สิบเรื่องแปลก ในกระบวนการยุติธรรมของคดี 112 ยุค 2563-2565
อ่าน

สิบเรื่องแปลก ในกระบวนการยุติธรรมของคดี 112 ยุค 2563-2565

  ตั้งแต่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้บังคับกฎหมาย “ทุกฉบับ ทุกมาตรา” กับผู้ชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 สถิติการดำเนินคดีประชาชนด้วยข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็พุ่งสูงขึ้น เป็นยุคสมัยที่มาตรานี้ถูกนำมาใช้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อคดีมาตรา 112 มีความละเอียดอ่อนเพราะมีมิติที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธาประ
บอย: “ผมแค่อยากจะเห็นอีสานที่ดีขึ้น และส่งประเทศที่ดีขึ้นให้คนรุ่นถัดไป”
อ่าน

บอย: “ผมแค่อยากจะเห็นอีสานที่ดีขึ้น และส่งประเทศที่ดีขึ้นให้คนรุ่นถัดไป”

พงศธรณ์ ตันเจริญ หรือ สหายบอย เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขาวิชาการเมืองการปกครอง ชั้นปีที่ 3 สหายบอยเป็นแกนนำแนวร่วมนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อประชาธิปไตย โดยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 สหายบอยได้มีนัดหมายฟังคำสั่งฟ้องข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เหตุจากคดีการชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ที่กลุ่มราษฎรนัดหมายชุมนุมบริเวณหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ แต่ในการชุมนุมดังกล่าวมีการนำตู้คอนเทนเนอร์และลวดหนาม พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนจำนวนมากมาวางกำลังจึงทำให้กลุ่มราษฎรต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่ไปเป็นบริเวณธนาคารไทยพาณ
“บุญลือ” : ชีวิตที่ไม่อาจเดินตามความฝันเพราะคดี 112
อ่าน

“บุญลือ” : ชีวิตที่ไม่อาจเดินตามความฝันเพราะคดี 112

บุญลือ (นามสมมติ) เป็นบัณฑิตจบใหม่จากคณะนิติศาสตร์ เขามีความฝันที่อยากจะทำงานเป็นข้าราชการเพราะต้องการที่จะทำให้คนในครอบครัวของเขามีชีวิตที่สบาย แต่แล้วทุกสิ่งก็เปลี่ยนไปเมื่อเขาถูกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์ เขาได้รับหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาจากการคอมเมนต์ในเพจเฟสบุ๊กเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและสถาบันกษัตริย์ เขาถูกกล่าวหาแจ้งความดำเนินคดีที่จังหวัดพังงา โดยเขาต้องเดินทางจากจังหวัดสุโขทัยเพื่อไปรับทราบข้อกล่าวหาเป็นระยะทางกว่า 1,185 กิโลเมตร จากนี้ไปคือความเป็นมาของตน, ที่มาของการดำเนินคดี รวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่หลังจากตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาคดีหมิ่นพระมหากษัตริย์
บาส มงคล: สองคดี 27 ข้อความ หลังเปิดตัวอดอาหารหน้าศาล
อ่าน

บาส มงคล: สองคดี 27 ข้อความ หลังเปิดตัวอดอาหารหน้าศาล

ในเดือนเมษายน 2564 ระหว่างที่ผู้ต้องหาและจำเลยที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์, ทนายอานนท์ นำภา, ไผ่ จตุภัทร์ ฯลฯ ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำด้วยคดีมาตรา 112 ชายหนุ่มวัย 28 ปี เดินทางจากบ้านที่จังหวัดเชียงรายมาที่หน้าศาลอาญาด้วยตัวคนเดียวและกระเป๋าเป้หนึ่งใบ เพื่อมาปักหลักเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องขังคดีการเมืองทุกคนโดยการ “อดอาหาร” เดินตามพริษฐ์ที่กำลังอดอาหารอยู่ในเรือนจำเช่นกัน บาสมาปักหลักอยู่หน้าศาลอาญา และวางแผนจะอยู่ยาว โดยไม่มีเพื่อนมาด้วย ไม่มีเครื่องนอน ไม่มีเต้นท์หรือมุ้ง ไม่มีป้ายบอกว่าเขากำลังประท้วงอะไร เขานั่งอยู่ที่ป้ายรถเม
“กัลยา” : หมายเรียกทางไกลจากสุไหงโก-ลก
อ่าน

“กัลยา” : หมายเรียกทางไกลจากสุไหงโก-ลก

“กัลยา” พนักงานบริษัทเอกชนคนหนึ่งรู้ตัวอีกทีก็มีหมายเรียกไปถึงที่บ้านให้ต้องออกเดินทางไกลไปดินแดนใต้สุดของประเทศ เพราะมีคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนไปแจ้งความต่อเธอไว้ที่นั่น
“นคร” : “เราไม่เคยสนใจการเมือง แต่หลังจากโดน 112 เราจึงหันมาสนใจการเมืองมากขึ้น”
อ่าน

“นคร” : “เราไม่เคยสนใจการเมือง แต่หลังจากโดน 112 เราจึงหันมาสนใจการเมืองมากขึ้น”

“นคร” เป็น LGBTQ+ ประกอบอาชีพเป็นช่างรับจ้างแต่งหน้า อยู่ที่จังหวัดเชียงราย และยังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย เดิมทีนครไม่ได้มีความสนใจเกี่ยวกับการเมือง เขาเล่าว่าเขามีหน้าที่ใช้ชีวิตไปเรื่อย ๆ ตามที่สังคมเป็น แต่เมื่อปี 2563 นครทราบข่าวว่าเขาจะถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากสำนักข่าวทีวีช่องหนึ่งซึ่งได้รายงานข่าวว่า นครได้แชร์เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมระบุวันที่แชร์เนื้อหาอย่างชัดเจน แต่นครปฏิเสธเพราะเมื่อย้อนกลับดูไม่พบว่าเขาแชร์เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในวันดังกล่าวเลย ต่อมา ในช่วงปลายปี 2563 นครได้รับหมา
ทางเลือกของคนทางเลือกน้อย: “กองทุนยุติธรรม” ช่วยคนไม่มีเงินประกัน – ถูกคุมขังฟรี
อ่าน

ทางเลือกของคนทางเลือกน้อย: “กองทุนยุติธรรม” ช่วยคนไม่มีเงินประกัน – ถูกคุมขังฟรี

ในอดีตปัญหาคนติดคุกฟรีถือเป็นเรื่องของความ "โชคร้าย" เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดให้ภาครัฐเยียวยาผู้ที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง ในปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปในทางที่ดีโดยมีการจัดตั้งกองทุนยุติธรรมให้ความช่วยเหลือเงินประกันตัวกับผู้มีรายได้น้อยหรือเยียวยาคนถูกฝากขังที่อัยการสั่งไม่ฟ้องกับสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินฯเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกคุมขังแต่ศาลยกฟ้องซึ่งการทำความรู้จักกับหน่วยงานทั้งสองน่าจะมีประโยชน์ในยาม 'ฉุกเฉิน'