่น รวมทั้งมีอำนาจกำหนดสถานที่ตั้งของศาล แผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นของศาล รวมทั้งสาขาของศาลชั้นต้นได้ ฯลฯ
122 พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 * ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้อำนาจประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมในการกำหนดค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักของพยานที่ศาลเรียกมาให้ความเห็น
123 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558(แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย กรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด ฯลฯ
124 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา)*

 

ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด ฯลฯ
125 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 สำนักงานศาลยุติธรรม ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย กรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลล้มละลายหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด ฯลฯ
126 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัย กรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษให้เป็นที่สุด  ฯลฯ
127 ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา)* สำนักงานศาลยุติธรรม ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเยาวชนและครอบครัวอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ นอกจากนี้ให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ฯลฯ 
128 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558* (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์และฎีกา) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
129 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558 (ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตาม ตัวผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์การบังคับคดีผู้ประกัน และการอุทธรณ์ คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว)* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ศาลหรือเจ้าพนักงานที่สั่งปล่อยชั่วคราวมีอำนาจสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ในกรณีที่ผู้นั้นยินยอม
130

พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง พ.ศ. 2558*

 

ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้กำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหารในการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ ฝึกวิชาทหาร ปฏิบัติราชการ หากหลีกเลี่ยงขัดขืนต้องระวางโทษอาญา กำหนดสิทธิค่าตอบแทน สวัสดิการ ให้กับกำลังพลสำรอง ทั้งนี้ หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองในวันลาเพื่อรับราชการทหารตามพ.ร.บ.นี้จะมีโทษ
131 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องกักขังที่อาจจะทำอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น หรือกรณีที่ถูกควบคุมตัวไปนอกสถานที่กักขัง / ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจสอบจดหมาย เอกสารและสกัดกั้นการสื่อสาร / กำหนดการปฏิบัติต่อผู้ต้องกักขังหญิงมีครรภ์ ให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล /  เพิ่มอัตราโทษสำหรับผู้ต้องกักขังที่ถูกปล่อยตัวไปกรณีมีเหตุฉุกเฉินแล้วไม่กลับมารายงานตัว ฯลฯ 
132 พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา
จัดตั้งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการ และจัดการศึกษาชั้นสูงทาง
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข
133 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ โดยที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ 
134 พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ยอมรับนับถือว่าทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศเป็นนิติบุคคล และให้ถือว่ามีภูมิลำเนาในประเทศไทย, กำหนดให้ทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ สถานที่ ทรัพย์สิน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเพียงเท่าที่รัฐบาลได้รับและใช้บทแห่งความตกลงนั้นหรือความตกลงที่รัฐบาลจะได้ทำต่อไปกับทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ
135 พ.ร.บ.องค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขนิยามคำว่า "กรรมการ", ให้อำนาจ ครม. กำหนดหลักเกณฑ์ว่ากิจการบริการสาธารณะใดควรตั้งเป็นองค์การมหาชน และเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและกำหนดระเบียบแบบแผนกรณีที่มีปัญหาการซ้ำซ้อน หรือขัดแย้งในการดำเนินกิจการขององค์การมหาชนกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ฯลฯ
136 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ และเมื่อดำรงตำแหน่งครบ 3 ปี ให้ได้รับการประเมินผลงาน ความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ และประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อดำรงตำแหน่งต่อไป
137 ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว   ผ่านวาระที่สาม แก้นิยามคำว่า “เด็ก” ให้หมายถึง บุคคลอายุเกินกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์, เมื่อพนักงานสอบสวนรับตัวเด็กหรือเยาวชนที่ถูกจับมาแจ้งข้อกล่าวหาและถามปาก คำให้แล้วเสร็จภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง, คดีที่ไม่มีผู้เสียหาย ให้สามารถใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาได้, เพิ่มข้อยกเว้นในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเด็กหรือเยาวชนให้สามารถดำเนินการ ตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาได้,กรณีจำเป็นให้ผอ.สถานพินิจ พนักงานคุมประพฤติ หรือนักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติหน้าที่นอกเขตอำนาจได้
138 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร  (ฉบับที่ 41) พ.ศ. 2559 (แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับความผิดทางอาญา)  ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมกรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 69 โดยการฝ่าฝืนหน้าที่ในการแนบเอกสารพร้อมการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ต้องระวางโทษปรับ, แก้ไขให้การกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามมาตรา 37 ครอบคลุมถึงการขอคืนภาษีอากรอันเป็นเท็จ, แก้ไขบทกำหนดโทษเกี่่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครอบคลุมถึงการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นเท็จ 
139 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขชื่อจากร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็น พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาระสำคัญคือ กำหนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริมและรักษา กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพฯและประจำจังหวัด 
140 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 42) พ.ศ. 2559 (มาตรการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการถาวร) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นการถาวร ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป
141  พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการ ธปท.คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงินสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง หากมีกรรมการพ้นจากตำแหน่งนอกเหนือจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการคัดเลือกประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท.
