Browsing Tag
ปิดสวิตช์ สว.
18 posts
เลือกตั้ง66: สำรวจจุดยืน ส.ว.เลือกนายกฯ โหวตตามเสียงข้างมากหรือตามใจตัวเอง
ไอลอว์รวบรวมคำให้สัมภาษณ์ของ ส.ว.ในช่วงใกล้การเลือกตั้ง เพื่อเป็นภาพสะท้อนของแนวคิด ส.ว.ว่าหลังเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงให้พรรคเสียงข้างมากหรือจะไม่ลงคะแนนจนนำมาสู่สภาวะทางตันทางการเมืองต่อไป
เลือกตั้ง 66: ต้องปิดสวิตช์ ส.ว. คืนอำนาจให้ประชาชนเจ้าของประเทศ
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เรียกร้องว่า ในการเลือกตั้ง 2566 ส.ว. 250 คนต้องเคารพเจตจำนงเสียงข้างมากเพราะมันคือการกลับสู่ระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศอีกครั้งหนึ่ง
เลือกตั้ง 66: ส.ว. “งดออกเสียง” ไม่ช่วยอะไร แต่อาจเปิดทาง “นายกฯ นอกบัญชี”
การ “งดออกเสียง” ของ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรีอาจจะดูเหมือนเป็นทางออกเพื่อการ “ปิดสวิชต์” ตัวเอง แต่ในความจริงแล้ว การงดออกเสียงจะทำให้ไม่มีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนใด ได้เสียงถึง 376 เสียง และจะเป็นการ “วีโต้” ให้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคที่ได้ ส.ส. เสียงข้างมาก ไม่อาจขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้
สภาล่มก่อนพิจารณาแก้รธน. ปิดสวิชต์ ส.ว. ส.ว. แจ้งลาประชุมสูงถึง 95 คน
8 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประชุมรัฐสภามีกำหนดพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. เสนอโดยพรรคเพื่อไทย ให้ยกเลิกมาตรา 272 ประธานกดออดเพื่อนับองค์ประชุมก่อนลงคะแนนในญัตติ แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จึงทำให้ต้องปิดประชุม และพบว่ามี ส.ว. แจ้งลาประชุมสูงถึง 95 คน
#แก้รัฐธรรมนูญ season 6 เพื่อไทยเสนอปิดสวิตช์ ส.ว. เลือกนายกก่อนเลือกตั้ง 66
ก่อนที่สภาจะหมดวาระในเดือนมีนาคม 2566 ยังมีโอกาสอีกครั้งในการ “ปิดสวิชต์ส.ว.” โดยรัฐสภามีการบรรจุวาระที่จะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยที่เสนอให้ตัดอำนาจ ส.ว. แต่งตั้งเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นครั้งที่เจ็ดแล้วที่รัฐสภาจะลงมติปิดสวิชต์ ส.ว.
แก้รัฐธรรมนูญภาคสี่: ถอดรหัสการลงมติ #ตัดอำนาจสว ของ ส.ส. และ ส.ว.
7 กันยายน 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนัดลงมติเห็นชอบร่างแก้รัฐธรรมนูญจำนวน 4 ฉบับ โดยผลของการลงมติครั้งดังกล่าว พบว่า “ร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับถูกปัดตก” แม้บางฉบับจะได้รับเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา แต่เนื่องจากไม่ผ่านเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ผ่าทางตันรัฐธรรมนูญไทยในมุมมอง “สิริพรรณ นกสวน สวัสดี”
รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองว่า ข้อเสนอเกี่ยวกับ สสร. ของทั้งพรรคฝ่ายค้านและรัฐบาลยังไม่เพียงพอต่อการสะท้อนกลุ่มก้อนทางสังคมเพราะใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง รวมถึงการแก้รัฐธรรมนูญจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งจากข้อเสนอเพื่อปิตสวิตช์ ส.ว. อาจต้องพิจารณาเรื่องการแก้ระบบเลือกตั้งควบคู่ไปด้วย