Hot Issues

Police interview
ในสภาวะที่สถาบันตำรวจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านและแรงกดดันจากสังคม เราชวน “เอก” ข้าราชการตำรวจ มาพูดคุยถึงความฝัน  ความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และมุมมองของเขาในฐานะตำรวจรุ่นใหม่ที่มีต่อสถาบันตำรวจท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน
ในยามที่ความนิยมของรัฐบาลกำลังถดถอยลงจากความผิดพลาดในการแก้ปัญหาสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับเสียงจากกัลยาณมิตรของพรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องการเห็นพรรคประชาธิปัตย์ 'ถอนตัว' ก็ดังขึ้นเรื่อยๆ เราจึงตัดสินใจพูดคุยกับหนึ่งในอดีตผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ว่ามองผลงานของรัฐบาลและพรรคร่วมอย่างไร รวมทั้งถึงเวลาแล้วหรือไม่ ที่พรรคประชาธิปัตย์จะถอนตัว
ประชาชนยื่นหนังสือต่อสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขอใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ ปี 2540 เพื่อให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการตั้ง "คณะกรรมการตรวจสอบและดำเนินคดีแก่ผู้เผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค" หรือ คตส. ของนายรัฐมนตรี หวั่นเปิดการใช้อำนาจรัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน
Timeline
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 หรือ เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้ กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ได้จัดการชุมนุมใหญ่บนท้องถนนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งนับว่าเป็นการเคลื่อนไหวก้าวสำคัญที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวยกระดับของกลุ่มต่างๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาล โดย ณ ขณะนั้น ข้อเรียกร้องสำคัญ มีอยู่สามข้อ คือ ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ หยุดคุกคามประชาชน   
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานยุติการตรวจโควิด 19 แก่แรงงานข้ามชาติใน “โครงการให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวด้านสาธารณสุข” อ้างสถานการณ์สาธารณสุขปัจจุบันที่ทำให้รับผู้ป่วยใหม่ไม่ไหว
Vaccine Contract
กว่า 3 เดือนแล้วตั้งแต่มีการยื่นขอให้รัฐบาลเปิดเผยรายละเอียดสัญญาจัดซื้อวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 กับบริษัท แอสตร้าเซเนก้า และ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งเป็นข้อมูลของรัฐที่ต้องเปิดเผย ชวนดูตัวอย่างในอังกฤษ-อียู ที่เปิดสัญญาต่อสาธารณะทำให้ประชาชนเห็นชัดว่า เขียนรัดกุมหรือไม่อย่างไร
หลังจากเปิดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ หรือ พ.ร.บ.ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมฯ ก็พบว่า แค่การทำ CAR-MOB ไม่ได้เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ต้องมีการกระทำความผิดเป็นพิเศษ เช่น รวมกลุ่มที่ก่อให้เกิดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคล การใช้เสียงเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด หรือ การขับรถโดยประมาทไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น เป็นต้น
Pass One drafts
ผ่านแค่ร่างเดียว! ที่ประชุมสภาลงมติ #แก้รัฐธรรมนูญ วาระที่ 1 รับแค่ร่างเดียว คือ การเสนอแก้ไขระบบเลือกตั้งไปใช้คล้ายระบบ 2540 ซึ่งเสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนร่างที่เสนอให้ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ ไม่ผ่านเพราะเสียงของ ส.ว. ไม่เพียงพอ
23 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วย ส.ส. และ ส.ว. มีนัดพิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญแบบ "รายมาตรา" รวมกัน 13 ฉบับ โดยประเด็หลักที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางคือ เรื่องอำนาจของ ส.ว. ในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 กับ การจำกัดอำนาจของ ส.ส. ในการแปรญัตติงบประมาณ และการแทรกแซงการดำเนินงานของราชการ ตามมาตรา 144 กับ 185 ตามลำดับ
ในศึกแก้รัฐธรรมนูญภาคสอง หนึ่งในประเด็นหลักที่พรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านต่างอภิปรายตรงกัน คือ การยกเลิก มาตรา 272 ที่ให้ ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงห้าปีแรกของบทเฉพาะกาล แต่ทว่าประเด็นดังกล่าวก็นำไปสู่การลุกขึ้นประท้วงของฝ่าย ส.ว. อาทิ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ยืนยันย้ำเตือนว่า อำนาจ ส.ว. มาจากการออกเสียงประชามติจาก “พี่น้องประชาชน 16 ล้านคน”