อีกไกลแค่ไหนคือใกล้ จาก ‘ผู้พิการ’ ถึง ‘คูหาเลือกตั้ง’
อ่าน

อีกไกลแค่ไหนคือใกล้ จาก ‘ผู้พิการ’ ถึง ‘คูหาเลือกตั้ง’

คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดเวทีร่วมหารือกับผู้พิการเพื่อวางแนวทางการเข้าถึงหน่วยเลือกตั้ง หลังพบปัญหาสถานที่เลือกตั้งเป็นอุปสรรคและเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งขาดความรู้ความเข้าใจต่อผู้พิการ ทั้งนี้ วงหารือเสนอสร้าง "มาตรฐานกลาง" สำหรับทุกคูหาเลือกตั้งแทนการจัดเขตเลือกตั้งพิเศษเฉพาะกลุ่ม
มีชัย แจงกฎหมายลูก “กสม.” ให้ช่วยแก้ต่างให้ประเทศ เพราะมุมมองแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน
อ่าน

มีชัย แจงกฎหมายลูก “กสม.” ให้ช่วยแก้ต่างให้ประเทศ เพราะมุมมองแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

กรธ.เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีชัย ฤุชพันธ์ุ ประธานกรธ. กล่าวถึงปัญหาสำคัญของกสม. ที่ร่างพ.ร.ป.ฉบับใหม่จะพัฒนาให้ดีขึ้น และกล่าวถึงประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญ ที่ให้กสม.ออกมาชี้แชงกรณีมีรายงานที่ไม่จริงเกี่ยวกับประเทศไทยว่าไม่ใช่ทำหน้าที่โฆษกรัฐบาล
ปฏิทินอย่างช้า: เตรียมจับตากฎหมายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้
อ่าน

ปฏิทินอย่างช้า: เตรียมจับตากฎหมายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้

ภายหลังการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 2557 ทำให้ระยะเวลาของการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญใหม่อาจเลื่อนออกไปยาวนานขึ้น อย่างมากที่สุดคือ เลื่อนออกไป “4 เดือน” แต่ทว่า ก็ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่จะเผยโฉมออกมาในปีนี้ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูป เป็นต้น
จับตากฎหมายลูก: พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ ร่างแรกให้อำนาจ กกต. มากขึ้น แต่ไร้การถ่วงดุล
อ่าน

จับตากฎหมายลูก: พ.ร.ป.เลือกตั้งฯ ร่างแรกให้อำนาจ กกต. มากขึ้น แต่ไร้การถ่วงดุล

ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นหนึ่งในกฎหมายที่ กกต. ส่งร่างให้กับ กรธ. เมื่อ 19 กันยายน 2559 โดย สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ให้คำอธิบายร่างกฎหมายอย่างกระชับๆ ว่า ฉบับ "4 ปฏิรูป" ปฏิรูปการรับสมัคร การหาเสียง การใช้สิทธิ และการประกาศผล
ร่างรัฐธรรมนูญผ่านแล้ว มีหลายประเด็นต้องจับตาต่อ
อ่าน

ร่างรัฐธรรมนูญผ่านแล้ว มีหลายประเด็นต้องจับตาต่อ

เมื่อร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ก็เปรียบเสมือนการ "เซ็นเช็คเปล่า" ให้กับรัฐบาล คสช. และ กรธ. เพื่อเขียนกฎกติกาต่างๆ ที่ต้องใช้ประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างเช่น กฎหมายพรรคการเมือง ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ยุทธศาสตร์ชาติ กฎหมายการปฏิรูป ฯลฯ ดังนั้น ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจตัวจริงควรต้องจับตาและมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ให้ได้มากที่สุด
สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ถ้าร่างผ่านเท่ากับ “ตีเช็คเปล่า” ให้ กรธ.เขียนกฎหมายลูก 10 ฉบับได้ตามใจ
อ่าน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ถ้าร่างผ่านเท่ากับ “ตีเช็คเปล่า” ให้ กรธ.เขียนกฎหมายลูก 10 ฉบับได้ตามใจ

รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องอาศัยกฎหมายลูก อย่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาขยายรายละเอียด ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติต้องมีกฎหมายลูกอีกอย่างน้อย 10 ฉบับ และถ้าร่างผ่านประชามติ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะอยู่ยาวอีกแปดเดือนเพื่อร่างกฎหมายลูกเองทั้งหมด เนื้อหาจะเป็นยังไงตอนนี้ยังไม่เห็นทิศทาง
ร่าง รธน. ‘มีชัย’: กรธ.ขอเวลาอีก 8 เดือน เขียนกฎหมายลูกเองทุกฉบับ
อ่าน

ร่าง รธน. ‘มีชัย’: กรธ.ขอเวลาอีก 8 เดือน เขียนกฎหมายลูกเองทุกฉบับ

รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องอาศัย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายลูกมาขยายความในรายละเอียด ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 กำหนดให้ร่างกฎหมายลูกอีก 10 ฉบับ และให้ กรธ.มีเวลาอีกแปดเดือนเพื่อร่างเองทั้งหมด จึงนำมาสู่ข้อครหาว่าพยายามอยู่ในอำนาจต่อ โดยเอากฎหมายลูกเป็นข้ออ้าง