แก้รัฐธรรมนูญ: เพื่อไทยเสนอ “นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.”-เพิ่มกลไกคุ้มครองสิทธิหลายประเด็น
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: เพื่อไทยเสนอ “นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.”-เพิ่มกลไกคุ้มครองสิทธิหลายประเด็น

พรรคเพื่อไทยยังไม่ยอมแพ้ใช้ช่องทางการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอร่างอีกสามฉบับ เปิดประตูภาคสี่ โดยมีหนึ่งฉบับที่เป็นประเด็นใหม่เกี่ยวกับสิทธิชุมชน ฉบับหนึ่งเสนอเพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิคนพิการ สิทธิคนไร้บ้าน และยกเลิกช่องทางนายกฯคนนอก ซึ่งเคยเสนอไม่ผ่านมาแล้ว
สรุปความเคลื่อนไหวศึกแก้รัฐธรรมนูญไตรภาคตลอดปี 2564
อ่าน

สรุปความเคลื่อนไหวศึกแก้รัฐธรรมนูญไตรภาคตลอดปี 2564

จากการติดตามความเคลื่อนไหวของสภาโดยไอลอว์ ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญตลอดปี 2564 ยิ่งแสดงให้เห็นว่ากลไกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วางไว้นั้น “ยากลำบาก” เพียงใด ในปีนี้ มีเพียงหนึ่งร่างที่สามารถผ่านด่านวุฒิสภาจนสามารถแก้ไขได้สำเร็จ ซึ่งก็คือการแก้ไขระบบเลือกตั้ง
แก้รัฐธรรมนูญภาคสาม: 3 เหตุผล “รื้อ” ที่มาองค์กรอิสระ
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญภาคสาม: 3 เหตุผล “รื้อ” ที่มาองค์กรอิสระ

องค์กรอิสระ คือ หนึ่งกลไกในการสืบทอดอำนาจ คสช. อย่างแท้จริง ที่มาขององค์กรอิสระต่างๆ ล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากกลไกของ คสช. แทบทั้งสิ้น ทำให้หล้กการตั้งต้นตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ที่คาดหวังว่าองค์กรอิสระเหล่านี้จะทำหน้าที่ตรวจสอบการรัฐบาลสูญสิ้นไป กลายเป็นเครื่องมือรักษาอำนาจของเผด็จการเท่านั้น  
เทียบผลลงมติของ ส.ว. สามภาค  ยิ่งนานยิ่งเสียงไม่แตก ปกป้องอำนาจตัวเอง
อ่าน

เทียบผลลงมติของ ส.ว. สามภาค ยิ่งนานยิ่งเสียงไม่แตก ปกป้องอำนาจตัวเอง

ตั้งแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 มีความพยายามแก้ไขทั้งหมดสามภาค คือ มีการเสนอและเปิดการประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาลงมติกันแล้วทั้งหมดสามครั้ง ชวนดูบทวิเคราะห์การลงมติของส.ว.ทั้งสามภาค ดังนี้ 
แก้รัฐธรรมนูญภาคสาม: วิธีแก้ปัญหา “ตุลาการภิวัฒน์” ตามฉบับ Resolution
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญภาคสาม: วิธีแก้ปัญหา “ตุลาการภิวัฒน์” ตามฉบับ Resolution

ที่ผ่านมา ภาคประชาชนมีความพยายามจะจัดการกับปัญหาตุลาการภิวัฒน์และการแทรงแซงความเป็นอิสระของศาลรัฐธรรมนูญด้วยการเสนอร่างรัฐธรรมนูญให้ "เซ็ตซีโร่องค์กรอิสระ" หรือทำการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่แบบยกชุดไปแล้วหนึ่งครั้ง แต่ผลคือร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกตีตกไป จนกระทั่ง มีการเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง ที่เรียกกันว่า "ร่างรื้อระบอบประยุทธ์" ที่นำโดยกลุุ่ม Resolution ที่มาพร้อมกับข้อเสนอในการจัดการกับสิ่งที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัฒน์"
เปิดชุดข้อเสนอสำเร็จรูป #แก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์
อ่าน

เปิดชุดข้อเสนอสำเร็จรูป #แก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์

10 ส.ค. 2564 รศ. ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พระมหากษัตริย์ สาระสำคัญ คือ การจัดตำแหน่งแห่งที่รวมไปถึงบทบาทและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และจัดระบบงบประมาณสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ให้สภาผู้แทนราษฎรอนุมัติและองค์กรอื่นเข้ามาตรวจสอบได้
แก้ระบบเลือกตั้งสำเร็จ ส.ว.ปล่อยฟรีโหวต สายทหารเทเห็นชอบ
อ่าน

แก้ระบบเลือกตั้งสำเร็จ ส.ว.ปล่อยฟรีโหวต สายทหารเทเห็นชอบ

10 กันยายน 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 สำเร็จเป็นครั้งแรก การแก้ไขครั้งนี้เกี่ยวข้องกับระบบเลือกตั้ง โดยหัวใจของการแก้ไขคือ การแก้ไขให้มีบัตรเลือกตั้งสองใบ และให้มี ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100
สรุปข้อเสนอ 13 ร่าง สำหรับติดตาม #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง
อ่าน

สรุปข้อเสนอ 13 ร่าง สำหรับติดตาม #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง

เปิดสภาพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง มีร่างถึง 13 ฉบับ ข้อเสนอทั้งจากพรรคฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างมีจุดร่วมเรื่อง แก้ไขระบบเลือกตั้ง เพิ่มสิทธิกระบวนการยุติธรรม เสนอปิดสวิตช์ ส.ว. แต่รายละเอียดที่ต่างกันก็มีอีกมาก
ก่อนท้องฟ้าจะสดใส : #แก้รัฐธรรมนูญ ต้องรื้อถอนอำนาจคสช. – เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ อย่าไขว้เขว
อ่าน

ก่อนท้องฟ้าจะสดใส : #แก้รัฐธรรมนูญ ต้องรื้อถอนอำนาจคสช. – เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ อย่าไขว้เขว

ศึก #แก้รัฐธรรมนูญ ภาคสอง แบบ “รายมาตรา” มีร่างถึง 13 ฉบับ ประเด็นยิบย่อยมากมาย ฝ่ายค้านก็ไม่สามัคคี ฝ่ายรัฐบาลก็แยกกันเสนอ ขอประชาชน “โฟกัส” ให้มั่นคง เป้าหมายปลายทางยังคงเป็นการ “เขียนรัฐธรรมนูญใหม่” โดยประชาชน ซึ่งต้องรื้อถอนอำนาจคณะรัฐประหารออกก่อน หากการแก้ไขไม่ไปหาเป้าหมายนี้ ก็ไม่ใช่ทางออกของประเทศ
แก้รัฐธรรมนูญ: “แก้ระบบเลือกตั้ง-ปิดสวิตซ์ ส.ว.” จุดร่วมฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล
อ่าน

แก้รัฐธรรมนูญ: “แก้ระบบเลือกตั้ง-ปิดสวิตซ์ ส.ว.” จุดร่วมฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาล

ในศึกการแก้รัฐธรรมนูญภาคสอง ทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านต่างมีจุดร่วมสำคัญอยู่ที่การแก้ไขเรื่อง “ระบบเลือกตั้ง” ให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้งสองใบเช่นเดียวกับระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 แต่จุดต่างที่สำคัญ ซึ่งพรรคพลังประชารัฐเป็นกลุ่มเดียวที่ไม่ยอมเสนอ คือ การ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.” หรือยกเลิกที่มาและอำนาจของวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล หรือ ยกเลิก ส.ว. ที่มาจากการคัดเลือกของ คสช.