ย้อนสำรวจคดี #เทใจให้เทพา เมื่อคำพิพากษาระบุว่า “การชุมนุมเป็นเสรีภาพพื้นฐานที่จำเป็น”
อ่าน

ย้อนสำรวจคดี #เทใจให้เทพา เมื่อคำพิพากษาระบุว่า “การชุมนุมเป็นเสรีภาพพื้นฐานที่จำเป็น”

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ได้มีเหตุการณ์ตำรวจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนครั้งสำคัญ การชุมนุมนี้ตั้งชื่อว่า #เทใจให้เทพา โดยประชาชนในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ที่ต้องการคัดค้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเนื่องจากเกรงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำกิจกรรมเดินเท้าจากบ้านเพื่อไปยื่นหนังสือต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ย้อนรอยความสัมพันธ์ “M16” กับพล.อ.ประวิตรและพล.อ.ประยุทธ์
อ่าน

ย้อนรอยความสัมพันธ์ “M16” กับพล.อ.ประวิตรและพล.อ.ประยุทธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างเอ็ม 16 และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณและพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ใช่เรื่องราวขำขัน หากเป็นโศกนาฏกรรมที่ผ่านมาแล้ว 13 ปี ยังไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความรุนแรงจากฝ่ายรัฐมาลงโทษได้
ข้อเท็จจริงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565
อ่าน

ข้อเท็จจริงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565

การใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 บริเวณถนนดินสอ เป็นการใช้อำนาจนอกกฎหมายที่ชัดเจน และเป็นอีกครั้งที่ตอกย้ำว่า รัฐไทยไม่เคยเคารพ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ และพร้อมละเมิดทุกกฎกติกาในยามที่ตัดสินใจแล้วว่าจะปฏิบัติการใช้กำลัง
สรุปคำฟ้องคดีขอเพิกถอนข้อกำหนด “ลักไก่” ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มโทษผู้ชุมนุม
อ่าน

สรุปคำฟ้องคดีขอเพิกถอนข้อกำหนด “ลักไก่” ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพิ่มโทษผู้ชุมนุม

22 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นิสิตและนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอนประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ฉบับที่ 15 และขอให้ศาลเปิดไต่สวนเพื่อคุ้มครองชั่วคราว 
เปิดงานวิจัยการชุมนุมที่แยกดินแดง ชีวิตพลิกผันเพราะรัฐล้มเหลว การเผชิญหน้าคือทางออกสุดท้าย
อ่าน

เปิดงานวิจัยการชุมนุมที่แยกดินแดง ชีวิตพลิกผันเพราะรัฐล้มเหลว การเผชิญหน้าคือทางออกสุดท้าย

การเคลื่อนไหวของทะลุแก๊ซป็นปรากฏการณ์ใหม่ในการชุมนุมเรียกร้องต่อรัฐบาล ผศ.ดร. กนกรัตน์ เลิศชูสกุลและธนาพงศ์ เกิ่งไพบูลย์ทำการศึกษาถึงที่มาที่ไปของการเกิดขึ้นของการชุมนุมที่แยกดินแดง ในรายงานเบื้องต้นเรื่องการก่อตัว พัฒนาการและพลวัตการชุมนุมบริเวณแยกดินแดง ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564
“เขาจะเอาเราให้ตายเลยพี่ เขาขู่ผมว่าถ้าไม่หยุดมึงตายนะไอ้อ้วน” เสียงจากแป๊ะ สมรภูมิดินแดง
อ่าน

“เขาจะเอาเราให้ตายเลยพี่ เขาขู่ผมว่าถ้าไม่หยุดมึงตายนะไอ้อ้วน” เสียงจากแป๊ะ สมรภูมิดินแดง

“แป๊ะ” คือหนึ่งในผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมจากการสลายการชุมนุมในช่วงค่ำวันที่ 22 สิงหาคม 2564 ทว่าค่ำคืนในห้องขังที่เขาพบมิตรภาพจากผู้ชุมนุมที่ประสบชะตากรรมเดียวกันและเป็นเวลาที่เขาต้องทนกับความเจ็บจากกระสุนยางนับสิบนัดที่ถูกกระหน่ำใส่ร่างของเขาที่มีเพียงสองมือเปล่าจากบุคคลที่เรียกตัวเองว่า “ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์” ซึ่ง “แป๊ะ”ระบุว่า หากเขามีโอกาสได้พบกับคนเหล่านั้น เขาก็หวังจะโอภาปราศรัยกับคนกลุ่มนั้น…ด้วยกระสุนยาง
ถอดประสบการณ์ตำรวจคุมม็อบ ตำรวจอยู่ใต้รัฐบาล จะกู้เกียรติคืนได้ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลจากประชาชน
อ่าน

ถอดประสบการณ์ตำรวจคุมม็อบ ตำรวจอยู่ใต้รัฐบาล จะกู้เกียรติคืนได้ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลจากประชาชน

18 กรกฎาคม 2564 เยาวชนปลดแอกและเครือข่ายนัดชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก, ลดงบสถาบันกษัตริย์และกองทัพเพื่อมารับมือกับโควิด 19 และจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA การชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นให้หลังการปะทะที่กระทรวงสาธารณสุข ผู้จัดการชุมนุมจึงวางทีมดูแลผู้ชุมนุมและป้องกันไม่ให้มีการปะทะที่หน้าแนวตำรวจ อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ชุมนุมยืนยันที่จะเดินขบวนผ่านถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปทำเนียบรัฐบาล ตำรวจก็เริ่มใช้กำลังสลายการชุมนุมด้วยการฉีดน้ำ, แก๊สน้ำตาและกระสุนยาง ทั้งที่ไม่มีกฎหมายใดห้ามการชุมนุมบริเวณทำเนียบรัฐบาล
ตำรวจใช้กำลังทำ “ละเมิด” ต้องชดใช้ค่าเสียหาย ประชาชนฟ้อง “ต้นสังกัด” ได้เลย
อ่าน

ตำรวจใช้กำลังทำ “ละเมิด” ต้องชดใช้ค่าเสียหาย ประชาชนฟ้อง “ต้นสังกัด” ได้เลย

จากการสลายชุมนุมหรือวิธีควบคุมการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ชุมนุมต้องเผชิญกับการใช้กำลังของตำรวจทั้งด้วยปืนฉีดน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา จนถึงกระสุนยาง กฎหมายได้ออกแบบช่องทางเพื่อให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบสามารถได้รับการเยียวยาผ่านทาง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  
ศาลสั่งตำรวจ ‘ใช้ความระมัดระวัง-ให้ส่งรายงานวิธีควบคุมการชุมนุม’ ไม่ได้ห้ามยิงกระสุนยาง .
อ่าน

ศาลสั่งตำรวจ ‘ใช้ความระมัดระวัง-ให้ส่งรายงานวิธีควบคุมการชุมนุม’ ไม่ได้ห้ามยิงกระสุนยาง .

สรุปความเคลื่อนไหวคดีที่สื่อมวลชนเป็นโจทก์ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติและพวก จากกรณีได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงด้วยกระสุนยางของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสลายชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา พร้อมยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว และคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนโดยฉุกเฉิน สั่งคุ้มครองไม่ให้ตำรวจใช้กระสุนยางในลักษณะนี้อีก   
สรุปคำฟ้อง สื่อมวลชนร้องศาลห้ามตำรวจยิงกระสุนยาง งดใช้ความรุนแรงในพื้นที่ชุมนุม
อ่าน

สรุปคำฟ้อง สื่อมวลชนร้องศาลห้ามตำรวจยิงกระสุนยาง งดใช้ความรุนแรงในพื้นที่ชุมนุม

ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระบุว่าขณะนี้มีคดีที่สื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบเป็นโจทก์ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐจากการใช้กระสุนยาง จำนวน 2 คดี คือ จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุม #ม็อบ20มีนา และ #ม็อบ18กรกฎา โดยทั้งสองคดีนั้น มีคำขอให้ศาลสั่งห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม