มาตรา 190 ตายแล้ว…ความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทย

โดย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) 
ตามที่การประชุมของรัฐสภาได้ลงมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม โดยเสียงข้างมากแก้ไขเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.190 โดยมีสาระการแก้ไขที่สำคัญ คือ
1. ตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาอย่างมีนัยสำคัญออกไปให้เหลือเพียง  
(หนึ่ง) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดน
(สอง) หนังสือสัญญาที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
(สาม) จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
(สี่) หนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน
2. เพิ่มอำนาจรัฐบาล ให้ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา ไม่ต้องเสนอ “กรอบการเจรจา” ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
ผลสรุปจากการแก้ไขมาตรการ 190 ดังกล่าว สะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบรัฐสภาไทยที่มุ่งเป้าหมายการเอาชนะทางการเมืองเป็นที่ตั้งโดยอ้างเสียงข้างมากในรัฐสภาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม ไม่ได้ยึดถือข้อมูล เหตุผล และไม่ได้สำเหนียกถึงสถานการณ์ปัญหา ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากการเร่งทำหนังสือสัญญาความตกลงระหว่างประเทศ ซ้ำยังเป็นการทำลายระบบประชาธิปไตยที่เห็นหัวประชาชนอย่างไร้สำนึก
บทบัญญัติในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจา สร้างความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และเป็นกลไกสร้างระบบการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ผลจากการทำหนังสือสัญญาเกิดประโยชน์โดยรวมมากที่สุดต่อประเทศชาติ นอกจากนี้คณะเจรจายังสามารถใช้ “กรอบเจรจา”ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาได้อีกด้วย บทบัญญัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่อารยประเทศต่างๆ ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
อนึ่ง ปัญหาความยุ่งยาก ล่าช้า การมีหนังสือสัญญาจำนวนมากต้องเสนอไปสู่รัฐสภาโดยอ้างว่าต้องปฏิบัติตามมาตรา 190 นั้น มีรากฐานสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ (หนึ่ง) การไม่จัดทำกฎหมายลูกรองรับมาตรา 190 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งในรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าให้ดำเนินการโดยเร็วภายในเวลา 1 ปีนับจากที่รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งต้องดำเนินการให้เสร็จตั้งแต่ปี 2552 (สอง) การใช้มาตรา 190 เป็นเครื่องมือต่อสู้กันทางการเมืองมากเกินไป ซึ่งทั้งสองสาเหตุสามารถแก้ไขได้โดยไม่จำเป็นต้องเบียดขับประชาชนออกจากกระบวนการหรือลดทอนความโปร่งใสแต่อย่างใด
ผลจากการแก้ไขมาตรา 190 จะทำให้หนังสือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ความตกลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อม ความตกลงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ไม่ต้องผ่านกระบวนการเสนอ “กรอบการเจรจา”  เป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล การมีส่วนร่วม ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในระบอบการเมืองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ทุกฝ่ายกำลังเรียกร้อง เป็นการจำกัดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ  ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ผลักดันให้ประชาชน ผู้เดือดร้อนต้องใช้ท้องถนนหรือพื้นที่สาธารณะต่างๆ เป็นพื้นที่แสดงออกทางการเมืองแทน
การแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้ เป็นเพียงผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างนัก (การเมือง) ประชาธิปไตยแต่ปาก กลุ่มทุนครอบชาติ และฝ่ายข้าราชการประจำล้าหลัง ที่ต้องการปลดเปลื้องภาระในการปฏิบัติตามกฎกติกาเพื่อการสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจาจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
ขอไว้อาลัยแด่มาตรา 190 ระบบรัฐสภา และประชาธิปไตยไทย
ตารางเปรียบเทียบการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190
  ร่างกรรมาธิการ ร่างที่เสนอให้แก้ไข ร่างที่ผ่านวาระสอง ปัญหาสำคัญของร่างตามวาระสอง
วรรค ๑ มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และ สัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (คงเดิม) (คงเดิม) (คงเดิม)
วรรค ๒ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา   หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ มีบทให้เปิดเสรีหรือคุ้มครองด้านการค้าการลงทุน  หรือมีบทเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองหรือจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรือสังคม ที่มิใช่ความร่วมมือทางวิชาการ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา หนังสือสัญญาเกือบทั้งหมดจะไม่เข้าตามมาตรา 190 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางธรรมชาติ พลังงาน รวมถึงการเจรจาทางเศรษฐกิจที่สำคัญส่วนใหญ่นับจากนี้
วรรค ๓

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามวรรคสอง และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย

ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกําหนดลักษณะ กรอบการเจรจา ขั้นตอนและวิธีการจัดทําหนังสือสัญญา รวมทั้งการให้ข้อมูลและจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน และการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญาตามวรรคสอง กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา และแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ไม่มีการเสนอกรอบการเจรจา ส่งผลให้ความโปร่งใส แทบจะหายไปโดยสิ้นเชิง ลดทอนความชอบธรรมและอำนาจต่อรองในการเจรจา ในทางปฏิบัติคือประชาชนและรัฐสภาจะรับรู้ข้อมูลเพียงพอในการมีส่วนร่วมก็ต่อเมื่อการเจรจาจบสิ้นไปแล้ว ซึ่งแทบไม่มีความหมายแต่อย่างใด
ตัดการศึกษาผลกระทบออกไปซึ่งตรงกับความต้องการของธุรกิจข้ามชาติ ส่งผลให้สังคม รวมถึงผู้เจรจราและฝ่ายนโยบายเอง ขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงผลดีผลเสีย ง่ายต่อการถูกกดคันจากคู่เจรจาและกลุ่มทุน การเจรจาของรัฐบาลและการพิจารณาของรัฐสภาจึงไม่ขึ้นอยู่กับฐานองค์ความรู้และปัญญา
วรรค ๔ ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันในหนังสือสัญญาตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้วย (คงเดิม) (ตัดทิ้ง) เสียงของประชาชนไม่จำเป็นต้องถูกได้ได้ยินอีกต่อไป ยังผลให้ความตึงเครียดและความไม่เข้าใจกับรัฐบาลจะเพิ่มสูงขึ้น ง่ายต่อการฉกฉวยโอกาศของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นำไปสู่ภาระของรัฐบาลเองและประสิทธิภาพการเจรจาในที่สุด
วรรค ๕ ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔(๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม  ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดให้แล้วเสร็จในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง
ในกรณีที่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาใดเข้าลักษณะหนังสือสัญญาตามวรรคสาม ให้เป็นอํานาจของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญา ซึ่งประธานรัฐสภาจะได้แต่งตั้งขึ้น ประกอบด้วยประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี และประธานศาลฎีกา  
ให้นำข้อบังคับการประชุมของรัฐสภามาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญาโดยอนุโลม
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยหนังสือสัญญาตามมาตรานี้ให้มีผลทั่วไปและเป็นเด็ดขาด ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และหน่วยงานทั้งปวงของรัฐ
ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง กลไกการตรวจสอบจะไม่มีความหมายอีกต่อไป
วรรค ๖
ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน  ให้เสนอกรอบการเจรจาให้ รัฐสภาเห็นชอบ  และ เสนอผลกระทบของหนังสือสัญญา และ  แนวทางในการเยียวยาให้รัฐสภาทราบ ตามความเหมาะสม
ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(วรรคหนึ่ง คงเดิม)
ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน  ให้เสนอกรอบการเจรจาให้ รัฐสภาเห็นชอบ  และ เสนอผลกระทบของหนังสือสัญญา และ  แนวทางในการเยียวยาให้รัฐสภาทราบ
ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(วรรคสอง ถูกตัดออกทั้งหมด)
รัฐบาลสามารถเตะถ่วงการออกกฏหมายลูก ส่งผลให้การบังคับใช้มาตรา 190 มีความสับสนอยู่ต่อไป
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๑๙๐ ที่ผ่านรัฐสภาวาระ ๒ ข้ามเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ ๑๗ ต.ค.๕๖
มาตรา ๑ รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช…”
มาตรา ๒ รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของไทยหรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยชัดแจ้ง หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญา และแก้ไขหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
(ร่างคณะกรรมาธิการฯ ที่ถูกตัดทิ้ง –ให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับหนังสือสัญญาตามวรรคสอง และในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุน กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา การศึกษาถึงประโยชน์ของหนังสือสัญญาและผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการ และการดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากหนังสือสัญญาดังกล่าวด้วย โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้รับประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป)
ในกรณีที่มีปัญหาว่าหนังสือสัญญาใดเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม ทั้งนี้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับเรื่อง
มาตรา ๔ ให้ดำเนินการจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
(ร่างคณะกรรมาธิการฯที่ถูกตัดทิ้ง – ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการตรากฎหมายตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดดยรัฐธรรมนูญนี้ และในกรณีที่เป้นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าหรือการลงทุนให้เสนอกรอบการเจรจาเพื่อขอความเห็นชอบของรัฐสภาและผลการศึกษาถึงประโยชน์และผลกระทบของหนังสือสัญญาดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อทราบด้วย ทั้งนี้ตามความเหมาะสม)

 

You May Also Like
อ่าน

ส่องเล่มจบป.เอก สว. สมชาย แสวงการ พบคัดลอกงานคนอื่นหลายจุด

พบว่าดุษฎีนิพนธ์ของ สว. สมชาย แสวงการ มีการคัดลอกข้อความจากหลากหลายแห่ง ซึ่งในหลายจุดเป็นการคัดลอกและวางข้อความในผลงานตัวเอง เหมือนต้นทางทุกตัวอักษร
อ่าน

เป็น สว. เงินเดือนเท่าไหร่? ได้สวัสดิการ-สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

สว. 2567 แม้ไม่มีอำนาจเลือกนายกฯ เหมือน สว. ชุดพิเศษ แต่มีอำนาจอื่นๆ เต็มมือ พร้อมกับเงินเดือนหลักแสน และสวัสดิการ สิทธิประโยชน์อีกเพียบ