ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ มีกฎหมายทดแทน
อ่าน

ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ได้ มีกฎหมายทดแทน

22 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ศบค. มีมติต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือน โดยอ้างความจำเป็นในการคงมาตรการรับมือโรคระบาด แต่ทว่า ถ้าย้อนดูจากมาตรการสำคัญที่ยังหลงเหลืออยู่ กลับเป็นการใช้อำนาจและกลไกปกติของกฎหมายต่างๆ อาทิ พ.ร.บ.โรคติดต่อ เป็นต้น 
ปัญหาทางกฎหมาย กรณี พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รับมือโควิด 19
อ่าน

ปัญหาทางกฎหมาย กรณี พล.อ.ประยุทธ์ ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รับมือโควิด 19

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็น "ยาแรง" เพื่อรับมือกับโควิด 19 โดยรวบอำนาจการแก้ไขปัญหามาอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดรวมแล้วหกฉบับ กำหนดข้อห้าม เงื่อนไข คำแนะนำ สิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ รวมทั้งมอบหมายอำนาจให้กับตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีปัญหาในทางกฎหมายต้องพิจารณากันว่าถูกต้องและใช้ให้มีผลในทางกฎหมายได้อย่างไร
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: หนึ่งเดือนหลังใช้ “ยาแรง” เราเห็นอะไรบ้าง
อ่าน

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: หนึ่งเดือนหลังใช้ “ยาแรง” เราเห็นอะไรบ้าง

นับตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 จนถึง 11 พฤษภาคม 2563 เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนเศษที่รัฐบาล 'คสช.2' เลือกใช้ "ยาแรง" อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หลังการประกาศใช้มาร่วมหนึ่งเดือนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค "ดูดีขึ้น" จากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันที่น้อยลง แต่คำถามถึงความจำเป็นในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และเหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลังของการใช้ยังไม่จางหายไป
รับมือโควิด 19 แบบไทยๆ ด้วยการออกกฎและ “ข่มขู่”
อ่าน

รับมือโควิด 19 แบบไทยๆ ด้วยการออกกฎและ “ข่มขู่”

ที่ผ่านมาระหว่างการต่อสู้กับโรคโควิด 19 ด้วยกฎหมายและเครื่องมือใหม่ๆ แนวทางที่บุคลากรของภาครัฐปฏิบัติอย่างต่อเนื่องกัน คือ การแสดงออกในลักษณะ "ข่มขู่" หรือสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชน การข่มขู่อาจมาในลักษณะคำพูดที่สร้างความไม่มั่นคงให้แก่หน้าที่การงาน หรือการเตือนว่า การกระทำที่สวนทางกับรัฐอาจนำมาซึ่งการดำเนินคดีตามกฎหมาย