สนช. ลงมติ เห็นชอบ กกต. 2 คนสุดท้าย ปิดฉากมหากาพย์ กกต.
อ่าน

สนช. ลงมติ เห็นชอบ กกต. 2 คนสุดท้าย ปิดฉากมหากาพย์ กกต.

22 พฤศจิกายน 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบ เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ฐิติเชฏฐ์ นุชนาฎ ทนายความ ด้วยคะแนนเสียง 148 ต่อ 28 งดออกเสียง 8 เสียง และคะแนนเสียง 149 ต่อ 27 งดออกเสียง 8 เสียง ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ทั้งสองคนได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเจ็ดคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ และถือเป็นการปิดฉากมหากาพย์การสรรหา กกต. ชุดใหม่ ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
สนช. เตรียมพิจารณา ขึ้นเงินเดือนทหารยศ “พลเอก” เทียบเท่า “พลเอกพิเศษ”
อ่าน

สนช. เตรียมพิจารณา ขึ้นเงินเดือนทหารยศ “พลเอก” เทียบเท่า “พลเอกพิเศษ”

สนช. พิจารณาแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ในประเด็นยกเลิกอัตราเงินเดือนข้าราชการทหารของนายทหารยศจอมพล แก้ไขเป็นให้นายทหารยศพลเอกพิเศษ และให้นายทหารยศพลเอก ได้รับเงินเดือนเท่ากับนายทหารยศพลเอกพิเศษ ซึ่งจะได้รับเงินเดือน ต่ำสุดอยู่ที่ 56,117 และสูงสุดอยู่ที่ 76,604 บาท
สนช. รับหลักการ แก้ไข ป.วิอาญา ให้ศาลไม่รับฟ้อง กรณีฟ้องเพื่อกลั่นแกล้ง
อ่าน

สนช. รับหลักการ แก้ไข ป.วิอาญา ให้ศาลไม่รับฟ้อง กรณีฟ้องเพื่อกลั่นแกล้ง

8 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิอาญา ฉบับที่สมาชิก สนช. นำโดย มหรรณพ เดชวิทักษ์ เป็นผู้เสนอ โดยสมาชิก สนช. มีมติเห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.วิอาญาฉบับนี้ ด้วยเสียง 188 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย
ความแตกต่าง ระหว่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯ ปี 2560 และ 2561
อ่าน

ความแตกต่าง ระหว่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฯ ปี 2560 และ 2561

พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 ถูกบรรจุระเบียบวาระการประชุมที่ 71/2561 ซึ่งไม่ได้แนบเอกสารที่เกี่ยวกับไว้ในเว็บไซต์ สนช. อย่างไรก็ตาม วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมลับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เห็นชอบ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ด้วยคะแนนเห็นชอบ 194 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง การประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีผลทำให้ “พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2560” ซึ่ง สนช. เพิ่งเห็นชอบไปเมื่อปีที่แล้วต้องถูกยกเลิกไป สำหรับความแตกต่างของ พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับมีดังนี้
อภินิหารยุคทหาร แก้กฎหมายง่ายๆ สไตล์ คสช.
อ่าน

อภินิหารยุคทหาร แก้กฎหมายง่ายๆ สไตล์ คสช.

ในยุค คสช. กระบวนการออกกฎหมายที่ไร้การตรวจสอบ ส่งผลให้กฎหมายจำนวนหนึ่งผ่านไปแล้วต้องมีการกลับมาแก้ไขใหม่ โดยอาศัยอำนาจ ม. 44 ในการออกคำสั่งหัวหน้า คสช. หรือการส่งต่อให้ สนช. แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายต่างๆ ที่ผ่านมามีอย่างน้อย 6 ครั้งที่ คสช. และ สนช. พยายามแก้ไขกฎหมายที่ตัวเองออก 
เช็คเกียรติประวัติ กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หลังรัฐประหารทำอะไรบ้าง?
อ่าน

เช็คเกียรติประวัติ กรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หลังรัฐประหารทำอะไรบ้าง?

วันที่ยุทธศาสตร์ คสช. บังคับใช้ มีกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 29 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  17 คน และเป็นกรรมการที่รัฐบาล คสช. แต่งตั้ง 12 คน จากการสำรวจพบว่า นับตั้งแต่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ กรรรมการยุทธศาสตร์ชาติส่วนใหญ่เคยผ่านการทำงานสนับสนุนรับใช้ คสช. มาด้วยตำแหน่งต่าง ดังนี้
7 เรื่องจริง ที่ “ประเทศกูมี”
อ่าน

7 เรื่องจริง ที่ “ประเทศกูมี”

เพลง ประเทศกูมี ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์และมีการพูดถึงอย่างมากจนผู้มีอำนาจเตรียมดำเนินคดี เนื้อหาเพลงว่าด้วยการนำข้อเท็จจริงของสังคมการเมืองไทยร่วมสมัยมาร้อยเรียงเป็นบทเพลง โดยขับร้องออกมาในสไตล์ Rap กล่าวได้ว่าเพลง ประเทศกูมีนั้นเปิดบาดแผลของสังคมไทยที่พยายามซุกซ่อนมานานกว่าสี่ปี ชวนอ่าน 7 เรื่องจริงของประเทศกูมี
ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม: แก้ไขกฎหมายชัดขึ้นให้ “ผู้พิพากษาบริหาร” กำหนดเบี้ยประชุม
อ่าน

ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม: แก้ไขกฎหมายชัดขึ้นให้ “ผู้พิพากษาบริหาร” กำหนดเบี้ยประชุม

วันที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ….) ด้วยคะแนนเห็นชอบ 181 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง เหตุผลของการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ การเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ให้สามารถออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 193 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสม
สนช. พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ยืดเยื้อ – พร้อมเพิ่มมาตราใหม่ระบุชัด ห้ามเก็บเงิน
อ่าน

สนช. พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ยืดเยื้อ – พร้อมเพิ่มมาตราใหม่ระบุชัด ห้ามเก็บเงิน

ในยุคของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีความพยายามในการบริหารจัดการน้ำด้วยการใช้ ม.44 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 46/2560 ตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบริการจัดการน้ำ และมีอํานาจจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราว และขอเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม รวมถึงการแก้ไขและพยายามผ่านร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำ ทว่าเวลาผ่านมาเนิ่นนานนับปี ที่ประชุมก็ยังไม่มีมติผ่านร่างดังกล่าว เนื่องจากมีการถกเถียงและอภิปรายที่ยังไม่ลงตัว 
สี่ปี คสช. อนุมัติขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ใช้งบประมาณมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพไม่เปลี่ยนแปลง
อ่าน

สี่ปี คสช. อนุมัติขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ใช้งบประมาณมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพไม่เปลี่ยนแปลง

การบริหารงานในยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถือว่าการขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการเป็นเรื่องสำคัญ อันจะเห็นได้จากการแถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ของคณะรัฐมนตรีที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ระบุถึงการจัดระบบอัตราและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารจัดการภาครัฐแบบใหม่ ดังนั้น ในช่วงที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศจึงมีกฎหมายขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการไปแล้วอย่างน้อย 12 ฉบับ