เมื่อมีข่าวคดีข่มขืนสะเทือนขวัญ ดีเบตเรื่อง ข่มขืน=ประหารชีวิต ก็จะดังกลับขึ้นมาในสังคมเป็นระยะๆ ฝ่ายหนึ่งมองผ่านมุมของเหยื่อ ฝ่ายหนึ่งมองผ่านมุมของผู้ต้องหาและสิทธิมนุษยชน ข้อสรุปเหตุผลพื้นฐานของแต่ละฝ่ายอาจช่วยให้เข้าใจข้อถกเถียงที่ยังดำเนินต่อไปอย่างไม่มีจุดจบนี้มากขึ้น
รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่เพิ่งผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 มีประเด็นเกี่ยวกับ “สิทธิพลเมืองว่าด้วยเรื่องข้อมูล” ที่ต้องใส่ใจให้ความสำคัญ แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีใครกล่าวถึงกันมากนัก
รวมพลังชาวบ้านหลายพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่เมืองเลย ค้านร่างกฎหมายแร่ฉบับ คสช.หวั่น Mining Zone จะก่อให้เกิดความล่มสลายอย่างรุนแรงต่อชุมชนทั่วประเทศได้ เพราะเปิดทางให้ทำเหมืองได้ในพื้นที่ป่าสงวน การลดขั้นตอนการขอสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้ เพื่อความรวดเร็วต่อเอกชนที่จะเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะขั้นตอนปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่สัมปทาน
วันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ตัวแทนเครือข่ายพลเมืองเน็ตยื่น 40,000 รายชื่อ (ตัวเลข ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2559) ที่ร่วมกันรณรงค์ออนไลน์ผ่าน change.org “หยุด Single Gateway หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล” ต่อ นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่สอง เพื่อเรียกร้องให้ชะลอการพิจารณาร่างแก้ไขพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีปัญหาในแง่การจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งจะรบกวนการทำงานของระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ปลอดภัย
สมัชชาสาธารณสุขปกป้องประชาธิปไตย และกลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย ออกหนังสือแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมว่า ร่างรัฐธรรมนูญลดทอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน, ระบบการเลือกตั้งบิดผันเจตจำนงของประชาชน และเป็นการสืบทอดอำนาจองค์กรที่มาจากการแต่งตั้ง
บูรพา เล็กล้วนงาม อดีตนักข่าวผู้คร่ำหวอดในวงการการเมือง ประมวลเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ก่อนนำไปลงประชามติ สรุปทั้งฉบับมาให้เบาๆ ใน 5 หน้า สำหรับคนที่ไม่อยากอ่านเต็มทุกมาตรา
บทความจากนักศึกษานิติศาสตร์ เสนอความเห็นต่อมาตรา 15 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งสร้างภาระให้กับตัวกลางมากเกินไปในการต้องลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย และความเห็นต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่บางมุมช่วยบรรเทาปัญหาได้ แต่บางมุมก็ยังไม่ดีขึ้น
หลายคนยังคงสับสนและงุนงงในหลายประเด็นสำหรับการออกเสียงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการเตรียมความพร้อม เราข้อย้ำเตือน 7 ประเด็นก่อนเข้าคูหาลงประชามติ
ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เครือข่ายพลเมืองเน็ต และไพรเวซี อินเตอร์เนชั่นแนล ส่งจดหมายถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยในจดหมายระบุถึงข้อเสนอแนะและข้อสังเกตเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวที่กำลังเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ร่วมกับเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ส่งหนังสือเปิดผนึกถึง สนช. เพื่อให้ทบทวนร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ โดยเห็นว่า การตราร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาเพียงต้องการให้กระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยนำระบบไต่สวนมาใช้แทนระบบกล่าวหา แต่ไม่ได้ทบทวนสาเหตุของความล่าช้าในการดำเนินคดี และขาดการรับฟังความเห็นจากประชาชน