1 - 31 ก.ค. 2564 สำนักเลขาธิการนายกฯ เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อ ร่างพ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจําตําแหน่ง และร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการการเมือง สาระสำคัญ คือ เพิ่มตำแหน่ง "ผู้ช่วยรัฐมนตรี" ให้เป็นข้าราชการการเมือง และให้มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน 40,000 บาท และค่าตำแหน่ง 10,000 บาท
เปิดชื่อกมธ. 45 คน พิจารณาร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ รื่องระบบเลือกตั้ง หลายคน "หน้าซ้ำ" กับกมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ ครั้งก่อน ที่ถูกคว่ำไป ยิ่งไปกว่านั้น มีสมาชิกรัฐสภาหลายคนที่เป็นกมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ ทั้งสองชุด แถมเป็นกมธ. ถ่วงเวลา #แก้รัฐธรรมนูญ อีกด้วย
24 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้พิจารณาลงมติในวาระแรก "รับหลักการ" ร่างพ.ร.บ.ตำรวจฯ ร่างกฎหมายดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ “รีเซ็ต” กฎหมายตำรวจเดิม และกำหนดระบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม อันเป็นหนึ่งในแผนการ “ปฏิรูปประเทศ” ที่คสช. ตั้งเป้าหมายไว้
2 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ “รับหลักการ” ร่างพ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 269 เสียง ไม่เห็นด้วย 201 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ตลอดการพิจารณาสามวัน มีส.ส. หลายคนที่อภิปรายไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณ ทั้งความไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตัดลดงบกระทรวงที่สำคัญ และประเด็นร้อนแรง #งบสถาบัน
ครม. เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ฉบับใหม่ ซึ่งจะทำให้หลักการรจากเดิมที่ให้เปิดเผยเป็นหลัก ไม่เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น กลายเป็น “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” เช่น การกำหนดข้อยกเว้น “ห้ามเปิดเผย” ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หากเปิดเผยแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงของรัฐในหลายๆ ด้าน
27 พฤษภาคม 2564 พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ปี 2564 เริ่มมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ฉบับใหม่ คือ การเปิดทางให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายหรือร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานรัฐสภา (แล้วแต่กรณี) ได้สะดวกขึ้น
แม้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะประกาศใช้มาตั้งแต่ปี 2562 แต่พอถึงกำหนดบังคับใช้ รัฐบาล คสช.2 ก็เลื่อนการบังคับใช้ออกไป เป็นครั้งที่สองแล้ว บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้เก็บข้อมูลก็ยังลอยตัว ไม่มีกฎหมายบังคับ ระหว่างนี้ยังเอาข้อมูลไปทำอะไรก็ได้ โดยไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อใดถึงจะพร้อมใช้จริง แถมการเลื่อนครั้งนี้อ้างโควิด-19 กระทบเศรษฐกิจและสังคม
หลังการรัฐประหารปี 2557 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกลายเป็นส่วนของระบบเผด็จการ คสช. ตลอดเจ็ดปีที่ผ่านมา องค์กรเหล่านี้เข้ามายึดพื้นที่ทางการเมือง เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาอำนาจ คสช. และทำลายฝ่ายตรงข้าม คสช.
ทบทวนบทบาทของ สนช. ที่แก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลายครั้งอย่างลับๆ เกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เมื่อถึงยุคของ ส.ว. ก็ยังตั้งกมธ.พิทักษ์สถาบันฯ รวมทั้งขวางการ #แก้รัฐธรรมนูญ หมวดพระมหากษัตริย์ และอีก 38 มาตรา
ส.ว. "ชุดพิเศษ" 250 คน ที่มาจาก คสช. กลายเป็นองค์กรที่มีพื่อสืบทอดอำนาจของคสช. และขวาง #แก้รัฐธรรมนูญ แต่อำนาจหน้าที่ในกระบวนการออกกฎหมายก็ยังอยู่ในมือของพวกเขาด้วย ผลงานตลอด 2 ปีในตำแหน่ง พวกเขาลงมติผ่านร่างพระราชบัญญํติได้ 11 ฉบับ และอนุมัติพระราชกำหนดให้คณะรัฐมนตรีได้ 6 ฉบับ โดยเสียง เห็นชอบแทบจะไม่มีแตกแถว