Browsing Tag
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
30 posts
ย้อนดูเทรนด์การให้-ไม่ให้ประกันตัวผู้วิจารณ์พระมหากษัตริย์ฯ ของศาลไทย
ระหว่างการรัฐประหาร 2557 การใช้มาตรา 112 และการไม่ให้ประกันตัวเป็นเรื่องที่เห็นบ่อยครั้ง ก่อนจะผ่อนคลายในช่วงปี 2561-2562 จากนั้นกลับมาสู่บรรยากาศแห่งความหวาดกลัวอีกครั้งในปี 2563
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) เวอร์ชั่นใหม่ความผิดหมิ่นกษัตริย์ฯ แทนที่ ม.112
มาตรา 14(3) ถูกตำรวจนำมาตั้งข้อกล่าวหาคดีเพียงข้อหาเดียว โดยไม่ตั้งข้อหาตามหมวดความมั่นคงหรือหมวดก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญาประกอบด้วย ทำให้มาตรา 14(3) มีสถานะขึ้นมาใช้แทนที่มาตรา 112 เดิมที่ช่วงหลังถูกใช้น้อยลง
พลิกโฉมการตีความ “มาตรา 112” ยกฟ้องตลอดปี 2561
ตลอดปี 2561 แนวทางการตีความกว้างขวางเพื่อเอาผิดกับจำเลยนั้นเปลี่ยนไปแบบพลิกโฉม “หน้ามือเป็นหลังมือ” สัญญาณการพลิกโฉมการตีความเริ่มขึ้นครั้งแรกในคดีของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ถูกตั้งข้อหาจากการอภิปรายในเวทีวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยสมเด็กพระนเรศวรมหาราช หรือที่เรียกกันว่า “คดีหมิ่นพระนเรศวรฯ” ซึ่งเกือบจะกลายเป็นคดีที่ต้องตีความมาตรา 112 ให้กว้างที่สุดย้อนหลังไปถึงกษัตริย์ในสมัยอยุธยา แต่เมื่อ 17 มกราคม 2561 อัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี โดยให้เหตุผลเพียงว่า หลักฐานไม่เพียงพอ
สองปีบรรยากาศความเศร้า สองปีเหตุการณ์ “รุมกระทืบ” เปิดคำพิพากษา ยกฟ้อง 112 แต่ให้จำคุก 8 เดือน หนุ่มโรงงานโพสต์ขายเหรียญ
18 ตุลาคม 2559 วันนี้เมื่อสองปีที่แล้ว ระหว่างที่ประชาชนชาวไทยยังตกอยู่ในบรรยากาศความโศกเศร้า ด้วยข่าวการเสด็จสวรรคตของในหลวง รัชกาลที่ 9 ก็มีข่าวไม่ดีเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อเด็กหนุ่มคนหนึ่งในชุดเสื้อกีฬาสีม่วง ถูกประชาชนหลายสิบคนในชุดสีดำลากตัวออกมา ตบหัว เตะ และบังคับให้นั่งลงกราบพระบรมฉายาลักษณ์ ปรากฏภาพเคลื่อนไหวเป็นคลิปที่แชร์ต่อกันบนเฟซบุ๊ก
หวังเพียงอิสรภาพก่อนอาทิตย์อัสดง: เรื่องราวชีวิตของ “ผู้สูงวัย” ที่ถูกจองจำด้วยคดี 112
ในโอกาสวันมหาสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ 13 เมษายน ไอลอว์ขอใช้โอกาสนี้บอกเล่าเรื่องราวของผู้สูงอายุส่วนหนึ่งที่กำลังถูกคุมขังหรือถูกคุมขังในคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งแต่ละคนก็มีชะตากรรมที่แตกต่างกันไป บางคนได้รับอิสรภาพแล้ว บางคนยังคงรับโทษอยู่ในเรือนจำ และมีหนึ่งคนที่เสียชีวิตระหว่างรับโทษ