Multimedia

Reaction นโยบายผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ

See video
นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานคร กลายเป็นหนึ่งในที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะอย่างต่อเนื่อง และหลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐมีการใช้กำลังหรือความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ดังนั้น การทำหน้าที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนจึงเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  
 
ในวาระที่การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใกล้เข้ามาทุกขณะ iLaw จึงชวน "รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล" จากกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม มานั่งดูนโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ว่าจะมีวิธีการจัดการและดูแลการชุมนุมสาธารณะอย่างไร
 
หมายเหตุ: เนื้อหานโยบายผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มาจากเวที"กรุงเทพ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" เวทีเปิดแนวคิดผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ที่ร่วมจัดโดย ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สโมสรนิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตรีคอเดอร์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิอิสรชน กลุ่มเส้นด้าย และ Mob Data Thailand สำนักข่าว The Reporters ข่าว 3 มิติ และ AIS PLAY

เมื่อตะวันส่องฟ้า

See video
ทำความรู้จักทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ “ตะวัน” ถูกแจ้งข้อหาคดีมาตรา 112  สองคดีจากการ “ยืนไลฟ์สดเฝ้ารับขบวนเสด็จ” และการติดสติ๊กเกอร์ทำโพล “คุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่”
 
นอกจากนั้นยังมีคดี มาตรา 116 “ยุยงปลุกปั่น”,  ข้อหาต่อสู้ขัดขืนเจ้าพนักงาน, ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

หยุดอ้างโควิด ปิดปากประชาชน EP.02

See video
ฟังเสียงส่วนหนึ่งของผู้ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืน #พรกฉุกเฉิน จาก 1,445 คน เล่าประสบการณ์ ทำอะไรบ้างถึงถูกดำเนินคดี
พวกเขาได้สร้างความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค สร้างความเสียหายต่อระบบสาธารณสุข หรือพวกเขาเพียงแค่ยืนข้างทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจ
 
 

“หยุดอ้างโควิด ปิดปากประชาชน” EP.01

See video
ฟังเสียงส่วนหนึ่งของผู้ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืน #พรกฉุกเฉิน จาก 1,445 คน เล่าประสบการณ์ ทำอะไรบ้างถึงถูกดำเนินคดี
พวกเขาได้สร้างความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค สร้างความเสียหายต่อระบบสาธารณสุข หรือพวกเขาเพียงแค่ยืนข้างทางการเมืองที่แตกต่างจากผู้มีอำนาจ
 
 

สถิติการชุมนุม ในปี 2654

See video

ปี 2564 ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม 60 ครั้ง  ในจำนวนนี้มี 42 ครั้งที่ถูกสลายการชุมนุมเพราะเข้าไปในพื้นที่หวงห้าม เช่น สนามหลวง, ทำเนียบรัฐบาล และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ราบ 1)  กรณีของราบ 1 นั้นเป็นพื้นที่ที่นักกิจกรรมวางเป้าหมายแรกเริ่มไว้ แต่ไม่สามารถไปได้ เป็นเหตุให้เกิดการสลายการชุมนุมในบริเวณนี้ 35 ครั้ง ขณะที่เดือนกันยายน 2564 เป็นเดือนที่มีการสลายการชุมนุมมากที่สุด 18 ครั้ง รองลงมาคือ เดือนสิงหาคม 2564 ที่ 17 ครั้ง 

ความหวัง ความฝัน ภายใต้อิสรภาพชั่วคราว ของ “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล”

See video
ตามคำสั่งศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอยุธยา “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล” แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จะมีอิสรภาพเพียงแค่ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ถึง 12 มกราคม2565 หลังเธอได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวมาเพื่อทำการสอบปลายภาค แล้วหลังจากนั้น เธออาจจะต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต่อ ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
 
 
นอกจากการให้อิสรภาพเพียงชั่วคราวแล้ว ศาลยังกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวไว้ 5 ข้อ ได้แก่
 
ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 
ห้ามจำเลยเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ห้ามจำเลยออกนอกเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนไปสอบ ไปติดต่อราชการที่ศาลอื่น หรือมีเหตุอื่นโดยได้รับอนุญาตจากศาล 
ห้ามจำเลยออกนอกราชอาณาจักร
ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
กล่าวคือ นอกจากจำกัดการแสดงออกทางการเมือง รุ้ง-ปนัสยา ยังถูกจำกัดการใช้ชีวิตภายใต้อิสรภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด และมันก็สร้างอุปสรรคในการจัดการชีวิต ทั้งในบทบาทของนักศึกษา บทบาทของลูก และบทบาทของเพื่อน แต่แม้ว่าอิสรภาพของเธอจะกำลังนับถอยหลัง แต่รุ้งก็ยังคงมี “ความฝัน” ว่า เมืองไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น ด้วย “ความหวัง” ว่าประชาชนทุกคนจะร่วมมือกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
 

เสียงจากประชาชน เพื่อ #สมรสเท่าเทียม

See video
 
ถึงแม้ว่าจะมีคำกล่าวว่าประเทศไทยคือสวรรค์ของเพศหลากหลาย (LGBTQINA+) แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซ้ำระบบหลายๆ อย่างยังเกาะเกี่ยวกับ "ทะเบียนสมรส" เช่น สวัสดิการในการรักษาพยาบาล การลดหย่อนภาษี 
 
จนกระทั่งปี 2564 ก็ยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิดังกล่าว ซ้ำศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่่รับรองสิทธิสมรสเฉพาะคู๋รักต่างเพศกำเนิด (ชาย-หญิง) ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ท่ามกลางสภาวะที่ยังคงไร้ #สมรสเท่าเทียม ชวนฟังเสียงจากผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่บอกเล่าถึงชีวิตของเขา และความลำบากจากการที่ยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว
 

วงเสวนา รวมพลังประชาชน-รื้อมรดกคสช.

