แม้ว่าร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จะตัดบทลงโทษกรณีทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมรดกทางวัฒนธรรมออกไป แต่กฎหมายฉบับนี้ก็มีความน่ากังวลว่าจะตีความครอบคลุมสิ่งใดบ้าง เพราะคำว่าวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มีความหมายกว้างและเป็นนามธรรมมาก
เป็นเวลาเพียง 22 วัน นับตั้งแต่วันที่ ครม.เห็นชอบ จนถึงวันที่ยกเลิกร่าง พ.ร.บ.จีเอ็มโอ ถือเป็นถอยที่รวดเร็วของรัฐบาลทหาร เมื่อเปรียบเทียบกับประเด็นอย่าง Single Gateway หรือ ชุดร่าง พ.ร.บ.ความมั่งคงดิจิทัล เราชวนย้อนดูไทม์ไลน์การเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.จีเอ็มโอ และการวิเคราะห์จาก วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ว่าทำไม ร่าง พ.ร.บ.จีเอ็มโอถึงล่ม?
ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่มีผู้แทนประชาชน ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผลิตกฎหมายจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะขาดการตรวจสอบถ่วงดุล และการมีส่วนร่วม ทำให้มีกฎหมายที่เป็นปัญหาและส่งผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ร่วมติดตามกฎหมายสำคัญที่ผ่าน สนช.และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
ร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพหรือ ร่างพ.ร.บ.จีเอ็มโอ ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีท่ามกลางเสียงท้วงติงจากภาคประชาชนและหน่วยงานรัฐเองหลายประเด็น เช่น การใช้จีเอ็มโอในสภาพควบคุมหรือในภาคสนามที่ไม่ต้องทำ EIA หรือผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดชอบถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัย รวมถึงการเขียนกฎหมายแบบเปิดโอกาสให้มีการใช้จีเอ็มโออย่างเสรี
สนช.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีการแก้ไขหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องกักขังเฉพาะกรณีที่จำเป็น การให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจดหมาย เอกสาร และสกัดกั้นการสื่อสาร การกำหนดมาตรการดูแลช่วยเหลือผู้ต้องกักขังหญิงที่ตั้งครรภ์ รวมถึงการเพิ่มโทษสำหรับผู้ที่กระทำผิดต่อสถานที่กักขัง
หลัง สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง ทำให้เกิดกระแสคัดค้านในโลกออนไลน์เป็นจำนวนมาก กฎหมายนี้มีศัพท์เทคนิคที่อ่านแล้วยังมีข้อสงสัยจำนวนมาก เราจึงยกหูโทรศัพท์ไปสอบถาม พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร สมาชิก สนช. เพื่อคลายข้อสงสัยที่มีอยู่มากมายในโลกออนไลน์
สนช.ร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง โดยเนื้อหาให้ทหารกองหนุน กลับมาฝึกวิชาทหารอีกครั้งพื่อการเตรียมความพร้อมในกิจการของกระทรวงกลาโหม โดยหากฝ่าฝืนไม่เข้ารับราชการทหารมีโทษสูงสุดติดคุกสี่ปี ในส่วนของนายจ้างหากไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งต้องรับราชการทหารในวันลามีโทษปรับสองหมื่นบาท
สนช.เพิ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวและจำกัดการเดินทางแทนการจำคุก โดยหวังว่าจะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่มีรัพย์สินเป็นหลักประกันได้สิทธิปล่อยตัวชั่วคราวและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลนักโทษ อย่างไรก็ตามยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนำมาใช้กับคดีลักษณะใดหรือนักโทษกลุ่มใด
ปัญหา "คนล้นคุก" เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงกันมาอย่างยาวนาน แต่ทว่า ทางออกของปัญหาไม่แน่ใจว่าอยู่ที่ตรงไหน อย่างไรก็ดี สนช. พยายามแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการ "รอการลงโทษฯ" แต่กฎหมายดังกล่าวจะตอบโจทย์ได้จริงหรือไม่ ไปดูรายละเอียดกัน
สนช.กำลังพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพราะการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การทำแท้งที่ผิดกฎหมาย ส่งผลต่อสังคมและเศรษฐกิจ ชวนมาทบทวนเนื้อหาของร่างกฎหมายดังกล่าวกับ จิตติมา ภาณุเตชะ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ จากมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง