3 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมประชาชน
อ่าน

3 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมประชาชน

นิรโทษกรรมประชาชนคือความจำเป็นของสังคมไทย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่คดีทางการเมืองจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกกำลังเดินหน้าส่งประชาชนเข้าเรือนจำ
จตุพร – ณัฐวุฒิ หนุนนิรโทษกรรมประชาชน รวมคดีมาตรา112
อ่าน

จตุพร – ณัฐวุฒิ หนุนนิรโทษกรรมประชาชน รวมคดีมาตรา112

แม้ข้อเสนอให้ยกเลิกคดี “เล็กๆ น้อยๆ” จากการชุมนุมจะได้รับการตอบรับดีจากหลายกลุ่มการเมือง แต่ประเด็นที่ยังเป็นความขัดแย้งสูง คือ ข้อเสนอให้นิรโทษกรรมคดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ซึ่งมีเสียงคัดค้านจากพรรคร่วมรัฐบาล และมีความอึดอัดที่ชัดเจนจากพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างเพื่อไทย ด้านอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งมีความผูกพันเป็นอดีตสส. พรรคเพื่อไทย ก็ยังคงให้ความเห็นต่อสาธารณะสนับสนุนให้นิรโทษกรรมแก่คดีมาตรา 112 ด้วย
แจกแจงคำถามร่างนิรโทษกรรมประชาชน ทำไมต้องนิรโทษกรรม ครอบคลุมใครบ้าง?
อ่าน

แจกแจงคำถามร่างนิรโทษกรรมประชาชน ทำไมต้องนิรโทษกรรม ครอบคลุมใครบ้าง?

เรื่องนี้ พูนสุข พูนสุขเจริญ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และ รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล เจ้าหน้าที่จาก iLaw มาร่วมตอบคำถามไว้ในงานเสวนา “นิรโทษกรรมประชาชนไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมตามประวัติศาสตร์” โดยมี ณัฐชนน ไพโรจน์ เป็นผู้ดำเนินรายการ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2566 เวลา 15.00 – 15.30 น. ณ อาคาร All Rise เพื่ออธิบายให้ชัดเจนว่า การนิรโทษกรรมประชาชนไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ อีกทั้งยังสมควรทำในฐานะ “คดีการเมือง” ที่ถ้าไม่แก้ไข จะกลายเป็นระเบิดเวลารอกลับมาอีกในอนาคต
เปรียบเทียบร่างนิรโทษกรรมจาก 14 ตุลาสู่การชุมนุมเยาวชน’63
อ่าน

เปรียบเทียบร่างนิรโทษกรรมจาก 14 ตุลาสู่การชุมนุมเยาวชน’63

ชวนดูเปรียบเทียบร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ที่เสนอในปี 2566 ซึ่งมุ่งหมายจะให้ครอบคลุมการดำเนินคดีความทางการเมืองต่อประชาชนที่ยืดเยื้อยาวมาตั้งแต่ปี 2549 กับกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมืองสามฉบับในอดีต
วิทิต มันตาภรณ์ เรียกร้องปล่อยตัว-ถอนคดีผู้ชุมนุมโดยสงบ ตำแหน่งที่ได้มาโดยไม่ชอบให้ลาออก
อ่าน

วิทิต มันตาภรณ์ เรียกร้องปล่อยตัว-ถอนคดีผู้ชุมนุมโดยสงบ ตำแหน่งที่ได้มาโดยไม่ชอบให้ลาออก

วิทิต มันตาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ พูดถึงเรื่องดุลยภาพในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยนำเสนอสามหัวข้อหลักเพื่อเป็นแนวทางสิทธิมนุษยชนที่ทุกฝ่ายใฝ่หา แม้แต่ละฝ่ายจะให้ความหมายแตกต่างกันแต่เรายังสามารถหาจุดสมดุลระหว่างกันได้