Browsing Tag
เรือนจำ
34 posts
ความแออัดของเรือนจำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับมาตรการการรับมือโควิด 19
ปัญหาความแออัดในเรือนจำเป็นปัญหาร่วมของหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีอย่างน้อยห้าประเทศในภูมิภาคที่ลดความแออัดของเรือนจำด้วยการปล่อยนักโทษบางส่วน ซึ่งต้องจับตาดูต่อไปว่าหลังวิกฤตโควิด 19 ผ่านพ้นไปประเทศเหล่านี้จะมีความพยายามแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุกอย่างจริงจังต่อไปหรือไม่
‘ห้องกัก ตม.’ สถานที่เสี่ยงติดโควิดสูงมาก กฎหมายเปิดช่องให้ใช้ทางเลือกอื่นได้
ระหว่างที่ผู้คนใช้ชีวิตแบบ "เว้นระยะห่าง" ศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ซึ่งเป็นที่รวมตัวขนาดย่อมของชาวต่างชาติที่รอการส่งตัวกลับประเทศ กลายเป็นสถานที่แออัดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เมื่อดูตามกฎหมายพบว่า เจ้าหน้าที่มีทางเลือกที่จะให้ปล่อยตัวไปอยู่ที่อื่น โดยมีประกันระหว่างรอการส่งกลับก็ได้
รัฐบาลไทยได้ละเลยการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน เสนอรายงานเงาฉบับที่ 2 ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ชี้รัฐบาลไทยละเลยการปฏิบัติตามคำแนะนำ ทั้งในประเด็นรัฐธรรมนูญที่ยังคงรับรองความชอบด้วยกฎหมายของประกาศและคำสั่ง คสช. ประเด็นการฆ่านอกระบบ การซ้อมทรมาน และการบังคับสูญหายที่ไม่มีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษอย่างจริงจัง รวมทั้งประเด็นสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำที่ไม่ได้มาตรฐานสากล
สำรวจมาตรการเรือนจำแมริออน รัฐโอไฮโอ หลังพบนักโทษกว่า 70% ติด COVID-19 แล้ว
ในเรือนจำแมริออน ในเขตหนึ่งของรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนนักโทษทั้งหมดประมาณ 2,600 คน มีนักโทษติดเชื้อ COVID-19 ไปแล้ว 1,950 ราย (21 เมษายน 2563) คิดเป็นมากกว่า 70 % ของนักโทษทั้งหมด มาดูกันว่าหลังจากนี้เขามีมาตรการจัดการอย่างไร
อังกฤษและเวลส์ปล่อยนักโทษกว่า 4,000 คน หนีโควิด
รัฐบาลประเทศอังกฤษได้ออกประกาศว่า นักโทษจำนวนกว่า 4,000 คนจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า โดยสวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวไว้ และจะถูกภาคทัณฑ์ไว้ตลอดระยะเวลาที่ถูกปล่อยโดยจะถูกตามตัวให้กลับมาทันทีเมื่อมีเหตุที่น่าสงสัยว่าจะหลบหนี
We are all Human ข้อเสนอเร่งด่วนยับยั้งการระบาดของโควิด 19 ในเรือนจำ
การใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ #COVID-19 ดูจะเป็นไปได้ยากในเรือนจำไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเองก็ยอมรับว่า หากมีการแพร่ระบาดของโรคในเรือนจำก็จะบริหารจัดการได้ยาก การลดจำนวนผู้ต้องขังทั้งระบบโดยมีเงื่อนไขและมาตรการด้านความปลอดภัยรองรับอาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ควรถูกหยิบยกมาพิจารณาในห้วงเวลานี้
ปล่อยนักโทษลดความแออัด อีกหนึ่งมาตรการรับมือโควิด 19 ในต่างประเทศ
ระหว่างที่ไวรัสโคโรนากำลังระบาดในหลายๆ ประเทศ การลดความหนาแน่นในเรือนจำด้วยการปล่อยผู้ต้องขังบางส่วนเป็นแนวทางที่หลายๆ ประเทศเลือกใช้
“เคราะห์ซ้ำ-กรรมซัด” ชะตากรรมของผู้ต้องขังในยุครัฐบาลทหาร
ตลอดสองปีหลังการรัฐประหาร เรือนจำมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ ความยากลำบากของผู้ต้องขังหรือนักโทษในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎสิบชื่อจำกัดผู้มีสิทธิเยี่ยมอย่างเคร่งครัด การให้เจ้าหน้าที่รัฐมาสอดส่องการติดต่อระหว่างคนข้างในกับบุคคลภายนอกรวมทั้งทนายความ นอกจากนี้ เรือนจำยังต้องเผชิญกับปัญหาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในเรือนจำอีกด้วย
ก่อนจะถึงมทบ.11: ประวัติศาสตร์ย่นย่อว่าด้วยคุกพิเศษในไทย
การควบคุมตัวนักโทษคดีความมั่นคงในสถานที่พิเศษ เกิดขึ้นหลายครั้งแล้วในประวัติศาสตร์ไทย เช่น ที่ทัณฑสถานเกาะตะรุเตา "แดนพิเศษ" ในเรือนจำบางขวาง หรือเรือนจำพิเศษหลักสี่ ก่อนที่ในยุคปัจจุบันจะประกาศให้ค่ายทหาร มทบ.11 เป็นที่ตั้งของเรือนจำชั่วคราวแขวงถนนนครไชยศรี