เมื่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะใช้คุมโรค กลายเป็นเครื่องมือหลักในการ “คุมม็อบ”
อ่าน

เมื่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะใช้คุมโรค กลายเป็นเครื่องมือหลักในการ “คุมม็อบ”

นับตั้งแต่ประเทศไทยและโลกเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด19 การทำกิจกรรมพบปะสังสรรค์ การรวมกลุ่มพูดคุย รวมทั้งการชุมนุมเพื่อแสดงออกซึ่งเป็นกิจกรรมตามธรรมชาติของสังคมมนุษย์ก็กลายเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้ยากลำบาก ในประเทศไทยนับตั้งแต่การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อวันท่ี 26 มีนาคม 2563 เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ข้อจำกัดการรวมตัวก็จตามมา และการชุมนุมโดยสงบที่เคยเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานก็กลายเป็นเรื่องต้องห้าม  
Car Mob เคลื่อนไหวรูปแบบใหม่ ไม่เสี่ยงโรค แต่ไม่พ้นคดี
อ่าน

Car Mob เคลื่อนไหวรูปแบบใหม่ ไม่เสี่ยงโรค แต่ไม่พ้นคดี

สมบัติ บุญงามอนงค์ ประกาศจัดกิจกรรม “คาร์ม็อบ” เพื่อขับไล่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นครั้งแรกในวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 โดยชักชวนให้คนมีรถขับรถเข้ามาร่วมการชุมนุม การจัดกิจกรรมคาร์ม็อบนับเป็นความพยายามในการปรับยุทธวิธีการเคลื่อนไหวในยามที่โรคโควิด19 กำลังระบาด ทำให้คนกล้าออกจากบ้านมาร่วมชุมนุมโดยมีวิธีการป้องกันตัวไม่ต้องพบปะพูดคุยกับคนจำนวนมาก ไม่ได้รวมตัวกันในพื้นที่แออัด หรือมีการสัมผัสกันระหว่างบุคคล เนื่องจากรูปแบบกิจกรรมเป็นเพียงการรวมตัวขับรถไปตามท้องถนน และส่งเสียงด้วยการบีบแตรแทนการตะโกน  &nbs
ถอดข้อเท็จจริงแนวปะทะสมรภูมิดินแดง 18 ครั้ง ตลอดเดือนสิงหาคม 2564
อ่าน

ถอดข้อเท็จจริงแนวปะทะสมรภูมิดินแดง 18 ครั้ง ตลอดเดือนสิงหาคม 2564

ในเดือนสิงหาคม 2564 แยกดินแดง บริเวณจุดตัดถนนอโศก-ดินแดงเข้าสู่ถนนวิภาวดีกลายเป็นพื้นที่ปะทะกันด้วยความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมที่ขับไล่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับตำรวจชุดควบคุมฝูงชนอย่างน้อย 18 วัน จนถูกตั้งชื่อเล่นว่า “สมรภูมิดินแดง” ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ตั้งชื่อตัวเองภายหลังอย่างไม่เป็นทางการว่า “ทะลุแก๊ซ” ซึ่งน่าจะมาจากการฟันฝ่ากับแก๊สน้ำตาที่ตำรวจใช้กับผู้ชุมนุมอย่างไม่ลดละ   &n
ถอดประสบการณ์ตำรวจชั้นผู้น้อยคุมม็อบ ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกและลดพลังประเด็นขับไล่ประยุทธ์
อ่าน

ถอดประสบการณ์ตำรวจชั้นผู้น้อยคุมม็อบ ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกและลดพลังประเด็นขับไล่ประยุทธ์

18 กรกฎาคม 2564 เยาวชนปลดแอกและเครือข่ายนัดชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออก, ลดงบสถาบันกษัตริย์และกองทัพเพื่อมารับมือกับโควิด 19 และจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด 19 ชนิด mRNA การชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นให้หลังการปะทะที่กระทรวงสาธาณสุข ผู้จัดการชุมนุมจึงวางทีมดูแลผู้ชุมนุมและป้องกันไม่ให้มีการปะทะที่หน้าแนวตำรวจ อย่างไรก็ตามเมื่อผู้ชุมนุมยืนยันที่จะเดินขบวนผ่านถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปทำเนียบรัฐบาล ตำรวจก็เริ่มใช้กำลังสลายการชุมนุมด้วยการฉีดน้ำ แก๊สน้ำตาและกระสุนยาง
ความรู้สึกผู้ค้าขายในพื้นที่แยกดินแดง หลังการสลายการชุมนุมต่อเนื่องหลายวัน
อ่าน

ความรู้สึกผู้ค้าขายในพื้นที่แยกดินแดง หลังการสลายการชุมนุมต่อเนื่องหลายวัน

ตั้งแต่วันที่ 7-17 สิงหาคม 2564 เป็นจำนวนกว่า 6 ครั้งแล้วที่เกิดการปะทะกันด้วยแก๊สน้ำตา กระสุนยาง ประทัดและพลุ ระหว่างเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน กับผู้ที่แสดงออกถึงความไม่พอใจต่อรัฐบาลจำนวนหนึ่ง และเหตุการณ์ก็มักเกิดขึ้นบริเวณแยกดินแดงทางที่จะออกสูาถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อไปยัง “ราบ1” ที่ตั้งของบ้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนกลายเป็น “สมรภูมิ” ที่เป็นภาพจำของจุดปะทะ    ในช่วงครั้งแรกๆ ของเหตุปะทะ เราได้พูดคุยกับเจ้าของร้านค้าที่อยู่ตามทางถนนราชวิถี ใกล้แยกดินแดงถึงผลกระทบและความร
หมดหวัง สูญเสียเพราะรัฐบาลประยุทธ์ เสียงผู้ชุมนุม “มวลชนอิสระ” บน “สมรภูมิดินแดง”
อ่าน

หมดหวัง สูญเสียเพราะรัฐบาลประยุทธ์ เสียงผู้ชุมนุม “มวลชนอิสระ” บน “สมรภูมิดินแดง”

แยกดินแดง กลายเป็นพื้นที่การเผชิญหน้าระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมบ่อยครั้ง เฉพาะในเดือนสิงหาคม 2564 มีการเผชิญหน้าและตามมาด้วยการใช้กำลังสลายการชุมนุมของตำรวจแล้วอย่างน้อยสิบครั้ง แทบทุกครั้งเป็นการเผชิญหน้าจาก “มวลชนอิสระ” ที่แยกตัวออกจากการชุมนุมของกลุ่มที่ประกาศนัดหมาย มีอย่างน้อยสองครั้งที่ผู้ชุมนุมอิสระเหล่านี้เข้าร่วมการชุมนุมตามวันเวลาที่ประกาศนัดหมายและเคลื่อนขบวนไปพร้อมกัน คือ วันที่ 7 สิงหาคม 2564 และ 13 สิงหาคม 2564   “ความโกรธ” ของผู้ชุมนุมเป็นที่สัมผัสได้เนื่องจากข้อเรี
“สมรภูมิดินแดง” เมื่อเด็กมาทวงคืนชีวิตด้วยการเผชิญหน้า
อ่าน

“สมรภูมิดินแดง” เมื่อเด็กมาทวงคืนชีวิตด้วยการเผชิญหน้า

20 สิงหาคม 2564 นับเป็นวันที่ 11 แล้วที่แยกดินแดงกลายเป็นพื้นที่สมรภูมิที่ผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาลกับตำรวจชุดควบคุมฝูงชนปะทะกันด้วยอาวุธและความรุนแรง  ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ กลุ่มผู้ชุมนุมอิสระเหล่านี้มีอายุน้อยลงและสามารถรวมตัวกันเองเพื่อปฏิบัติการกันเอง ไม่จำเป็นต้องรวมตัวหรือเดินขบวนตามการประกาศจากกลุ่มที่ใช้แนวทางการชุมนุมแบบอื่น      การชุมนุมตั้งแต่วันที่ 7 สิงห
คุณคัดค้านนิรโทษกรรมแบบไหน?
อ่าน

คุณคัดค้านนิรโทษกรรมแบบไหน?

ใครๆ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องออกมาคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หลายคนตัดสินใจออกมาชุมนุมกับกลุ่มต่างๆ มีไม่น้อยที่แสดงออกผ่านทางโซเชียลมีเดียโดยเปลี่ยนภาพในเฟซบุคขึ้นข้อความ “คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” บรรยากาศการเมืองในจังหวะนี้ เรียกได้ว่า แม้แต่คนที่คิดต่างกันเรื่องการเมืองตลอดมา ต่างก็หันมาพูดเรื่องเดียวกัน อย่างไรก็ดี ภายใต้การคัดค้านเหมือนกัน แต่เหตุผลของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกันอยู่มาก ลองสำรวจตัวคุณเองว่า คุณเชื่อแบบไหน และสอดคล้องกับกลุ่มใด