See video

"รวมพลังประชาชน-รื้อมรดกคสช." จากเวทีเสวนา สู่รอการลงมติโดย ส.ส. ในวันที่ 15 ธันวาคม 2564

 

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรีเล่าถึงประสบการณ์การถูกพาเข้าค่ายทหารและดำเนินคดี

"เขาเอาตัวผมไปค่ายทหารที่ไหนไม่รู้ ปิดตา คลุมหัวไป วันรุ่งขึ้นก็เอามาที่กองปราบฯ ตั้งข้อหาเพิ่ม มาตรา 116 แล้วก็เอาตัวผมไปศาลทหาร เราขอประกันตัวก็ไม่ให้ คัดค้านการฝากขังก็ไม่ฟัง ก็ส่งเข้าเรือนจำคืนนั้น อีกสองสามวันต่อมาก็เข้าไปแจ้งข้อหาเพิ่มเติม คือ ฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ รวมกันเป็น 3 ข้อหา”

 

ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เล่าถึงประสบการณ์ทหารจับกุมตัวช่วงการออกเสียงประชามติว่า

“เราก็ถูกผ้าปิดตา มัดมือเรา ไปนั่งในรถ ตอนนั้นเราก็จำได้ว่า เรานั่งอยู่ชั่วโมงกว่า เราก็กลัวที่มืดอยู่แล้ว กลัวที่แคบอยู่แล้ว ได้แต่ถามเขาว่าไปไหนๆ คิดในใจว่า เขาจะเอาฉันไปฆ่าหรือเปล่า แล้วก็เอาไปอยู่ในบ้านเก่าๆ หลังหนึ่ง เสร็จแล้วเขาก็เอาร่างรัฐธรรมนูญที่เขาทำมาให้ ให้เราสรุปข้อดี แต่เราก็ไม่ได้เปิดอ่าน เพราะเขาสรุปข้อดีออกมา เราก็ไม่ได้ทำอะไร เพราะคงหาไม่เจอ"

 

 

เลือกตั้ง'62 : เปิดรายงาน "คะแนนที่ถูกจัดการ" ระหว่างการรายงานผล

See video

การจัดการเลือกตั้ง’62 มีเรื่องอื้อฉาวมากมาย ตั้งแต่การจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร จนกระทั่งถึงวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 ก็เกิดภาพที่กระทบต่อความน่าเชื่อถือของการเลือกตั้งมากมาย

​​
ส่วนที่อยู่ในความทรงจำอย่างชัดเจนที่สุด คือ การรายงานผลคะแนนแบบ Real Time ในคืนวันเลือกตั้งที่กินเวลายาวนานและผลแพ้ชนะก็พลิกไปพลิกมาอยู่ตลอดจนกระทั่งช่วงสายของวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาด​​


เพื่อจะพยายามตอบคำถามว่า มีอะไรเกิดขึ้นในระหว่างการรายงานผลคะแนน เราจึงเปิดข้อมูลตัวเลขเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อหาข้อสังเกต วิเคราะห์ และแจกแจง ออกมาเป็นรายงานชื่อ “คะแนนที่ถูกจัดการ ระหว่างการรายงานผลการเลือกตั้ง’62”


เล่าสรุปประเด็นที่ค้นพบจากรายงานฉบับนี้ โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ และอานนท์ ชวาลาวัณย์

ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรายงานฉบับเต็ม หรือดูตารางผลคะแนนได้ที่: https://ilaw.or.th/node/5504

The Observers Case 07 : คดีเทใจให้เทพา | เมื่อชาวบ้านลุกคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อรักษาบ้านและทรัพยากร

See video

The Observers Case 07 : คดีเทใจให้เทพา | เมื่อชาวบ้านลุกคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อรักษาบ้านและทรัพยากร

 

Case 07 คดีนี้เราจะพาคุณผู้ฟังไปพบกับ กลุ่มชาวบ้านจาก อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ที่ถูกดำเนินคดีเพราะเดินเท้าไปยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อให้หยุดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนของพวกเขา

 
เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำกิจกรรมเดินเท้าเป็นเวลา 4 วัน จาก อ.เทพา จ.สงขลาไปที่ อ.เมือง จ.สงขลา เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ และยื่นหนังสือต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. และนายกรัฐมนตรี เพื่อให้หยุดโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อ.เทพา ที่สร้างขึ้นทับพื้นที่ชุมชนของพวกเขา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 
 
แต่เมื่อถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เจ้าหน้าที่ได้เข้าสลายการชุมนุมและจับกุมตัวชาวบ้าน 16 คน ที่ร่วมในกิจกรรม หนึ่งในนั้นมีเยาวชนอายุ 16 ปี และแจ้งข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ พ.ร.บ.จราจรฯ และข้อหาพกพาอาวุธและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
 
สุดท้ายแล้วศาลตัดสินให้จำเลย 2 จาก 16 คน ฐานไม่แจ้งการชุมนุมก่อนเริ่มการชุมนุมเป็นเวลา 24 ชั่วโมงและขอผ่อนผันตามระยะเวลาที่กำหนดตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ลงโทษปรับคนละ 5,000 บาท ข้อหาอื่นให้ยกฟ้องทั้งหมด 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งหมดในคดี เทใจให้เทพา ได้ที่:
 
สามารถรับฟัง The Observers Case 07 : คดีเทใจให้เทพา | เมื่อชาวบ้านลุกคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อรักษาบ้านและทรัพยากร ผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ที่: