เลือกตั้ง 62: คุมเข้มการใช้จ่ายพรรคการเมือง ใช้เงินได้น้อยลง กฎระเบียบหยุมหยิม เสี่ยงติดคุก
อ่าน

เลือกตั้ง 62: คุมเข้มการใช้จ่ายพรรคการเมือง ใช้เงินได้น้อยลง กฎระเบียบหยุมหยิม เสี่ยงติดคุก

ในการเลือกตั้งปี 2562 กกต. จำกัดวงเงินหาเสียง ส.ส. และพรรคการเมือง รวมไม่เกิน 560 ล้านบาท ลดลงจากการเลือกตั้งปี 2554 ประมาณ 200 ล้านบาท แต่เพิ่มกฎระเบียบหยุมหยิมมากมาย ขนาดค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่มยังต้องนับรวม, ส.ส. ใส่ซองทำบุญก็ห้ามเกิน 3,000 บาท และถ้าบัญชีส่ง กกต. ไม่ทันเวลาหรือไม่ถูกต้องมีโทษจำคุก ปรับ และตัดสิทธิทางการเมือง
เกมจำลองการเลือกตั้ง’62
อ่าน

เกมจำลองการเลือกตั้ง’62

การเลือกตั้งใกล้เข้ามา โดยที่ประชาชนจำนวนมากยังไม่เข้าใจกติกาใหม่การลงคะแนน และวิธีการนับจำนวนที่นั่ง ส.ส. ในสภา ไอลอว์นำเสนอกิจกรรมจำลองการเลือกตั้ง ให้ผู้จัดกิจกรรมนำไปใช้จัดกิจกรรมในกลุ่มของตัวเองได้ เพื่อกระจายความรู้ความเข้าใจให้มากขึ้นก่อนถึงวันเลือกตั้ง  
เลือกตั้ง 62: ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ตัวแปรในการสืบทอดอำนาจ คสช.
อ่าน

เลือกตั้ง 62: ‘พรรคพลังประชารัฐ’ ตัวแปรในการสืบทอดอำนาจ คสช.

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังอยู่ในอำนาจมานานกว่า 4 ปี ทั้งนี้ ภายใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ คสช. เขียนขึ้น เปิดช่องให้คสช. ไม่ลงจากอำนาจไปง่ายๆ โดยพรรคการเมืองที่จะเป็นปัจจัยหลักในการอยู่ในอำนาจต่อของ คสช. ก็คือ 'พรรคพลังประชารัฐ'
รวมข้อมูลการเลือกตั้ง 2562
อ่าน

รวมข้อมูลการเลือกตั้ง 2562

การเลือกตั้งหลังการครองอำนาจยาวนานของ คสช. กติกาทั้งหลายถูกออกแบบเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนการสืบทอดอำนาจของ คสช. และสร้างความเสียเปรียบให้กับพรรคการเมืองที่สนับสนุนประชาธิปไตย ไอลอว์รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจก่อนเลือกตั้ง  
เลือกตั้ง 62: ระบบนับที่นั่ง MMA ทำพรรคใหญ่แตกตัว พรรคเล็กเกิดไม่ได้
อ่าน

เลือกตั้ง 62: ระบบนับที่นั่ง MMA ทำพรรคใหญ่แตกตัว พรรคเล็กเกิดไม่ได้

ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA ถูกใช้เป็นครั้งแรก ประชาชนต้องกาบัตรใบเดียวนำคะแนนไปคิดสองรอบ พร้อมกับสูตรคำนวนที่นั่งปาร์ตี้ลิสต์แบบใหม่ ทำให้พรรคใหญ่เสียเปรียบ พรรคขนาดกลางได้เปรียบ และพรรคเล็กเกิดไม่ได้ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์แปลกๆ ตามมา
เลือกตั้ง 62: เปิด 5 เงื่อนไขที่ กกต./คสช. อาจสั่งยกเลิกการเลือกตั้งได้
อ่าน

เลือกตั้ง 62: เปิด 5 เงื่อนไขที่ กกต./คสช. อาจสั่งยกเลิกการเลือกตั้งได้

 พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ เป็นกฎหมายฉบับสำคัญเกี่ยวกับการเลือกตั้งและถูกร่างขึ้นโดยคนกลุ่มเดียวกับที่ร่างรัฐธรรมนูญนั่นเอง ทั้งนี้ กฎหมายนอกจากจะกำหนดรายละเอียดตั้งแต่การกำหนดวันเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง การแบ่งเขตพื้นที่ การนับคะแนน การประกาศผล ฯลฯ เพื่อให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว กฎหมายฉบับนี้ยังให้อำนาจกับ กกต. ที่จะสั่ง "ระงับ" หรือ "ยกเลิก" การเลือกตั้งได้ด้วย
ทำไม คสช. บอกจะเลือกตั้ง ก.พ. 62 แต่คนไม่ค่อยเชื่อใจ?
อ่าน

ทำไม คสช. บอกจะเลือกตั้ง ก.พ. 62 แต่คนไม่ค่อยเชื่อใจ?

หลังกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งสองฉบับสุดท้ายอย่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้ายการได้มาซึ่ง ส.ว. ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้ทุกสายตาจับจ้องไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งเมื่อไร แต่จากบทเรียนของการเชื่อคำมั่นสัญญาจากรัฐบาล คสช. ที่ทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนไปแล้วถึงห้าครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ความน่าเชื่อถือของประชาชนต่อคำพูดของ คสช. จะลดน้อยลง
อ่าน

18 ข้อต้องห้าม ถ้าฝ่าฝืนให้องค์กรอิสระยุบพรรคการเมือง

การตั้งพรรคการเมืองตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง ค่อนข้างที่จะเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นการต้องใช้ผู้ร่วมจัดตั้งพรรคถึง 500 คน แล้วภายใน 1 ปียังต้องมีสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน รวมถึงต้องตั้งสาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาคอย่างน้อย 1 สาขา และมีทุนประเดิมการตั้งพรรคอย่างน้อย 1,000,000 บาท โดยผู้ร่วมจัดตั้งพรรคทุกคนต้องร่วมจ่ายคนละอย่างน้อย 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ทว่า การสิ้นสุดของพรรคการเมืองกลับมีเหตุผลและเงื่อนไขจำนวนมากที่จะทำให้ยุบพรรคได้ง่ายๆ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 18 ข้อ ตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง
อ่าน

กมธ.ร่วมฯ พิจารณากฎหมายลูก ส.ส. คงกติกาห้ามจัดมหรสพ ผู้สมัครพรรคเดียวกันลงหลายเขตใช้คนละเบอร์

ประเด็นที่เป็นปัญหาใน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ส.ฯ คณะกรรมาธิการร่วมสามฝ่ายที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจาก สนช. กรธ. และประธาน กกต. มีมติร่วมกัน ในประเด็นสำคัญ คือห้ามจัดมหรสพ ผู้สมัครพรรคเดียวกันลงหลายเขตใช้คนละเบอร์
อ่าน

กมธ.ร่วมฯ แก้ไขกฎหมายลูก ส.ว. เพิ่มบทเฉพาะกาล ส.ว. ชุดที่สองเลือกไม่เหมือนชุดอื่น

ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.ฯ ยังไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เกี่ยวข้องเสียที นำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วมสามฝ่ายซึ่งประกอบไปด้วยประธาน กกต., กรธ. 5 คน และสนช. 5 คน และก็เคาะผลลัพธ์กันออกมา กลายเป็นมีสองระบบในบททั่วไปกับในบทเฉพาะกาล