กมธ. ของ ส.ว. ได้ปรับแก้หรือตัดข้อเสนอใน ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ จำนวนหนึ่งที่เสนอในชั้น กมธ. ส.ส. และได้รับมติเห็นชอบจาก ส.ส. แล้ว เช่น ตัดโความผิดฐานกระทำย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ฯ การปรับโครงสร้างและที่มาของคณะกรรมการ จนทำให้ร่างของ กมธ. ส.ว. นั้นแทบจะปรับแก้ให้เนื้อหาสำคัญกลับไปเป็นเหมือนร่างของ ครม.
พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ส่อแววพิจารณาไม่เสร็จภายใน 180 วันตามที่กฎหมายกำหนด การปล่อยให้พิจารณาไม่ทันนั้นมีมากกว่าแค่เรื่องของสูตรคำนวณที่นั่ง ส.ส. เพราะยังมีข้อเสนอที่มีประโยชน์ต่อการเข้าถึงการเลือกตั้งของประชาชนที่อาจต้องหายไป
4 สิงหาคม 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติ “ไม่รับหลักการ” ร่างพ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ ที่ส.ส.ก้าวไกลเสนอขึ้นเพื่อใช้แทนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ด้วยคะแนนเสียงไม่รับหลักการ 169 เสียง ขณะที่เสียงเห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าวมี 69 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง
3 ส.ค. 2565 เกิดเหตุสภาล่ม องค์ประชุมไม่ครบ ขณะพิจารณาร่างพ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ร่างกฎหมายดังกล่าวยังพิจารณาไม่เสร็จ ส่งผลให้ร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. ซึ่งอยู่ในลำดับพิจารณาถัดไป ค้างท่อต้องยกยอดไปพิจารณาต่อในการประชุมรัฐสภาครั้งหน้า
1-4 ส.ค. 2565 มีการประชุมสภาหลายนัด ทั้งวุฒิสภา นัดลงมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งป.ป.ช. สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างกฎหมาย เช่น ร่างพ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ ที่เสนอมาเพื่อใช้แทนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และรัฐสภา (ส.ส. + ส.ว.) พิจารณาร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส.
26 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีมติให้กมธ. ร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. นำร่างกลับไปทบทวนใหม่ สืบเนื่องจากปมการโหวตพลิกขั้ว แก้ไขร่างจากสูตรคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจาก "หาร 100" เป็น "หาร 500"
เมื่อ 6 กรกฎาคม 2565 รัฐสภาโหวตพลิกล็อคสูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อในร่างพ.ร.ป.การเลือกตั้งส.ส. จากสูตรหาร 100 เป็นสูตรหาร 500 โดยมี "ส.ว.ชุดพิเศษ" เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สูตรการเลือกตั้งส.ส.ครั้งถัดไปเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
เส้นทางของประเทศไทยที่จะมีกฎหมายเพื่อป้องกันการซ้อมทรมานและการอุ้มหายเหลืออีกไม่ไกลแล้ว แต่ก่อนจะไปถึงจุดหมายที่หลายฝ่ายพยายามผลักดันมานาน ก็ยังต้องเจอกับ “วุฒิสภา” อันเป็นอีกหนึ่งด่านสำคัญที่รับไม้ต่อมาจากสภาผู้แทนราษฎร
15 มิถุนายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการร่างพ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งฯ #สมรสเท่าเทียม ซึ่งเสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกล และร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตสองฉบับ หนึ่งฉบับเสนอโดยครม. อีกหนึ่งฉบับเสนอโดยส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
15 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีนัดพิจารณาร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง #สมรสเท่าเทียม ที่เสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกล และร่างกฎหมายคู่ชีวิต 2 ฉบับ ซึ่งเสนอโดยครม. และส.ส.พรรคประชาธิปัตย์