142 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 26 เกี่ยวกับการโอนคดี)  สำนักงานศาลยุติธรรม ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขมาตรา 26 กล่าวคือ ถ้าคดีนั้นอาจมีการขัดขวางการไต่สวนมูลฟ้องหรือกระทบต่อประโยชน์ของรัฐ จากเดิมโจทย์หรือจำเลยสามารถร้องขอให้โอนคดีไปศาลอื่นผ่านทางอธิบดีศาลฎีกา เปลี่ยนเป็นให้โจทย์หรือจำเลยร้องขอต่อประธานศาลฎีกาแทน
143 พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดนิยามคำว่า “วัยรุ่น” หมายถึงบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 10 -19 ปีบริบูรณ์, วัยรุ่นมีสิทธิได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง และสถานศึกษาต้องจัดให้มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีศึกษาให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน, ให้มีคณะกรรมการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีหน้าที่เสนอนโยบายต่อ ครม. และกำหนดโทษผู้ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการ
144 พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอใบอนุญาต ผู้รับใบอนุญาต, ให้ใบอนุญาตมีอายุ 10 ปี และกำหนดบทลงโทษหากฝ่าฝืน พ.ร.บ.นี้ 
145 พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุงบทบัญญัติบางประการในกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญายังไม่สอดคล้องกับการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในปัจจุบัน เช่น ผู้ประสานงานกลางไม่สามารถส่งคำร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศไปให้เจ้าพนักงาน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำร้องขอได้ ไม่มีอำนาจส่งข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือทรัพย์สินใดไปให้ต่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน การฟ้องคดี หรือการพิจารณาคดีในศาลหากประเทศนั้นยังไม่ได้ร้องขอ 
146 พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
147 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 (การเข้าเป็นภาคีพิธีสารมาดริด (Madrid Protocol) และการขยายขอบเขตความคุ้มครอง การปรับปรุงหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และระยะเวลาการจดทะเบียน การปรับปรุงค่าธรรมเนียม) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “เครื่องหมาย” เพื่อกำหนดให้หมายความถึงเสียงด้วย, แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณารับจดทะเบียนและเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว, ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายชุด, กำหนดให้แยกโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าทั้งหมดหรือบางอย่างได้
148 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดวิธีการยึดทรัพย์ หรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ การปรับปรุงอัตราเงินในการกักขังแทนค่าปรับ
149 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่  8) พ.ศ. 2559 (การบังคับคดีปกครอง) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพิ่มอำนาจให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดออกระเบียบบังคับคดีปกครอง และระเบียบกำหนดให้ปฏิบัติตามคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น แม้จะมีการอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว รวมถึงกำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจออกคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องชำระค่าปรับ ในกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครอง
150 พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ ในท้องที่อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่ – ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ โดยให้ผู้ว่าการ รฟม. เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และให้มีการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
151 พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
152 พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกเลิก พ.ร.บ. ขอทาน พ.ศ. 2484 และตั้งคณะกรรมการควบคุมการขอทาน โดยกำหนดลักษณะการขอทานว่า การกระทำที่ให้ผู้อื่นมอบทรัพย์สินให้โดยไม่ได้มีการทำงานตอบแทนหรือด้วยทรัพย์สินใด ส่วนการแสดงดนตรีในที่สาธารณะโดยขอรับทรัพย์สินตามผู้ฟังสมัครใจ ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน นอกจากนี้ได้กำหนดโทษสำหรับผู้ใช้บังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน ยุยง ส่งเสริม กระทำด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นขอทาน
153 พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกระดับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นองค์อิสระในระดับใกล้เคียงกับป.ป.ช. และปรับปรุงสถานะของสำนักงาน ป.ป.ท.ให้ส่วนราชการระดับกรมที่ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี, กำหนดให้ ป.ป.ท.มีระยะเวลาพิจารณาเรื่องที่ได้รับร้องเรียนให้เสร็จภายใน 3 เดือนหลังจากรับการกล่าวหา และมีอำนาจฟ้องคดีได้เอง หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง
154 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และกำหนดให้เลขาธิการ ป.ป.ท. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสำนักงานและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
155 พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ขึ้นในศาล อุทธรณ์, วิธีพิจารณาคดีการค้ามนุษย์ให้ใช้ระบบไต่สวนเพื่อความรวดเร็ว, ไม่นับอายุความหากมีการหลบหนีคดี, เปิดช่องให้สืบพยานผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากต่างประเทศได้ หากศาลอุทธรณ์พิพากษาประหารชีวิตหรือคำพิพากษาของคดีส่งผลกระทบต่อสาธารณะ สามารถส่งให้ศาลฎีกาพิจารณาได้
156 พ.ร.บ.ให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
157 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติเป็นคณะกรรมการประจำจังหวัดสำหรับจังหวัดที่มีป่าสงวนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรการในการควบคุม ดูแล การส่งเสริมการปลูกป่า และการฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด ฯลฯ
158 พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขให้มีกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยลูกหนี้จะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้เฉพาะหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการ ซึ่งเป็นหนี้กับเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ส่วนกรณีลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจำกัดจะต้องมีจำนวนหนี้ไม่ถึง 10 ล้านบาท โดยลูกหนี้จะต้องทำรายละเอียดแผนฟื้นฟูกิจการ สินทรัพย์ หนี้สิน และวิธีการฟื้นฟูกิจการ
159 พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้อายุใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้เป็นไปตามข้อบังคับทันตแพทยสภา โดยให้มีอายุไม่เกิน 5 ปี, กำหนดให้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาทันตกรรม และใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรมที่ยังมีผลอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีอายุต่อไปอีก 5 ปี นับแต่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
160 พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
161 พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
162 พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา
เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
163 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขจากฉบับพ.ศ.2547 เปลี่ยนคำว่า “เลื่อนขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “เลื่อนเงินเดือน” และ “ลดขั้นเงินเดือน” เป็นคำว่า “ลดเงินเดือน” เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงระบบการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญจากระบบขั้นเป็นร้อยละของฐานในการคำนวณตามช่วงเงินเดือน นอกจากนี้ แก้ไขเพิ่มเติมให้มีคณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทน ก.พ.อ. ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ 
164  พ.ร.บ.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขโดยเพิ่มการจัดการศึกษาด้านทัศนศิลป์, กำหนดให้สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สบ ศ.) สามารถจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นสูง หรือสถาบันอื่นในประเทศหรือต่างประเทศ หรือขององค์การระหว่างประเทศได้, เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของ สบศ. ให้มีอำนาจอนุมัติการเปิดสอน และให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สบศ. รวมถึงแก้ไขการจัดโครงสร้างการบริหารในสำนักงานอธิการบดีและสำนักงาน วิทยาเขต
165 พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานขององค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้องค์การทรัพย์สินและบรรณสารขององค์การ ผู้แทนของภาคีองค์การ และเจ้าหน้าที่ขององค์การได้รับเอกสิทธิ์ สิทธิยกเว้น และความคุ้มกันในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยหรือเข้ามาในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติหน้าที่หรือในการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับองค์การ
166 พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559  ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกเลิก พ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 และพ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2508 เพื่อใช้บังคับแก่การดำเนินการเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสีในทางสันติ และไม่ใช้บังคับแก่ยานพาหนะทางทหารของต่างประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร
167 พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น รายการที่ไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด ไปตั้งจ่ายเป็นรายการใหม่ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์พืช วงเงินรวม 22,106,555,000 บาท
168 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2559 (เพื่อจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
169 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสำนักเลขานุการองค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้สำนักเลขานุการแอปเทอร์มีวัตถุประสงค์ในการสำรองข้าวไว้ในยามฉุก เฉินเพื่อบรรเทาภาวะขาดแคลนอาหารเพื่อมนุษยธรรม  ในกรณีเกิดภัยพิบัติ  รวมถึงความยากจนในประเทศสมาชิกแอปเทอร์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และขจัดความยากจน  และดำเนินกิจกรรมอื่นที่สอดคล้องกับความตกลงแอปเทอร์
170 พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับ 11) พ.ศ. 2559  (เพิ่มช่องทางชำระค่าปรับ) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เจ้าของรถไม่ชำระค่าปรับ ให้พนักงานสอบสวนแจ้งหนังสือไปยังนายทะเบียนให้ผู้มาติดต่อขอชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้น ไปรายงานตัวต่อพนักงานสอบสวนและให้นายทะเบียนงดรับชำระภาษีประจำปีสำหรับรถคันนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนว่าได้มีการชำระค่าปรับแล้ว, เพิ่มวิธีการและสถานที่ชำระค่าปรับตามใบสั่งกรณีไม่มีการเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ โดยวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิตหรือวิธีการอื่นโดยผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการรับชำระเงิน
171 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559

ครม.

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เพิ่มความเป็นวรรคสามในมาตรา 4 ของพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 ดังนี้ หากในปีใดเงินงบประมาณรายได้ประจำปีที่ กทม.หักสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร  ไม่เพียงพอ ให้ กทม.จัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในปีนั้นได้เท่าที่ เกิดขึ้นจริง
172 พ.ร.บ.การให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนการสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดีอาญา รวมถึงให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การอำนวยความยุติธรรม  และเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด
173 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559  ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกฐานะแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาและจัดตั้งขึ้นเป็นศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางและจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาคขึ้นโดยกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
17 พ.ร.บ.พัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมให้สถาบันสามารถของบประมาณประจำปีจากสำนักงบประมาณได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความคล่องตัว, แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของสถาบัน ให้ครอบคลุมถึงมาตรวิทยาทางด้านเคมีและชีวภาพ และให้ทำหน้าที่ดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ 
175 พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กระทรวงยุติธรรม ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 เพื่อให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งผู้เสียหายหรือทายาทผู้รับความเสียหายให้ทราบถึงสิทธิการขอรับค่าตอบแทน
176 พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา
แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์โดยเพิ่มให้มีผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการ, แก้ไขหลักเกณฑ์และลักษณะต้องห้ามเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 
177 พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ปรับปรุง พ.ร.บ.ว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 กำหนดเกี่ยวกับการขออนุญาตสำหรับผู้ประสงค์จะประกอบกิจการฆ่าสัตว์, ให้พนักงานตรวจโรคสัตว์มีอำนาจตรวจโรคสัตว์ทั้งก่อนและหลังการฆ่าสัตว์ แล้วยังมีอำนาจในการสั่งงดการฆ่าสัตว์และแยกสัตว์ไว้เพื่อตรวจพิสูจน์ได้ 
178 พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559* ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกเลิก พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 และ พ.ร.บ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2507 กำหนดบทนิยามคำว่า “ความมั่นคงแห่งชาติ”, กำหนดให้มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภา, กำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก่ พิจารณา เสนอแนะ และให้ความเห็นในการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในมิติด้านความมั่นคง พิจารณาและกำหนดนโยบายความมั่นคงแห่งชาติเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา 
179  พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 กระทรวงยุติธรรม ประกาศราชกิจจานุเบกษา ยกเลิก พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 พนักงานคุมประพฤติมีหน้าที่สืบเสาะและพินิจผู้ถูกสืบเสาะและพินิจในเรื่องอายุ ประวัติ ความประพฤติ ฯลฯ พิจารณาใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์ใดในการติดตามผู้กระทำผิด กำหนดให้มีการดำเนินการเพื่อสร้าง
180  พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบพ.ศ. 2559   ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
181 พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 กระทรวงการคลัง ประกาศราชกิจจานุเบกษา ให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้กับผู้กระทำความผิดควบคู่กับมาตรการลงโทษทางอาญา และปรับปรุงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดฐานความผิดในส่วนของการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตลอดจนปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อรองรับการเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนโลก 
182 พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2559   ผ่านวาระที่สาม แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ ให้รมว.มหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทยและเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ซึ่งเดิมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม), ให้โอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน และกองทุนสำหรับผู้เดินทางไปประกอบกิจการฮัจย์ ของกองส่งเสริมกิจการฮัจย์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ไปเป็นกองส่งเสริมกิจการฮัจย์ที่จะได้จัดตั้งขึ้นในกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
183 พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กระทรวงการคลัง ผ่านวาระที่สาม ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยน พ.ศ.2485 เพิ่มหลักเกณฑ์ควบคุมเงินตราที่เป็นเงินบาทขาเข้าประเทศ และกำหนดมาตรการควบคุมตราสารทางการเงินผ่านแดน รวมทั้งมีบทกำหนดโทษการฝ่าฝืนร่างพ.ร.บ.นี้ ให้ความผิดตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจในการตรวจค้น ยึด หรืออายัดของได้
184 พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๓๑) พ.ศ. ๒๕๕๙ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๖ เกี่ยวกับการโอนคดี) ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
185 พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา ห้ามการโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์, กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานในการตรวจสอบสถานที่ทำการของผู้รับอนุญาต ตรวจค้น ยึด นำวัตถุออกฤทธิ์เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบ, กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ การเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงชื่อหรือประเภทวัตถุออกฤทธิ์ การควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ 
186 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2559 กระทรวงสาธารณสุข ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขนิยามคำว่า “ผู้อนุญาต” ให้หมายถึง  อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย, แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจรัฐมนตรีในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับลักษณะของสถานพยาบาลและมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยรัฐ, แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสถานพยาบาล
187 พ.ร.บ.สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย พ.ศ. 2559 กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านวาระที่สาม กำหนดให้สถาบันการพยาบาล สภากาชาดไทย เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางด้านวิชาชีพการพยาบาล และมีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของสภากาชาดไทย
190 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ผ่านวาระที่สาม แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษความผิดที่กระทำต่อแรงงานเด็ก 
191 ร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กระทรวงการคลัง ผ่านวาระที่สาม ปรับปรุงจากฉบับปี 2541 โดยให้ตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน เพื่อติดตาม ตรวจสอบและกำกับดูแลให้การชำระเงินคืนกองทุน และให้นายจ้างผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักเงินได้จากพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนฯ
192 พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
193 พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไของค์การการค้าโลก (WTO) เช่น ยกเลิกกิจการผลิตเพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ การบังคับใช้วัตถุดิบในประเทศ, เพิ่มระยะเวลาการยกเว้นภาษีสูงสุดจากเดิม 8 เป็น 13-15 ปี ขึ้นกับประเภทกิจการ
194 ร่าง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง กระทรวงมหาดไทย ผ่านวาระที่สาม ปรับแก้ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 โดยกำหนดให้รัฐหรือเอกชนเป็นผู้เก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายใต้การควบคุมของราชการปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม และห้ามมิให้มีผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน กำจัด หรือหาประโยชน์จากการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น 
195 ร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ กับคณะ ผ่านวาระที่สาม  
196 ร่าง พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา กระทรวงยุติธรรม ผ่านวาระที่สาม กำหนดลักษณะความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา กำหนดมิให้ใช้บังคับแก่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต กำหนดอัตราโทษเพิ่มขึ้นกรณีผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
198 ร่าง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ผ่านวาระที่สาม กำหนดให้ทุกเรือนจำใช้คำขึ้นต้นว่า “เรือนจำ” อันเป็นการยกเลิกทัณฑสถาน และทัณฑนิคมเพื่อกำหนดประเภทของเรือนจำชัดเจนยิ่งขึ้น, กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น, พัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังอย่างเป็นระบบ, กำหนดให้มีกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย
199 ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   ผ่านวาระที่สาม นำร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไว้ก่อนหน้านี้ 3 ฉบับ มารวมไว้อยู่ในฉบับเดียวกัน เช่น นำ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาไว้เป็นหมวดที่ 1 นำร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาไว้เป็นหมวดที่ 4 และนำร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มาไว้เป็นหมวดที่ 5 และได้ปรับปรุงการจัดการกองทุนต่างๆ ตามร่างกฎหมายเดิมให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น
200 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560* ครม. ผ่านวาระที่สาม แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะการทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมันคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานกลาง ตลอดจนการให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และกระทรวงการคลัง (กค.)  สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ
201 ร่าง พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กระทรวงกลาโหม ผ่านวาระที่สาม แก้ไข พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2510 ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของสภาทหารผ่านศึก
202 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)   ผ่านวาระที่สาม ปรับปรุงหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่าย การหักลดหย่อน การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ การกำหนดเงินได้พึงประเมินที่ต้องยื่นรายการสำหรับบุคคลธรรมดาและอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
203 ร่าง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ  กระทรวงการคลัง ผ่านวาระที่สาม มีผลบังคับทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ (ที่ไม่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง) และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และกำหนดตั้งคณะกรรมการ 5 คณะมาตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส โดยมีบทลงโทษชัดเจน
204 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (แก้ไขอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา   ผ่านวาระที่สาม แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการอายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือการกักขังแทนค่าปรับ, ปรับปรุงโทษ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายรับอันตรายสาหัส, ปรับปรุงอัตราโทษปรับในภาค 2 ความผิด โดยเพิ่มอัตราโทษปรับในสัดส่วนอัตราโทษจำคุกหนึ่งปีต่ออัตราโทษปรับสองหมื่นบาท
206 ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ครม. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการใน กห. ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
207 ร่างพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ ในท้องที่ อ.บางพลี อ.เมืองสมุทรปราการ และอ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ กระทรวงคมนาคม ผ่านวาระที่สาม เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่อ.บางพลี อ.เมืองสมุทรปราการ และอ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายท้ายพ.ร.บ.นี้ ให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ โดยให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน 
208 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีและฉ้อโกงภาษีตามข้อเสนอ FATF)  กระทรวงการคลัง ผ่านวาระที่สาม กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจออกคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าบุคคลใดกระทำความผิดฐานหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอคืนภาษีอากรอันเป็นเท็จ
209 ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านวาระที่สาม เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดระบบการศึกษามากขึ้น
210 ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข ผ่านวาระที่สาม ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 กำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบ จากเดิม 18 ปี เป็น 20 ปี, ห้ามแบ่งขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ แยกเป็นมวน, ห้ามขายผ่านรูปแบบของพริตตี้ ห้ามขายในวัด สถานบริการ สาธารณสุข สถานศึกษา สวนสาธารณะ, ห้ามโฆษณาในรูปแบบเป็นผู้สนับสนุนการประกวด และการแข่งขัน, กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสารนิโคตินเป็นส่วนประกอบ เช่น มอระกู่ มอระกู่ไฟฟ้า บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์
211 ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร กระทรวงการคลัง ผ่านวาระที่สาม  
212 ร่าง พ.ร.บ. ขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ผ่านวาระที่สาม ให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงฯ ต้องจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้มีการวางหลักประกันรวมทั้งหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินเพื่อชดเชยความเสียหายแก่ผู้บริโภค กำหนดบทลงโทษกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงฯ โฆษณาเกินจริง
213 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง)  กระทรวงยุติธรรม ผ่านวาระที่สาม กำหนดให้อำนาจการบังคับคดีและความรับผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายและดุลพินิจโดยศาลยุติธรรมเท่านั้น ไม่อาจถูกฟ้องให้ต้องรับผิดต่อศาลปกครองได้ และลดขั้นตอนให้ระยะเวลาในการบังคับคดีมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตจากศาลก่อน ฯลฯ
214 ร่าง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า การะทรวงพาณิชย์ ผ่านวาระที่สาม ตั้งคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า วาระ 6 ปี, ให้มีการทบทวนเกณฑ์ผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 5 ปี และให้รัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้การบังคับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐ, กำหนดให้การรวมธุรกิจอันอาจก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ ต้องแจ้งคณะกรรมการก่อนการรวมธุรกิจและส่งงบการเงินให้ตรวจสอบต่อเนื่อง 3 ปี 
215 ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา   ผ่านวาระที่สาม  
217 ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ   ผ่านวาระที่สาม  
218 ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม กระทรวงพลังงาน ผ่านวาระที่สาม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 โดยเพิ่มระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC และระบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิตเข้าไป นอกเหนือจากเดิมที่ใช้เพียงระบบสัมปทาน และให้การกำกับดูแลยังคงอยู่ภายใต้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อให้สิทธิ์สำรวจปิโตรเลียมในอนาคตมีความหลากหลายมากขึ้น
219 ร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม กระทรวงพลังงาน ผ่านวาระที่สาม แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อกำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น และกำหนดอัตราและหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ในระบบการทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
220 ร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม* กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผ่านวาระที่สาม เป็นการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 
221 ร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดทางแพ่งเพื่อความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน ครม. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เจ้าของเรือต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน และต้องมีการเอาประกันภัยหรือจัดหาหลักประกันความเสียหาย
222 ร่าง พ.ร.บ.การเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ ครม. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้กองทุนระหว่างประเทศฯ เป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากมลพิษหากบุคคลนั้นไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนและเพียงพอ ตามที่กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งได้กำหนดไว้
223 ร่าง พ.ร.บ.การสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ผ่านวาระที่สาม ปรับปรุงกฎหมายการสาธารณสุข โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด ปรับปรุงอำนาจผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานระดับพื้นที่ในการระงับเหตุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพิ่มเติมอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการประกาศกำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เพิ่มเติมอำนาจของรัฐมนตรีในการกำหนดประเภทหรือขนาดของกิจการที่ต้องศึกษาหรือประเมินผลประกอบการอนุญาต และกำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี 
224 ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง  กระทรวงสาธารณสุข ผ่านวาระที่สาม ห้ามโฆษณาอาหารสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก และตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแล 
226 ร่าง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ในท้องที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร   ผ่านวาระที่สาม เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน  เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายท้ายพระราชบัญญัติ เพื่อให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของ กทพ. โดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ 
227 พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2559   ประกาศราชกิจจานุเบกษา โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2560 ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นบางรายการ ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
228 ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง   ผ่านวาระที่สาม  
229 ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง   ผ่านวาระที่สาม  
230 ร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ   ผ่านวาระที่สาม จัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องบูรณาการกัน
231 ร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ   ผ่านวาระที่สาม กำหนดวิธีการจัดทำแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ การมีส่วนร่วมของประชาชน การวัดผล และระยะเวลาดำเนินการ
232 ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวีธีพิจารณาคดีปกครอง (วาระการดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด และวินัยตุลาการปกครอง)   ผ่านวาระที่สาม กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด, กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงของตุลาการศาลปกครอง อาจมีมติให้งดเลื่อนตำแหน่ง งดเลื่อนเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์
233 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540 กระทรวงการคลัง ผ่านวาระที่สาม ปรับปรุงนิยามคำว่า “ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย”  แก้ไขโครงสร้างและขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  พ.ร.บ. แร่ 2560 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
  พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2559 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา  
  พ.ร.บ. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 ครม. ประกาศราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้มีกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย, เพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนกรณีได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล