ปัญหาทางกฎหมาย กรณี พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รับมือโควิด 19
อ่าน

ปัญหาทางกฎหมาย กรณี พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รับมือโควิด 19

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็น "ยาแรง" เพื่อรับมือกับโควิด 19 โดยรวบอำนาจการแก้ไขปัญหามาอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดรวมแล้วหกฉบับ กำหนดข้อห้าม เงื่อนไข คำแนะนำ สิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ รวมทั้งมอบหมายอำนาจให้กับตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีปัญหาในทางกฎหมายต้องพิจารณากันว่าถูกต้องและใช้ให้มีผลในทางกฎหมายได้อย่างไร
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: หนึ่งเดือนหลังใช้ “ยาแรง” เราเห็นอะไรบ้าง
อ่าน

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: หนึ่งเดือนหลังใช้ “ยาแรง” เราเห็นอะไรบ้าง

นับตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 จนถึง 11 พฤษภาคม 2563 เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนเศษที่รัฐบาล 'คสช.2' เลือกใช้ "ยาแรง" อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังการประกาศใช้มาร่วมหนึ่งเดือนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค "ดูดีขึ้น" จากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันที่น้อยลง แต่คำถามถึงความจำเป็นในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และเหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลังของการใช้ยังไม่จางหายไป
ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้าในหกครั้ง ยกเลิกทันทีเมื่อเหตุจำเป็นสิ้นสุดแล้ว
อ่าน

ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ห้าในหกครั้ง ยกเลิกทันทีเมื่อเหตุจำเป็นสิ้นสุดแล้ว

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยุคโควิด 19 ถูกประกาศใช้ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมและจะมีผลบังคับใช้ไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ในขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะถูกยกเลิกเมื่อใด การย้อนไปดูการประกาศใช้กฎหมายนี้ในครั้งก่อนๆ ว่าการยกเลิกเกิดขึ้นช้าหรือเร็วและด้วยเงื่อนไขใดจึงน่าจะมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันอยู่ไม่น้อย 
รับมือโควิด 19 แบบไทยๆ ด้วยการออกกฎและ “ข่มขู่”
อ่าน

รับมือโควิด 19 แบบไทยๆ ด้วยการออกกฎและ “ข่มขู่”

ที่ผ่านมาระหว่างการต่อสู้กับโรคโควิด 19 ด้วยกฎหมายและเครื่องมือใหม่ๆ แนวทางที่บุคลากรของภาครัฐปฏิบัติอย่างต่อเนื่องกัน คือ การแสดงออกในลักษณะ "ข่มขู่" หรือสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชน การข่มขู่อาจมาในลักษณะคำพูดที่สร้างความไม่มั่นคงให้แก่หน้าที่การงาน หรือการเตือนว่า การกระทำที่สวนทางกับรัฐอาจนำมาซึ่งการดำเนินคดีตามกฎหมาย
รวมข้อกฎหมายอยากให้รู้ ช่วง COVID-19
อ่าน

รวมข้อกฎหมายอยากให้รู้ ช่วง COVID-19

ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สังคมและวิถีชีวิตของผู้คนต้องปรับตัวอย่างเฉียบพลันครั้งใหญ่ รัฐบาลออกกฎหมายและมาตรการใหม่ๆ อย่างเร่งด่วนจนประชาชนตามไม่ทัน หน้านี้รวมข้อกฎหมายอยากให้รู้เท่าที่ไล่ตามได้ทัน เพื่อการปรับตัวให้อยู่ร่วมกันภายใต้บรรยากาศแบบใหม่ให้ได้อย่างเท่าทันที่สุด
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: ออกข้อกำหนดใหม่ 2 ฉบับ คงเคอร์ฟิว แต่ให้เปิดบางสถานที่
อ่าน

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: ออกข้อกำหนดใหม่ 2 ฉบับ คงเคอร์ฟิว แต่ให้เปิดบางสถานที่

นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใหม่ 2 ฉบับ ผ่อนคลาย กิจการและกิจกรรม บางประเภทเปิดดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม ยังคงให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
เปรียบเทียบมาตรการรับมือโควิดของไทย กับของชาวโลก
อ่าน

เปรียบเทียบมาตรการรับมือโควิดของไทย กับของชาวโลก

ระหว่างที่สังคมโลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์โควิด 19 แต่ละประเทศก็ตัดสินใจใช้แนวนโยบายที่แตกต่างกัน แนวทางแบบใดที่จะถือว่าประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง คงต้องพิจารณากันในระยะยาว ระหว่างนี้การเหลียวมองการตัดสินใจของประเทศอื่นๆ และผลที่เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
คนไทยยังไม่ได้กลับบ้าน! ฟ้องสองศาล แพ้สองศาล เหตุมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มครองแล้ว
อ่าน

คนไทยยังไม่ได้กลับบ้าน! ฟ้องสองศาล แพ้สองศาล เหตุมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มครองแล้ว

ศาลปกครองไม่รับฟ้อง คดีที่ขอให้เพิกถอนประกาศ กพท. ที่สั่งให้คนไทยต้องมีใบรับรองแพทย์ (Fit to Fly) ก่อนบินเข้าประเทศ เพราะมีเนื้อหาเหมือนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งตัดอำนาจของศาลปกครองไว้ ต่อมาเมื่อฟ้องศาลแพ่ง ศาลแพ่งก็ยกฟ้องทันที เพราะอาศัยอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง