สมชาย ปรัชาศิลปกุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนบทความวิพากษ์ สนช. ที่พิจารณากฎหมายเพิ่มเบี้ยประชุมศาล ว่าการประชุมแต่ละครั้ง ได้เงินมากกว่ากรรมกรทำงานทั้งเดือน
นักเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิในด้านต่างๆมาสะท้อนประสบการณ์ในการชุมนุมภายใต้พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ 2558 (พ.ร.บ.ชุมนุมฯ) โดยมองว่า ข้อบังคับตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ สร้างความยุ่งยากและอุปสรรคในการชุมนุม ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังไม่มีความเข้าใจตัวบทเพียงพอ และมีแนวโน้มจะตีความอย่างกว้างขวาง สร้างความกังวลใจต่อผู้ใช้สิทธิว่า จะสามารถใช้เสรีภาพอย่างไรได้บ้าง
สำนักข่าว The MATTER, Minimore และ Boonmee Lab ร่วมกันเปิดตัวสื่อข้อมูลการเมืองและการเลือกตั้งไทย ในชื่อว่า ‘ELECT’ (elect.in.th) ตั้งเป้าให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับประชาชน เพื่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน แม่ฮ่องสอน เผยแพร่รายงานกระตุ้นเตือนปัญหาผลกระทบจากปฏิบัติการ “ทวงคืนผืนป่า” ภายใต้รัฐบาล คสช. ท่ามกลางบรรยากาศไปสู่การเลือกตั้ง หวัง ผู้ที่จะเป็นตัวแทนของคนชายขอบและพรรคการเมือง จะช่วยผลักดันแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง
สถาบันพระปกเกล้าจัดงานประชุมวิชาการประจำปี นักวิชาการสามคนนำคุยเรื่อง บทเรียนประชาธิปไตยที่ล้มเหลวทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก รวมถึงทำนายอนาคตการเมืองไทยหลังการเลือกตั้งปี 62 ทั้งสามคนยังเห็นพ้องกันว่า กติกาแบบใหม่จะนำไปสู่รัฐบาลที่อ่อนแอ
ผู้ตรวจการแผ่นดินเปิดเผย ผลการตรวจสอบ 'คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558' ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ว่า คำสั่งดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญ 2560 และคำสั่งนี้ไม่ได้เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนจนเกินสมควร รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจตามคำสั่งดังกล่าวถือว่าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
เครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้งที่เสรี เป็นธรรม และมีผลในทางปฏิบัติ (Free, Fair & Fruitful Election) หรือ FFFE จัดเวทีเสวนา เรียกร้องให้ กกต. เป็นกลาง สนับสนุนพรรคการเมือง ไม่อยู่ใต้อาณัติคสช. ชี้ กติกาการเลือกตั้งยังสุ่มเสี่ยงทำการเลือกตั้งไม่เสรีและเป็นธรรม ประกอบกับบทบาทของ คสช. ยังมีส่งผลต่อการเลือกตั้งและพรรคการเมือง
จากกรณีที่พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อถึงการตรวจสอบเพลงประเทศกูมีของ Rap against dictatorship (RAD) ว่า เข้าข่ายผิดกฎหมายใดหรือไม่ นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมถึงการบังคับใช้กฎหมาย โดยเหล่านักวิชาการร่วมกะเทาะบทเพลงขบถต่อต้านรัฐอย่าง "ประเทศกูมี" ว่า เหตุใดจึงสร้างแรงกระเพื่อมให้แก่สังคมไทยมากเช่นนี้ ขณะเดียวกันก็พาย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์บทเพลงขบถ และวิเคราะห์การเผยแพร่เพลงในแง่มุมของกฎหมายที่ไม่ว่าทางใดก็ไม่มีทางขัดต่อกฎหมายได้
วันที่ 14 ตุลาคม 2561 เครือข่าย FFFE จัดเสวนา "การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมกับอนาคตสังคมและการเมืองไทย" โดยมีตัวแทน 7 พรรคการเมืองมาร่วมเวที แต่ละพรรคประสานเสียงถึง คสช. ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุด และ กตต. ในฐานะกรรมการให้จัดการเลือกตั้งในปี 2562 อย่างเสรีและเป็นธรรมไม่ใช้กติกาและอำนาจที่ตัวเองมีเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นๆ
26 ตุลาคม 2561 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการจัดกิจกรรมราชดำเนินเสวนาในหัวข้อ “อันตรายกฎหมายไซเบอร์...?” โดยวงดังกล่าวประกอบไปด้วยนักกฎหมาย นักวิชาการ และตัวแทนภาครัฐ ซึ่งมีประเด็นจากวงว่า กฎหมายมั่นคงไซเบอร์ฯ สุ่มเสี่ยงละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนพร้อมเรียกร้องให้ปรับแก้