สส. ยับยั้งร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ 180 วัน หลัง สว. ทำป่วน แก้กลับใช้เสียงข้างมากสองชั้นกับประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
อ่าน

สส. ยับยั้งร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ 180 วัน หลัง สว. ทำป่วน แก้กลับใช้เสียงข้างมากสองชั้นกับประชามติแก้รัฐธรรมนูญ

18 ธันวาคม 2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษษฎร มีมติ “ไม่เห็นชอบ” กับร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ที่ผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการร่วมกัน ซึ่งอิงแนวทางของ สว. กลับไปใช้เสียงข้างมากสองชั้นกับประชามติกรณีแก้รัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ต้องยับยั้งร่างกฎหมายไว้ 180 วัน
สว. ผ่านร่างแก้กฎหมายแพ่งห้ามตีเด็กสามวาระรวดในวันเดียว
อ่าน

สว. ผ่านร่างแก้กฎหมายแพ่งห้ามตีเด็กสามวาระรวดในวันเดียว

16 ธันวาคม 2567 วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือร่างกฎหมายห้ามตีเด็ก เพิ่มหลักประกันไม่ให้พ่อแม่ลงโทษลูกด้วยวิธีทารุณ ทำร้ายร่างกาย จิตใจ สามวาระรวดในนัดเดียว
ตรวจการบ้าน สว. 67 เทอมแรก เสียงข้างมากแพ็กกันแน่น คว่ำหลายข้อเสนอจากข้างน้อย
อ่าน

ตรวจการบ้าน สว. 67 เทอมแรก เสียงข้างมากแพ็กกันแน่น คว่ำหลายข้อเสนอจากข้างน้อย

เปิดผลงานช่วง 100 วันแรกของ สว. ชุดแรกจากระบบ “เลือกกันเอง” พิจารณาร่างกฎหมาย 11 ฉบับยื้อเวลาแก้กฎหมายประชามติฯ ปัดตกข้อเสนอตั้งญัตติด่วน – กมธ. ศึกษาน้ำท่วมฯ และให้ความเห็นชอบตำแหน่งสำคัญ 2 ตำแหน่ง คือ อัยการสูงสุด และตุลาการศาลปกครองสูงสุด
กมธ. ร่วมฯ ยันใช้เสียงข้างมากสองชั้น หาก สส. จะยันเสียงข้างมากชั้นเดียวอาจต้องรอ 180 วัน
อ่าน

กมธ. ร่วมฯ ยันใช้เสียงข้างมากสองชั้น หาก สส. จะยันเสียงข้างมากชั้นเดียวอาจต้องรอ 180 วัน

20 พฤศจิกายน 2567 กรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กมธ.ร่วมฯ) มีมติโดยเสียงข้างมากให้คงไว้ซึ่งระบบเสียงข้างมากสองชั้น (Double Majority) ในการหาข้อยุติสำหรับการทำประชามติเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
สภา “ไม่เห็นชอบ” ข้อสังเกตรายงาน กมธ.นิรโทษกรรม แม้ไม่ได้สรุปชัดว่าต้องรวม ม.112
อ่าน

สภา “ไม่เห็นชอบ” ข้อสังเกตรายงาน กมธ.นิรโทษกรรม แม้ไม่ได้สรุปชัดว่าต้องรวม ม.112

24 ตุลาคม 2567 เสียงข้างมากของ สส. โหวต “ไม่เห็นด้วย” กับข้อสังเกตในรายงาน กมธ. นิรโทษกรรม แม้ในรายงานดังกล่าวจะไม่ได้สรุปชัดว่าการตรากฎหมายนิรโทษกรรมควรจะต้องรวมหรือไม่รวมความผิดมาตรา 112
จับตา! สภานัดรับรองรายงาน กมธ. นิรโทษกรรมต่อ หลังรองประธานสภาชิงปิดประชุมยืดเวลา
อ่าน

จับตา! สภานัดรับรองรายงาน กมธ. นิรโทษกรรมต่อ หลังรองประธานสภาชิงปิดประชุมยืดเวลา

24 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดลงมติรับรองรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (กมธ. นิรโทษกรรม) อีกครั้ง หลังพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาคนที่หนึ่งในฐานะประธานในที่ประชุมสั่งปิดประชุมระหว่างที่กำลังอภิปรายในการประชุมเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567
ยืดเวลาออกไปอีก! พิเชษฐ์ รองประธานสภา ชิงปิดประชุมนัดรับรองรายงาน กมธ.นิรโทษกรรม
อ่าน

ยืดเวลาออกไปอีก! พิเชษฐ์ รองประธานสภา ชิงปิดประชุมนัดรับรองรายงาน กมธ.นิรโทษกรรม

17 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระพิจารณารับรองรายงานกมธ.นิรโทษกรรม แต่การประชุมครั้งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งซึ่งเป็นประธานในที่ประชุมสั่งปิดประชุมระหว่างที่มีการถกเถียงกันว่าสมควรให้กรรมาธิการชี้แจงต่อหรือไม่
เปิดผลลงมติ สว. เรียงคน ปมแก้ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ยืดเวลาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่
อ่าน

เปิดผลลงมติ สว. เรียงคน ปมแก้ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ยืดเวลาเขียนรัฐธรรมนูญใหม่

กระบวนการแก้ไขพ.ร.บ.ประชามติฯ เพื่อรับกับการประชามติเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ส่อแววล่าช้าเมื่อ สว. ลงมติพลิกกลับมติ สส. ขอแก้ไขเนื้อหาร่าง ส่งผลให้กระบวนการพิจารณายืดออกไปอีก
สส. ค้าน สว. ปมแก้ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ตั้งกมธ.ร่วมพิจารณาต่อ
อ่าน

สส. ค้าน สว. ปมแก้ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ตั้งกมธ.ร่วมพิจารณาต่อ

9 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ ที่วุฒิสภาแก้ไข ให้คงเกณฑ์เสียงข้างมากสองชั้นสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 0 เสียง ไม่เห็นชอบ 348 เสียง งดออกเสียง 65 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง กระบวนการหลังจากนี้คือสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต้องตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกัน เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติฯ และส่งกลับให้ทั้งสองสภาลงมติอีกครั้งว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ 
แก้เกม สว. เดินหน้าประชามติ 2 ครั้ง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทัน ปี 2570
อ่าน

แก้เกม สว. เดินหน้าประชามติ 2 ครั้ง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้ทัน ปี 2570

การแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.ประชามติฯ ของ สว. นอกจากจะทำให้การทำประชามติผ่านความเห็นชอบของประชาชนได้ยากขึ้นและจะยังจะทำให้การทำประชามติครั้งแรกเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568 เกิดขึ้นไม่ทัน จึงต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ สส. อีกครั้ง และอาจจะใช้เวลานานถึงแปดเดือน