จับตาแก้ระบบเลือกตั้ง ไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของ ส.ส. บัญชีรายชื่อส่อเกิด “เบี้ยหัวแตก”
อ่าน

จับตาแก้ระบบเลือกตั้ง ไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของ ส.ส. บัญชีรายชื่อส่อเกิด “เบี้ยหัวแตก”

แม้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องระบบเลือกตั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอจะคล้ายคลึงกับระบบเลือกตั้งในรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ความแตกต่างคือไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของพรรคที่จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ การไม่กำหนดเกณฑ์ขึ้นต่ำนี้จะทำให้พรรคขนาดเล็กมีโอกาสเข้าสู่สภามากขึ้นแต่ก็จะเกิด “เบี้ยหัวแตก”
เกมส์แก้ระบบเลือกตั้ง สภาแบ่ง 2 ฝ่าย ไม่แบ่งฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล
อ่าน

เกมส์แก้ระบบเลือกตั้ง สภาแบ่ง 2 ฝ่าย ไม่แบ่งฝ่ายค้าน-ฝ่ายรัฐบาล

24 สิงหาคม 2564 การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยระบบเลือกตั้งใกล้จะเข้าสู่การพิจารณาเห็นชอบในวาระที่สอง ซึ่งเป็นการพิจารณาให้ความเห็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบทีละมาตรา และเมื่อรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระสองแล้วเสร็จให้รอไว้ 15 วัน จากนั้นถึงพิจารณร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่สามต่อได้ ทั้งนี้ ถ้าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ก็ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จครั้งแรกของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากถูกคว่ำจากวุฒิสภา และถูกเตะถ่วงจากฟากรัฐบาลอยู่หลายรอบ
1 ปี ม็อบเยาวชนปลดแอก: ข้อเรียกร้อง “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ยังไม่คืบหน้า
อ่าน

1 ปี ม็อบเยาวชนปลดแอก: ข้อเรียกร้อง “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่” ยังไม่คืบหน้า

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 หรือ เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้ กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ได้จัดการชุมนุมใหญ่บนท้องถนนรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งนับว่าเป็นการเคลื่อนไหวก้าวสำคัญที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวยกระดับของกลุ่มต่างๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาล โดย ณ ขณะนั้น ข้อเรียกร้องสำคัญ มีอยู่สามข้อ คือ ยุบสภา ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ หยุดคุกคามประชาชน
เปิดชื่อ กมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ นั่งหลายชุด แก้หลายรอบ แต่รัฐธรรมนูญไม่เคยผ่าน
อ่าน

เปิดชื่อ กมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ นั่งหลายชุด แก้หลายรอบ แต่รัฐธรรมนูญไม่เคยผ่าน

เปิดชื่อกมธ. 45 คน พิจารณาร่าง #แก้รัฐธรรมนูญ เรื่องระบบเลือกตั้ง หลายคน “หน้าซ้ำ” กับกมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ ครั้งก่อน ที่ถูกคว่ำไป ยิ่งไปกว่านั้น มีสมาชิกรัฐสภาหลายคนที่เป็นกมธ. #แก้รัฐธรรมนูญ ทั้งสองชุด แถมเป็นกมธ. ถ่วงเวลา #แก้รัฐธรรมนูญ อีกด้วย
ถอดรหัสการลงมติ #แก้รัฐธรรมนูญ – ส.ว. โหวตแบบ “ไม่สนโลก”
อ่าน

ถอดรหัสการลงมติ #แก้รัฐธรรมนูญ – ส.ว. โหวตแบบ “ไม่สนโลก”

จากการตรวจดูผลการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ พบว่า การลงมติของ ส.ว. เป็นไปอย่าง “ไม่สนโลก” ไม่ว่าจะเป็นการลงมติเพื่อขัดขวางเสียงข้างมากของสภาผู้แทนฯ การขาดประชุมของ ส.ว. ที่ควบตำแหน่งผู้นำเหล่าทัพ หรือ การเปลี่ยนจุดยืนของ ส.ว. ที่เคยลงมติปิดสวิตซ์ ส.ว.
ผ่านแค่ร่างเดียว! #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง รับระบบ 2540 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เสนอ
อ่าน

ผ่านแค่ร่างเดียว! #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง รับระบบ 2540 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เสนอ

ผ่านแค่ร่างเดียว! ที่ประชุมสภาลงมติ #แก้รัฐธรรมนูญ วาระที่ 1 รับแค่ร่างเดียว คือ การเสนอแก้ไขระบบเลือกตั้งไปใช้คล้ายระบบ 2540 ซึ่งเสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนร่างที่เสนอให้ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ ไม่ผ่านเพราะเสียงของ ส.ว. ไม่เพียงพอ
แก้รัฐธรรมนูญ: สรุปการประชุมสภาแก้รัฐธรรมนูญภาคสองวันแรก
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: สรุปการประชุมสภาแก้รัฐธรรมนูญภาคสองวันแรก

23 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ซึ่งประกอบไปด้วย ส.ส. และ ส.ว. มีนัดพิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญแบบ “รายมาตรา” รวมกัน 13 ฉบับ โดยประเด็หลักที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางคือ เรื่องอำนาจของ ส.ว. ในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 กับ การจำกัดอำนาจของ ส.ส. ในการแปรญัตติงบประมาณ และการแทรกแซงการดำเนินงานของราชการ ตามมาตรา 144 กับ 185 ตามลำดับ
หยุดอ้างประชามติ! เพราะพรรคที่เสนอ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.” มาจากประชาชน 23 ล้านเสียง
อ่าน

หยุดอ้างประชามติ! เพราะพรรคที่เสนอ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.” มาจากประชาชน 23 ล้านเสียง

ในศึกแก้รัฐธรรมนูญภาคสอง หนึ่งในประเด็นหลักที่พรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านต่างอภิปรายตรงกัน คือ การยกเลิก มาตรา 272 ที่ให้ ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงห้าปีแรกของบทเฉพาะกาล แต่ทว่าประเด็นดังกล่าวก็นำไปสู่การลุกขึ้นประท้วงของฝ่าย ส.ว. อาทิ กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ยืนยันย้ำเตือนว่า อำนาจ ส.ว. มาจากการออกเสียงประชามติจาก “พี่น้องประชาชน 16 ล้านคน”
แก้รัฐธรรมนูญ: สรุปร่างเพื่อไทย 2 รูปธรรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เลิกข้อยกเว้นศาล ตัดมรดก คสช.
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: สรุปร่างเพื่อไทย 2 รูปธรรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เลิกข้อยกเว้นศาล ตัดมรดก คสช.

ศึกแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภาคสอง พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคแกนนำฝ่ายร่วมค้านเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแยกเป็น ห้าฉบับ ห้าประเด็น อย่างไรก็ตามประเด็นการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับถูกปัดตกไปตั้งแต่ยังไม่เริ่มพิจารณาในสภา ส่งผลให้ร่างรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาเหลือเพียงสี่ประเด็น
สรุปข้อเสนอ 13 ร่าง สำหรับติดตาม #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง
อ่าน

สรุปข้อเสนอ 13 ร่าง สำหรับติดตาม #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง

เปิดสภาพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง มีร่างถึง 13 ฉบับ ข้อเสนอทั้งจากพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างมีจุดร่วมเรื่อง แก้ไขระบบเลือกตั้ง เพิ่มสิทธิกระบวนการยุติธรรม เสนอปิดสวิตช์ ส.ว. แต่รายละเอียดที่ต่างกันก็มีอีกมาก